WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 14, 2011

จับตา ขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" หลังฮุสนีย์ หมดอำนาจ

ที่มา ประชาไท

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

และแล้วรองประธานาธิบดีอุมัร สุไลมาน รองประธานาธิบดีอียิปต์ ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอียิปต์ว่า ประธานาธิบดีฮุนีย์ มูบาร๊อก ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้ว ตามข้อเรียกร้องของประชาชนนับล้านคนที่ชุมนุมขับไล่เขามาอย่างต่อเนื่องเป็น เวลา 18 วันติดต่อกัน

โดยฮุสนีย์ มูบาร๊อกได้ส่งมอบอำนาจในการปกครองประเทศให้แก่คณะผู้บัญชาการกอง ทัพ ซึ่งมี นายมุฮัมหมัด ฮุสไซน์ ฏอนฎอตวีย์ รมว.กลาโหม เป็นหัวหน้าคณะ

หลังจากทราบข่าวการสละตำแหน่งของผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมา อย่างยาวนานถึง 3 ทศวรรษ ประชาชนชาวอียิปต์ต่างออกมาร่วมกันเฉลิมฉลองตามท้องถนน

เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่กองทัพกลายเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากนายฮุสนีย์ มูบาร๊อกนั้น มีลักษณะคล้ายกับการทำรัฐประหาร ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญแล้วฮุสนีย์ มูบาร๊อก ควรจะคืนอำนาจให้แก่ประธานรัฐสภาไม่ใช่ผู้นำกองทัพแต่อย่างใด

ทั้งนี้ คณะผู้บัญชาการกองทัพได้ประกาศว่าจะทำการยกเลิกกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่ง ถูกประกาศบังคับใช้มาเป็นเวลา 30 ปี ทันทีที่สถานการณ์จลาจลในประเทศสงบลง นอกจากนี้ พวกเขาจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นมีความเป็นอิสระและ ยุติธรรม รวมทั้ง จะทำให้กิจการธุรกิจต่างๆ ภายในประเทศกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง

คำถามที่ชาวโลกยากทราบว่าต่อไปใครจะครองอำนาจหลังจากการเลือกตั้ง หากย้อนกลับไปดูตลอด ๑๘ วันของการประท้วงพบว่า

ผู้นำการประท้วงครั้งนี้ คือกลุ่มยุวชน "เอพริล 6 มูพเมนท์" หรือแปลว่า “ขบวนการ 6 เมษา” โดยมีพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านต่างๆร่วมกันสนับสนุนโดยอ้างว่าประธานาธิบดีฮุสนีย์ มูบาร๊อกใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศกว่า สามสิบปีเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง มิหนำ่ซำคนส่วนใหญ่ของประเทศยังว่างงานและยากจนตลอดทั้งใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจำกัดศัตรูทางการเมืองทุกวิธีทางอย่างโหดเหี้ยม

จริงอยู่ผู้นำการประท้วงครั้งนี้ คือกลุ่มยุวชน "เอพริล 6 มูพเมนท์" ร่วมกับพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านต่างๆแต่โดยเชิงลึกพบว่า แกนนำเยาวชนหลายคนเป็นสมาชิก ของขบวนการ “ญามาอ๊ะอิควานมุสลิมูน” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า "ภราดรภาพมุสลิม"

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป (ผู้นำด้านเสรีประชาธิปไตย) ไม่กล้ากดดันฮุสนีย์ ให้ลงจากตำแหน่งเหมือนผู้นำเผด็จการอื่นๆในโลกตะวันออกอย่างทันทีหรืออกหน้าออกตาในช่วงแรก

(๕ กุมภาพันธ์ ๕๔) สหรัฐอเมริกาพันธมิตรด้านผลประโยชน์อย่างแนบแน่นกับฮุสนีย์ ได้กล่าวเพียง เป็นนัยยะเท่านั้นว่าประธานาธิบดีฮุสนีย์ ควรลงจากอำนาจ

ประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐฯ ประกาศจุดยืนอย่างอ้อมๆ ว่า "ผมเชื่อว่าประธานาธิบดีมูบาร๊อกเป็นห่วงประเทศของเขา เขาหยิ่งทะนง แต่เขาก็เป็นคนรักชาติ…สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำเขาคือ เขาจำเป็นต้องปรึกษาผู้ที่อยู่รอบตัวเขาในรัฐบาล"

"เขาจำเป็นต้องฟังสิ่งที่ได้รับการร้องขอโดยประชาชนชาวอียิปต์ และตัดสินใจเกี่ยวกับเส้นทางข้างหน้าอย่างเป็นระเบียบ แต่มีความหมาย และจริงจัง"

การที่โอบามาไม่ได้กล่าวออกมาอย่างชัดเจน แต่การเลือกใช้คำพูดของเขาแสดงให้เห็นชัดว่าข้อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยน ผ่านทางการเมืองในทันทีของสหรัฐนั้นไม่ได้หมายรวมถึงพันธมิตรคนสนิท ซึ่งเป็นศูนย์กลางนโยบายตะวันออกกลางของสหรัฐฯ และมีประโยชน์ร่วมกับอิสรอเอล

อเมริกาและตะวันตกทราบดีว่า หากประธานาธิบดีฮุสนีย์ ยอมลงจากเก้าอี้อย่างทันทีในขณะนั้นและจัดให้มีการเลือกตั้งจะทำให้กลุ่มการเมืองภายใต้ร่มธงของขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" ขึ้นครองอำนาจแทนทันทีซึ่งสิ่งนี้โลกตะวันตกเกรงกลัวมากว่า

และปัจจุบันหลังจากฮุสนีย์ประกาศลาออกและคณะผู้บัญชาการกองทัพได้ประกาศว่าจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นมีความเป็นอิสระและ ยุติธรรม อเมริกาและตะวันตกยังกังวลอยู่ลึกๆ

ทำไม? เพราะแนวคิดทางการเมืองของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม" คือ การสร้างรัฐภายใต้ อิสลามานุวัตร ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยกล่าวคือเป้าหมายคือการสร้างรัฐอิสลามอุดมคติในยุคโลกาภิวัตร โดยใช้กระแสกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมตะวันตก

การขึ้นมีอำนาจของขบวนการอิสลามในแต่ละประเทศซึ่งใช้กระบวนการประชาธิปไตยนั้นกำลังเป็นกระแสที่ถูกตอบรับในโลกมุสลิม ไม่ว่าที่อัลจีเรียเมื่อสิบกว่าปี (หลังจากนั้นถูกปฏิวัติโดยทหาร) ตุรกี ปาเลสไตน์ จอร์เดน เยเมนและที่อื่นๆแต่กำลังเป็นภัยคุกคามโลกตะวันตกภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา

ตะวันตกทราบดีว่า การกำเนิดขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" นั้นเพื่อสถาปนาระบบคอลิฟะห์อิสลามมียะห์ (รัฐอิสลาม) ภายหลังจากอาณาจักรออตโตมานได้สิ้นสลาย

ผู้นำคนแรกของ "ภราดรภาพมุสลิม" คือ อิหม่ามชะฮีด หะสัน อัลบันนา (ค.ศ. 1906 –1949) ท่านเป็นผู้วางหลักสูตรการสร้างบุคลิกภาพสมาชิกของขบวนการอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สมาชิกเข้าใจหลักศาสนาอิสลามคือแนวทางการดำเนินชีวิตที่ไม่สามารถแยกระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร โดยทุกคนต้องผ่านหลักสูตรการสร้างบุคลิกภาพมุสลิมผ่านสาส์น 20 ฉบับ กล่าวถึงหลายๆประเด็นต่างกรรมต่างวาระ ตั้งแต่คำสอนทางศาสนา จุดยืนทางการเมือง เศรษฐกิจ การจัดการองค์กร และอื่นๆ

หะสัน อัลบันนา เขาเริ่มก่อตั้งขบวนการ ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1932 , ปี ค.ศ. 1948 ขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม" เข้าร่วมรบกับปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านยิวและในเดือน พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มะฮ์มูด อัลนักรอซี (Mahmud al-Naqrasi ) ประธานสภาอิยิปต์ ในสมัยนั้น ได้ออกคำสั่งปราบปรามขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" ทรัพย์สินของขบวนการถูกยึด แกนนำของขบวนการหลายคนถูกจับกุม

ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1948 อันนักรอซีถูกลอบสังหาร และขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลงมือสังหารเขา บรรดาพรรคพวกของอัลนักรอซี ซึ่งติดตามศพเขา ต่างโห่ร้องว่า ศรีษะของอัลนักรอซี ต้องแลกด้วยศรีษะของหะสัน อัลบันนา และในวันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 หะสัน อัลบันนาก็ถูกลอบสังหาร

ในปีค.ศ. 1950 ขบวนการ ได้รับการปลดปล่อย เพราะคำสั่งของอัลอักรอซี ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ ขบวนการได้เลือก หะสัน อัล-หุดัยบี ( Hasan al-Hudaibi ) เป็นผู้นำ แต่เขาถูกจับหลายครั้งและในปี ค.ศ. 1954 เขาถูกตัดสินประหารชีวิต ต่อมาได้รับลดโทษ ให้จำคุกตลอดชีวิต

ในปี ค.ศ. 1951 วิกฤตการณ์ ความขัดแย้งระหว่าง อังกฤษ และอียิปต์ เพิ่มทวีขึ้นขบวนการ ได้เข้าโจมตีอังกฤษ ณ คลองสุเอซ

ปี ค.ศ. 1952 เกิดการปฎิวัติโค้นล้มกษัตย์อียิปต์ซึ่งมีอังกฤษคอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง การปฎิวัตินี้นำโดย มุฮัมมัด นายีบ ( Muhammad Najib ) โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากขบวนการ

หลังจากการ ปฎิเสธการเข้าร่วมรัฐบาล เพราะแนวคิดของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม" ไม่สอดคล้องกับรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ญามาล อับดุลนาซีร ( Jamal Abdunnasir ) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีในสมัยนั้น ถือว่าขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" ปฎิเสธการปฎิวัต ทั้งสองฝ่ายเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1954 สมาชิกขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม" ถูกจับ สมาชิกหลายพันคน หนีอย่างกระเจิดกระเจิง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าพยายามลอบสังหาร ญามาล อับดุลนาซีร

ปี ค.ศ. 1965- 1966 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม" ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งอย่างรุงแรง และไปสู่การจับกุมสมาชิกของขบวนการ สมาชิกหลายคนถูกทรมาน และสมาชิกหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้งซัยยิด กุฎบ์ซึ่งเขาเป็นนักคิดนักวิชาการของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม" คนที่สอง หลังจากหะสันน อัลบันนา ซึ่งถูกลอบสังหาร (อ้างใน http://khozafi-shahaan.blogspot.com/2010/10/blog-post_9754.html และ http://www.scribd.com/doc)

สมัยอันวาร์ ซาดัต (Muhammad Anwar al-Sadat) เป็น ประธานาธิบดี แห่งอียิปต์ เขาพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะจัดการขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" แต่ท้ายสุดเขาก็ถูกลอบยิงเสียชีวิตเสียก่อน

สมัยนายฮุสนีย์ก็เช่นกันพยายามทุกวิถีทางในการจัดการ ขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" เช่นกันแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะกระแสประชาธิปไตยของโลกทำให้สมาชิกหลายคนของขบวนการ "ภราดรภาพมุสลิม" รับสมัครลงเลือกตั้งและชนะการเลือกเขาสู่สภาจนสามารถมีบทบาทในสภา ในขณะเดียวกันประชาชนรากหญ้าและผู้มีการศึกษาจากทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะผู้รู้และเยาวชนได้เขามาเป็นสมาชิกเพิ่มจำนวนมากขึ้นทั้งทางลับและเปิดเผย

การต่อต้านเผด็จการฮุสนีย์อย่างสันติได้รับการสนับสนุนอย่างออกหน้าออกตาจากผู้นำขบวนการอิสลาม"ภราดรภาพมุสลิม" คนปัจจุบันคือ มุฮัมมัด บาดีอฺ พร้อมทั้งจากปราชญ์อิสลามที่เป็นนักคิดไม่ว่าในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรหรือนอกมหาวิทยาลัยโดยท่านเหล่านนั้นให้ทัศนะว่า เป็นที่อนุญาตในการต่อต้านผู้นำที่อธรรม

ชัยค์ ดร. ยูซุฟ อัลก๊อรฎอวีย์ ได้ให้ทัศนะว่าฮุสนีย์ควรลงจากตำแหน่งอย่างไม่มีเงื่อนไขและรีบออกนอกประเทศ

แน่นอนที่สุด ประเทศอียิปต์หลังจากการหมดอำนาจของฮุสนีย์ มูบาร๊อกและพวกพ้องหากมีการเลือกตั้งจะเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มเสรีประชาธิปไตยแบบตะวันตกกับอิสลามมาธิปไตยจากขบวนการเคลื่อนไหวของ "ภราดรภาพมุสลิม"

ความเป็นจริงกลุ่มต่างๆที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในอียิปต์มีทั้งแนวคิดสุดโต่งและสายสันติวิธีแต่ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะแนวสันติวิธีโดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้านนั้นมีสองขั้วคือเสรีประชาธิปไตย กับอิสลามาธิปไตยโดยใช้กระบวนการประชาธิปไตยเป็นทางผ่าน

ขั้วเสรีประชาธิปไตยนั้นนั้นมีแนวคิดชัดเจนว่าจะสร้างรัฐอียิปต์เป็นรัฐฆราวาส (secular state) ซึ่งจะมีตะวันตกคอยสนับสนุน ในขณะที่ขั้วอิสลามาธิปไตยจะอยู่ภายใต้ร่มธงของขบวนการ"ภราดรภาพมุสลิม" ซึ่งได้รับการสนับจากนักคิดและ นักการศาสนาอิสลามและตลอดระยะเวลาเกือบศตวรรษสามารถสร้างบุคลากรและสมาชิกจากหลากหลายอาชีพทั้งในกรุงไคโรและต่างจังหวัดที่สำคัญสามารถกุมคะแนนเสียงจากชนชั้นกลางของอียิปต์ด้วยเช่นกัน

ชัยค์ ดร. ยูซุฟ อัลก๊อรฎอวีย์ ได้ให้ทัศนะต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการอิสลามในนามประชาธิปไตยไว้ว่า หาก เฝ้าดูประวัติศาสตร์ของขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามในยุคสมัย ใหม่ให้ใกล้เข้าไปยิ่งขึ้นจะเผยให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อุดมการณ์อิสลาม, ขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามและการตื่นตัวเข้าสู่อิสลามไม่เคยได้เฟื่องฟูหรือ ผลิดอกออกผล เว้นแต่ในบรรยากาศของประชาธิปไตยและเสรีภาพ และจะอับเฉาและเป็นหมันก็เฉพาะในยุคของการกดขี่และการปกครองแบบทรราช ที่เหยียบย่ำเจตนารมณ์ของประชาชนที่จงรักภักดีต่ออิสลามเท่านั้น ระบอบการปกครองแบบกดขี่ดังกล่าวได้นำเอาลัทธิเซ็คคิวล่าร์ (แยกศาสนจักรกับจากอาณาจักร) ลัทธิสังคมนิยมหรือลัทธิคอมมิวนิสต์มายัดเหยียดให้กับประชาชนของตนเองโดยการ ใช้กำลังและการบังคับขู่เข็ญ ใช้การทรมานอย่างลับๆ และการสำเร็จโทษต่อหน้าสาธารณะ และใช้เครื่องไม้เครื่องมืออันโหดเหี้ยมเหล่านั้นที่ฉีกทึ้งเนื้อหนัง ละเลงเลือด บดขยี้กระดูกและทำลายจิตวิญญาณ เรา พบเห็นการปฏิบัติเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศมุสลิมหลายๆ ประเทศ ซึ่งรวมทั้งตุรกี, อียิปต์, ซีเรีย, อิรัค, เยเมนใต้, โซมาเลียและรัฐต่างๆ บริเวณอัฟริกาเหนือในช่วงเวลาต่างๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุคสมัย

หรือระบอบการปกครองของเผด็จการแต่ละประเทศ ใน ทางตรงข้าม เราพบเห็นขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามผลิดอกออกผลและเฟื่องฟูในยุคสมัยของ เสรีภาพและประชาธิปไตยภายหลังการล่มสลายของระบอบการปกครองจักรวรรดินิยม ซึ่งปกครองประชาชนด้วยความหวาดกลัวและการกดขี่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่จินตนาการไปหรอกว่าขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามสามารถสนับสนุนสิ่ง หนึ่งสิ่งใดอื่นไปจากเสรีภาพทางการเมืองและประชาธิปไตยได้ เหล่า ทรราชยินยอมให้เสียง(ของระบอบ)อะไรก็ได้ดังขึ้น นอกจากเสียงของอิสลาม และยังยินยอมให้ทุกแนวความคิดได้แสดงตัวเองออกมาในรูปของพรรคการเมือง หรือองค์กรในบางประเภท ยกเว้นกระแสอิสลาม ซึ่งเป็นแนวความคิดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่มีปากมีเสียงเพื่อประชาชาตินี้ อย่างแท้จริง และแสดงหลักความเชื่อ, คุณค่า, แก่นแท้และการมีอยู่จริงของตัวเองออกมา อย่าง ไรก็ตาม เหล่านักเคลื่อนไหวอิสลามบางคนยังคงสงวนท่าทีของตัวเองเกี่ยวกับประชาธิปไตย แถมยังมีความระมัดระวังเกี่ยวกับคำว่า "ประชาธิปไตย" ในตัวของมันเอง สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะเน้น ณ ที่นี้ก็คือว่าอิสลามไม่ใช่ประชาธิปไตย และประชาธิปไตยก็ไม่ใช่อิสลามเหมือนกัน ข้าพเจ้ามิได้ปรารถนา ให้อิสลามไปสังกัดอยู่ในหลัก
การหรือระบอบใดๆ อิสลามมีความเป็นเอกในแง่วิธีการ, จุดหมายปลายทางและแบบวิธีต่างๆ ที่เป็นของตนเอง และข้าพเจ้าเองก็มิได้ปรารถนาจะให้ประชาธิปไตยของตะวันตกได้รับการถ่ายทอดมา ยังพวกเราในสภาพที่มีอุดมการณ์และคุณค่าอันเลวร้ายพ่วงท้ายมาด้วย โดยที่เราเองไม่ได้นำเอาคุณค่าและอุดมการณ์ต่างๆ ของเราเข้าไปผนวกเข้ากับประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อผสมผสานประชาธิปไตยเข้ากับระบอบที่กว้างขวางลึกซึ้งของเราจน เป็นเนื้อเดียวกัน (อ้างใน http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=522)

ดังนั้นในอนาคตหากอำนาจทางการเมืองตกไปอยู่ภายใต้ร่มธงของขบวนการ ภราดรภาพอิสลาม จะทำให้อียิปต์ ตกอยู่ภายใต้ รัฐอิสลามสายซุนนีย์ที่มีความแข็งแกร่งด้านการทหารอีกประเทศหนึ่งเคียงคู่อิหร่านซึ่งเป็นรัฐสายชีอ๊ะห์ และจะยังความกังวลกับตะวันตกและอิสรอเอลอย่างแน่นอน