WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 16, 2011

ข้อสังเกตบางประการ คำพิพากษาจำคุก 13 ปี ผู้ออกแบบเว็บ นปช.ยูเอสเอ

ที่มา ประชาไท

สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่มา: เฟซบุ๊ค Sawatree Suksri (15 มีนาคม 2554)
ผลของคดีนี้ตัดสินจำคุกสูงมาก มีข้อสังเกตดังนี้
1. ต้องถือเป็นคำพิพากษาที่ "สวน" กระแสคำพิพากษาอื่นที่เกี่ยวกับ 112 และ พ.ร.บ. คอมฯ ในช่วงที่ผ่านมา 2-3 คดีที่ยกฟ้องหรือเลื่อนยาว
2.ไม่แน่ใจว่ากิดอะไรขึ้น แต่ข้อเท็จจริง (ในทางเทคนิค) ก็คือ การจะสืบว่าใครเป็นแอดมินที่แท้จริง หรือใครโพสในเว็บ นปช.ยูเอสเอ สืบให้สิ้นสงสัยยากมาก
เอาเข้าจริง คำว่า admin ในเว็บสมัยใหม่ ใคร ๆ ก็เขียน หรือตั้งได้ บางกรณีมีระบบว่า ถ้าไม่ลงชื่อเป็นอืน ก็จะแสดงผลเป็นแอดมินได้อีก ลักษณะของเว็บไซต์นี้ (นปช. ยูเอสเอ) ก็มีระบบการทำงานคล้าย ๆ แบบนั้น แน่นอนว่า สำหรับคดีนี้ การแก้ต่างหรือข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นดังกล่าว ถือว่ามีความสำคัญ แต่หลัก ๆ ก็ต้องอยู่ที่ฝ่ายโจทก์

อย่างไรก็ตาม เหตุผลของศาลชี้ว่า

“จำเลยไม่ได้นำสืบว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสดังกล่าวไม่ได้เป็นของจำเลย และเมื่อมีชื่อในระบบว่า admin แล้วจะไม่สามารถตั้งซ้ำได้ ประกอบกับจำเลยพยายามเข้าเว็บไซต์ด้วยระบบ FTP จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดจริง แม้ว่าบันทึกจราจรคอมพิวเตอร์จะเป็นบันทึกคนละวันและเวลากับข้อความที่ปรากฏก็ตาม ศาลตัดสินว่ามีความผิดจำคุก 13 ปี”

ตรงนี้น่าสนใจมาก ในทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลักสำคัญที่สุดในทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็คือ

1. ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลย หรือผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าศาลจะพิพากษาว่ามีความผิด

2. สืบเนื่องจากข้อ 1 นั่นหมายความว่า ผู้มีภาระการพิสูจน์ ให้ศาลสิ้นสงสัย คือ "โจทก์" ไม่ใช่ "จำเลย” แต่จากเหตุผลของศาลนี้... เขาเขียนทำนองว่าจำเลยไม่ยอมพิสูจน์ ... แสดงว่าศาลหันมาให้น้ำหนักกับการแก้ต่างของ “จำเลย” มากกว่า การพิสูจน์โดย “โจทก์” ซึ่งน่าจะถูกต้องตามหลักการ
ปกติคดีความที่เกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคมาก ๆ แบบนี้ คนที่หนักคือโจทก์อยู่แล้ว ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ศาลมักต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย คือ ยกฟ้อง....คำถามเรื่องนี้จึงมีว่า

1. โจทก์สืบยังไงหรือ ศาลถึงสิ้นสงสัย ? (ทั้งที่ ในเหตุผล ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความสงสัยอยู่)

2.ฝ่ายจำเลยได้พยายามทำลายน้ำหนักของโจทก์หรือไม่ อย่างไร?
สุดท้ายโทษคดีนี้สูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ !