WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 20, 2011

นิติธรรม (ชาติ) : นิติราษฎร์แถลง

ที่มา มติชน



โดย โสต สุดานันท์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2554)



มนุษย์ มีวิวัฒนาการในการอยู่ร่วมกันด้วยการเริ่มต้นจากสังคมหน่วยเล็กที่สุดคือ ครอบครัว ซึ่งไม่มีใครจงใจวางแผนก่อสร้างขึ้นมาแต่เป็นระบบที่เกิดขึ้นเอง (Spontancous) ตามธรรมชาติ และขยายใหญ่โตขึ้นเป็นระบบเครือญาติ (Kinship) โคตรตระกูล (clan) ชนเผ่า (tribe) และรัฐชาติ (State) ในยุคปัจจุบัน

สำหรับกฎเกณฑ์กติกาในการอยู่ร่วมกันนั้น ในยุคเริ่มแรกจะมีที่มาจากวิถีปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือศีลธรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมา

จวบ จนกระทั่งสังคมเติบโตและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ศีลธรรมไม่พอใช้บังคับกับเหตุการณ์ จึงมีความจำเป็นต้องตั้งกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมืองที่ชัดเจนแน่นอนและมีสภาพ บังคับที่เด็ดขาดขึ้นมา ซึ่งก็คือ "กฎหมาย" นั้นเอง

ในยุค สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ จะเป็นผู้มีบทบาทสูงสุดในการบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อบังคับใช้ในสังคม โดยส่วนใหญ่จะยึดโยงอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระเจ้าในรูปแบบต่างๆ ตามแนวคิดความเชื่อของแต่ละสังคม

คือมาด้วยสภาพปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความแตกต่างเหลื่อมล้ำ การใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงและเอารัดเอาเปรียบกันอย่างรุนแรง ประกอบกับอิทธิพลแนวคิดของปรัชญาเมธีในยุคต่างๆ สืบต่อเนื่องกันมา

ทำให้เริ่มมีการต่อต้านระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และแผ่ขยายกระจายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการแสดงออกถึงการต่อต้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1776 และการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1789 โดยมีเครื่องมือสำคัญอันทรงพลังที่นำไปใช้เป็นธงนำในการต่อต้านและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง คือ ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ ทฤษฎีเสรีนิยมทางการเมือง และทฤษฎีเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งพอสรุปหลักภารแนวคิดที่สำคัญได้ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เหนืออำนาจสูงสุดของมนุษย์ยังมีอีกสิ่งหนึ่งคือ ธรรมชาติ

การปกครองบ้านเมืองต้องยืนอยู่บนหลักเหตุผลของธรรมชาติ มิใช่อยู่บนอำเภอน้ำใจของบุคคลใด

เมื่อ สิ่งใดเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ย่อมไม่อาจมีใครใช้อำนาจลบล้างหรือละเมิดได้ (เช่น สิทธิในชีวิต การแสวงหาความผาสุก กรรมสิทธิ์ ความมั่นคงปลอดภัย การต่อต้านการกดขี่ข่มเหง เป็นต้น)

และรัฐบาลต้องมาจากความยินยอมของประชาชน มีอยู่เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

หากรัฐบาลล่วงละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของประชาชน หรือใช้อำนาจไม่ถูกต้องเหมาะสม ประชาชนย่อมมีสิทธิปฏิเสธการปกครองนั้นได้

นอก จากนั้น ยังมีทฤษฎีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ แนวคิดเรื่องการถ่วงดุลตรวจสอบการใช้อำนาจ ด้วยการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

ทั้งนี้เนื่องจากประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษย์ทั่ว โลกได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ทุกคนที่มีอำนาจย่อมนำไปสู่การใช้อำนาจเกินสมควรทั้งสิ้น เว้นแต่เขาจะพบกับข้อจำกัดของอำนาจ

ปรัชญาแนวคิดดังกล่าวถูกนำไปปรับ ใช้อย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการยึดถือ "กฎหมาย" เป็นหลักสำคัญในการปกครองบ้านเมืองแทนการยึดถือตัว "บุคคล" เป็นหลักเหมือนเช่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมีการถ่ายโอนอำนาจจากพระมหากษัตริย์หรือกลุ่มขุนนางชนชั้นสูงไปสู่ ประชาชนทั้งประเทศ

ดังที่เรียกกันว่า การปกครอง "ระบอบประชาธิปไตย" ที่มีการยึดถือหลัก "นิติรัฐ" เป็นหลักการสำคัญสูงสุดนั้นเอง

ขอ ตัดภาพมาศึกษาวิเคราะห์การเมืองการปกครองในบ้านเรา หากพิจารณาในเรื่องของรูปแบบแล้ว น่าจะสามารถยืดอกพูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า ประเทศเรามีระบอบการเมืองการปกครองที่ก้าวหน้าทันสมัยไม่ด้อยไปกว่านานา ประเทศใดในโลก

แต่เมื่อพิจารณาลงลึกในรายละเอียดของเนื้อหาและภาคปฏิบัติที่เป็นจริงแล้ว ก็ต้องยอมรับความจริงกันว่า เรายังล้าหลังอยู่มาก

โดย เฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงหรือการประพฤติมิชอบใดๆ ในการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางของบรรดาเหล่าผู้ปกครองและนักการเมือง ขี้ฉ้อทั้งหลาย การยึดติดคิดพึ่งพาตัวบุคคลมากยิ่งกว่าที่จะยึดถือหลักการใหญ่ของบ้านเมือง ตามหลักนิติรัฐ

รวมทั้งการรัฐประหารซึ่งเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าและไม่แน่ว่าในอนาคตจะเกิดมีขึ้นอีกหรือไม่

เพื่อให้สอดคล้องกับกาละเทศะของเทศกาลบ้านเมืองในปัจจุบัน ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้นำประเด็นเกี่ยวกับเรื่อง "การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549" ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจถกเถียงกันอย่างกว้างขวางอยู่ในสังคม ณ ขณะนี้ มาแลกเปลี่ยนความคิดความเห็น เผื่อว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยและช่วยทำให้หลัก การเรื่องนิติรัฐในบ้านเมืองเรามีความศักดิ์สิทธิ์น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

จากการศึกษาข้อมูลความเห็นเกี่ยวกับ "ผลในทางกฎหมายที่เกิดจากการรัฐประหาร" พบว่า มีกระแสความเห็นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มแรก เห็นว่าการรัฐประหารโดยใช้กำลังบังคับเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งความผิดตามกฎหมายย่อมมิอาจกลายเป็นความชอบด้วยกฎหมายไปได้ ตามหลักที่ว่า อำนาจหรือสิทธิย่อมไม่อาจบังเกิดขึ้นได้จากการกระทำผิด (Jus ex injuria non oritur) หลักเกิดการรัฐประหาร เราไม่ได้อยู่กับกฎหมายอีกต่อไป อำนาจในการก่อตั้งองค์กรทางการเมืองสูงสุดไม่ได้เกิดจากกฎหมายเลย แต่ตกอยู่ในมือของผู้มีกำลังมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องปฏิเสธผลทางกฎหมายของการรัฐประหารอย่างเด็ดขาดทุกกรณีไป

กลุ่มที่สอง เห็นว่า เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองได้สำเร็จ ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมืองหรือรัฏฐาธิปัตย์ มิฉะนั้น ประเทศชาติก็จะตั้งอยู่ในความสงบไม่ได้ ดังนั้น ประกาศ คำสั่ง และกฎหมายใดๆ ที่เกิดจากการรัฐประหารจึงมีผลในทางกฎหมายโดยสมบูรณ์

กลุ่มที่สาม เห็นว่า คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจตรารัฐธรรมนูญใหม่แทนที่ยกเลิกไป เนื่องจากเป็นการอันจำเป็นที่ต้องทำต่อไปเพื่อให้การรัฐประหารสำเร็จผลตาม ความมุ่งหมาย และกฎหมายต่างๆ ที่ออกมานับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ย่อมมีผลในทางกฎหมายโดยสมบูรณ์

แต่กรณีประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐ ประหารที่เกิดมีขึ้นในช่วงเวลาที่ยังมิได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้รัฐ ธรรมนูญนั้น ย่อมมีผลสิ้นไปนับแต่วันที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ทั้ง นี้ ด้วยเหตุผลตามทฤษฎีนิติศาสตร์ที่ว่า ในช่วงที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คณะรัฐประหารไม่ได้อยู่ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์อย่างแท้จริง โดยหลังการรัฐประหารสำเร็จอำนาจอธิปไตยย่อมกลับคืนสู่พระมหากษัตริย์ทั้งใน ฐานะที่มีอำนาจนี้แต่เดิมมา และในฐานะที่เป็นประเพณีการปกครองแผ่นดินของประเทศไทย

และด้วยเหตุผล ทางพฤตินัยที่ว่า การรัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมเมื่อเสียงปืนเงียบสงบลง กฎหมายควรจะมีเสียงดังขึ้นเพื่อกอบกู้ฟื้นฟูเกียรติยศศักดิ์ศรีและความ ศักดิ์สิทธิ์ของตนเองกลับคืนมาได้บ้าง แม้จะไม่มากนักก็ตาม

สำหรับ แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ ดูเหมือนจะเห็นด้วยกับความเห็นของกลุ่มแรก แต่ก็ประนีประนอมด้วยการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาตามความเห็นของกลุ่มที่สาม

ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้ คือ

1) จากการอ่านคำแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ในประเด็นที่ 4 ข้อ 4 และข้อ 5 ดูเหมือนว่าจะมีกลิ่นอายของโลกตะวันตกแฝงอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งสถานการณ์โลกที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ น่าจะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าบ้านเมืองเขาก็กำลังเป็นปัญหากันอยู่ไม่น้อย อีกทั้งยังเห็นว่า การนำข้อมูลความรู้ที่อยู่ไกลตัวปรับใช้นั้น แม้จะเป็นความรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าดีเลิศ แต่หากไม่ระมัดระวังให้ดีหรือมีปัญญาที่ลึกซึ้งพอ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาได้

อย่าง เช่น การออกแบบก่อสร้างบ้านให้มีความมั่นคงแข็งแรงหรือการตัดเย็บเสื้อผ้าให้สวย งามนั้น เราคงไม่อาจนำรูปแบบวิธีการหรือวัสดุที่ใช้ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในประเทศเขามาปรับใช้ในบ้านเราให้เหมือนกัน ทั้งหมดได้ เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน บ้านเขาเป็นเมืองหนาว อีกทั้งยังมีปัจจัยเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากมายที่มีความแตกต่างกัน

นอก จากนั้น ยังเห็นว่า ปรัชญาแนวคิดของโลกตะวันตกอันเป็นรากฐานที่มาของระบอบเสรีประชาธิปไตยนั้น จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลและให้ความสำคัญสูงสุด เฉพาะประโยชน์ของมนุษย์

ต่างจากปรัชญาแนวคิดในโลกตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธที่สอนให้ลดอัตตาตัวตน มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคนอื่นและสังคมส่วนรวม รวมตลอดถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย และมองปัญหาอย่างเป็นองค์รวมเชื่อมโยงถึงกันไม่แยกส่วน โดยมองว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบธรรมชาติเท่านั้น ไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าหรือแปลกแยกออกจากธรรมชาติ

ถึงแม้ว่า ในคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาจะมีการกล่าวถึงกฎหมายธรรมชาติและสิทธิตาม ธรรมชาติ (natural rights) อยู่ด้วย แต่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ก็เห็นว่า ไม่ตรงกับหลักธรรมในศาสนาพุทธ

ตัวอย่าง เช่น เรื่องสิทธิในที่ดิน หากมองเฉพาะในแง่ประโยชน์ของมนุษย์และในฐานะที่เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคล เจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมสามารถใช้สอยหรือจัดการกับที่ดินของตนอย่างไรก็ได้ตาม ใจชอบ ซึ่งหากไม่คำนึงถึงคนอื่นในสังคมหรือธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเลย ปัญหาต่างๆ ย่อมตามมา

ขณะที่ศาสนาพุทธมองว่า แท้จริงแล้วมนุษย์ไม่มีสิทธิใดๆ การกำหนดให้มีสิทธิต่างๆ ขึ้นมา เป็นเพียงกฎเกณฑ์สมมุติที่มนุษย์ตกลงกันเองเพื่อประโยชน์ในการอยู่ร่วมกัน เท่านั้น

สิทธิที่ว่านั้นเป็นเรื่องที่จะใช้อ้างกันได้เพราะในหมู่ มนุษย์ จะเอาไปอ้างกับธรรมชาติไม่ได้ เราจะบอกว่าที่ดินแปลงนี้เป็นของฉัน ทุกอย่างในที่นี้จะต้องเชื่อฟังฉัน ฉันปลูกอะไรก็จะต้องเจริญงอกงามตามคำสั่งฉันไม่ได้ หรือแม้กระทั่งสิทธิในชีวิต มนุษย์ก็ไม่มีสิทธิที่จะไปอ้างยันกับธรรมชาติ เพราะธรรมชาติจะไม่ยอมรับฟัง

ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นทั่ว โลกในเวลานี้ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดีถึงการคำนึงถึงแต่ สิทธิประโยชน์ของมนุษย์ โดยไม่สนใจให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดัง นั้น จึงมีความเห็นว่า คำประกาศที่จะจัดให้มีขึ้นนั้น น่าจะยึดถือปรัชญาแนวคิดตามหลักการคำสอนของศาสนาพุทธ เป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตยในบ้านเมืองเรา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวถึงกฎธรรมชาติไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมกว้างขวางใน ทุกเรื่องทุกประเด็น

ดังที่เรียกกันว่า "นิยาม 5" อันได้แก่ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม ซึ่งหากมีการศึกษาอย่างถ่องแท้ลึกซึ้งก็จะพบว่า เป็นองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าความรู้ใดๆ ในโลก

และหากเรามี ปัญญาสามารถนำเอาองค์ความรู้เหล่านั้นมาจัดสรรวางระบบแบบแผนขึ้นในสังคมได้ อย่างสอดคล้องกลมกลืนและถูกต้องเหมาะสมลงตัว คำว่า "นิติรัฐ" กับ "นิติธรรม" ก็จะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน

วันนั้นสังคมโลกตะวันตกก็คงจะต้องเป็นฝ่ายหันกลับมาเดินตามหลังเราแทนอย่างแน่นอน

2) ต้นไม้ประชาธิปไตยจะเจริญงอกงามได้นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในความหมาย ปรัชญาแนวคิด รวมทั้งกระบวนการขั้นตอนของประชาธิปไตยอย่างถูกต้องและถ่องแท้ลึกซึ้ง ซึ่งเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับสังคมไทย

แม้แต่ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดของคณะนิติราษฎร์ก็เคยเขียนบทความยอมรับว่า "ประชาธิปไตยคืออะไร? อาจเป็นคำถามที่ตอบยาก..." ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายที่จะต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ ช่วยกันศึกษาค้นคว้าหาความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ที่ถูกต้องไปสู่ประชาชน อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันต่อไป

ทั้งนี้ทั้งนั้น แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดก็คงหนีไม่พ้นหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธอีกเช่น กัน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีปราชญ์ทางด้านศาสนาหลายท่านที่เขียนหนังสือดีๆ ไว้ให้ศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านพุทธทาสภิกขุและท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

ท้ายที่สุดนี้ ขอนำประสบการณ์ส่วนตัวจากการทำงานมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมได้บ้าง

ในการทำสำนวนคดีที่รับผิดชอบนั้น

ผู้ เขียนมักจะพยายามไกล่เกลี่ยคู่ความก่อนเสมอ เพราะผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวที่ว่า "ข้อตกลงที่แย่ที่สุดซึ่งเกิดจากการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ยังดีกว่าคำพิพากษาของศาลที่ได้รับการยอมรับว่าเขียนดีที่สุด"

โดย ข้อเตือนใจที่ผู้เขียนมักจะหยิบยกขึ้นพูดในระหว่างการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ เป็นแง่คิดสำหรับประกอบการตัดสินใจของคู่ความ รวมทั้งเป็นเครื่องเตือนสติตัวเองไปด้วยในตัวอยู่เสมอคือ คนเรานั้นชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน ไม่มีใครในโลกที่ทำถูกทั้งหมดโดยไม่มีผิด หรือทำผิดทั้งหมดโดยไม่มีถูกเลย

ความยุติธรรมที่แท้จริงนั้นหากจะมี ก็ได้แก่การให้ความยุติธรรมต่อตัวเองด้วยการปล่อยวางและให้อภัย, อย่าไปทุกข์กับความเลวของคนอื่น แต่จงทุกข์กับความเลวของตนเอง

การ ให้ที่ได้บุญกุศลมากที่สุดคือ การให้อภัย, คนเรานั้นยิ่งให้ก็จะยิ่งได้, ผู้ชนะคือผู้ที่เห็นปัญหาเป็นโอกาส ผู้แพ้คือผู้ที่เห็นโอกาสเป็นปัญหา

และ ตลอดช่วงเวลาของการไกล่เกลี่ยก็จะพยายามพูดเน้นย้ำกับคู่ความอยู่เสมอว่า ขอให้ทุกฝ่ายมุ่งมองไปยังอนาคตข้างหน้าเพื่อคิดหาทางออกในการแก้ไขปัญหาที่ ดีที่สุดร่วมกัน อย่าจมปลัก ขุดคุ้ย หรือถกเถียงกันแต่เรื่องราวในอดีต เพราะจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด รังแต่จะทำให้ความขัดแย้งบาดหมางรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก

ผู้ เขียนเชื่อมั่นด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า ทั้งฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตยหัวก้าวหน้า และฝ่ายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นจารีตนิยมล้าหลัง ต่างก็ปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมืองทั้งสิ้น แต่แนวคิดความเห็นในการแก้ไขปัญหาอาจแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่งสำหรับธรรมชาติของมนุษย์

โจทย์ใหญ่ สำคัญสำหรับสังคมไทยตอนนี้ก็คือ เราจะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ หรือโครงสร้างทางการเมืองกันอย่างไร เพื่อแปรให้ความเห็นต่างนั้น เป็นพลังที่สร้างสรรค์ช่วยนำพาให้สังคมก้าวไปสู่ความเจริญงอกงาม ไม่ใช่เป็นพลังแห่งความชั่วร้ายที่ใช้ทิ่มแทงหรือห้ำหั่นทำลายล้างกันเหมือน เช่นที่ผ่านมา

และในทรรศนะของผู้เขียนมองว่า ศัตรูตัวฉกาจที่แท้จริงของทั้งสองฝ่ายและของสังคมไทยร่วมกันในอนาคต คือ ความยากจนขาดแคลนองค์ความรู้เรื่องประชาธิปไตยที่ถูกต้องสมบูรณ์ กับความเลวร้ายของเหล่านักการเมืองขี้ฉ้อและข้าราชการกังฉิน (บางคน) ไม่ใช่ความคิดความเห็นหรือมุมมองที่แตกต่างกันของอีกฝ่ายหนึ่ง

รวมทั้งไม่ (น่าจะ) ใช่การรัฐประหารอย่างแน่นอน