WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 28, 2011

เส้นแบ่งอำนาจศาลปกครองป.ป.ช.

ที่มา มติชน



คอลัมน์ ณ ริมคลองประปา ประสงค์ วิสุทธิ์ prasong_lert@yahoo.com

ในการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์) มีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้สำนักงานศาลปกครองชี้แจงกรณีที่มีการกล่าวหานายอักขราทร จุฬารัตน ว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขณะดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดเนื่องจากใช้อำนาจสั่งเปลี่ยนองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่พิจารณาคดีคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่มิให้นำมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ

ประเด็นที่เสนอให้ ก.ศป.พิจารณาคือ ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนนายอักขราทรตามข้อกล่าวหารือไม่ และสำนักงานศาลปกครองต้องชี้แจงและส่งเอกสารให้แก่ ป.ป.ช.หรือไม่

ปรากฏว่า เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางโดยตุลาการศาลปกครองสูงสุดฝ่ายหนึ่งเห็นว่า กรณีของนายอักขราทรเป็นการใช้อำนาจตุลาการ ป.ป.ช.จึงไม่มีอำนาจไต่สวน สำนักงานศาลปกครองจึงไม่ต้องชี้แจงกรณีดังกล่าว

ขณะที่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ป.ป.ช.มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 25(1) ในการเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดๆ เพื่อประโยชน์ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ถ้า ก.ศป.มีมติไม่ให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองส่งเอกสารหรือชี้แจงต่อ ป.ป.ช. เท่ากับเป็นการสนับสนุนให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองกระทำผิดกฎหมาย

เมื่อมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก.ศป.จึงไม่มีมติใดๆ ซึ่งหมายความว่า สำนักงานศาลปกครองจะส่งเอกสารหรือชี้แจงต่อ ป.ป.ช.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเอง

ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ในช่วงแรกที่ ป.ป.ช.มีมติรับเรื่องการกล่าวหานายอักขราทรไว้พิจารณานั้น ทาง ก.ศป.มีมติมอบหมายให้ตุลาการศาลปกครองรายหนึ่งไปเจรจาทำความเข้าใจกับ ป.ป.ช.ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตุลาการ ไม่น่าจะอยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช.

อย่างไรก็ตาม ก่อนพิจารณาว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนเรื่องนี้หรือไม่ น่าจะมาดูว่า ข้อกล่าวหานายอักขราทรเป็นอย่างไร

มีผู้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.มีเนื้อหาโดยสรุปว่า หลังจากที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมิให้นำมติ ครม.ที่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ครม.และกระทรวงการต่างประเทศได้อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครองสูงสุด นายอักขราทรได้สั่งให้จ่ายสำนวนคดีให้แก่องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่มีนายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะ มีนายชาญชัย แสวงศักดิ์ เป็นเจ้าของสำนวน ตุลาการอีก 3 คนประกอบด้วย นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์

ปรากฏว่า องค์คณะมีมติ 3 ต่อ 2 เสียง ให้กลับคำสั่งของศาลปกครองกลาง ขณะที่ยังไม่ลงนามในคำสั่งครบทั้งองค์คณะ

นายอักขราทร มีคำสั่งเปลี่ยนมาใช้องค์คณะฯที่ 1 ซึ่งมีนายอักขราทร เป็นหัวหน้าคณะเป็นผู้พิจารณาแทน และมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง

หลังจากพิจารณาคำร้องเรียนแล้ว แม้คำร้องมิได้ระบุชื่อผู้ร้อง แต่คำร้องมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการในศาลปกครอง และชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนองค์คณะตุลาการเป็นการใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการ ไม่ใช่เพราะเหตุอันมิอาจก้าวล่วงได้ จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯ จึงน่าเข้าข่ายการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม อยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช. (มาตรา 84 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ) จึงมีมติรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553

นอกจากนั้น ในมาตรา 92 ยังระบุว่า ถ้า ป.ป.ช.มีมติการกระทำของผู้ถูกกล่าวมีมูลความผิด ให้ประธาน ป.ป.ช.ส่งรายงานและอกสารการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองเพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯโดยเร็วฯ (มาตรา 92 วรรคสอง)

จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นชัดว่า ป.ป.ช.มีอำนาจการไต่สวนข้าราชการตุลาการศาลปกครองเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ (มาตรา 270) ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการไต่สวนเพื่อถอดถอนข้าราชการตุลาการศาลปกครองและผู้พิพากษากรณีที่มีการร้องเรียนผ่านประธานวุฒิสภาว่า บุคคลดังกล่าวส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

ดังนั้น ทางออกที่ถูกต้องจึงไม่ใช่การดิ้นรนเพื่อหลีกหนีการไต่สวน แต่ต้องพิสูจน์ตัวเองว่า มิได้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบสั่งเปลี่ยนองค์คณะฯซึ่งเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง

( หมายเหตุ อ่านบทสัมภาษณ์พิเศษ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยะกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่องอำนาจป.ป.ช. และศาลปกครอง และข้อเท็จจริงที่ไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน ในมติชนออนไลน์ เร็ว ๆ นี้ ที่นี่ )