WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 19, 2011

น้ำท่วม - ภัยจากการจัดการแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ท่วม)

ที่มา มติชน



โดย เพจเฟซบุ๊ก "A Journey through Science and Art"

ภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นขณะนี้ หลายคนบอกเป็นภัยธรรมชาติ แต่ทางศูนย์นิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ ขอมองอย่างแตกต่างว่า ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ แต่เป็นภัยจากการจัดการที่ผิดพลาด อย่างไรก็ดีเราไม่ควรมุ่งหาผู้ผิดชอบเพราะไม่มีประโยชน์อันใดและไม่ใช่ หน้าที่ของเรา แต่ควรมุ่งหาสาเหตุเพื่อแก้ไข ด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมนี้จะเกิดอีกแน่นอน


งบประมาณมากมายที่ลงไปแบบผิดทิศผิดทาง บริหารจัดการแบบคลาสสิก ด้วยความไม่รู้ของนักวิชาการ (อาจจะคิดว่าตนรู้ แต่ความรู้นั้นไม่ทันสมัย ไม่ทันกาละ) กับปี 2554 ที่น้ำท่วมรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา (และไม่ได้พยากรณ์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยนักวิชาการทั้งภาครัฐ และภาคมหาวิทยาลัยที่รับงบประมาณไปดูแลศึกษาเรื่องนี้)

เริ่มต้นที่ฤดูร้อน ที่ภาคใต้บริเวณเทือกเขาหลวง กรุงชิง รับปริมาณฝนแบบไม่คาดถึง โดยที่ไม่ได้มีไต้ฝุ่นเข้าประเทศไทย และน้ำท่วมในภาคเหนือ และภาคกลาง ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ (ตุลาคม 2554) นักวิชาการภาครัฐและดูแลเรื่องนี้หาได้ตระหนักและค้นหาถึงสาเหตุอันแปลก ประหลาดไม่ ไม่เว้นแม้แต่ศูนย์ต่างๆ ที่อุปโลกขึ้นเพื่อดึงงบประมาณจากกระแสเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จนนักวิจัยที่ดำเนินการเรื่องนี้จริงๆ งุนงง


[20111012 (12 ตุลาคม 2554 - มติชนออนไลน์) มีนักวิชาการของไทย ออกมาบอกสื่อว่ามีนักวิชาการของเนเธอร์แลนด์ มาดูระบบจัดการน้ำของไทย แล้วบอกว่าไทยมีหน่วยจัดการน้ำที่ไม่บูรณาการ นักวิชาการไม่ชำนาญ ต่างจากต่างประเทศที่ให้จัดตั้งหน่วยงานกลางเรื่องนี้ ไม่ต้องบอกว่านักวิชาการท่านนั้นเป็นใคร จริงๆ พอมีเรื่องภัยพิบัติ เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศท่านต้องออกสื่อตลอด ยกเว้น เที่ยวนี้ ท่านนั้นเป็นหนึ่ง (ในเรื่องได้งบประมาณสนับสนุนวิจัย) ที่ตั้งหน่วยงานในลักษณะหน่วยกลางของประเทศ ดูแลเรื่องการจัดการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นตัวแทนประเทศตลอดในเรื่องนี้ แต่ปัญหาเรื่องน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ ท่านและหน่วยงานของท่านน่าจะเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย]


ทางศูนย์ฯ ไม่เห็นด้วยในเรื่องตั้งองค์กรกลางที่จัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง หมดเวลาที่จะทุ่มงบประมาณลงส่วนกลาง หรือหน่วยงานที่ว่าแล้ว งบประมาณน่าจะทุ่มลงไปสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนจัดการเรื่องน้ำของตนเอง ถึงเวลากระจายอำนาจ เรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งในแง่พื้นที่ เวลา และพลังงาน ชุมชนต้องมีองค์ความรู้ ต้องสร้างคน สร้างความเข้มแข็ง เพราะท้ายที่สุดแล้ว ต้องพึ่งตนเอง ดังประสบการณ์ที่คนจำนวนมากประสบอยู่ในเวลานี้


[20111009 (9 ตุลาคม 2554 - มติชนออนไลน์) ก๊วนข่าว ช่อง 3 รายงานว่าสถานการณ์น้ำท่วมตอนนนี้ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง บอกว่าเอาไม่อยู่แล้ว พื้นที่เศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรม จมหาย โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนดา โรจนะ เห็นแต่หลังคารถโผล่ เคลื่อนย้ายไม่ทัน ความเสียหายมหาศาล ด้วยคันดินที่กั้นน้ำไว้พังทลายลง]

สาเหตุที่ทำให้การทำนายหรือพยากรณ์ไม่มีทางถูกต้องและทันกาล เนื่องจาก ปัญหาที่เป็น Open Boundary Flow (การไหลท่วมอย่างไม่จำกัดขอบเขต - มติชนออนไลน์) และเป็น Dynamic Flow (การไหลท่วมอย่างมีพลวัต - มติชนออนไลน์) กล่าวคือ น้ำนั้นไม่ได้ไหลเฉพาะในคูคลอง น้ำสามารถ เอ่อบ่าเข้าไปในพื้นที่ชุ่มน้ำได้ น้ำสามารถไหลใต้ดินได้ ระดับน้ำไม่ได้คงที่ ขณะไหลสามารถหนุนกันได้สูงกว่าปกติมาก ในหลายกรณี สามารถไหลบ่ากันสูงกว่าความลึกของคูคลองอีก นอกจากนั้นคันกั้นน้ำเองก็พังทะลาย และถูกสร้างใหม่ได้ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้การคำนวณปริมาณน้ำและความเร็วในการไหลทำได้ไม่ถูกต้องแน่นอน ความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยเหล่านี้ สำคัญมากในระบบซับซ้อน


แผนที่น้ำท่วม มีคนสงสัยมาก เพราะเป็นความจำเป็นที่ต้องรู้ แต่พอถึงเวลาก็ไม่สามารถบอกได้ เหตุเพราะ แผนที่ น้ำท่วมที่ทำๆ กัน ทำผิด ทำโดยการใช้ระดับความสูงเพียงอย่างเดียว แผนที่น้ำท่วมที่ดี ต้องเป็นแผนที่แบบไดนามิก มีพลวัต ต้องมีการจำลองน้ำที่ไหลบ่า ซึ่งทำได้ยากมาก เพราะระดับน้ำนั้น ไม่สามารถบอกได้แน่ชัด เพราะเป็นปริมาณที่แปรผันกับเวลาอย่างมาก ความเร็วของการไหลที่เปลี่ยนไป ระดับน้ำก็เปลี่ยนไป บางจุดนั้นน้ำอาจจะท่วม แต่ท่วมนานเท่าใด ท่วมในช่วงเวลาเล็กน้อย เช่น 10 นาที เราจะถือว่าน้ำท่วมหรือไม่ 5 นาทีล่ะ 1 นาทีล่ะ ให้ไปสังเกตแอ่งน้ำต่างๆ ของน้ำตก โดยเฉพาะน้ำตกที่มีระดับการไหลไม่คงที่

นักวิชาการที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้ มักคิดแต่เพียงมิติการบูรณาการ คิดว่าเมื่อบูรณาการข้อมูลมาทั้งหมด อย่างทันกาล (Real Time) แล้ว ก็จะสามารถจัดการปัญหานี้ได้ วิธีคิดแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วกับการจราจร โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบัน เรียนรู้ (ด้วยราคาแสนแพง) แล้วว่า ระบบจราจรในเมืองใหญ่เป็นระบบซับซ้อน (Complex System) ซึ่งไม่มีทางที่จะพยากรณ์เพื่อจัดการได้แม้ว่าได้ข้อมูลทั้งหมด (Initial Conditions) แล้ว ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้ จะเห็นการ ปรับตัวในเรื่อง จากการพยากรณ์ ไปเป็นการจัดการ ให้รถวิ่งทางโน้น ทางนี้แทน ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จะจัดการอย่างไรล่ะ จึงจะดีที่สุด แน่นอน คำตอบในเรื่องน่าจะใช้ได้กับการจัดการน้ำ (ท่วม) ที่ความซับซ้อนมีมากกว่า โดยเฉพาะสเกลของพื้นที่

ทิศทางการบริหารจัดการที่ป้องกันเขตเศรษฐกิจ โดยการกั้นเขื่อน คือสาเหตุหลักของการจัดการที่ผิดพลาด แทนที่จะปล่อยให้น้ำไหลไปกระจายตัวบนพื้นที่ แต่กลับปิดกั้นไว้ ไม่ให้ลงกรุงเทพฯ เสมือนกับการอั้นไว้ด้านล่าง บีบทางน้ำไว้ ทำให้พื้นที่นครสวรรค์และอยุธยารับน้ำเต็มๆ หากมีการจัดการที่ดี ให้น้ำท่วมกระจายตัว พูดง่ายๆ คือ ให้น้ำหลากไปยังลุ่มน้ำต่างๆ ก็จะลงพละกำลังของมวลน้ำ (ศัพท์ใหม่) กระจายพลังอำนาจให้เป็นเพียงน้ำหลาก แต่ไม่ใช่น้ำท่วมในเขตเศรษฐกิจ ก็จะช่วยแบ่งเบาไปได้เยอะ อย่างไรก็ดี การจัดการแบบใหม่นี้ต้องอาศัยพลังกำลังของชุมชมที่เข้มแข็ง และองค์ความรู้ใหม่ในการบริหารลุ่มน้ำ ที่มอง "ฮวงจุ้ย" และ "เห็น" เส้นทางน้ำใหม่ที่ชัดเจนกว่า

ปัญหาที่ตามมาก็คือ น้ำท่วมทำให้น้ำเข้าขังอยู่ที่ลุ่มเฉพาะจุด (Local Minima) น้ำจะนิ่ง ค่อยๆ ซึมเข้าน้ำใต้ดิน และระเหย มักจะเน่าและก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขตามมา

ท้ายๆ แล้ว น้ำก็จะเคลื่อนตัวลงมายังกรุงเทพฯ ซึ่งมาตรการการดันน้ำของกทม. ก็จะส่งผลให้น้ำไหลออกทางตะวันออก และตะวันตก กทม. ก็จะถูกน้ำล้อมไว้ทุกด้าน และ แม่น้ำเจ้าพระยาก็ไม่ได้ทำหน้าที่ส่งน้ำละทะเล แต่เป็นแม่น้ำบางปะกง (ฝั่งตะวันออก) และแม่น้ำท่าจีน (ฝั่งตะวันตก) กทม. กังวลกับน้ำจากแหล่ง 3 แหล่ง แหล่งน้ำจากด้านบน (นครสวรรค์ อยุธยา) น้ำฝน และ น้ำทะเลหนุน แต่ มวลน้ำก้อนหนึ่งที่มักถูกละเลยคิอ น้ำใต้ดิน จากอัตราเคลื่อนตัวของพื้นที่น้ำท่วม จะเห็นว่าเป็นระดับสัปดาห์ ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับการเคลื่อนตัวของมวลน้ำก้อนนี้

ผลของมวลน้ำก้อนนี้จะส่งแบบประหลาด กล่าวคือ จะส่งผลให้แนวป้องกันต่างๆ อ่อนตัวลง เขื่อนและกำแพงน้ำเปราะบางต่อการพังทะลาย และส่งผลต่อให้น้ำผิวดินเอ่อสูงกว่าควร เมื่อเขื่อนพังทลายด้วยน้ำใต้ดิน ผสมกับ กระแสน้ำของน้ำที่ไหลบ่า จะซ่อมแซมได้ยากมากๆ มีความพยายามใช้เฮลิคอปเตอร์วางตู้คอนเทนเนอร์เหนือทางน้ำเพื่ออุดรอยรั่ว (นวนคร 17 ต.ค. 2545) ซึ่งไม่มีทางทำได้ เพราะ 1. เฮลิคอปเตอร์ยกของที่มีน้ำหนักมากไม่ได้อยู่แล้ว 2. กระแสน้ำสามารถยกเคลื่อนย้ายหินขนาดใหญ่ๆ ได้อย่างสบาย 3. แรงน้ำผลักตู้บวกกับหล่อลื่น ทำให้ตู้สามารถไหลพ้นเขื่อนไปได้อย่างสบาย วิธีการนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงคือ จะทำให้กระสอบทรายพังมากขึ้น


แล้วจะอุดรูรั่วอย่างไร ทางศูนย์ฯ แนะนำให้ใช้วิธีเดียวกับที่ร่างกายเราหยุดเลือดเมื่อเราเกิดแผล กล่าวคือ ให้ใช้ระบบตาข่ายกางขึ้นเหนือน้ำก่อน จากนั้นค่อยปล่อยถุงทรายให้ไหลไปติดตาข่าย ค่อยๆ ทำเพื่อช่วยกันหยุดยึด จนน้ำไหลน้อยลง

การบริหารจัดการเรื่องนี้ต้องคิดในลักษณะนิเวศ กรุงเทพฯ อยุธยา อยู่บน Delta หรือดินแดนปากแม่น้ำ ซึ่งปกติจะประกอบด้วยสายน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปมาเพราะ น้ำไม่ได้ไหลตามแรงโน้มถ่วง แต่ไหลบ่าเป็นหลัก เนื่องจากระดับความสูงไม่แตกต่างกันมาก เป็นดินแดนแบนราบ การพัฒนา Landuse หรือการใช้พื้นที่ในกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาได้ทำลายความสามารถในการระบายน้ำของระบบนิเวศนี้ การถมดินอย่างมากมายทำลายทางน้ำ ทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำไปจนเกือบหมด เมื่อมีปริมาณน้ำมากมายที่ตกในปีนี้ (ซึ่งธรรมชาติได้เตือนแล้วด้วยน้ำท่วมในฤดูร้อนของภาคใต้ที่ผ่านมา แต่ผู้รับผิดชอบก็เพิกเฉย) ภัยน้ำนี้จึงมาจากการจัดการที่ผิดพลาดของน้ำมือมนุษย์ตั้งแต่เริ่มต้น จนไปถึงการบริหารจัดการน้ำต่อมา ดังที่เจอกันอยู่ในขณะนี้

[20111018 (18 ตุลาคม 2554 - มติชนออนไลน์) ในที่สุดก็เริ่มมีนักวิชาการมาบอกแนวทางที่เหมาะสมแล้วคือ ต้องยอมให้ "น้ำ" ผ่าน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทันหรือเปล่า การยอมให้น้ำผ่านนั้นสำคัญอย่างไร ปรัชญานิเวศบอกเราว่า ทุกองค์ประกอบในระบบนิเวศมีฟังก์ชันหรือหน้าที่ของมัน ทางน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหลายมีหน้าที่ให้น้ำเข้า การยอมให้น้ำผ่านเป็นการคืนหน้าที่ของมันให้ทำงาน]

(กรุณาติดตามตอนต่อไป)

หมายเหตุ Note (บันทึก - มติชนออนไลน์) นี้เป็นสะท้อนความเห็นหนึ่งของศูนย์นิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ ซึ่งดำเนินการทำงานในแนวปรัชญานิเวศวิทยา เพื่อสะท้อนให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากแนวคิดกระแสหลัก