WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 13, 2011

บอยคอตสะเทือนกำไรวูบหุ้นรูดลดยอดผลิตลง50%ยังไม่พอ คนเสื้อแดงกดดันต่อจัดหนักลบชื่อมาม่าทิ้ง

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
13 กุมภาพันธ์ 2554

ยกระดับคว่ำบาตรมาม่า เลิกเรียก"มาม่า"เป็นชื่อสามัญของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

หลังประสบความสำเร็จในการคว่ำบาตรมาม่าในระยะแรก เมื่อปรากฎว่าผลกำไรลดลง ราคาหุ้นตก และประกาศลดกำลังผลิตลงมา 50% แม้ผู้บริหารมาม่าแก้เกี้ยวว่าไม่เกี่ยวกับการบอยคอตของคนเสื้อแดงก็ตาม ล่าสุดที่กระดานสนทนาไทยฟรีนิวส์ได้นำเสนอกระทู้เรื่อง ยกระดับ Boycott MA MA ตอนที่ 2

โดยระบุว่า ปฏิบัติการ ครั้งนี้คือ คนเสื้อแดงนอกจากจะไม่กินมาม่าแล้ว เรายังต้องเรียกบะหมี่ประเภทนี้ว่า "บะหมี่ซอง"

เรียกใหม่ให้ถูกต้องว่า "บะหมี่ซอง"
ร่วมปฏิบัติการคนเสื้อแดงไม่กินมาม่า

เหตุที่ต้องรณรงค์ให้เรียกเป็น "บะหมี่ซอง" ก็เพื่อเป็นการทำลาย generic name (ชื่อสามัญ) ที่ไม่ถูกต้อง

เหมือนอย่างเช่นที่ในสมัยนึง เราเคยเรียก "ผงซักฟอก" ว่า "แฟ๊บ" เพราะ แฟ๊บ ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในขณะนั้น พยายามทำให้ชื่อ brand ของตัวเอง ถูกเรียกเป็นชื่อสามัญ เวลาจะซี้อ "ผงซักฟอก" เราก็เลยบอกว่า ซื้อ "แฟ๊บ" จนมาวันหนึ่ง "แฟ๊บ" โดนคู่แข่ง (เข้าใจว่า เป็น บรีส ) พยายามสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค ว่า "ผงซักฟอก" ก็คือผงซักฟอก ไม่ใช่ แฟ๊บ ตั้งแต่นั้นมายอดขายของ แฟ๊บ ก็ดิ่งลง เสียการเป็นผู้นำทางการตลาด

ดังนั้น พวกเราต้องช่วยกันเรียก generic name (ชื่อสามัญ) ให้ถูกต้อง ทุกครั้งจะเรียกซื้อ เรียกหา ต้องเรียก "บะหมี่ซอง" ให้ติดปาก

คว่ำบาตรไม่ถึงเดือนมาม่ากำไรฮวบหุ้นรูด หั่นยอดผลิตลง50%แต่ปากแข็งไม่เกี่ยวเสื้อแดงบอยคอต


ยกระดับคว่ำบาตรสหพัฒน์-เครือข่ายผู้บริโภคสีแดงประกาศยกระดับคว่ำบาตรสินค้าหนุนเผด็จการ จากเดือนแรกก่อผลสะเทือนมาม่า ยกสองขยายเวลา 3 เดือน พุ่งเป้าเครือสหพัฒน์ยกแผง เชิญคนเสื้อแดงทั่วโลกร่วมพลังไปถึง 15 เมษายน เน้นบอยคอตสินค้ามวลชนแบรนด์ดังทั้ง มาม่า ผงซักฟอกเปา ยาสีฟันSALZ แป้งโคโดโมะ น้ำยาบ้วนปากSYSTEMA ชุดชั้นในสตรีWACOAL เสื้อเชิ้ตARROW-LACOSTE รองเท้าPAN ร้านสะดวกซื้อ108SHOP(รายละเอียด)



มาม่าโชว์ไตรมาส4กำไรวูบ หลังเสื้อแดงบอยคอตไม่ถึงเดือน

นางรวงทอง ธนรังสีกุล ผู้จัดการฝ่ายบัญชี บริษัท ไทยเพรสซิเด้นท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า รายงานผลดำเนินงานงวดไตรมาส4ปี2553(1ตุลาคม-31ธันวาคม 2553)ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันศุกร์นี้(11ก.พ.)ว่า มีกำไรสุทธิลดลงเหลือ 272.5ล้านบาท กำไรต่อหุ้นลดลงเหลือ 15.14 บาท เทียบกับไตรมาส4ปีก่อนหน้านี้ ที่มีกำไรสุทธิ350.4ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น19.47บาท

ส่วนผลดำเนินงานตลอดปี2553กำไรสุทธิลดลงเหลือ1,151ล้านบาท กำไรต่อหุ้น63.97บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ1,232ล้านบาท กำไรต่อหุ้น68.46บาท

อ้างต้นทุนน้ำมันปาล์มกับแป้งสาลีพุ่ง แต่เจาะเนื้อในแล้วไม่เท่าไหร่ แถมเคยสูงกว่านี้ยังกำไรโป่ง

ผู้จัดการฝ่ายบัญชีมาม่า แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ในงวดไตรมาส4ผลดำเนินงานลดลงมากกว่า 20%ตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ต้องอธิบายสาเหตุ จึงขอชี้แจงว่า สาเหตุที่ผลกำไรลดลง เป็นผลจากต้นทุนขายที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่ปรับราคาสูงขึ้น เช่น แป้งสาลี และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ปกติแล้วผลดำเนินงานไตรมาส 4ของมาม่าที่ผ่านมามักสูงขึ้น เช่น ไตรมาส4/2552 กำไรสุทธิ 350 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 19.47บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ที่มีกำไรสุทธิเพียง 182 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นเพียง10.11บาท

เช่นเดียวกับงวดไตรมาส 4ปี2551 มีกำไรเพิ่มขึ้นถึง32.25% แม้ว่า ต้นทุนแป้งสาลี ในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2551 ราคาสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2550 ถึง 46.15 %ก็ตาม

ในรายละเอียดงบการเงินงวดไตรมาส4/2553 มาม่าแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า มีต้นทุนซื้อสินค้าและวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิต 305.8 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่มีต้นทุนอยู่ที่ 258.5 ล้านบาท หรือต้นทุนสูงขึ้นในงวดไตรมาสนี้ราวๆ 43 ล้านบาท (ขณะที่ประธานมาม่าให้ข่าวว่าเพิ่มเดือนละ 100 ล้าน ดังคำให้สัมภาษณ์ด้านล่าง)

อย่างไรก็ตามหากดูจากบริษัทในเครือแล้ว มาม่ารายงานว่า ต้นทุนซื้อสินค้าและวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงในงวดนี้ คือเพียง62.9ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่สูงถึง92.5ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ผู้บริหารมาม่า ให้สัมภาษณ์ว่าไตรมาส4จะกำไรดีขึ้นมากเพราะได้อานิสงส์จากน้ำท่วมใหญญ่ช่วงเดือนตุลาคม 2553 ทำให้มีคนซื้อมาม่าตุนเป็นอาหาร และซื้อบริจาคมาก

อย่างไรก็ตามเครือข่ายผู้บริโภคสีแดงได้ประกาศเริ่มต้นคว่ำบาตรมาม่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553 หรือปลายไตรมาส 4/2553 และเมื่อสิ้นสุด 1 เดือนแรกของแคมเปญนี้ ได้ประกาศบอยคอตต่อในระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 15 เมษายน รวมเวลา 3 เดือน และยกระดับบอยคอตสินค้าเครือสหพัฒน์ทั้งหมดด้วย โดยอ้างว่าเครือสหพัฒน์เป็นกลุ่มทุนที่เกื้อหนุนระบอบเผด็จการอำมาตย์ในไทย

หุ้นร่วงจากดอย1200บาท วูบหลุด1000ทันตา

ส่วนราคาหุ้นTF หรือไทยเพรสซิเด้นท์ฟู้ดส์ ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 1,200 บาท ช่วงเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้วหลังการรณรงค์บอยตคอตของเสื้อแดงปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1,000 บาท เมื่อวันศุกร์11 ก.พ.เมื่อประกาศผลกำไรลดลง ราคาร่วงลงไปที่ 960 บาทต่อหุ้น แต่มีแรงช้อนซื้อคืนมาปิดทำการที่ 988 บาท

อมเลือดพูดเสื้อแดงบอยคอตไม่มีผลกระทบยอดขาย แต่หั่นกำลังผลิตลง50%อ้างปาล์มขาด

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ รายงานข่าวสัมภาษณ์ประธาน'มาม่า'ว่าได้ลดกำลังผลิต 50% อ้างว่าเพราะน้ำมันปาล์มขาดตลาด ขณะที่ก่อนหน้านี้ออกมาให้ข่าวว่าการบอยคอตของเสื้อแดงไม่มีผลกระทบให้ยอดขายตก ส่วนคนเสื้อแดงเชื่ออมเลือดพูด เจอมาตรการบอยคอตยอดขายฮวบเลยจำเป็นต้องหั่นกำลังผลิต ชี้ไม่เช่นนั้นคู่แข่งอย่างยำยำ-ไวไวก็ต้องลดกำลังผลิตเหมือนกันแล้ว ฮึกขยายวงแบนสหพัฒน์ทั้งเครือให้หลาบจำสำนึกที่รับใช้เผด็จการ

ก่อนหน้านี้ Voicetv รายงานข่าวการสัมภาษณ์นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรสซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา "มาม่า" ว่า กรณีที่มีกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคสีแดง ออกแถลงการณ์บอยคอตคว่ำบาตรหยุดซื้อหยุดกินมาม่านั้น เบื้องต้นก็ได้รับรายงานข้อมูลมาซึ่งคิดว่าถ้าหากเป็นจริงก็จะมีผลกระทบเป็นอย่างมาก แต่ก็คงไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่จะตัดสินใจ ทั้งนี้ที่ผ่านมาขอยืนยันว่า มาม่าไม่มีสี ไม่ได้ถือข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และก็คงจะไม่มีเงินทุนพอที่จะไปสนับสนุนใครได้ คาดว่าเรื่องนี้คงจะเป็นการเข้าใจผิดกัน มาม่ามีฝ่ายเดียวคือฝ่ายประเทศไทย จึงไม่รู้จะชี้แจงยังไง

"มาม่าไม่มีสี สีเหลืองคงเป็นสีของในหลวงมากกว่า มาม่าไม่ได้ถือหางฝ่ายไหน และไม่มีงบประมาณมากพอจะไปสนับสนุนใคร เป็นฝ่ายประเทศไทยอย่างเดียว ไม่รู้จะไปชี้แจงยังไง ขอให้ทุกฝ่ายสามัคคี หากบอยคอตจริงก็คงกระทบกระเทือน แต่ผมเชื่อว่าคนไทยรู้จักมาม่าดี"นายพิพัฒกล่าว

มาม่าลดกำลังผลิตวูบ50%อ้างน้ำมันปาล์มขาดตลาด

ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า น้ำมันปาล์มพ่นพิษ "มาม่า" โอดหนักสุดในรอบ 38 ปี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ไฟเขียวลดกำลังการผลิต 50% เหลือ 3 ล้านซองต่อวัน หลังเจอภาวะช็อกน้ำมันปาล์มขาดตลาด ต้นทุนแป้งสาลีพุ่ง ดันราคาต้นทุนพุ่ง 100 ล้านบาทต่อเดือน คาดสัปดาห์หน้าสินค้าขาดตลาด พร้อมหันลงทุนตั้งโรงงานใหม่ประเทศเพื่อนบ้านแก้วิกฤติ

ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวนาย พิพัฒ พะเนียงเวทย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มอย่างต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรม ทำให้บริษัทมีแผนจะลดกำลังการผลิตเหลือเพียง 50 %เป็น 1 กะต่อ 6 วันภายใน 1 สัปดาห์หรือลดกำลังการผลิตเหลือเพียง 3 ล้านซองต่อวันตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป เพราะไม่สามารถจะจัดหาน้ำมันปาล์มมาผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ตามที่ต้อง การ และมีโรงงานสกัดหรือโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบางแห่งปิดกิจการไปแล้ว เนื่องจากไม่มีผลปาล์มดิบให้สกัดและกลั่นน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาผลผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศไทยมีเพียงพอป้อนอุตสาหกรรม แต่เนื่องจากระยะหลังผลผลิตนี้ถูกบริษัทผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงแย่งซื้อไป ใช้ในกิจการ ทำให้ผลผลิตขาดแคลนและเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับต้นทุนน้ำมันปาล์มและข้าวสาลีที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนของบริษัทได้ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม 100 ล้านต่อเดือน ซึ่งสามารถสร้างโรงงานใหม่ได้ถึง 1 โรงงาน หากรัฐบาลยังไม่แก้ปัญหาดังกล่าว ปีนี้คาดว่าบริษัทอาจจะไม่มีกำไร

"ถึงแม้ว่าบริษัทจะขาดทุน แต่ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ไม่ต้องการให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า สินค้าขาดตลาดไม่มีวางขายบนเชลฟ์ในห้างไม่ได้เกิดจากการกักตุนสินค้าของมา ม่า บริษัทเองยินดีที่จะผลิตสินค้าต่อแม้จะขาดทุน แต่เป็นเพราะไม่มีวัตถุดิบ จึงไม่สามารถผลิตได้ และต้องการทำความเข้าใจกับผู้บริโภค เนื่องจากบริษัทกลัวเสียภาพลักษณ์ที่อุตส่าห์สร้างมาเกือบ 40 ปี ปีนี้เป็นปีที่บริษัทเจอปัญหาหนักที่สุดตั้งแต่สร้างโรงงานมา 38 ปีเต็ม ที่ผ่านมาเจอปัญหาหนักมากว่า10 ครั้ง และแก้ได้ทุกครั้ง แต่ครั้งนี้ยังแก้ไม่ตก"นายพิพัฒกล่าว

สำหรับทางออกของปัญหาที่รัฐบาลทำ ได้อย่างเร่งด่วน คือ การกำหนดสัดส่วนน้ำมันปาล์มสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อให้สำหรับพลังงานว่า ควรเป็นเท่าใด และต้องการให้รัฐบาลพิจารณาว่าระหว่างอุตสาหกรรมอาหารกับรถยนต์อะไรสำคัญ กว่ากัน และไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ให้นำน้ำมันปาล์มมาผลิตพลังงานเหมือนเมืองไทย ซึ่งภาครัฐบาลควรจะกำหนดการใช้หลังจากที่น้ำมันปาล์มมีพอเพียงกับอุตสาหกรรม อาหารหรือการบริโภคจากตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทกำลังหาทางแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน โดยเบื้องต้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว บริษัทมีแผนการไปตั้งโรงงานใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตบะหมี่สำเร็จรูปในประเทศไทยสูงกว่าคู่แข่งใน ต่างประเทศเป็นอย่างมาก เฉพาะต้นทุนน้ำมันปาล์มในประเทศไทยอยู่ที่ 62 บาทขณะที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีและญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 32-37 บาท และจากการที่ต้นทุนสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ นมข้นหวาน ทำให้ธุรกิจเหล่านี้มีกำไรน้อยลง ทำให้ขาดงบที่จะใช้สำหรับพัฒนาธุรกิจและสินค้าเพื่อแข่งขันกับแบรนด์ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแข่งขันในเมืองไทย โดยเฉพาะการเปิดตลาดอาเซียนในปี 2015 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการแข่งขันในที่สุด

เสื้อแดงเชื่อสาเหตุแท้จริงเพราะเจอบอยคอต รุกคว่ำบาตรสหพัฒน์ทั้งเครือ

ประเด็นดังกล่าวมีการวิพากษฺวิจารณ์ตามเวบบอร์ดคนเสื้อแดงอย่างกว้างขวาง ที่เวบไทยฟรีนิวส์ มีการตั้งกระทู้เรื่อง มาม่า' ลดกำลังผลิต 50% <--- แสดงว่าการบอยคอตของพวกเราได้ผล แม้ว่าผู้บริหารมาม่าจะประกาศว่าการลดยอดกำลังการผลิตลงเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันปาล์มแพง ก็ตาม ซึ่งเขาก็ต้องประกาศอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะหากขืนประกาศว่า "การบอยคอตของเสื้อแดง" ทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลง ก็คงเสียหน้า และจะส่งสัญญาณให้เสื้อแดงรู้ว่า การบอยคอตนั้นได้ผล ซึ่งจะลามให้เสื้อแดงบอยคอตสินค้าอย่างอื่นของสหพัฒน์อีก

ผมคิดว่า หากเป็นปัญหาด้านต้นทุน หากมาม่ามีส่วนแบ่งการตลาดที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว เขาก็คงเลือกที่จะขึ้นราคามากกว่าและผลักภาระไปที่ผู้บริโภค ซึ่งปกติพวกเขาก็ทำกันอยู่แล้วเป็นปกติ

แต่การเลือกที่จะประกาศลดกำลังการผลิตลง น่าจะเป็นการกระทำที่ประหลาด เพราะหากเป็นปัญหาต้นทุนจริงๆ แม้จะผลิตอยู่ ก็คงต้องขาดทุน เพราะน้ำมันปาล์มก็ยังแพงอยู่ และอีกอย่าง ปัญหาน้ำมันปาล์มเป็นปัญหาระยะสั้น การเลือกที่จะยอมเสียส่วนแบ่งการตลาด คงไม่มีบริษัทไหนทำ

นี่แสดงอย่างชัดแจ้งว่า "การบอยคอตของคนเสื้อแดงได้ผล" เราคงต้องทำต่อไปอย่างต่อเนื่องนะครับ "แดงแท้ไม่กินมาม่า"

สงสัยทำไมคู่แข่งอย่างไวไว ยำยำไม่เห็นต้องลดกำลังผลิต

ส่วนที่บอร์ดประชาทอล์ก มีการตั้งกระทู้ว่า มาม่า หมดสภาพแล้ว หาทางลง เรื่องน้ำมันปาล์มซะงั้น ไวไว ยำยำ ไม่เห็นเขามีสภาพแบบนี้ แดง 20 ล้านเป็นแบบนี้แหละ โดยชี้ว่า คู่แข่งของมาม่า คือ ไวไว ยำยำ อื่น ๆ ไม่เห็นเขาประกาศ ลดกำลังการผลิตเลย ไม่เห็นเขาโอดครวญ ต้นทุนเพิ่มเลย
ต่อให้เขาขายแพงกว่ามาม่า ผมก็จะไม่ซื้อมาม่าครับ ยอมซื้อของแพงดีกว่า ซื้อของเครือสหพัฒน์

ชี้ไม่มีเหตุผลข้ออ้างลดกำลังผลิตเพราะขาดน้ำมันปาล์ม

บอร์ดอินเตอร์เน็ตฟรีด้อมตั้งกระทู้เรื่อง น้ำมันปาล์มแพงไม่น่าเป็นสา้เหตุหลักในการลดกำลังการผลิตของมาม่าลงครึ่งหนึ่ง โดยชี้ว่า ถ้าเหตุเกิดจากน้ำมันปาล์มแพง แต่ยอดขายยังดีอยู่ สิ่งที่นายพิพัฒน์ และมาม่า รวมทั้งผู้ผลิตทั่วไปจะทำโดยทั่วไปและทำมาตลอดคือ ขึ้นราคาสินค้า ผลักภาระให้ผู้บริโภค นี่เป็นเรื่องปกติ

เมื่อสินค้ามีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง หรือยอดจำหน่ายตกต่ำ ซึ่งจะไม่ใช้การลดกำลังการผลิต จะหันไปทำกิจกรรมการตลาดอื่น ๆ เช่น Promotion, Re Launch, Re Positioning ฯลฯ

การลดกำลังการผลิตจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อได้ทำ Promotion หลายรูปแบบแล้ว ไม่สามารถกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นได้ ต้องหาสาเหตุให้เจอ แล้วแก้ืที่ปัญหาหลักนั้น เมื่อแก้ไม่ได้ ก็แสดงว่า สินค้าอยู่ในช่วงตกต่ำในหลักการที่บางคนปฏิเสธคือ Product Life Cycle แต่มันก็ปรากฏอยู่เรื่อย ๆ

การ Re Launch, Re Positioning ของกระทิงแดง หรือเรดบูล เป็นตัวอย่างทางการตลาดที่น่าสนใจ ไปบุกตลาดโลกใน Positioning ใหม่ ที่เริ่มเอากลับมา Re Positioning ตลาดในประเทศต่อ

ที่นำเสนอเช่นนี้เพราะเคยมีประสบการณ์พอสมควร ในการแก้ปัญหาทางการตลาด ทำสินค้ากลับมาในตลาด และทำให้สินค้าดี ๆ เจ๊งมาแล้วหลายตัว

หรือความจริงแล้ว การบอยคอตมาม่าของคนเสื้อแดงสำแดงผลแล้ว?

กังขาแผนปล่อยข่าวหวังระบายสินค้าขายไม่ออก

ส่วนที่บอร์ดราชดำเนิน มีการตั้งข้อสังเกตว่า เป็นแผนการตลาด พอบอกว่าของจะขาด คนก็จะรีบซื้อ ของค้างอยู่บนหิ้งในห้างเยอะแยะ
แต่พอมีข่าวว่าจะขาดตลาด แต่ละคนก็จะบ้าไปซื้อมาเก็บตุนไว้ คนนั้นก็ซื้อ คนนี้ก็ซื้อ ซื้อมาเก็บพอของขาด ก็ซื้อมาเก็บอีก หลายๆ คน ตุนซะจนใช้ปีหน้าก็ไม่หมด

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-วิวาทะประธานมาม่า VS เครือข่ายผู้บริโภคสีแดง:สงครามคว่ำบาตรก่อผลสะเทือนฐานเผด็จการ


-คว่ำบาตร1เดือนสะเทือนมาม่า ยกระดับบอยคอตสินค้าเครือสหพัฒน์ เริ่มวันนี้หยุดซื้อ'เปา'+90แบรนด์

-นิธิ เอียวศรีวงศ์:มาม่ากับเสื้อแดง