WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 19, 2011

การเมืองอินเตอร์เน็ต : บทเรียนจากอียิปต์ถึงประชาไทดอทคอม

ที่มา ประชาไท

ตัวแทนคณะกรรมการปกป้องสื่อ หรือ CPJ เล่าเรื่องการใช้สื่อออนไลน์รณรงค์ทางการเมืองในอียิปต์ ระบุรัฐบาลอียิปต์ปิดกั้นเสรีภาพออนไลน์แบบไม่มีกฎหมายรองรับ สฤนี อาชวานันกุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต ตั้งข้อสังเกตคดีผอ. ประชาไท ชี้ให้เห็นว่าขาดกระบวนการและขั้นตอนในการบังคับใช้ พรบ. คอมพิวเตอร์

17 ก.พ.54 ศูนย์นโยบายสื่อมวลชนไทย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต และซีป้า (Southeast Asia Press Alliance – SEAPA) จัดเสวนา “เสรีภาพอินเตอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : แนวคิดใหม่ อุปสรรคใหม่ (A Public Forum on Internet Freedom in Southeast Asia : New Frontier, New Barrier)” ที่ห้อง 210 ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สฤณี อาชวานันทกุล จากเครือข่ายพลเมืองเน็ต และแดนนี่ โอเบรียน จาก CPJ (Committee to Protect Journalists) ร่วมอภิปรายหัวข้อ “การเมืองอินเตอร์เน็ต : บทเรียนจากอียิปต์ถึงประชาไทดอทคอม (Internet Politics : Lesson learnt from Egypt to Prachatai.com)”

แดนนี่ โอเบรียน (Danny O’Brien)
คณะกรรมการปกป้องสื่อ-Committee to Protect Journalists (CPJ)

ผมคงไม่สามารถวิเคราะห์การเมืองของอิยิปต์ได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากผมเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเมืองมากมายนัก

สถานการณ์ทางการเมืองในตูนิเซียและอิยิปต์มีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก และเราไม่ทราบว่าจะก้าวไปถึงไหนอย่างไร CPJ เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีสัญญาณบ่งชี้บางอย่าง ผมคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ CPJ ในภูมิภาคแอฟริกา เราเห็นว่าอิยิปต์กำลังจะเปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ จะมีความตึงเครียด ถึงเราจะเห็นว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ มีวิธีที่หลากหลายในการปิดกั้นอินเตอร์เน็ต แต่ความจริงแล้วไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันเลย

เราพอจะแยกแยะได้ระหว่างการควบคุมและการปล่อยเสรีอินเตอร์เน็ต อิยิปต์ไม่มีการควบคุมอินเตอร์เน็ต แต่ใช้การข่มขู่คนที่โพสต์ข้อความ อิยิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการจับบล็อกเกอร์ขังคุก และต่อมาก็เพิ่มความสลับซับซ้อนมากขึ้น ตำรวจจะมุ่งไปที่ตัวบล็อกเกอร์ที่ไม่มีแรงสนับสนุนจากประชาชนและประชาคมโลก หากบล็อกเกอร์คนใดพูดถึงเรื่องความยากจนของอิยิปต์ ก็มีสิทธิที่จะโดนข่มขู่ได้ การควบคุมโดยใช้ตำรวจลับจึงมีแสนยานุภาพมากกว่า และรัฐบาลอิยิปต์ยังใช้วิธีการดึงเอาบรรดาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP เข้ามาเป็นพวกอีกด้วย

สัญญาณบ่งชี้ที่เราพบ ประการแรกคือ ประมาณพฤศจิกายนปีที่แล้ว รัฐบาลอิยิปต์เริ่มกดดันบริษัทโทรศัพท์มือถือ และควบคุมไม่ให้มีการส่งเอสเอ็มเอสคราวละมากๆ

สิ่งที่ผมต้องการเน้นในที่นี้คือ มีการกระทำโดยที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายเลย รัฐบาลอิยิปต์สามารถปิดกั้นอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วโดยการกดดันไปที่ ISP หรือตัวกลาง ประเทศที่มีการควบคุมอินเตอร์เน็ตอย่างแข็งขัน ก็คือประเทศที่มีการควบคุม ISP อย่างแข็งขัน ในฐานะนักเทคโนโลยี กรณีของอิยิปต์ทำให้ตระหนักว่าเราต้องคุ้มครองตัวกลางให้ไม่ต้องรับแรงกดดันทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวกลางเหล่านั้นมากขึ้น

กูเกิ้ลใช้ความพยายามในการรณรงค์เสรีภาพในอิยิปต์ ซึ่งเป็นคุณอย่างใหญ่หลวง ขณะที่บริษัทโทรศัพท์มือถือกลับไม่มีปากมีเสียง

อีกกรณีหนึ่งคือ Noor Group เป็น ISP รายเดียวที่ไม่ยอมปิดให้บริการในอิยิปต์ บางคนพูดว่าที่ยังให้บริการอยู่นั้น เพราะว่าเกี่ยวข้องกับการให้บริการสถาบันการเงินซึ่งมีเป็นจำนวนมาก แต่ผมเองไม่เชื่อคำพูดนี้สักเท่าใด ถ้าตัวกลางกล้าลุกขึ้นยืนหยัดต่อต้านในช่วงที่สถานการณ์สับสนวุ่นวาย เราต้องปกป้องตัวกลางไม่ให้ได้รับโทษ

เมื่อเทียบกับจีน ซึ่งรัฐบาลควบคุมอินเตอร์เน็ตอย่างเข้มข้นมาก รูปแบบที่ใช้คือการสั่งให้บริษัทผู้ให้บริการหรือ ISP เหล่านั้นต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ถ้าหากไม่ทำก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งผมคิดว่านั่นเป็นการคุกคามต่อเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ต


สฤณี อาชวานันทกุล
เครือข่ายพลเมืองเน็ต

ก่อนจะพูดถึงกรณีของจีรนุช (เปรมชัยพร) มีความเห็นคือ ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน เรื่องเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ตกับความรับผิดชอบนั้น ปัญหาคือหน่วยงานของรัฐมักพยายามเรียกร้องความรับผิดชอบโดยการดึงเอาเสรีภาพไป รัฐบาลไทยจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ว่าการเซ็นเซอร์นั้นไม่ใช่วิธีการเดียวที่จะใช้ในควบคุมเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ต

หลายคนพูดถึงข้อความที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง (Hate speech) เพราะเป็นการทำลายประเทศไทย โดยเฉพาะข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งความจริงแล้วมันขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นคนตีความ

ข้อสังเกตจากคดีของจีรนุช บทเรียนประการแรก คือ

1) การดำเนินคดีนั้น ขาดกระบวนการและขั้นตอนในการบังคับใช้ พรบ.คอมพิวเตอร์ คุณจีรนุชถูกตั้งข้อหาภายใต้มาตรา 15 ของ พรบ.คอมพิวเตอร์ คือการส่งเสริม ยินยอมให้มีการกระทำผิด ซึ่งอัยการหมายถึงการยอมให้มีคนมาโพสต์ข้อความบนเว็บบอร์ด ซึ่งไม่มีการนิยามหรือความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย รัฐบาลมองว่าทุกคนต้องรับผิดหมด คณะกรรมการที่ไอซีทีตั้งขึ้น ก็ไม่มีความชัดเจนว่ามีอยู่ก่อนที่จะมีข้อความเหล่านี้หรือไม่ หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการเป็นอย่างไร และยังขาดความเข้าใจในลักษณะของอินเตอร์เน็ต และอีกหลายๆ อย่าง เช่น การเจอไฟล์เสียงในคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็น cookie เจ้าหน้าที่ก็สรุปว่าเป็นเจตนา การมีไฟล์เสียงไม่ได้หมายความว่ามีความตั้งใจเซฟไฟล์เพื่อจะนำไปใช้ต่อ

2) สังคมไทยยังไม่มีการถกเถียงกันมากพอ ขณะที่รัฐบาลก็ไม่มีความชัดเจนในการควบคุม และยังขาดความเข้าใจซึ่งทำให้ทุกอย่างย่ำแย่ลงไปอีก เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความเห็นส่วนตัวในการตัดสินว่าอะไรเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ซึ่งอาจไม่ถูกต้องเสมอไป หากถามแต่ละคนก็จะได้ความเห็นที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องมีนิยามที่ระบุชัดเจนว่าอันไหนจึงจะถือว่าเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

3) สื่อมวลชนไทยไม่สนใจที่จะทำข่าวเรื่องคุณจีรนุชเลย ส่วนใหญ่คนที่ไปฟังการพิจารณาคดีเป็นชาวต่างประเทศ อาจเพราะเป็นเรื่องยากและเป็นเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นเรื่องความอ่อนไหว สำหรับพวกเราที่รณรงค์เรื่องนี้ ต้องพยายามทำให้สื่อมวลชนเข้าใจว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะเรื่องหมิ่นฯ เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของเสรีภาพสื่อมวลชนและเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่สื่อมวลชนจะต้องสนใจ ดังนั้นเราต้องรณรงค์ให้สื่อมวลชนกระแสหลักมาร่วมรณรงค์ในเรื่องนี้ด้วย

หากคุณมีเว็บไซต์ข่าวและเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น และเว็บมาสเตอร์มีความเสี่ยงที่จะถูกจับกุม เป็นเรื่องง่ายมากที่ใครจะเข้ามาโพสต์ข้อความอะไร ซึ่งเราคงไม่มีเวลามานั่งลบข้อความเหล่านั้น ดังนั้นก็เลือกวิธีที่จะปิดเว็บบอร์ดไปเลย

คดีนี้ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ก็จะมีผลต่อสื่อมวลชนด้วย วันที่ 15 มีนาคมนี้ จะมีการตัดสินคดีของ นปช.ยูเอสเอ อยากให้ผู้สื่อข่าวติดตามคดีนี้ เพราะเป็นเรื่องของตัวกลางใน พรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เรื่องภัยคุกคามต่อความมั่นคง

มีคำถามที่ตั้งไว้กับตัวเองด้วยว่า อะไรคือเสรีภาพ และอะไรคือภัยต่อความมั่นคง