ที่มา บางกอกทูเดย์
ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์สามารถพลิกกลับขึ้นมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ ด้วยภาพลักษณ์เฉพาะตัวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคนรุ่นใหม่ ชาติตระกูลดี มีความรู้ การศึกษาดีระดับออกซ์ฟอร์ดภาษาดี หน้าตาดีการก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นแม้จะมีเสียงเตือนเล็กๆ ในช่วงนั้นบ้างว่า ให้ระวังไว้หน่อยเนื่องจากนายอภิสิทธิ์ไม่เคยทำงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันที่จะโชว์Proud ได้เลย รวมทั้งการเป็นรัฐบาลเทพประทานที่ต้องทดแทนบุญคุณรอบทิศอาจจะทำให้ทีมรัฐมนตรีไม่ใช่อย่างที่หวังๆ ไว้ก็ได้แต่กระแสสนับสนุนขณะนั้นแรงมาก ขนาดภาพที่นายอภิสิทธิ์ไปยืนกอดกับ นายเนวิน ชิดชอบ หัวหน้ากลุ่มเพื่อนเนวินอย่างยิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริงนั้น มีคนท้วงติงว่าเหมาะแล้วหรือ???แต่บรรดากองเชียร์ยังบอกว่าไม่เป็นไรดังนั้น เมื่อรายชื่อ ครม. ออกมา แม้จะยี้ จะแย้กันสักเพียงใดทุกคนก็พยายามที่จะมองข้ามกันไปหมด จะเอาคนไม่รู้เรื่องจะเอากลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่มเพื่อนเนวิน กลุ่มมีสี อะไรก็ไม่ว่ากันทั้งนั้นขอแค่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีเท่านั้นพอภาพลักษณ์ของนายอภิสิทธิ์ สามารถที่จะลบภาพลักษณ์อื่นๆที่ติดลบได้ทั้งหมดว่างั้นแม้แต่บรรดาผู้นำในภาคธุรกิจหลายๆ กลุ่มเองก็ยังคิดเช่นนั้น...ทั้งๆ ที่ลึกๆ ยังตะขิดตะขวงใจเรื่องการทำงานไม่เป็นโดยเฉพาะเสียงสะท้อนว่า ระวังนะปล่อยให้มือระดับเด็กๆทำงาน เศรษฐกิจจะพัง!!!จนผ่านพ้นไปได้ 3 เดือนแล้วนั่นแหละ ผู้คนในแวดวงธุรกิจเศรษฐกิจทั้งหลายจึงเริ่มที่จะรู้สึกขึ้นมาแล้วว่าระหว่างการทำงานเป็นกับการทำงานไม่เป็นนั้น มันกระทบต่อภาพรวมเพียงใด?เป้าใหญ่ในช่วง 3 เดือนแรกนั้น นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุซึ่งนายอภิสิทธิ์เลือกมาให้เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านเศรษฐกิจโดนไปเต็มๆ ว่าทำงานไม่เป็นระบบ ทำจนวุ่นไปหมด ขนาดแค่โครงการต้นกล้าอาชีพซึ่งเป็นแค่โปรแกรมการอบรมวิชาชีพให้กับประชาชนยังทำจนล่มได้
ในขณะที่งานด้านแก้ปัญหาพืชผลทางการเกษตร ก็เอาแต่ราวีกับ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จนงานไม่คืบหน้า เกษตรกรถูกลอยแพไปตามยถากรรมนายกอร์ปศักดิ์โดนหนักกว่าเพื่อน ในขณะที่ นายกรณ์จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับนายอภิสิทธิ์ยังโดนแค่หางเลขแต่เมื่อครบรอบการทำงาน 6 เดือนหรือครึ่งปี ตอนนี้ภาพออกมาชัดเจนว่า เป็นการปล่อยให้เด็กทำงานหรือเป็นการเอาคนที่มีฝีมือแค่ระดับเด็กๆ เข้ามาบริหารประเทศจริงๆเพราะทุกโครงการถ้าไม่ยุ่งเหยิง ก็เละจนเป็นวุ้นไปหมดเอาง่ายๆ แค่แจกเช็คช่วยชาติ แค่ขายพันธบัตรออมทรัพย์ยังทำเอาคนแก่ผู้สูงอายุต้องทุลักทุเลมาจองกันแต่เช้ามืดแล้วสุดท้ายก็ทำให้คนแก่ต้องผิดหวังกันระนาวประเทศนี้มีคนกว่า 60 ล้านคน มีคนสูงอายุไม่น้อยกว่า10 ล้านคน หรือเอาแค่คนสูงอายุที่มีเงินออมและต้องการได้ดอกเบี้ยจากพันธบัตรเอามาเลี้ยงตัวเอง ก็มีถึง 3-4 ล้านคนเข้าไปแล้วแต่กระทรวงการคลังที่มีนายกรณ์เป็นผู้ดูแล ขายพันธบัตรให้ได้แค่ 30,000-40,000 คน หรือได้แค่ 1% ของคนสูงอายุที่ต้องการเท่านั้นเองจริงๆ แต่กลับหน้าบานคุยโขมงว่าทำสำเร็จแล้วสำเร็จอะไรล่ะ งานง่ายๆ แบบนี้ทำได้แค่นี้ ว่าแล้วบรรดาสถาบันการเงินและบริษัทเอกชนก็ทำให้ดูว่า แค่ทำให้ดอกเบี้ยจูงใจนั้นไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย สารพัดแบงก์จึงเข็นเงินฝากที่พอๆหรือเท่ากับพันธบัตรออมทรัพย์ออกมากันอุตลุดบางรายอย่าง บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือบัตรเคทีซี ยังออกหุ้นกู้ อายุ 3 ปี ให้ดอกเบี้ย 5.5% สูงกว่าพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งให้ดูเสียอีกสะท้อนชัดเจนว่าผลงานพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งที่นายกรณ์ภูมิใจนักหนานั้น มันแค่เด็กๆ เท่านั้นที่สำคัญจนถึงขณะนี้ นายกรณ์ไม่ได้ดูเลยว่า เศรษฐกิจภาพรวมกระทบภาคธุรกิจมากขึ้นเพียงใด
ประจักษ์พยานที่ชัดเจนที่สุดก็คือ สรุปข้อมูลล่าสุดของทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่รายงานผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไทยทั้ง 10 แห่ง โดยยังไม่รวมธนาคารไทยพาณิชย์ที่ยังไม่แจ้งงบมานั้นครึ่งปีแรกของปี 2552 นี้ พบว่า มีกำไรสุทธิรวม29,066.91 ล้านบาท ลดลง 4,402.97 ล้านบาท หรือลดลง13.16% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีกำไรสุทธิ 33,469.88 ล้านบาทโดยธนาคารที่มีกำไรสุทธิลดลงมากที่สุด คือ ซีไอเอ็มบี ไทยขาดทุนสุทธิ 502.04 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,482.12 ล้านบาท หรือลดลงถึง 74.7%ถัดมา คือ ธนาคารทหารไทย กำไรสุทธิ 829.23 ล้านบาทลดลง 1,918.95 ล้านบาท หรือลดลง 69.83%แม้แต่ธนาคารกสิกรไทยของเจ้าสัวปั้น-บัณฑูร ล่ำซำยังมีกำไรสุทธิ 7,504.29 ล้านบาท ลดลง 1,203.71 ล้านบาทหรือ 13.82%เดี๋ยวจะว่าไม่แฟร์ ธนาคารที่มีกำไรสุทธิเติบโตเพิ่มขึ้นก็มีนั่นคือ ธนาคารเกียรตินาคิน มีกำไรสุทธิ 986.39 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 128.55 ล้านบาท หรือ 14.99%แต่ถ้าสรุปภาพรวม 6 เดือน ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องบอกว่าระบบแบงก์ของเมืองไทย กำไรหดหายไปถึง 4,400 กว่าล้านบาทซึ่งถ้า 6 เดือนนานไป เพราะรัฐบาลอภิสิทธิ์อ้อมๆ แอ้มๆแล้วว่า ไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ ยอมรับว่าสาหัสจริงๆแต่ไตรมาส 2 เริ่มกระเตื้องขึ้นแล้วนะแถมคุยด้วยว่า ปลายไตรมาส 3 และโดยเฉพาะไตรมาส 4เศรษฐกิจจะฟื้นแล้ว???งั้นดูของจริง เจาะเฉพาะไตรมาส 2/2552 บรรดาแบงก์พาณิชย์ของไทยมีกำไรสุทธิรวม 15,225.28 ล้านบาทลดลง 1,019.15 ล้านบาท หรือลดลง 6.27% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีกำไรสุทธิ 16,244.43 ล้านบาทซึ่ง นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บอกว่า ในครึ่งปีแรก
ที่มีผลขาดทุนสุทธิ เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลลดลง1,808 ล้านบาท หรือลดลงไปถึง 31%ยังดีนะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของแบงก์นี้ก็ลดลงไปด้วย532 ล้านบาท และหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลง 250ล้านบาท…ไม่งั้นมาเลเซียก็มาเลเซียเถอะ เหนื่อยสาหัสกว่านี้แน่...ยิ่งบริหารงานแบบล้วงลูกจนวุ่นไปหมดทั้งแบงก์ด้วยแล้ว มาเจอสถานการณ์เศรษฐกิจ มาเจอฝีมือขุนคลังไทยแบบเด็กๆ เข้าจะยิ่งดูไม่จืดฉะนั้น ด้วยผลประกอบการแบงก์ที่ออกมาแบบนี้ และด้วยภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่รู้จะออกหัวออกก้อยอย่างนี้ด้วยทำให้ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องจับเข่าคุยกับนายแบงก์โดยในวันพรุ่งนี้ (วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม) ธปท. จะเชิญสมาคมธนาคารไทยหารือและสรุปภาพรวมภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินและในวันอังคารที่ 28 กรกฎาคมนี้ ก็จะมีรอบจับเข่าคุยกับตัวแทนกลุ่มภาคอุตสาหกรรม 7-8 สมาคม ด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นสมาคมการท่องเที่ยว การส่งออก บริการเพื่อหารือถึงความต้องการสินเชื่อ รวมถึงสอบถามถึงปัญหาการขอสินเชื่อ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมเพราะแน่นอนว่า แบงก์ชาติเองก็รู้ดีว่าเสียงบ่นเรื่องแบงก์พาณิชย์ไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ เพราะกลัวความเสี่ยงกลัวปัญหาหนี้เสียนั้นมีมากมายเพียงใดซึ่งลึกๆ และในความเป็นจริงแล้ว จะโทษแบงก์พาณิชย์อย่างเดียวก็ไม่ถูก ก็ในเมื่อรัฐบาลไม่มีปัญญาทำให้เศรษฐกิจกระเตื้อง ทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้อย่างที่พูด แล้วจะให้แบงก์พาณิชย์มาเสี่ยงปล่อยสินเชื่อแบงก์เป็นธุรกิจนะไม่ใช่หน่วยงานสงเคราะห์ จะได้ไม่ต้องห่วงตนเอง เพราะถ้าปล่อยๆ ไปตามที่รัฐบาลขอร้องเกิดแบงก์เจ๊งขึ้นมาจะว่าอย่างไรก็คิดดูขนาดเป็นโครงการที่กระทรวงการคลังผลักดันเอง คือโครงการค้ำประกันเงินกู้ผ่าน บสย. กระทรวงการคลังให้ตั้งเป้าเอาไว้ 30,000 ล้านบาท มาถึงวันนี้เพิ่งช่วยไปได้แค่ 1,000ล้านบาทเศษๆ
หรือเท่ากับเพิ่งช่วยได้แค่ 3-4% เท่านั้นเอง...เอสเอ็มอีไม่เดี้ยงวันนี้แล้วจะไปเดี้ยงวันไหนเมื่อความเป็นจริงทำให้รัฐบาลหรือแม้แต่แบงก์ชาติต่างพากันใบ้รับประทาน ไม่สามารถจะไปบีบคอแบงก์พาณิชย์ได้นายกอร์ปศักดิ์ก็เลยเรียกประชุมผู้บริหารธนาคารของรัฐทั้ง 7 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์)และธนาคารกรุงไทยขอว่าที่กลุ่มธนาคารของรัฐวางเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อปี 2552 เอาไว้เป็นวงเงิน 625,500 ล้านบาทนั้นให้เพิ่มเป้าเป็น 900,000 ล้านบาท…นัยว่าช่วยกู้หน้ารัฐบาลหน่อยเถอะที่โดนเต็มๆ ก็คือ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งแม้นายกอร์ปศักดิ์จะบอกว่าทำหน้าที่ได้ดีในการปล่อยสินเชื่อ แต่ยังไงก็ไม่พอหักคอให้เพิ่มเป้าหมายปล่อยสินเชื่อจาก 300,000 ล้านบาทเป็น 350,000 ล้านบาทให้ด้วยอ้างง่ายๆ ว่า ในช่วงไตรมาส 4 เงินลงทุนจากโครงการไทยเข้มแข็งจะออกสู่ระบบประมาณ 200,000 ล้านบาท และสัญญาณต่างๆ ของเศรษฐกิจน่าจะเริ่มดีขึ้น ถ้ารอเงินของรัฐอย่างเดียวคงไม่พอ จึงต้องการให้แบงก์รัฐช่วยปล่อยสินเชื่อเพิ่มแล้วสุดท้ายสรุปเบ็ดเสร็จตีขลุมเอาดื้อๆ ว่า แบงก์รัฐต้องปล่อยสินเชื่อทั้งหมดในปีนี้ 1.25 ล้านล้านบาทแต่แน่นอนว่า ท่าทีของแบงก์รัฐก็ยังหนักอกหนักใจ เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้นมา ผู้บริหารแบงก์เองนั่นแหละที่จะซวยกลายเป็นแพะรับบาปไปซึ่งนายกอร์ปศักดิ์ก็อ่านท่าทีออก จึงได้เปิดช่องเอาไว้ว่า“หากปล่อยสินเชื่อตามนโยบายรัฐ ก็สามารถแยกบัญชีเสนอให้รัฐบาลชดเชยผลขาดทุนได้” นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวชัดเจนแต่ปัญหาก็คือถ้ารัฐบาลนี้ไม่อยู่แล้ว ผลเสียหายที่เกิดกับแบงก์ที่โผล่ออกมาในรัฐบาลต่อไปนั้น ผู้บริหารแบงก์จะไม่โดนจริงๆหรือ???...จะเชื่อได้แน่หรือ???พูดเป็นเด็กเล่นขายของแบบนี้นี่เอง...เศรษฐกิจมันถึงไม่กระเตื้อง...แบงก์ถึงได้เดี้ยง!! ■