WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 20, 2011

ไชยันต์ รัชชกูล:พิพากษาผู้พิพากษา ก่อนฟัง"อ่านคำพิพากษา จากชาติ กอบจิตติ ถึงตุลาการศาลไทย"

ที่มา Thai E-News



เหตุการณ์ที่ราชประสงค์ ที่ราชดำเนิน มันขัดตรงๆ กับหลักการ the Rule of Law ฉะนั้นพูดได้อย่างไรว่าทำตามกฎหมาย ใช่ทำในนาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แต่ไม่ใช่ในนามของนิติธรรมและนิติรัฐ ถ้าศาลตัดสินแบบนี้เราก็ควรจะเอาศาลมาขึ้นศาล ผู้พิพากษาก็ควรได้รับการพิพากษา
วัน เสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2554 ที่ร้าน Book Re:public* ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อ "อ่าน คำพิพากษา จากชาติ กอบจิตติ ถึงตุลาการศาลไทย" ซึ่งเป็นการเสวนา อ่านออกเสียงครั้งที่ 1 “เปิดปาก เปิดพื้นที่เสรีทางความคิด” ที่จะจัดเป็นประจำทุกเดือนร้าน Book Re:public

เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศดังกล่าวเราขอนำบทเสวนา “law ไม่ใช่ Law พิพากษาผู้พิพากษา กติกาประชาธิปไตย” ของไชยันต์ รัชชกูล ที่เป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายหัวข้อ “นิติรัฐกับความยุติธรรมแบบไทย” เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2553 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มาเผยแพร่อีกครั้งก่อนที่จะฟังปาฐกถา

law ไม่ใช่ Law พิพากษาผู้พิพากษา กติกาประชาธิปไตย

เริ่มด้วยคำถามง่ายๆ ว่า หากมีคนตายอยู่กลางเมืองหลวงแปดสิบกว่าศพ แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น มันต้องมี something seriously wrong (บางสิ่งผิดปกติอย่างมหันต์) กับสังคมไทย

ทีนี้ถ้าเกิดว่าการฆาตกรรมเกิดขึ้นในนามของนิติรัฐ ก็ต้องมี something seriously wrong กับนิติรัฐ และไม่ใช่แค่กับอภิสิทธิ์และสุเทพ แสดงว่ามีคนให้ท้ายเขา สมรู้ร่วมคิด เห็นด้วยและผลักดัน เชียร์ให้เขาปราบ [เสื้อแดง] ทั้งสื่อ ทั้ง ส.ส. ที่อยู่ร่วมรัฐบาล ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีอันจะกิน ผู้ประกอบการในราชประสงค์ คหบดี นักธุรกิจสีลม พวกนี้เป็นกองเชียร์ให้เขาทำ มัน seriously wrong กับคนเหล่านี้ด้วย

อะไรคือนิติรัฐ ผมขอใช้ the Rule of Law ทำการปกครองโดยกฎหมาย คำว่ากฎหมาย (Law) ที่เป็น L ตัวใหญ่มีความหมายต่างกับ l ตัวเล็กนะครับ กฎหมายเล็กๆ ต้องขึ้นกับกฎหมายตัวใหญ่

ความจริงแล้วเราต้องเอาศาลขึ้นศาลด้วยในบางกรณี นิติรัฐต้องอยู่ใต้นิติธรรม เหมือนคณะนิติศาสตร์ต้องอยู่ใต้ธรรมศาสตร์ ธรรมะต้องใหญ่เหนือกฎหมาย นี่คือประเด็นที่เราเรียกว่า the Rule of Law

the Rule of Law มีการถกเถียงหลายมิติมาก มิติแรก ความเห็นที่ต่างกันเกี่ยวกับเรื่องนิติธรรม-นิติรัฐ ศาลตีความอย่างหนึ่งว่านิติรัฐเป็นอย่างนี้ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติก็อาจจะตีความอีกอย่างหนึ่ง สมมติพูดว่ากฎหมายต้องเป็นกฎหมาย “law is Law” ถามว่า law ที่เป็นอยู่มี law ที่เลวหรือไม่ มีไหมสิ่งที่ดีที่ควรทำเป็นกฎหมายแต่ยังไม่มีกฎหมาย แล้วกฎหมายที่ไม่ดีควรจะเลิกมีหรือไม่ มีเยอะ เพราะฉะนั้นคุณจะยึด law เป็นสรณะอยู่สูงสุดได้อย่างไร เราต้องแก้ได้ ปรับได้ ยกเลิกได้ “law cannot be always Law” ถ้า law มีความสมบูรณ์แล้วจะมีสภานิติบัญญัติไว้ให้เปลืองเงินราษฎรทำไม อันนี้เป็นการถกเถียงกันระหว่างฝ่ายศาลกับฝ่ายบริหาร

มีอีกมิติหนึ่งของการถกเถียงเรื่องนิติรัฐในความหมายที่เป็นอยู่ในระบบ กฎหมาย คำว่า Law ตัวใหญ่มิใช่หมายถึงพระราชบัญญัติเล็กๆ แต่หมายถึงระบบกฎหมายทั้งระบบ ตั้งแต่กฎหมายอยู่ได้อย่างไร ต้องผ่านการกลั่นกรองอย่างไร มีใครที่มีสิทธิ์ในการออกกฎหมายได้ รวมทั้งมีการตัดสินพิจารณาคดีอย่างไร อันนี้เป็นแง่ของภายในกรอบของกฎหมายที่พูดถึง the Rule of Law ในฐานะที่หมายถึงระบบกฎหมาย อันนี้คือในความหมายแคบ

ที่นี้ the Rule of Law ไม่ได้เฉพาะอยู่แต่ในกฎหมาย แต่มันสัมพันธ์กับระบบการเมือง ระบบศีลธรรม ระบบสังคม อันนี้เป็นความหมายกว้าง และในความหมายกว้างอันนี้มีประเด็นหนึ่งก็คือมีนักคิดคนหนึ่งชื่อ โทมัส ฮอบส์ บอกว่าถ้าไม่มีกฎหมายมันจะเป็นลักษณะปลาใหญ่กินปลาเล็ก the Rule of Law ข้อสำคัญอันหนึ่งคือการที่จะป้องกันมิให้อสูรมาทำร้ายประชาชน คือจะทำร้ายชีวิตประชาชนไม่ได้

แต่ที่เกิดขึ้นที่ราชประสงค์ ที่ราชดำเนิน อันนี้ทำร้ายประชาชน มันขัดตรงๆ กับหลักการ the Rule of Law ฉะนั้นพูดได้อย่างไรว่าทำตามกฎหมาย ใช่ทำในนาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แต่ไม่ใช่ในนามของนิติธรรมและนิติรัฐ

ถ้าศาลตัดสินแบบนี้เราก็ควรจะเอาศาลมาขึ้นศาล ผู้พิพากษาก็ควรได้รับการพิพากษา

หลายคนเมื่อเรียนหนังสือก็เคยทราบว่าอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ ต้องแยกกัน คำถามคือทำไมต้องแยกกัน ถ้าแยกกันแล้วจะเอาอะไรผิดอะไรถูก

ผมเพิ่งเข้าใจเมื่อเร็วๆ นี้เอง คือปัจจุบันในสังคมไทยเราจะเห็นมากเลยว่าอำนาจไปทางเดียวกันหมด สื่อก็ไปทางเดียวกัน พวก ส.ส. รัฐบาล พวกคหบดีรวมทั้งผู้มีอันจะกินก็ไปทางเดียวกัน คนจำนวนหนึ่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดก็คิดไปเช่นนั้น ตอนนี้มันเป็น unification (เอกภาพ) ของหลายๆ อำนาจ ทั้งอำนาจของรัฐ แม้แต่ประชาสังคมซึ่งกำลังดี๊ด๊ากันใหญ่

แล้วมีอำนาจอะไรที่เหนือกว่าอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการหรือไม่ รัฐธรรมนูญก็เขียนนี่ครับว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นอำนาจที่เหนือกว่าสามอำนาจนี้ ควรจะได้ใช้อำนาจเพื่อควบคุมอำนาจทั้งสาม แต่ที่คุมไม่ได้เลยก็คืออำนาจปวงชนไม่ได้คุมอำนาจตุลาการ ดังนั้นอำนาจศาลจะต้องเป็นประชาธิปไตย มีหลายประเทศที่ประชาชนต้องควบคุมตั้งแต่ศาลแขวงระดับเล็กๆ และนี่ทำให้นิติรัฐเป็นนิติรัฐและเป็นนิติธรรม

ประเด็นสุดท้าย เราต้องมีลำดับการพิจารณาเป็นชั้นๆ ในท้ายที่สุดไม่ใช่กฎหมายต้องเป็นกฎหมายนะครับ มีอะไรที่เหนือกว่ากฎหมาย เราไม่ต้องถึงพระเจ้าหรอกครับ แต่มีหลักการประชาธิปไตยว่าหลักการของกฎหมายต้องเป็นไปเพื่ออิสระและเสรีภาพ ของปวงชน

อิสระเสรีภาพต้องมาสูงสุด กฎหมายใดที่ขัดกับสิ่งนี้ต้องถือว่า unconstitutional คือการล้มมูลฐานของกฎหมายทั้งปวง

สองคือสิทธิทั้งหลาย สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่เอาสิทธิอื่นมาทำลายชีวิต เอาสิทธิของทหารมาใช้ฆ่าคน

สาม การที่จะดำเนินชีวิตอย่างผาสุก ถ้าหลักการของกฎหมายไม่เป็นไปเพื่อ 3 ข้อนี้ ก็ถือว่ามีอะไรบางอย่างผิดพลาดเกี่ยวกับกฎหมาย

อีกประเด็น หากโยงเรื่องปัญหาการก่อการร้ายกับการมีอาวุธ หลักการประชาธิปไตยคือการให้ต่อสู้กัน คุณจะจัดตั้งเป็นองค์กรได้ไหม จะมีกำลังทรัพย์ของตัวเองได้ไหม จะมีความคิดที่ตรงข้ามกับรูปแบบของรัฐที่มีอยู่ได้ไหม จะมีการโฆษณาทางความคิดได้ไหม ได้

ยกเว้นอันเดียวคือห้ามมีอาวุธ เพราฉะนั้นพรรคการเมืองมีอาวุธไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันตัวหรือไม่ แต่เมื่อห้ามอาวุธ กติกาคือฝ่ายรัฐก็ต้องไม่ใช้อาวุธกับประชาชน

ทีนี้กรณีของไทย มีภาษาอังกฤษติดเลย Live Firing Zone (เขตใช้อาวุธจริง) และใช้กองทัพเต็มที่ ใช้รถถังจัดการกับป้อมไม้ไผ่ที่ราชประสงค์

การที่ใช้รถถังออกมาละเมิดข้อตกลงพื้นฐานของกติกาประชาธิปไตย การอ้างชุดดำนั้น นอกจากวันที่ 10 เม.ย. แล้ว ในวันที่ 19 พ.ค. มีทหารคนไหนตายบ้าง

การพูดถึงนิติรัฐไม่ใช่แค่สิ่งที่รัฐจะทำกับประชาชน แต่รัฐและสังคมต้องอยู่ภายใต้กรอบกติกาเดียวกัน กฎนี้ต้องควบคุมรัฐด้วย ไม่เช่นนั้นจะบิดเบือนไปเลย

ประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะเปิดอกคือ เราทุกท่านทราบดีถึงความแตกแยกในสังคมไทย ส่วนหนึ่งการต่อสู้ของคนเสื้อแดงเป็นความสำเร็จของคนที่ต่ำต้อยน้อยหน้า นี่ไม่ได้เป็นวิกฤตอะไรเลย การอยู่เฉยๆ ให้เขาเหยียบสิครับถึงจะเรียกว่าวิกฤต

แต่ตอนนี้เป็นเวลาที่เรามาเช็ดน้ำตาเช็ดเลือดกัน ทำยังไงที่เราจะมีวิธีที่จะต่อสู้กันโดยไม่ให้เลือดตกยางออก ขอให้หลายๆ ฝ่ายมาร่วมคิดกัน ไม่ใช่มาดีกันเกี่ยวก้อยเหมือนเด็กประถม แต่อยากคุยกันว่าเราจะมาสู้กันอย่างไรโดยไม่ให้ถึงขั้นที่จะต้องฆ่ากัน อาจจะมีบาดเจ็บ ด่าทอ ซึ่งก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้

และถ้ามีการต่อสู้กันอีก ขออย่าใช้รถถัง อาวุธหนัก อาวุธสงครามมาปราบปราม อย่าให้มนุษย์ของเร าและอย่าให้คนของเราเป็นผักเป็นปลากันต่อไป หลักคือต้องรักษาชีวิต

และวาระซ่อนเร้นคือ ถ้าสู้กันอย่างนั้นเราสู้เขาไม่ได้

0000000000

*22 ตุลานี้ เปิดร้าน Book Re:public เปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับการพูดคุยและถกเถียงด้วยเหตุผล


วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม นี้ บริเวณถนนริมคลองชลประทาน หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมีกิจกรรมเปิด เสวนา อ่านออกเสียงครั้งที่ 1 “เปิดปาก เปิดพื้นที่เสรีทางความคิด”

เนื่องในโอกาสเปิดร้าน Book Re:public ซึ่งนอกจากเป็นร้านหนังสือและบาร์กาแฟแล้ว ยังเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับพบปะพูดคุยเรื่องต่างๆ อย่างเปิดเผย ตั้งแต่ประเด็นหนักหัวอย่างประวัติศาสตร์การเมือง ไปจนถึงสารพันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน



“เรายังมีพื้นที่สาธารณะไม่เพียงพออีกหรือ?”

คณะผู้ก่อตั้งฯ ซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม ได้เห็นร่วมกันว่า นับตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมาพื้นที่สาธารณะหลากหลายประเภทถูกเซ็นเซอร์จากอำนาจรัฐ ไม่ว่าด้วยการปิดเว็บไซต์ การห้ามเผยแพร่หนังสือ การแบนภาพยนตร์ การยึดสถานีวิทยุชุมชน โดยรัฐอ้างว่าพื้นที่เหล่านี้มีเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอัน ดีของประชาชนและที่

ยิ่งไปกว่านั้น การก่อตัวของภาคประชาสังคมเอียงขวา เช่น ขบวนการล่าแม่มดในอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งสื่อมวลชนหลายแขนงที่สนับสนุนอำนาจรัฐในการปราบปรามประชาชนใน เหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553

คณะผู้ก่อตั้งฯ ในฐานะประชาชนธรรมดาไม่อาจเห็นด้วยกับการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพเช่นนี้ ด้วยความเชื่อว่าการสถาปนาระบอบเสรีประชาธิปไตยให้ลงหลักปักฐานได้อย่างมั่น คงนั้น ประชาชนจำเป็นต้องทวงคืน สร้างใหม่ และขยายพื้นที่สาธารณะทางความคิด ที่เปิดโอกาสให้ทุกอุดมการณ์ได้มาถกเถียง วิวาทะกันอย่างเปิดกว้างที่สุด เพื่อที่เราจะได้ต่อสู้กันทางความคิดแทนการใช้อาวุธและความรุนแรง

กิจกรรมของร้าน Book Re:public เริื่มจากการจัดเสวนา “อ่านออกเสียง” เพื่อให้ทุกอุดมการณ์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างวิวาทะ และวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม หลังจากนั้น ก็จะเป็นการเปิด “หลักสูตรประชาธิปไตยศึกษา” เพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ทางการเมืองแนววิพากษ์ สำหรับการวิเคราะห์และทำความเข้าใจพลวัตความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย

นอกจากนี้ เรายังจัดพื้นที่ให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการอ่านและค้นคว้าหนังสือเกี่ยว กัประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย มีการจัดฉายหนัง แสดงดนตรี อ่านบทกวี นิทรรศการหมุนเวียน และการแสดง collection หนังสือหายาก เป็นครั้งคราว ซึ่งทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น


กิจกรรมเสวนาอ่านออกเสียงประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

อ่านออกเสียงครั้งที่ 1 “เปิดปาก เปิดพื้นที่เสรีทางความคิด”
วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2554

16.00 น. - 17.00 น. ปาฐกถา "อ่าน คำพิพากษา จากชาติ กอบจิตติ ถึงตุลาการศาลไทย"
ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
แนะนำโครงการ Cafe´ Democracy และ Book Re:public
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17.00 น. - 17.40 น. เสวนา “คนหนุ่มสาวสามยุคในขบวนการประชาธิปไตย”
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สืบสกุล กิจนุกร นักวิจัยอิสระ
สุลักษณ์ หลำอุบล อดีตนักกิจกรรม สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
17.40น. - 19.00 น. เสวนา "ยังจะทำ/เขียน/อ่าน/ขาย หนังสืออยู่อีกหรือ?"
คนทำ ไอดา บรรณาธิการวารสารอ่าน
คนเขียน วรพจน์ พันพงศ์ นักเขียนสารคดี
คนขาย เสาวนีย์ เมฆานุพักตร์ เจ้าของร้านเล่า
ดำเนินรายการโดย รจเรข วัฒนพาณิชย์ ร้าน Book Re:public
19.00 น. รับประทานอาหารค่ำ และชมดนตรี โดยวงสุดสะแนนและผองเพื่อน

อ่านออกเสียงครั้งที่ 2 “ประสบการณ์จัดหนัก”
วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554
15.00 น. -16 .00 น. "คนทำหนังสือที่ริอ่านมาทำหนัง"
สุภาพ หริมเทพาธิป ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ไบโอสโคป/รักจัดหนัก
โจ้ วชิรา Rabbithood ดำเนินรายการ
18.00 -21.00 น. "คนทำหนังที่ริอ่านเป็นผู้ก่อการร้าย"
ดูหนัง ผู้ก่อการร้าย ร่วมเสวนากับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล และคำ ผกา


อ่านออกเสียงครั้งที่ 3 “อ่านอัลกุรอาน”
วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554
13.00 น. - 15.00 น. “อ่านอัลกุรอาน ผ่านตัวบท บริบท และการเมืองของคัมภีร์อัลกุรอาน”
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อ่านออกเสียงครั้งที่ 4 “อ่านนิยาย/นิทานแห่งชาติ”
วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2554
13.00 น. - 15.00 น. "นิทานแห่งชาติเรื่อง รักแห่งสยาม, พ่อขุนอุปถัมภ์, และ ชนบทไร้เดียงสา”
ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รอการยืนยันหัวข้อ
ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน