WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 23, 2009

เรียกร้องประชาธิปไตยคือการเปลี่ยนระบอบมิใช่แก้ไขรัฐธรรมนูญ

ที่มา thaifreenews

เขียนโดย ปูนนก
วันพุธที่ 22 กรกฏาคม 2009 เวลา 23:02 น.

alt
ข้อเท็จจริงสำหรับ เรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นก็คือ ประชาชนไทยมิได้พัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องการเมืองการปกครองมาจากความต้องการ ของตัวบุคคลเอง ประชาธิปไตยที่ได้รับมาโดยการปฏิวัติในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ก็มิได้เกิดมาจากความเข้าใจ และการลุกฮือของพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ แต่เป็นการถูกยัดเยียด หรือถูกส่งมอบให้โดยกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจและมีหัวก้าวหน้ากลุ่มหนึ่งโดยที่ ประชาชนเองก็ยัีงไม่มีความเข้้ัาใจอย่างสมบูรณ์แท้จริงว่า “ประชาธิปไตยนั้นคือสิ่งใด”

อ่านต่อ และแสดงความคิดเห็น


อัน ที่จริงก็คือการแย่งชิงอำนาจกันเองระหว่างขั้วอำนาจต่าง ๆ โดยอ้างเอาประชาชนมาเป็นตัวประกันเท่านั้น เพราะทุก ๆ ครั้งที่เกิดความขัดแย้งใด ๆ ในระหว่างขั้วอำนาจภายในประเทศนี้ ทุก ๆ ฝ่ายต่างก็อ้างว่า “ทำเพื่อประชาชน” ทั้งสิ้น แต่ทว่าอนิจจาคำว่า “ทำเพื่อประชาชน” ที่ผู้มีความขัดแย้งกันกล่าวอ้างนั้น อาจจะเป็นประชาชนที่อยู่ในกลุ่มพรรคพวกเพียงไม่กี่คนของพวกเขาก็เป็นไปได้ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เคยได้รับประโยชน์ใด ๆ จากความขัดแย้งหรือการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เลยแม้แต่น้อย

หลายสิบปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เกิดการปฏิวัิติเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ประัชาชนไทยถูกทำให้เข้าใจว่า “ประชาธิปไตยคือรัฐธรรมนูญ” เพราะได้รับการสั่งสอนและกรอกหูฝังหัวเอาไว้ว่า “รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดอันจะละเมิดมิได้” ดังนั้นเมื่อเกิดการรััฐประหารยึดอำนาจการปกครองขึ้นครั้งใด กลุ่มที่ยึดอำนาจเหล่านั้นก็พยายามสร้างภาพความเป็นประชาธิปไตยด้วยการ “ร่างรัฐธรรมนูญ” ขึ้นมาใช้เพื่อการปกครอง มีบางยุคบางสมัยที่เป็นเผด็จการเต็มรูปแบบที่กดขี่ข่มเองประชาขนอย่างเลว ร้าย ทำให้เกิดการประท้วงโดยประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวางเช่นสมัย 14 ตุลาคม 2516, และสมัยพฤษภาทมิฬ 2535 เวลานั้นประชาชน, นิสิต, นักศึกษา ต่างก็เรียกร้องให้ได้มาซึ่ง “รัฐธรรมนูญ” เช่นกัน และภายหลัีงชัยชนะของประชาชนที่ได้รับมาบนกองเลือดนั้น สิ่งที่ประชาชนได้รับก็คือ “ตัวอักษรที่เขียนขึ้นมาบนแผ่นสมุดไท” ที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญ” นั่นเอง แต่ทว่า....ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่ประชาชนไทยได้รับ “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง” มาเป็นของประชาชนทั้งชาติเลย

จะเรียกได้ว่าประชาชนไทยทั้งชาติถูกผู้มีอำนาจในประเทศนี้ “หลอกลวง” มาตลอดหลายสิบปีก็ได้.... อันที่จริงแล้วโดยรวม...ประชาธิปไตยนั้นเป็นพัฒนาการทางสังคมที่เกิดขึ้น ร่วมกันของประชาชนในชาติ เป็นความต้องการที่จะมีส่วนรับผิดชอบชีวิตและความต้องการของกันและกัน โดยมีกติกาหรือข้อสรุปเป็นข้อตกลงร่วมที่เขียนขึ้นโดยที่มีความเห็นพ้อง ต้องกันของทุก ๆ ฝ่ายซึ่งเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นเครื่องกำหนดกฎเกณฑ์หรือกติกาของสังคมที่ทุก ๆ คนยอมรับปฏิบัติตาม

รัฐ ธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการกล่าวขานกันว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เปิดโอกาสให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยแก่ปวงชนชาวไทย มากที่สุด และหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกใช้งานไปได้เพียง 10 ปี ผลที่เกิดขึ้นก็คือทำให้ประชาชนภายในชาติได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางโครง สร้างสังคมอย่างใหญ่หลวง ประชาชนเกิดความมั่งคั่งอย่างทั่วถึง, โครงสร้างทางการเมืองมีความเข้มแข็ง, ประเทศพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นผู้นำของภูมิภาคอาเซียน, ประชาชนต่างก็ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันในด้านการให้บริการของรัฐใน ทุก ๆ ด้าน.... ในเวลานั้นประชาชนต่างก็ได้รับประโยชน์จากการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าพวกเขาจะยังไม่เข้าใจในจิตวิญญาณการปกครองประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็ ตาม

ในที่สุดก็เกิดการรัฐประหารล้มล้างการปกครองขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ท่ามกลางความตกตะลึงของคนไทยทั้งชาติ เป็นความตกตะลึงอย่างชนิดที่ทำอะไรไม่ถูกและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเนื่องจาก ไม่มีใครคาดคิดว่าท่ามกลางบรรยากาศที่กำลัีงเป็นประชาธิปไตยอยู่นั้น จะมีอำนาจเผด็จการเข้ามายึดอำนาจในประเทศนี้อีก และเพื่อปกป้องตนเองไม่ต้องการที่จะได้รับการต่อต้านจากประชาชนในขณะนั้น รัฐบาลภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารจึงได้กำหนดเวลาเพื่อที่จะทำการ “ยกร่างรัฐธรรมนูญ” ฉบับใหม่ขึ้นมา การยกร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลภายใต้อำนาจเผด็จการก็คือ “การหลอกลวง” ประชาชนไทยครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เป็นการนำเอาความคิดและความเชื่อเดิม ๆ ที่เคยหลอกลวงคนไทยเอาไว้มาใช้อีกครั้ง

การ ที่รัฐบาลของ พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท์ พยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดัน โฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนไทยยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 โดยอ้างว่าภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้ประเทศไทยได้รับประชาธิปไตยอย่าง แท้จริง “นี่คือคำกล่าวเท็จคำโตที่สุด” ที่เผด็จการได้หลอกลวงคนไทยทั้งชาติ ภายหลังการลงประชามติรัฐธรรมนูญผ่านไปและรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ได้ประกาศใช้ สิ่งที่ประชาชนไทยต่างก็ได้รับทราบกันทุกคนก็คือประเทศนี้กลับห่างไกลความ เป็นประชาธิปไตยตามมาตรฐานสากลอย่างชนิดที่เีรียกได้ว่า “ไปกันคนละทิศเลยทีเดียว” รัฐธรรมนูญที่เคยถูกวางไว้เป็นมาตรฐานว่าจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงความเป็น ประชาธิปไตยกลับกลายเป็นเครื่องมืออันร้ายกาจที่ฝ่ายเผด็จการได้ใช้อำนาจใน การกดขี่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยอย่างเต็มที่

เวลานี้ประชาชนไทยจำนวนมากได้ “ตื่นขึ้นมา” จากความฝัน ที่เคยเข้าใจผิด ๆ ว่าการได้มาซึ่งประชาธิปไตยก็คือการได้มาซึ่ง “รัฐธรรมนูญ” ในความเป็นจริงก็คือ “รัฐธรรมนูญ” เป็นผลมาจากการได้มาซึ่ง “จิตวิญญาณแห่งความเป็นประชาธิปไตย” ของคนในชาติต่างหาก การตื่นตัวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนจำนวนมากในประเทศนี้เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า “จิตวิญญาณประชาธิปไตย” เริ่มเติบโตขึ้นภายในจิตใจของประชาชนไทยทั้่งชาติแล้วขณะนี้ การเรียกร้องประชาธิปไตยในครั้งนี้จึงมิใช่เพียงแค่การเรียกร้องให้นำ้ “รัฐธรรมนูญฉบับปี 40” กลับมาบังคับใช้เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเปลี่ยนระบอบการปกครองจากเผด็จการซ่อนรูป ใ้ห้มาเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยมีมากมายหลายกลุ่มอาจจะมีแนวทางที่แตกต่างกันไป แต่ทุก ๆ กลุ่มล้วนมีเป้าหมายเดียวกันทั้งสิ้นคือ “เรียกร้องประชาธิปไตย” ไม่มีใครเรียกร้องรัฐธรรมนูญมากนัก เพราะพวกเขาล้วนทราบดีแล้วว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นเพียงผลผลิตของประชาธิปไตย ไม่ใช่ต้นทางของประชาธิปไตย และเมื่อประชาชนไทยมีความเข้าใจและมีจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย การรัฐประหารยึดอำนาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในประเทศนี้อีกเลย

และจิตวิญญาณของประชาธิปไตยที่แท้จริงก็คือหลักการ 5 ประการนี้
1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ( Sovereignty of Peoele )
2. เสรีภาพบริบูรณ์ ( Full Freedom )
3. ความเสมอภาค ( Equality ) ทั้งความเสมอภาคทางกฎหมาย และความเสมอภาคทางโอกาส
4. ยึดหลักกฎหมาย ( Rule of Law )
5. รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง (Elected Government )


เวลา นี้จึงเป็นเวลาที่พี่น้องคนไทยจะต้องเรียกร้องให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย มิใช่ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราทุก ๆ คนล้วนอยู่บนเส้นทางเดียวกันที่จะเดินทางไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยด้วยกัน ซึ่งไม่ว่าท่านจะเลือกเดินทางโดยวิธีใด ก็ขอให้ยึดเป้าหมายเดียวกันไว้ เพราะนั่นคือจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตยที่จะต้องถูกสร้างขึ้นเพื่ออนาคตของ ลูกหลานของเราในประเทศนี้ ต่อไปในวันข้างหน้า

ปูนนก