WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 21, 2009

หวังดี+ห่วงใย

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน




ท่ามกลางการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009

โพลทุกสำนักสรุปผลสำรวจไปในทิศทางเดียวกัน

ภายหลังเลิกแถลงรายวัน เปลี่ยนเป็นแถลงสัปดาห์ละครั้ง

นั่นคือ ประชาชนหวาดกลัวอันตรายของโรค และยังสับสน ไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึงกระทรวงสาธารณสุข

ประชาชน "เชื่อมั่น" แพทย์ไทย แต่ "ไม่เชื่อมั่น" กระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาล??

ขณะเดียวกันบรรดาผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ค่อยเป็นข่าว ออกมาให้ข้อมูลความเห็นอย่างหลากหลาย

โดยเฉพาะเรื่องวัคซีน!!

ที่น่าสนใจ และแหลมคม เริ่มจากศ.น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรมว.สาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ

"เป็นเรื่องแปลกที่ประเทศไทยที่ไม่เคยผลิตวัคซีนใช้เอง ยกเว้นวัคซีคโรคพิษสุนัขบ้า กลับจะมาผลิตวัคซีนใช้กับโรคที่ระบาดอย่างรุนแรงและมีโอกาสกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา

"กระบวนการผลิตวัคซีนนั้น องค์การอาหารและยาของสหรัฐ จะใช้เวลาทดลองถึง 2 ปี แต่ครั้งนี้รัฐบาลกลับบอกว่าจะใช้เวลาวิจัยแค่ 3 เดือน"

พร้อมเสนอคำแนะนำ

"1.รัฐบาลควรเร่งพัฒนาการให้บริการตรวจชันสูตรไวรัส 2009 ให้ครอบคลุม และควรสร้างห้องวิจัยทั่วประเทศ และรายงานผลภายใน 24 ชั่วโมง

"2.จัดหายา ทามิฟลู (Tamiflu) ให้เพียงพอ และจ่ายยาแก่ผู้ป่วยอย่างทั่วถึง"

ต่อด้วยรศ.น.พ.ทวี โชติพิทยสุนันท์ หัวหน้าทีมวิชาการไข้หวัดใหญ่ 2009 กระทรวงสาธารณสุข

"ไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ ยังไม่รู้ว่าจะระบาดรุนแรงขนาดไหนและนานเท่าไร

"ขณะนี้ต้องหันมาป้องกันการสูญเสียชีวิตให้ได้เสียก่อน โดยเปลี่ยนจากควบคุมเป็นการรักษาแทน

"ส่วนวัคซีนป้องกันจะได้ประมาณปลายเดือนตุลาคม เพื่อทดสอบกับคนและจะนำมาใช้ประมาณเดือนธันวาคม

"แต่การใช้วัคซีนจะไม่เป็นคำตอบสุดท้ายในการแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วย

"เพราะเคยมีการให้วัคซีนกับเด็ก 2 คน ผลข้างเคียงคือ เด็กคนแรกมีอาการซึมคอตกตลอดเวลา

"ส่วนอีกคนเกิดอาการละเมอทั้งคืน เป็นผลข้างเคียงของยา ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือในอนาคตอาจเกิดการดื้อยาได้"

เป็นข้อมูล ความเห็น ทั้งของคนกันเอง และคนละข้าง

แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน

หวังดี และห่วงใย!?