ที่มา มติชน ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ประธาน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติหรือ คอป. ให้สัมภาษณ์พิเศษ กองบรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหลายประเด็นที่น่าสนใจ มติชนออนไลน์ นำมาเสนอ ตอนแรกวันที่ 17 ก.พ. เป็นเรื่อง บทบาทของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ พร้อมวิพากษ์กระบวนการยุติธรรม ตอนสุดท้าย 18 ก.พ. จะเป็นประเด็นเรื่องการเมือง นักการเมือง กระบวนการยุติธรรม การยึดอำนาจ และรัฐธรรมนูญ ถามว่าการเมืองเราเป็นยังไง เมื่อต้นเดือนสิงหาที่คณะนิติศาสตร์ที่ผมอยู่ ก็ไปสัมมนากันที่ระยอง แล้วก็กินข้าวเสร็จ มีร้องเพลง มีอาจารย์ท่านหนึ่งร้องเพลงเซิ้งอีสาน เท่าที่ผมทราบแต่งโดยคุณหงา คาราวาน แต่งในสมัย ที่อเมริกาเข้ามาในสมัยสงครามเวียดนาม เขาบรรยายถึงความยากแค้นการเอารัดเอาเปรียบอะไรต่างๆ ผมฟังแล้ว เนื่องจากผมมารับหน้าที่นี้ ผมฟังแล้วผมสะท้อนใจเพราะตั้งแต่ปี 2515-2516 สภาพพี่น้องเราที่อีสานนี่นะครับกับเดี๋ยวนี้ไม่แตกต่างกันเลย นี่แสดงว่าการเมืองไม่ได้ทำให้เราดีขึ้นเลยนะ และผมก็มองว่าไม่ใช่เฉพาะคนอีสานที่อยู่ในเพลงหรอก จริงๆ แล้วเป็นทั้งประเทศนั่นแหละ ผมไม่เห็นการเมืองเราพัฒนาอะไรเลยมันทำกันอย่างนี้แหละ ที่เขาบอกว่าเล่น ทำเป็นเล่น ฉะนั้น generation ต่อไปเราอย่าเพิ่งสิ้นหวัง ก็ช่วยกันให้ดีขึ้นในอนาคตต่อไป ศ.ดร.คณิต : ชัดอยู่แล้ว ไปหาเสียงทำอะไรมาไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ ผมคิดว่าอย่างนี้ด้วยนะ การเมืองระยะหลัง ถ้าผมพูดตรงๆ ก็ต้องบอกว่า ขณะนี้วงการราชการเราถูกทำลายเยอะเลย โดยผลของนักการเมืองที่เก่าๆ วงการราชการแต่ก่อนนี้ ความน่าเชื่อถือมันค่อยๆ น้อยไปหน่อยแล้ว มันลงมาเล่นกับวงการราชการก็ไปกันใหญ่ ประเด็นสำคัญที่มีการปฏิรูปเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทยก็คือ การให้ศาลเป็นผู้ออกกฎหมาย (หมายจับ หมายค้น) แต่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาจริงๆ เหมือนกับว่าเปลี่ยนคนเซ็นมากกว่า จากตำรวจเป็นศาล และวางหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เช่น ศาลไม่มีการบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้นเพราะหากมีจะกระทบกระเทือนความมีอิสระในการทำงาน และการจ่ายสำนวน เมื่อจ่ายให้ผู้พิพากษาท่านใดทำแล้วจะเพิกถอนไม่ได้ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำนวนไม่ได้แต่แม้มีการปฏิรูปแล้วก็ยังไปได้ไม่ถึงไหน ในปัจจุบันก็ยังต้องปรับปรุงต่อไปอีกมาก ถ้าท่านติดตามข้อเขียนของผมก็จะทราบว่ามีอีกมากที่เราจะต้องปรับปรุงเกี่ยวกับข้อวิจารณ์ ตอนนี้คนก็เริ่มเข้าใจกันบ้างแต่ก็ยังเข้าใจไม่หมด เช่น ขณะนี้มีทั้งตำรวจ มี DSI มีอัยการ มี ปปท. ปปช. หน่วยงานทั้งหลายทะเลาะกันหมด ซึ่งเป้าหมายอันเดียวกัน ในชั้นศาลก็ยังไม่ค่อยลงรอยเท่าไหร่แต่มีปัญหาน้อย แต่ศาลก็ไม่ค่อยจะactive เป็น passive ให้อัยการต่อสู้ คดีอาญาไม่ใช่เรื่องการต่อสู้กัน ผม อ่านวิ.อาญาต่างจากคนอื่น เพราะในวิ.อาญาเราเขียนไว้เลยว่าศาลเป็นผู้สืบพยาน จะสืบในศาลหรือนอกศาลก็ได้แล้วแต่ลักษณะพยาน ดังนั้นเราไปที่ศาลเดี๋ยวนี้เราจะพบว่าศาลไม่ได้ทำทั้งหมด จะปล่อยให้สู้กันคดีมันก็ยืดเยื้อ คดีแพ่งยิ่งไม่ต้องพูดถึงยืดเยื้อหนักเลยมีหลายๆ เรื่องการไม่ active ของศาลทำให้กระบวนการยุติธรรมเราแย่ ถ้าต่างประเทศ ถ้าให้อัยการฟ้องเท่ากับว่าเชื่อได้แน่ว่าติดคุก ไม่มียกฟ้องเยอะ การที่ยกฟ้องเยอะแสดงว่าไม่มีประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมไทย ผมวิเคราะห์ว่ามันมีความแย่สามประการ ประการแรก คือประสิทธิภาพด้อย ถ้าเทียบกับญี่ปุ่นคนละโลกเลย ญี่ปุ่นเขาสามารถเอานายทานากะซึ่ง เป็นนายกรัฐมนตรีติดคุกได้ เกาหลีก็ใช้ได้ ประการที่สอง คือคุกคามสิทธิของบุคคลเยอะ เช่นตีตรวจ หรือแม้กระทั่งข้อเสนอของคณะกรรมการชุดผมที่ออกไปเร็วๆ นี้ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ประการที่สาม cost ในด้านบุคลากร ผมเคยเปิดหนังสือของญี่ปุ่นดู ตำรวจญี่ปุ่นเขาน้อยกว่าเรามากจำนวนผู้พิพากษาก็น้อยกว่าเรา ในขณะที่เขามีประชากรมากกว่าเราสองเท่า เราก็สุดๆ ทั้งสามด้านในคุกเราก็ยังแน่นเพราะเราไม่ได้มีการบริหารคดี เราพอมีการฟ้องก็เข้าคุกไป แน่น ที่ไม่จำเป็นก็ขัง ผมให้สัมภาษณ์เลยว่า ถ้าปฏิบัติตามผม ผู้ต้องขังในเรือนจำระหว่างคดีจะลดจากประมาณ 39% เหลือ 20% จะแก้ปัญหาคนล้นคุกได้ คนล้นคุกของเราอัยการญี่ปุ่นเขาบอกว่าสภาพคุกในเมืองไทยคือคุกญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ของเราอนุรักษ์นิยมไว้ คือเราไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย ทำเสร็จๆเป็นวันๆ มีปัญหาเยอะแยะ นี่ก็คือกระบวนการยุติธรรมของเราผมก็คงตอบได้แค่นี้ แต่ว่าเราไม่ควรจะสิ้นหวัง เราต้องพัฒนาต่อไปอย่างตอนนี้ ผมพูดถึงเรื่องให้ศาลเป็นผู้ออกหมายจับ ผมไม่คาดคิดว่าผมจะได้เห็นในขณะที่ผมมีชีวิตอยู่ เพราะว่าตอนที่เราผลักเรื่องนี้เข้าไปอยู่ในรัฐธรรมนูญนี้ตำรวจเขาต่อต้านอย่างมาก บอกว่าจะไม่สะดวกในการทำงาน เขาบอกทำไมไม่ไปแก้กฎหมายทีหลัง ผมบอกว่าถ้าไปแก้กฎหมาย ผมตายสิบชาติก็ไม่เกิดหรอก และจริงๆ เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อเรารับระบบยุโรปมาในสมัยก่อน ศาลก็เป็นคนออกหมาย แล้วก็นอกจากความคิดของเราที่เป็นอำนาจนิยมที่ผมว่า ความคิดในวงการราชการ รวมทั้ง วงการยุติธรรมด้วย คือความคิดในเชิงราชการที่เขาเรียกในเชิง“Bureaucracy” คือจะพยายามตั้งหน่วยงานออกมาเยอะ และที่น่าสนใจที่สุดก็คือว่าคณะชุดผม ที่ผมเรียนแล้ว ช่วยผลักดันเรื่องการคุ้มครองพยานเข้าไปไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เพราะเราพบว่าพอไปเป็นพยานในศาล ลงมาจากบัลลังก์ ออกจากศาลก็ถูกยิงตาย ไม่มีใครไปดูแลความปลอดภัยให้เลย ความจริงมีคนไปดูแลเยอะ ตำรวจก็มีหน้าที่ใครก็มีหน้าที่ แต่ปรากฏว่า พอไปอยู่ตรงนั้นก็ถือโอกาสสร้างสำนักงานคุ้มครองพยานขึ้นมาในกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคุ้มครองพยาน หากใครอยากได้รับการคุ้มครองผมก็จะพิจารณาก่อนที่ผมจะสั่งบางที อาจเป็นอันตรายก่อน ต้องเข้าไปดูแลทันที แล้วหน่วยงานที่เกิดขึ้นมันไม่มีเล็ก มันจะใหญ่ ผมบอกว่าไอ้ที่คุณทำอย่างนี้มันภาษีผม เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราจะต้องมาดูว่าสิ่งไหนที่ไม่จำเป็น หรือมีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรจะมีให้ซ้ำซ้อน พอมีซ้ำซ้อนก็มีภาษีเยอะ ที่น่าสนใจ คือว่ากฎหมายว่าด้วยการตั้งสำนักงานคุ้มครองพยานเข้าคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ผมนั่งอยู่ด้วย ผมพูดให้ฟังไม่มีใครฟัง เขาก็เข็นออกมาจนได้ ผมก็ไม่รู้จะทำยังไง ของของเราก็จะยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ ของเราในประวัติศาสตร์ก่อนการปฏิรูปการเมืองเมื่อปี 2540 มีกรมเกิดเยอะแต่ไม่เคยยุบเลยมีกรมเดียวที่ยุบไปก็คือ สำนักนโยบายและแผนกระทรวงมหาดไทย มีกรมเดียวนะในอดีตเพราะผมก็เคยทำงานที่ กพ. กรมที่เกิดขึ้นมาเกิดตามคน ไม่ตามภารกิจ อย่างเช่นสมัยก่อน สำนักงานอัยการสูงสุดมีกองฎีกากองอุทธรณ์ กองฎีกา อุทธรณ์ไม่ทำอะไรเลยจนกระทั่งเราเรียกว่ากองไม่อุทธรณ์ กองไม่ฎีกา สมัยผม ผมได้ยุบรวมสองกองนี้เหลือกองเดียวเรียกว่าสำนักงานอัยการศาลสูง ความต้องการของผมคือต้องการให้อัยการชุดนี้ดูแลกฎ ข้อกฎหมายให้ดี แล้วนอกจากนั้นก็วิเคราะห์การทำงานของอัยการศาลล่าง เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนยศ ปลดย้าย แล้วก็เป็นเช่นนี้ ผมก็เลยเป็นอัยการสูงสุดคนเดียวที่พอปลดเกษียณมาถูกสำนักงานอัยการสูงสุดฟ้อง แต่ความจริงอำนาจปกครองแคบไป ต้องเรียกว่าสิทธิที่จะให้การศึกษาอบรมและดูแล และถ้าท่านอ่านตำราของผมก็จะพบคำนี้ เพราะการพรากผู้เยาว์มันเป็นการพรากไปจากบรรดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ผู้ดูแลไม่มีอำนาจปกครองตามความหมายที่กฎหมายเขียน และผมเจอฎีกาหลายๆ เรื่องที่พูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เริ่มติดตลาด อาจารย์ปรีดีท่านพูด “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี เสรีภาพก็ดี อนามัยก็ดี หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด” อย่างนี้มันก็คือคุณธรรมทางกฎหมายทั้งนั้น ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน เป็นภาพในทางความคิด professor ญี่ปุ่นเขาเคยมา lecture ที่นี้ สมัยท่านอาจารย์เกียรติขจรเป็นคณบดี ผมก็เอานักศึกษาปริญญาโทเข้ามานั่งฟัง เขาพูดว่า ‘Legal Interest’ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และการที่เรานำมา มันเป็นการที่ใช้ประโยชน์ได้เยอะ เพราะทำให้เราเห็นการเป็นผู้เสียหายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และผมเคยคิดอยากเป็นทนาย ตอนที่ผมมาสอบอัยการ เพราะว่าสมัยก่อนเวลาเราได้เนตินะ หน่วยงานที่เราอยู่จะมองว่าเราเป็นกาฝากและผมมาสอบอัยการ และถ้าสอบไม่ได้ ผมจะลาออกไปตั้งสำนักทนายความเป็นของตัวเอง เป็นทนายความ แต่บังเอิญผมสอบได้ก็เลยโชคช่วยไป หลังจากที่ปลดเกษียณไปแล้ว ผมไม่ทำเพราะว่าเหตุที่ไม่ทำเพราะว่าผมคิดว่าผมมองอะไรออกเยอะ และถ้าคิดว่าผมใช้กฎหมาย ใช้ไปในทางนั้น บางทีอาจจะไม่เป็นไปกับประโยชน์ของสังคมก็ได้ ผมเลยอยู่เฉยๆ สอนหนังสือดีกว่า และในคดีนายกอานันท์ ผมต่อสู้โดยใช้หลักนี้ คุณธรรมทางกฎหมาย ผมก็บอกว่าคนฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย ฟ้องตามมาตรา 157 มาตรานี้ไม่ใช่คุณธรรมทางกฎหมาย เป็นส่วนบุคคลแต่เป็นความบริษัทสะอาดอันเป็นเรื่องส่วนรวม แต่ผมก็แพ้ในข้อกฎหมาย สู้ไปแต่ในที่สุดนายกอานันท์ก็ถูกศาลชั้นต้นยกฟ้องส่วนอีก 3 ท่านก็ไปถูกยกฟ้องในศาลฎีกา มันนำมาใช้ได้ แต่ว่าในส่วนของมาตรา 157 นี้ ความจริงมันไม่มีโอกาสที่เอกชนจะฟ้อง แต่เราก็ได้ยอมรับให้มีการฟ้อง อย่างนี้เป็นต้น ศ.ดร.คณิต : รัฐธรรมนูญปี 2550 ผมยังอ่านไม่จบ เหตุที่ผมอ่านไม่จบนั้นเพราะว่าผิดคิดต่างไปจากคนอื่น ผมว่าคนร่างไม่มี ‘justification’ แต่ผมก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ดี ไม่ได้พูดอย่างนั้น ผมพยายามรักษาตัวเองว่าที่ไหนที่มีสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าไม่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ผมก็ไม่ไปทำ สำหรับตัวรัฐธรรมนูญนั้น ผมไม่ได้บอกว่าไม่ดี แต่ผู้ร่างไม่ได้ไปในทิศทางที่ถูกไงไม่มี ‘justification’ คือหมายความว่าเราจะทำอะไร เราจะต้องมีความชอบธรรมในการทำ หมายถึงการเข้าร่าง ผู้เข้าร่างไม่มีความชอบธรรมในเบื้องต้น สมัยปี 2540 เรามี ‘justification’ เราเข้าไปโดยถูกต้อง เพราะขณะนั้นมีการเลือกโดยรัฐสภา ผมเข้าไปในฐานะผู้เชี่ยวชาญเพราะฉะนั้นในการที่เรามีความถูกต้องชอบธรรม เข้าไปเราก็มีสิทธิที่จะร่าง ส่วนจะดีหรือไม่ดี ผมไม่รับรอง แต่ในปี 2550 นี้ เขารังเกียจว่าคนร่างเข้าไปโดยไม่ถูกต้องผมไม่มีความจำเป็นในการที่จะอ่านมันจนจบ แต่ผมก็อ่านบ้าง เช่น หากผมจะต้องแต่งตำรา เช่นข้อเสนอแนะก็มีพูดถึงเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมก็เอามาอ้าง แต่ผมไม่มีความจำเป็นต้องอ่าน และใครมาถามผม ผม ก็ไม่รู้และผมก็ไม่สนใจ ส่วนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเขาก็ทำไป อย่างนั้นเอง และไม่ใช่วาจะมีผลอะไรเท่าไหร่เพราะเป็นเรื่องการเมือง เพราะฉะนั้นผมเลยวิจารณ์ แต่เรื่องกระบวนการยุติธรรมทั้งนั้น ผมต้องการให้ดี เป็นหลักได้ เพราะถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่ดี จะพัฒนาไปไม่ได้ เช่น ดูเกาหลี ญี่ปุ่น หรือประเทศที่เจริญแล้วเช่นฝรั่งเศส เยอรมัน หรือทั้งหลายในยุโรปล้วนแล้วแต่กระบวนการยุติธรรมดีทั้งสิ้น เพราะถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่ดีจะไปไม่รอด ของเราก็มีการยึดอำนาจกันมาตลอด ตอนที่ผมศึกษาอยู่ที่เยอรมัน เคยมีนายพลใหญ่ของกองทัพเยอรมันได้รับเชิญจากนายพล Franco ไปร่วมในพิธีสวนสนามที่สเปน ซึ่ง Franco เป็นเผด็จการ ต่อมานายพลนี้ก็ถูกปลด ส่วนประเทศอัฟริกาในสมัยเหยียดผิวไปร่วมอย่างนี้กลับมาโดนปลด ในประเด็นนี้ผมสนับสนุนให้มีการทำวิจัยเรื่องว่าบ้านเมืองอื่นเขาจัดการกับเรื่องอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดการปฏิวัติทหารต้องจัดการอย่างไร ผมไปอ่านในรัฐธรรมนูญเยอรมัน เขาพูดถึงผู้ตรวจการทหารไม่ใช่กรรมาธิการทหารที่เราพบในสภา ซึ่งเขาเลือกมาให้มีการวิจัยเรื่องนี้ ประเทศที่เจริญแล้วเขาจะมีความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับอำนาจ
ผู้สัมภาษณ์ : ในฐานะที่อาจารย์อยู่ในวงการยุติธรรมมานาน อยากทราบความเห็นของอาจารย์ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองไทยทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง หรือกระบวนยุติธรรมต่างๆ นี้ ต้นเหตุของปัญหานี้เป็นเพราะตัวระบบที่เป็นอยู่ในประเทศไทย หรือเป็นเพราะตัวบุคคลที่ทำให้เกิดความวุ่นวายอยู่ในทุกวันนี้
ศ.ดร.คณิต : ผมไม่เคยเข้าไปแวดวงการเมืองนะ ผมหลงทางไปทีเดียวในสมัยคุณทักษิณคือตอนที่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ผมเป็น สสร. ด้วยและคุณทักษิณก็เข้ามาทาบทามผม ว่าผมก็มีอะไรที่อยากทำอยู่เยอะ ก็เป็นเรื่องจริง และผมก็คิดว่าการเมืองตอนนั้นน่าจะเป็นมิติใหม่แล้ว แต่ก็พบว่ามันไม่จริง ผมก็เลยถอย ผมก็ข้องแวะกับการเมืองแค่นี้แหละ อย่างอื่นผมก็ไม่เคย
อันนี้ก็คือ ถ้าถามการเมืองผมก็จะตอบอย่างนี้ แต่ผมไม่เคยคิดจะลงไปเล่นการเมืองที่ผมเข้าไปนั้นผมหลงทาง นี่เขียนไว้ในตำราของผม ลองไปอ่านดูในคำนำกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผมไปอยู่สองปีแล้วผมก็ออกมาสอนหนังสือ ซึ่งผมก็คิดว่าสอนหนังสือมันถูกจริตผม แล้วผมก็สบายใจด้วยที่จะทำไม่ต้องไปยุ่งยากวุ่นวายกับใคร
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอาจารย์คิดว่าต้นเหตุอยู่ที่นักการเมืองหรือเปล่า ที่ทำให้ปัญหา ต่างๆ เกิดขึ้น
ผู้สัมภาษณ์ : กล่าวได้ว่าอาจารย์คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม หากเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยในอดีตเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว อาจารย์เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาดังที่อาจารย์ได้มุ่งหวังไว้หรือไม่ เพียงใด
ศ.ดร.คณิต : กระบวนการยุติธรรมของไทยปฏิรูปครั้งแรก ปี 2540 โดยรัฐธรรมนูญฉบับที่เรียกว่า “ฉบับประชาชน” พวกผมหลายคนอาจารย์ ดร.กิตติพงษ์ คุณพงษ์เทพ เทพกาญจนา ช่วยผลักดันเรื่องนี้มาก
ถามว่าตอนนี้ดีกว่าเก่าไหม ผมบอกได้เลยว่า “กฎหมายของเรา ไม่เลวกว่ากฎหมายใดในโลกนี้” แต่คนของเรายังต้องศึกษาอีกเยอะ เพราะฉะนั้นการให้การศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะในชั้นอุดมศึกษารวมทั้งมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ก็ดีขึ้นแต่ยังไม่ดีเท่าที่ควร อาจสืบเนื่องมาจากว่าคนไทยเรามีความเป็นอำนาจนิยมสูง คนที่เกิดแบบเสรีนิยมมีน้อย เมื่ออำนาจนิยมสูงเราจึงทำงานไม่สอดประสานกัน อย่างกระบวนการยุติธรรม จริงๆ แล้วการตรวจสอบความจริงมีสองชั้นคือ เจ้าพนักงาน กับชั้นศาล ชั้นเจ้าพนักงานเรามีเจ้าพนักงานหลายฝ่ายเราก็ต่างคนต่างทำ
ตอนที่ผมอยู่สำนักงานอัยการสูงสุดมีน้องๆ มาถามผมตลอดเวลาว่าปีนี้จะได้อัตราเพิ่มซักเท่าไหร่ สิ่งที่ผมตอบว่าอะไร ผมตอบว่าผมยังไม่ทราบเลย ว่าจะหางานอะไรให้พวกคุณทำ ถ้าได้งานแล้วคนจะตาม ไม่ใช่มีคนโดยไม่มีงาน แล้วก็หน่วยงานไหนก็ตาม มีคนแล้วว่างงานเป็นปัญหาหน่วยงาน แต่พวกอัยการไม่ค่อยชอบเพราะผมไม่เคยขยายBureaucracy อย่างที่เกินความจำเป็น และผมพยายามจะยุบ แต่ยุบได้ไม่หมดเหมือนกัน
ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์ได้เคยเสนอเรื่องคุณธรรมทางก ฎ ห ม า ย อัน เ ป็นแนวคิดของประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายอ า จ า ร ย์คิด ว่า ใ นปัจจุบันได้มีการศึกษาเพิ่มเติมหรือไม่ และองค์กรตุลาการได้นำมาปรับใช้มากขึ้นหรือไม่อย่างไร
ศ.ดร.คณิต : ผมคิดว่ามี แต่ก่อนนี้ไม่มีใครพูดถึงในเรื่องนี้ ในเรื่องคุณธรรมทางกฎหมายไม่ใช่ผมคนแรกที่เอามาพูด แต่เรียกคนละอย่างกัน คนแรกที่ผมทราบ คือ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ก็เป็นอาจารย์ที่นี้ แต่ท่านไม่ได้เรียกว่าคุณธรรมทางกฎหมาย แต่ท่านเอามาจากคำเดียวกับภาษาเยอรมันท่านเรียกว่า นิติสมบัติ ถ้าใครอ่านหนังสือของอาจารย์ปรีดี และขณะนี้เริ่มเข้าใจแล้วนะ เพราะฎีกาบางฎีกาพูดถึงอำนาจปกครองในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ซึ่งอำนาจปกครองก็คือคุณธรรมทางกฎหมายอันหนึ่ง
ไม่ติดตลาดเลย พอผมมาพูดก็เริ่มติดตลาดขึ้น เดี๋ยวนี้คนเรียนกฎหมายถ้าไม่รู้จักคำนี้ เชย และเรื่องคุณธรรมทางกฎหมายมันไม่ใช่แค่เรื่องของทางกฎหมายอาญาเท่านั้น ตอนที่ผมนำมาพูดใหม่ๆ มันมีที่ไหนในระบบกฎหมายเรา ความจริงเรามี ท่านที่เรียนละเมิดมาแล้วก็จะเห็น
และหลายๆ อย่างที่ทำให้เกิดพัฒนาอย่างผู้เสียหายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่คือผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ผมไม่สอนอย่างนั้น ผมสอนว่าผู้เสียหายคือผู้ที่คุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นส่วนบุคคลถูกล่วงละเมิด และผมใช้แนวคิดนี้ไปต่อสู้คดีให้นายกอานันท์ ปันยารชุน และถ้าท่านสนใจลองไปอ่านดูใน ข้อกฎหมายในคดีนายก อานันท์ ผมเป็นทนายใหญ่ ทนายในเมืองไทย สู้ผมไม่ได้ เพราะว่าลูกความผม ที่ผมว่าความดำเนินคดีให้ อดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน อดีตประธานศาลฎีกา สวัสดิ์ โชติพาณิชย์ อดีต รมต.
กระทรวงยุติธรรม
ผู้สัมภาษณ์ : ในฐานะที่อาจารย์เคยเป็นสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 อาจารย์คิดว่ารัฐธรรมนูญปีปัจจุบันปี 2550 มีข้อบกพร่องหรือไม่ อย่างไรบ้าง
แต่ผมออกห่างจากการเมืองอยู่แล้ว ผมถอยห่าง ผมไม่กลับไปยุ่ง ผมคิดว่านอกจากนั้นแล้ว หลังจากที่ผมรับหน้าที่หลังจากที่เข้าไปสัมผัสแล้วทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ารังเกียจการยึดอำนาจ ผมว่าประเทศที่เจริญด้วยเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กระบวนการยุติธรรมเขามีประสิทธิภาพ ถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่มีประสิทธิภาพ แบบบ้านเราหรือประเทศที่ด้อยๆ ทั้งหลาย การพัฒนาประชาธิปไตยมันเป็นไปไม่ได้
ผมไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ผมทำวิจัย เราต้องการเปลี่ยนแปลง แต่เราต้องการให้คนอื่นเห็นว่าการเจริญเป็นเช่นนี้ ผมเคยพบปลัดกระทรวงกลาโหม ท่านใหญ่สุดรองจากรัฐมนตรี แต่ท่านบอกว่าไม่ใช่หรอกนายพลจากกองทัพที่ใหญ่จริง แต่ความจริงต้องเป็นปลัดต้องมีบทบาทที่สำคัญ ถ้ากองทัพไม่มีงบประมาณมันก็ไม่สามารถทำอะไรได้และสองสามวันต่อมาก็เชิญผมไปพูดอีก นายพลจากกองทัพก็มานั่งกันเต็ม ผมพูดไปทุกคนก็เห็นด้วยหมด แต่มันไม่เกิดความเป็นจริงขึ้นมา ถ้าตีแผ่ออกมาได้จะเป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างมาก เราไม่ได้หมายความว่าเราจะไปห้ามเขาได้ ผมแค่ต้องการให้เห็นภาพ ผมเรียนตั้งแต่ต้นแล้วว่า งานของพวกผมที่ออกมา มองในด้าน ‘prevention’ ที่จะป้องกันไม่ให้มันซ้ำแล้วซ้ำอีก ย้ำซอยอยู่กับที่