WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 13, 2011

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อ่านวิกฤตสงคราม-แนวรบเหลือง-แดง "ผู้สนับสนุนใหญ่ ยังพอใจอภิสิทธิ์-ประชาธิปัตย์"

ที่มา มติชน





ข้อวิพากษ์ เหตุพิพาทที่ชายแดน ไทย-กัมพูชา มีทั้งแนวการเมือง-การต่างประเทศและความมั่นคง

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กูรู-ผู้เชี่ยวชาญ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่วิเคราะห์เฉพาะที่เกิดเหตุเกิดที่ชายแดน

แต่วิเคราะห์ลึก-ล้วงข้ามเข้าไปถึงโครงสร้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายรัฐบาล-พันธมิตร และเสื้อแดง

การปะทะกันบริเวณชายแดนเป็นความบังเอิญ หรือจงใจไปพ้องกับข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ

ตอนนี้เป็นการแบ่งระหว่างฝ่ายที่ต้องการ "สันติภาพ" และฝ่ายที่ต้องการ "สงคราม" สายเหยี่ยวกับสายพิราบ ทำ ให้จะต้องมาแก้ตัวกันพัลวันว่า ใครกันแน่ที่ต้องการ "สันติภาพ" ใครกันแน่ยุยงและกระหาย "สงคราม" และพันธมิตรฯก็ปฏิเสธไม่ได้ในจุดนี้ว่า มีส่วนผลักดันทางการเมืองภายในกรุงเทพฯจนบานปลายนำไปสู่การสู้รบที่ชายแดน

มองการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯอย่างไร

คิดว่าเขามีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกระบอบประชาธิปไตย เพราะคนกลุ่มนี้เขาไม่เล่นเกมประชาธิปไตย ไม่ชอบการเลือกตั้ง เนื่องจากไม่ได้ทำให้พวกเขาได้ประโยชน์อะไร ไม่ได้เก้าอี้ ส.ส.จากการเลือกตั้ง ดังนั้นเขาคงหวังว่าเมื่อมี "รัฐประหาร" มีการยึดอำนาจแล้ว เขาจะได้ส่วนแบ่ง ได้ "ส้มหล่น"

จำนวนมวลชนจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของพันธมิตรหรือไม่

จำนวนมวลชนสำคัญ แต่จำนวนต้องมากมหาศาลถึงจะมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในกรณีนี้คนเสื้อเหลืองไม่ใช่สีเฉดเดียวอีกแล้ว มีคนจำนวนไม่น้อยหันไปใส่เสื้อสีชมพู เสื้อสีต่าง ๆ หลากสี ความเข้มข้น ความขลังก็ลดลง ไพ่ที่ผู้นำพันธมิตรเสื้อเหลืองเคยใช้ทั้ง 3 ข้อหา คือ ไม่จงรักภักดี, ทุจริตคอร์รัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อนและชาตินิยม-วาทกรรมเสียดินแดน แต่งานนี้ผู้นำพันธมิตรฯใช้ประเด็นเดียว คือ ชาตินิยม ไม่ได้ใช้เรื่อง "สถาบัน" กับเรื่อง "ทุจริตคอร์รัปชั่น" น้ำหนักจึงไปอยู่ที่ไพ่ใบสุดท้าย คือ ชาตินิยม การเสียดินแดน

ผมคิดว่าอาจจะปลุกยาก แม้จะมีมวลชนมาในระดับหนึ่งก็ตาม แต่คนจำนวนเยอะที่เคยสนับสนุนมาก่อนก็ไม่เล่นด้วย

การเล่นเกมในรอบนี้พันธมิตรฯจะทำสำเร็จผลบรรลุเป้าหมายหรือไม่

เขาคงอยากให้สำเร็จ...แต่ความจริงแล้วสำเร็จยาก เพราะกำลังไม่พอ จุดแล้วไม่ติด เช่นล่าสุดแม้มีการปะทะ มีสงครามชายแดนแล้ว แต่กองทัพก็ดูจะไม่เล่นด้วยอย่างเต็มที่

แต่ผมคิดว่าพลังอาจจะไม่มีพอ และถ้าเผื่อไม่ได้ความสนับสนุนจากฐานเสียงคนชั้นกลางใน กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้กำลังช่วยจากผู้กุมอำนาจรัฐ จากกองทัพ จากข้าราชการส่วนกลางหรือท้องที่ ผมว่ายาก

เพราะฉะนั้นไพ่ใบนี้ ไพ่รักชาติ ไพ่เสียดินแดน ปลุกให้ติดยากมาก เป็น การ "เข็นครกขึ้นภูเขา" และที่สำคัญคือ "เป้า" ก่อนหน้านี้ก็ชัดเจนมาก คือเป้าอยู่ที่คุณทักษิณ รัฐบาลคุณสมัคร และคุณสมชาย ที่พันธมิตรฯล้มได้สำเร็จก็เพราะมี "ผู้สนับสนุนรายใหญ่ ๆ" ช่วยหนุนให้โค่นรัฐบาล 3 ชุดนั้น

แต่ตอนนี้รัฐบาลเป็นฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ และคุณอภิสิทธิ์ที่แม้เคยร่วมมือกันมาก่อน และก็กลายเป็น "เป้า" ไปแล้วนั้นยังอาจทำได้ไม่ถนัดนัก ถ้าผู้สนับสนุนรายใหญ่ "พลังต่าง ๆ เดิม ๆ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพ ยังไม่เอาด้วย

โอกาสรัฐประหารยังเป็นไปได้หรือไม่

โดยเหตุผล ตรรกะ ไม่น่าจะมีรัฐประหาร แต่การเมืองไทยคาดการณ์ยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะการเมืองบ้านเราขึ้นกับอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของคนเพียงไม่เกิน 5 คน 10 คน ดังนั้นอะไร ๆ ที่เราไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นได้

การออกมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯในรอบนี้ คิดว่าได้รับใบสั่งหรือไม่

ผมไม่คิดว่าเขาได้รับใบสั่งนะ ทั้งคุณจำลอง คุณสนธิ, โพธิรักษ์ ก็เป็นคนที่มีความคิดความอ่านของตนเอง เชื่อมั่นตนเองสูง แต่ผมคิดว่าตอนนี้เขาประเมินสูงเกินไป "ล้ำเส้น" หรือ "สุดโต่ง" เกินไป ทำให้บรรดาผู้สนับสนุนเก่าหายไปเยอะ

ความเคลื่อนไหวของเสื้อแดงในปีนี้จะรุนแรงขึ้นอีกหรือไม่

ถ้าใช้ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เป็นตัวไล่เรียงมา คำตอบน่าจะเป็น "ความรุนแรงไม่ลด" มีแต่ "เพิ่มขึ้น" เพราะคนระดับ "ล่าง" เปลี่ยนไปเยอะ

ข้อมูลข่าวสารมันไหลถ่ายเทมาก ๆ คนระดับล่างหาใช่มวลชนที่ไร้จิตสำนึก หรือยอมสยบอีกต่อไปไม่ ข้อมูลหรือแม้แต่เรื่อง "ซุบซิบ ๆ นินทาว่าร้าย" ก็ดูเหมือนว่าในระดับ "คนชั้นกลางระดับล่าง" คนนอกเมือง คนในชนบทก็มีความ "เสมอภาคเท่าเทียม"

แนวโน้มการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้น

ผมคิดว่าคนจำนวนมากรอความเปลี่ยนแปลง ความไม่พอใจของคนจำนวนมากจะจุดประเด็นได้ ตอนนี้ น่าจะเรียกได้ว่าเป็น waiting game และเป็น "การเมืองตัวแทน" politics of nominees เสียมากกว่า "ตัวเอก ฉากเอก เวลาจริง" ยังไม่ถึง ยังไม่ออก

(อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มทางเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจได้ ที่นี่)