WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 16, 2011

ประชาไท:สื่อแคนาดารายงานพระมหากษัตริย์ไทย ติดอันดับ 1 ผู้นำรวยที่สุดในโลก

ที่มา Thai E-News


เวบไซต์หนังสือพิมพ์แวนคูเวอร์ซัน ของแคนาดา เสนอภาพข่าวที่ทางสำนักพระราชวังเผยแพร่พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงโบกพระหัตถ์ให้พสกนิกรชาวไทย เมื่อครั้งงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์ 80 พรรษา เมื่อปี 2550 ณ พระบรมมหาราชวัง (ภาพข่าว:Vancouversun)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เวบไซต์ประชาไท รายงานข่าวเรื่อง สื่อแคนาดารายงานพระมหากษัตริย์ไทย ติดอันดับ 1 ผู้นำรวยที่สุดในโลก

เว็บไซต์แวนคูเวอร์ซัน สื่อสายอนุรักษ์นิยมของแคนาดารายงานพระมหากษัตริย์ไทยครองอันดับหนึ่งผู้นำที่รวยที่สุดในโลก ระบุทรงถือครองที่ดินจำนวนมหาศาล รวมถึงที่ดินในกรุงเทพฯ กว่า 3,500 เอเคอร์

โดยแวนคูเวอร์ซันรายงานโดยจัดอันดับผู้นำที่รวยที่สุดในโลกพร้อมประมาณการทรัพย์สินดังนี้

อันดับหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประเทศไทย 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก พระชนมายุ 82 พรรษา ทรงเป็นผู้นำที่รวยที่สุดด้วยเช่นกัน ทรัพย์สินของพระองค์นั้นประกอบด้วยการถือครองที่ดินอย่างมหาศาลรวมไปถึงที่ดินประมาณ 3,500 เอเคอร์ในกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยโต้แย้งการจัดอันดับให้พระองค์เป็นผู้นำที่รวยที่สุดในโลก โดยให้เหตุผลว่าทรัพย์สินหลายรายการนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์

อันดับที่ 2 สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของบรูไนเป็นปัจจัยที่ทำให้สุลต่านของบรูไนเป็นผู้นำที่รวยติดอันดับโลก และก็ใช้เงินไปกับรถยนต์หรู การจ้างไมเคิล แจ็กสันให้เปิดการแสดงเป็นการส่วนพระองค์เพื่อฉลองวันพระราชสมภพ 50 พรรษา ในปี รายงานของศาลแสดงให้เห็นว่าทรงจ่ายเงินค่าจ้างโค้ชแบดมินตันราว 2 ล้านเหรียญสหรัฐ อีก 2 ล้านปอนด์สำหรับค่าฝังเข็มและนวด และค่าจ้างคนทำงานบ้านอีกประมาณคนละ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ

อันดับที่ 3. ชีกห์คาลิฟา บิน ซาเอด อัล นาห์ยัน ประมาณ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ซึ่งเป็นประเทศที่ถือครองน้ำมันมากติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก ชีค กาลิฟาห์ทรงจ่ายเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการสร้างศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงการว่างจ้างแฟรงก์ เกอร์รี่ ผู้ออกแบบพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์

อันดับที่ 4 พระราชาอับดุลลาห์ บิน อาบูล อาซิซ ของซาอุดิ อาระเบีย ประมาณ 21,000 ล้านเหรียญ

อันดับที่ 5 ชีกห์มูฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มักทูม แห่งดูไบ ประมาณ 12,000 ล้านเหรียญ

ภาพอดีตประธานาธิบดีฮอสนี่ บูมารัก ที่แวนคูเวอร์ซันนำเผยแพร่ในรายงานข่าวนี้ (ภาพ:แวนคูเวอร์ซัน)

อันดับที่ 6 ฮอสนี มูบารัก ประมาณ 10,000 ล้านเหรียญ

อันดับที่ 7 ซิลวิโอ เบลุสโคนี่ ประมาณ 9 พันล้านเหรียญ

อันดับที่ 8 ฮาน อดัมส์ ที่สอง แห่งลิกเตนสไตน์ ประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญ

อันดับที่ 9 เอมิร์ แห่งการ์ตาร์ ประมาณ 2 พันล้านเหรียญ

อันดับที่ 10 อาซิฟ อาลี ซาดารี ประธานาธิบดuแห่งปากีสถาน ประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญ

กระทรวงต่างประเทศเคยแจงสื่อต่างประเทศเสนอคลาดเคลื่อน

อย่างไรก็ตามกระทรวงต่างประเทศเคยชี้แจงกรณีที่นิตยสารฟอร์บส์ เสนอบทความพิเศษของนิตยสาร Forbes เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด ดังต่อไปนี้

ตามที่ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2551 นิตยสาร Forbes ได้เผยแพร่บทความพิเศษเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ประจำปี พ.ศ. 2551 และได้จัดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ในลำดับแรก ของพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด นั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่า ทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริง มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่น ที่บทความเดียวกันนี้ไม่ได้จัดอันดับฐานะความร่ำรวย เพราะทรัพย์สินต่างๆ ไม่ใช่ของกษัตริย์ หากแต่เป็นของคนทั้งชาติ

สำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ที่ดิน” ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่หน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณะกุศลเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และจัดให้ประชาชน ที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย รวมทั้งชุมชนอีกกว่าหนึ่งร้อยแห่ง เช่าในอัตราที่ต่ำ มีเพียงส่วนน้อยประมาณร้อยละ 7 ของที่ดิน ที่จัดให้เอกชนเช่าและจัดเก็บในอัตราเชิงพาณิชย์

กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเพิ่มเติมว่า บทความพิเศษดังกล่าวยังได้พาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งไม่ถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติดังกล่าวแต่อย่างใด การที่ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นเพียงหน้าที่ขององค์พระมหากษัตริย์ ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงไปยังนิตยสาร Forbes ด้วยแล้ว

Forbesอ้างเหตุผลในหลวงทรงมีพระราชอำนาจเต็มในการจัดการทรัพย์สินจึงนับเป็นพระราชทรัพย์

อย่างไรก็ตามในปีถัดมา คือพ.ศ.2552 Forbes ยังคงจัดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเป็นกษัตริย์ที่ทรงมั่งคั่งที่สุดในโลกอีกปี(และจัดอันดับที่1ของโลกเป็นปีที่3ติดต่อกันในปีพ.ศ.2553ด้วย)โดยForbesอ้างเหตุผลว่า

ฟอร์บส์ระบุด้วยว่า ความมั่งคั่งของราชวงศ์มาจากมรดกตกทอดหรือตำแหน่งทางอำนาจ มักจะถูกแบ่งปันกันในเครือญาติ และหลายๆครั้งที่มันหมายถึงเงินที่ถูกควบคุมโดยราชวงศ์ในรูปของกองมรดก (trust) สำหรับประเทศหรืออาณาเขต และด้วยเหตุผลนี้ ราชวงศ์ทั้ง 15 ราชวงศ์ในรายชื่อนี้ขาดคุณสมบัติที่จะถูกจัดอันดับประจำปีของเราในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุด ไม่ว่าเขาจะมีสินทรัพย์เท่าไร

ยกตัวอย่างเช่น กษัตริย์ Mswati ที่ 3 ของ Swaziland เป็นผู้รับผลประโยชน์ของ 2 กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยบิดาของเขาใน trust ของประเทศ Swaziland ในช่วงที่ครองราชย์เขามีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จในการใช้เงินที่เป็นรายได้จาก trust นั้น ซึ่งทำให้เขาสามารถสร้างราชวังให้กับมเหสี 13 พระองค์และพำนักอยู่ในโรงแรมระดับ 5 ดาวเมื่ออยู่ต่างประเทศ

เช่นเดียวกัน เรารวมทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของไทยในส่วนของทัรพย์สินของกษัตริย์ภูมิพลเพราะพระองค์เป็นผู้มีอำนาจเต็มในกองมรดก (trustee) อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยไม่เห็นด้วยและออกมาประกาศว่าทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์ แต่สำนักงานทรัพย์สินครอบครองและบริหารทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์ในนามของประชาชนชาวไทย

ตรงกันข้าม ราชวัง Buckingham และเครื่องเพชรของราชวงศ์ถือว่าเป็นสมบัติของชนชาติอังกฤษ ไม่ใช่ของพระราชินี Elizabeth เพราะฉะนั้นมันไม่ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของพระองค์ แต่ทรัพย์สมบัติของพระองค์มาจากอสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ภาพศิลปะ อัญมนี และแสตมป์สะสมโดยพระอัยกา

สมศักดิ์ชี้จุดเปลี่ยนที่ทำให้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ เชื่อForbesยังประเมินรต่ำกว่าความจริง

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ เขียนบทความเรื่องว่าด้วยการ"นิยาม"และการปฏิบัติบางประการเรื่อง "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ชี้ว่า

"พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2491 ยกอำนาจในการควบคุม "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" กลับไปให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการยกเลิกการแยกแยะว่า "อันไหนเป็นส่วนพระองค์ อันไหนเป็นส่วนพระมหากษัตริย์" นั่นคือ ทำให้ "ทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์" มีฐานะเป็นเหมือนทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ไป ไม่ใช่ทรัพย์สินของรัฐ (ถ้าเป็นของรัฐ จะต้องให้รัฐจัดการ และในเมือรัฐเป็นรัฐประชาธิปไตย การจัดการนั้น ก็ต้องอยู่ภายใต้ accountability เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของรัฐ)


ดร.สมศักดิ์ ให้ความเห็นในกระดานสนทนาคนเหมือนกันว่า อันที่จริง ต้องถือว่า Forbes ยัง "ประเมินพระราชทรัพย์" ต่ำกว่าทีเป็นจริงแน่ เพราะไม่มีการประเมิน "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" ซึ่งน่าจะมีมูลค่าไม่น้อยทีเดียว

********
รายงานเกี่ยวเนื่อง:

-กระทรวงต่างประเทศชี้แจงกรณี:บทความพิเศษของนิตยสาร Forbes เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด

-Forbesเทิดพระเกียรติในหลวงเป็นกษัตริย์มั่งคั่งที่1ของโลก3ปีซ้อน

-Bloomberg:กษัตริย์ไทยครองแชมป์อันดับ1ในตลาดหุ้นไทย

-สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมบัติของใคร? : รัฐ หรือ กษัตริย์

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล:ว่าด้วยการ"นิยาม"และการปฏิบัติบางประการเรื่อง "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ในบทความนี้ดร.สมศักดิ์ชี้ว่า
"พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2491 ยกอำนาจในการควบคุม "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" กลับไปให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการยกเลิกการแยกแยะว่า "อันไหนเป็นส่วนพระองค์ อันไหนเป็นส่วนพระมหากษัตริย์" นั่นคือ ทำให้ "ทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์" มีฐานะเป็นเหมือนทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ไป ไม่ใช่ทรัพย์สินของรัฐ (ถ้าเป็นของรัฐ จะต้องให้รัฐจัดการ และในเมือรัฐเป็นรัฐประชาธิปไตย การจัดการนั้น ก็ต้องอยู่ภายใต้ accountability เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของรัฐ)


-สมบูรณ์ ชัยเดชสุริยะ" ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สนง.ทรัพย์สินฯ ให้สัมภาษณ์ประชาชาติธุรกิจ
พอร์ตในกรุงเทพฯมีประมาณ 2.1 หมื่นสัญญา กับที่ดินในต่างจังหวัดแต่ไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะทำเกษตรมีอยู่ 6 จังหวัด 6 สำนักงานย่อย ครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัด ซึ่งภาพภายนอกสำนักงานทรัพย์สินฯคนมองว่าพระเจ้าอยู่หัวมีที่ดินมากมายทำไมไม่เอามาแจกคนจน นั่นเป็นเพราะคนเข้าใจผิด ที่ดินในต่างจังหวัดจะมีเกษตรกรเช่าเป็นส่วนใหญ่ กับเป็นตลาดเล็ก ๆ ไม่กี่แห่ง


-กรณีตัวอย่างที่สถาบันกษัตริย์ สามารถปฏิเสธรัฐประหาร และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รัฐประหารพ่ายแพ้ได้ : "กบฏยังเติร์ก" 2524