ที่มา บางกอกทูเดย์
ส่งถึงมือประธานรัฐสภา “ชัย ชิดชอบ” และนายกรัฐมนตรี “อภิสิทธิ์เวชชาชีวะ” ไปเรียบร้อย...6 ประเด็นใหญ่ที่พุ่งเป้าไปเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของ “คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ”ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดประชุมสภาสมัยนี้ที่จะเริ่มในเดือน ส.ค. คงจะต้องมีการหยิบยกมาพิจารณากันตามวาระยังไม่ทันที่ไอน้ำจะกลั่นตัวตกลงมาเป็นฝนตามกระบวนการ บรรดาข้อสังเกตขอ้ สงสยั ทวี่ า่รฐั บาลดงึเกม ไมจ่รงิ จงัในการแกไ้ขรฐั ธรรมนญู กถ็ กู กวนขนึ้ มาอกี ระลอกเอาเข้าจริงๆ จุดยืนของแกนนำรัฐบาลอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ตั้งธงมาแต่ไหนแต่ไรแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ก็มีทิ้งปมหย่อนเบ็ดไว้หน่อยว่า ถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมไม่ได้แก้เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง ก็ว่า ก็ดูกันไป...ประธานวิปฝ่ายค้าน “วิทยา บุรณศิริ” พูดถึงแรงกระเพื่อมที่รัฐบาลคล้ายจะดึงเกมในการแก้รัฐธรรมนูญว่า ผลการศึกษาที่เสนอต่อประธานรัฐสภาและนายกฯ เป็นความเห็นที่ชอบ มีความหลากหลายในข้อมูล ก่อนหน้านี้นายกฯ เคยรับว่าหากความเห็นของคณะกรรมการฯ ที่ประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายคือรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภาเป็นอย่างไรก็พร้อม
ปฏิบัติตาม ซึ่งผลได้ออกมาแล้ว ปัญหาก็คือหากเปิดสมัยประชุมสภาแล้วยังไม่มีการดำเนินการใดๆ จากนายกฯ เราก็ต้องมาพิจารณากันก็ต้องถามรัฐบาลและนายกฯ ว่าคิดอะไรอยู่ เพราะทุกฝ่ายในคณะกรรมการฯ ก็เห็นตรงกันแล้ว นอกจากนี้ ผู้ที่นั่งเป็นประธานแต่ละคณะมีแต่ ส.ว. ซึ่งทุกท่านตั้งใจเต็มที่ใช้เวลาศึกษากว่า 45 วัน ทุกคนตั้งใจทำงานกันไม่ได้พักได้ผ่อน แต่ถึงเวลาจะเก็บไว้ในแฟ้ม เราคงไม่ยอมให้ผ่านเลยไป ต้องทวงถามกับนายกฯ ตรงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นสำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) คงไม่ใช่เรื่องการถอย เพราะร่างของ คปพร.ยื่นโดยความบริสุทธิ์ของประชาชนตามสิทธิรัฐธรรมนูญ มีการตรวจสอบรายชื่อถูกต้องแล้วส่วนที่รัฐบาลกำลังถูกจ้องว่า เริ่มสร้างเงื่อนไขหรือซื้อเวลา ประธานวิปรัฐบาล“ชินวรณ์ บุณยเกียรติ” บอกว่า อาจมองว่าเป็นการซื้อเวลา เพราะรัฐบาลต้องการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ตกผลึก เวลาคงไม่ใช่ประเด็นหลักเพราะกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงใช้เวลาไม่มากหากเห็นตรงกันแต่ประเด็นสำคัญจะทำอย่างไรให้ความคิดเห็นเป็นไปในทางเดียวกันได้ในทางกลับกันหากรัฐบาลดำเนินการไปอย่างเร่งรัดก็จะถูกมองว่า มีการตั้งธงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจากรัฐบาล“เทพไท เสนพงศ์” โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอีกคนที่ออกมายืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีการซื้อเวลาและขัดขวางกระบวนการใดๆที่ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ทุกคนในประเทศยอมรับ ซึ่งเชื่อว่าประเด็นนี้พรรคฝ่ายค้านก็คงหยิบมาเป็นประเด็นการเมืองที่จะเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลอีกครั้งเพื่อสุมไฟการเมืองให้ร้อนแรงขึ้น หวังผลให้มรสุมทางการเมืองถาโถมเข้ามา
สู่รัฐบาล และให้สถานการณ์การเมืองของรัฐบาลอยู่ในช่วงที่เลวร้าย เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านเพียงฝ่ายเดียวผลสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์ 6 ข้อที่อ้างว่า เป็นข้อสรุปของ 3 ฝ่ายทั้งฝ่ายค้าน รัฐบาล และวุฒิสมาชิกนั้น ก็ไม่ได้เป็นข้อยุติว่าเป็นข้อสรุปของคนส่วนใหญ่ แต่เป็นเพียงข้อสรุปของฝ่ายสมาชิกรัฐสภาเท่านั้นข้อสรุปดังกล่าวรัฐบาลก็พร้อมที่จะนำมาพิจารณา และต้องให้โอกาสกับพรรคร่วมรัฐบาลในการพิจารณาด้วย เพื่อให้มีความเห็นสอดคล้องกัน รวมไปถึงภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ ก็ต้องรับฟังในรูปแบบของการทำประชาพิจารณ์ หรืออาจก้าวไปสู่การทำประชามติก็ได้ ฝ่ายค้านไม่ควรหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการเมืองเพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศควรจะใช้เวลาให้รอบคอบจะว่าไปยังไงก็หลบไม่พ้นที่จะถูกข้อครหาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะจากกลุ่มบุคคลหรือผู้ที่ไม่เห็นด้วยเหตุผลที่คัดค้านกันคงจะยังมีออกมาซัดกันเป็นขั้นเป็นตอนอย่างที่เคยเคลื่อนไหวกันมาแม้โดยธรรมชาติแล้วรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมาจนถึงฉบับปัจจุบันก็ไม่ผิดแผกกันในแง่ของบางตัวบทบัญญัติ ที่จนแล้วจนรอดก็ต้องมาเป็นภาระมานั่งตีความวินิจฉัยกันอีกรอบบ้างก็ว่าหยุมหยิม ขุดกับดักไว้ล่อผู้หิวกระหายทางการเมืองให้ล้มระเนระนาดไปหลายราย หรือที่คงพอเคยได้ยินมาบ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ก็มีบางอย่างที่เปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้นักการเมืองจนเกินไปมาถึงขั้นนี้แล้ว ยังไงก็ต้องรอเพลงรอไปก่อนอยู่ดี กว่าเรื่องจะแก้แค่ไหน แก้ยังไง แล้วสุดท้ายใครได้อะไร ประชาชนอยู่รอดอิ่มท้องขึ้นบ้างหรือเปล่า...!!