WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 17, 2011

ลอยไปกับสายน้ำ

ที่มา Thai E-News


ตรงนี้แหละที่ฮ้าร์ดคอร์เขาระย่อกัน (หา)ว่าสู้ไปกราบไปมาตั้งนาน นับแต่ปฏิเสธรัฐประหาร ต่อด้วยเรียกร้องกติกากลางเก่ากลางใหม่ รธน. ๔๐ ตามด้วยการต้านหัวหน้าอำมาตย์ ไปถึงช่วยกันหาบหามฎีกา แล้วมาขับไล่นายกฯ ราบ ๑๑ จนลงเอยที่ตาย ๙๑ เจ็บ ๒,๐๐๐ หายสาบสูญนับร้อย และถูกจับกว่าร้อย


โดย ระยิบ เผ่ามโน
ที่มา เวบThais' Genuine Democracy Revival

การชุมนุมของคนเสื้อแดงในโอกาศครบรอบปีแห่งการรวมพลครั้งใหญ่เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคมที่ผ่านมา สำหรับผู้เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสายแก่นแข็ง ดูเหมือนว่าจะเป็นการชุมนุมอย่างเซม เซม เซ็ง เซ็ง แต่ก็แฝงไว้ด้วยแสงไฟที่ปลายอุโมงก์ ที่แม้จะริบหรี่แต่ก็มีให้เห็นชัดเจน

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตพยายามอธิบายเพื่อทำความเข้าใจ กับความรู้สึก“เซม-เซ็ง” ของเสื้อแดงฮ้าร์ดคอร์เสียหน่อย

น่าจะเป็นเพราะพวกแก่นแข็งเห็นว่าต่อสู้มาตั้งนาน ตายไปก็ตั้งร้อย ท้ายที่สุดมาลงเอยแค่ว่า ขอเอาเพื่อนพ้องน้องพี่ที่อยู่ในคุกกว่าร้อยออกมาชั่วคราวให้หมดเสียก่อน แล้วก็เข้าสู่การช่วงชิงที่นั่งในสภาภายใต้กติกาประชาธิปไตยที่มีสร้อยต่อท้าย

ด้วยหวังว่าถ้าชนะขาดลอยก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยได้ แล้ว พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับไปบริหารประเทศให้พ่อแม่พี่น้องชาวรากหญ้าได้ลืมตาอ้าปาก และอูฟู่กันต่อไป

ถ้าไม่ชนะขาดลอย หรือกลับกลายเป็นแพ้ ก็สุดแท้แต่ฟ้าจะปราณี

ตรงนี้แหละที่ฮ้าร์ดคอร์เขาระย่อกัน (หา)ว่าสู้ไปกราบไปมาตั้งนาน นับแต่ปฏิเสธรัฐประหาร ต่อด้วยเรียกร้องกติกากลางเก่ากลางใหม่ รธน. ๔๐ ตามด้วยการต้านหัวหน้าอำมาตย์ ไปถึงช่วยกันหาบหามฎีกา แล้วมาขับไล่นายกฯ ราบ ๑๑ จนลงเอยที่ตาย ๙๑ เจ็บ ๒,๐๐๐ หายสาบสูญนับร้อย และถูกจับกว่าร้อย

ยังไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง มีแต่ถลำเข้าทางเขา

กติกาฉบับแก้ไขใหม่เอี่ยมเตรียมรับพรรคพวก “กู้มากิน” เพิ่งผ่านตรายางประทับ หัวหน้าอำมาตย์กำลังจะได้กองพลของตนเอง สิ่งที่หาบหามกลับอันตรธานเข้าหีบหับ นายกฯ ที่ราบ ๑๑ ปั้นด้วยมือรำๆ จะถูกราบ ๑๑ เขี่ยด้วยตรีนเสียเอง แล้วที่ตายไปเกือบร้อยอาจเป็นเพียงหัวคนไปชนลูกปืน

เป็นคดีความที่ลอยไปกับสายน้ำเหมือนกรณีปืนลั่นแสกหน้า

จะโพนทนาว่ากล่าวพวกเขาใจร้อนก็ไม่ค่อยเต็มปากนัก หากแต่ยังต้องคิดด้วยว่ามีพวกวิชามารคอยเสี้ยมอยู่ก็ไม่น้อยเหมือนกัน

จึงมาถึงซึ่งข้อสรุปว่า อย่างน้อยได้เห็นแสงไฟที่ปลายอุโมงก์บ้างแล้วจากคำพูดของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ว่า
“การเลือกตั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ แต่เป้าหมายหลักคือประชาธิปไตยต้องเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง พี่น้องที่เสียชีวิต ต้องได้รับความยุติธรรม...” และ “ตาสว่าง ไม่จำเป็นต้องปากสว่าง”


ถึงอย่างไรก็คงต้องบังอาจแทรกคำของน้องเต้นขาโจ๋ตรงนี้สักหน่อยว่า ถึงปากจะไม่สว่าง ก็อย่าให้ถึงกับต้องปิดมันไว้เช่นกัน สิ่งใดควรพูดก็ต้องพูด และพูดแล้วควรทำตามไปด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของตัวบทกฏหมายที่ออกมาขัดขวางกางกั้นหนทางเดินไปสู่ประชาธิปไตยอันแท้จริง (Genuine Democracy)

อย่างเช่น ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ที่แม้แต่วงการนิติศาสตร์ก็ยังอดรนทนไม่ไหวต่อความไม่ชอบมาพากลของที่มา (และที่จะไป) รวมทั้งการตีความบังคับใช้ เลยเถิดไปถึงเจตนาในการปรับมาตรการลงโทษให้รุนแรงอย่างขัดแย้งกับครรลองแห่งกฏหมาย (Rule of Law) ซึ่งเรียกกันในภาษาวิชาการว่า “นิติธรรม”

เชื่อว่าแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติน้อยใหญ่คงจะได้เห็นคำประกาศฉบับที่ ๑๖ ของคณะนิติราษฎร์ ที่เขียนโดย ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กันถ้วนทั่วแล้ว และเชื่ออีกเช่นกันว่าท่านทั้งหลายมีความเข้าใจเหมือนผู้เขียนว่าประเด็นกม. อาญา ม. ๑๑๒ นี้ ไม่ใช่เรื่องลี้ลับศักดิ์สิทธิ์ หรือสูงส่งต้องห้าม ไม่อาจแตะต้องได้แต่อย่างใด

ปรากฏการณ์ที่มีประชาชน ๑๑๒ คน รวมทั้งอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ศิลปินนักสร้างภาพยนตร์ผู้ได้รับรางวัลปาล์มดอร์จากงานประกวดภาพยนตร์ในประเทศฝรั่งเศส ได้ร่วมกันลงชื่อริเริ่มให้มีการอภิปรายปัญหาของ ม. ๑๑๒ อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ แสดงให้เห็นแล้วว่ากฏหมายเกี่ยวกับข้อห้ามหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกษัตริย์ของไทยนี้มีปัญหาผิดฝาผิดตัวผิดผีผิดไข้ ทำให้เกิดความไม่อยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทยอย่างแน่นอน

ขออนุญาตอีกครั้งนำเอาแก่นของเนื้อหาในคำประกาศนิติราษฎร์ฉบับที่ ๑๖* มากล่าวถึงอย่างสังเขป โดยที่ ดร. วรเจตน์เขียนถึงปัญหาของ กม. อาญา ม. ๑๑๒ ไว้ ๓ ประการ ล้วนแต่หนักๆ ทั้งนั้น ได้แก่

ประการแรกเป็นกฏหมายที่เขียนใหม่ให้ครอบคลุมถึงบุคคลนอกเหนือไปจากอุดมการณ์รัฐธรรมนูญ แทนที่จะบัญญัติไว้เฉพาะองค์พระประมุข กลับเพิ่มพระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เข้าไปด้วย กม. กำหนดโทษที่กระทำต่อบุคคลทั้งสี่เท่ากันหมด อันเป็นเรื่องทำไม่ได้ในทางนิตินโยบาย

ประการต่อมา โทษที่กำหนดไว้สำหรับผู้ละเมิดใน ม. ๑๑๒ ฉบับนี้ “ขาดความสอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุอย่างสิ้นเชิง” ในขณะที่โทษหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (รัชกาลที่ ๕) เพียงให้จำคุกไม่เกิน ๓ ปี ไม่มีขั้นต่ำ แต่โทษในสมัยประชาธิปไตยแบบมีสร้อยกลับกำหนดขั้นต่ำไว้ ๓ ปี ขั้นสูงถึง ๑๕ ปี ดร. วรเจตน์บอกว่าการไม่มีโทษขั้นต่ำหมายความว่าจะพิพากษาให้โทษน้อยเพียงใดก็ได้

ประการสุดท้าย ดร. นักกฏหมายมหาชนแห่งสถาบันนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ชี้ว่าการไม่บรรจุเหตุยกเว้นความผิดไว้ในกฏหมาย ม. ๑๑๒ ฉบับนี้เฉกเช่นที่เป็นธรรมชาติแห่งครรลองของการตรากฏหมาย ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถต่อสู้คดีว่ากระทำไปโดยสุจริตได้

ทั้งๆ ที่ในกฏหมายอาญา รศ. ๑๒๗ อันเป็นต้นแบบในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชนั้น ผู้ต้องหา “ที่ได้กระทำไปภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต หรือเป็นเพียงการติชมตามปกติวิสัย” ยังให้ถือว่า “การกระทำนั้นไม่ให้ถือว่าเป็นความผิด”

นั่นคือกฏหมายฉบับนี้ปิดประตูสู้ของผู้ถูกกล่าวหา แล้วยังเปิดโอกาสให้ใครก็ได้ตั้งตัวเป็นผู้เสียหายยื่นฟ้องร้องเอาผิด และศาลก็จำเป็นต้องรับฟ้องโดยมิพักไตร่ตรองให้ถูกต้องอีกด้วย

ข้อสำคัญที่ ดร. วรเจตน์เน้นไว้นอกเหนือจากปัญหาสามข้อดังกล่าว อยู่ที่การตีความตัวบทเพื่อบังคับใช้กฏหมายโดยศาล อัยการ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีลักษณะ “ต้องห้าม” ในเชิงวิชาการด้านนิติธรรมที่เรียกว่าเป็นการ “เทียบเคียง” บทกฏหมายเพื่อลงโทษบุคคล

หมายความว่า ทั้งที่ตัวบทใช้ถ้อยคำชัดเจนว่า “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” แต่ศาล และเจ้าหน้าที่กลับตีความรวมไปถึงการกระทำที่มีลักษณะไม่เคารพ ไม่นับถือ หรือแม้แต่การแสดงออกต่อสิ่งที่เป็นสัญญลักษณ์เท่านั้น เช่นการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ ในโรงหนัง เหล่านี้เป็นการตีความเกินเลยกว่าที่ครรลองแห่งกฏหมายชี้ว่าสมควรกระทำ

สิ่งที่คำประกาศนิติราษฎร์แปะติดไว้บนมโนธรรมของคนที่รักประชาธิปไตยเหล่านี้แหละที่ผู้เขียนเห็นว่าไม่ใช่เรื่องปากสว่าง และไม่จำเป็นต้องกระซิบ ขอแต่เพียงอย่าได้ปิดปากกันเท่านั้นเอง มิฉะนั้นการต่อสู้ของเสื้อแดงก็จะเป็นเพียงพายเรือวนเวียนในอ่างอย่างที่ผู้ใช้นามว่า เพียงดิน เขียนไว้ในเว็บบอร์ด “อินเตอร์เน็ตฟรีดอม”**

ผู้เขียนไม่ได้เป็นนักรบแบบไหน หรือส่วนไหน (แม้แต่ในสนามไซเบอร์) ของขบวนการเสื้อแดง ไม่เคยได้รับทั้งสุข และทุกข์จากกระบวนการ เป็นแต่เพียงหนึ่งในจำนวนคนไทยมากมายที่โหยหาประชาธิปไตยแท้จริง และเห็นชอบกับการเรียกร้องของเสื้อแดง จึงได้เสนอข้อคิด ความเห็นตามที่พึงมีจากการที่ได้เรียนรู้มา ดังได้นำข้อคิดต่างๆ จากสถานการณ์ปัจจุบันในอาฟริกา และตะวันออกกลาง มาเปรียบเทียบอยู่เสมอ

ต่อกรณีวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์นี้เช่นกัน ใคร่ชวนท่านไปดูสถานการณ์ของจอร์แดนกันไว้เป็นอุทธาหรณ์

จอร์แดนปกครองด้วยสถาบันกษัตริย์ราชวงศ์ฮัสชิไม้ท์ติดต่อกันมา ๙๐ ปี กษัตริย์องค์ปัจจุบัน อับดุลลาห์ที่สอง และราชินีเรเนียของพระองค์ นับเป็นคนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาสูงจากตะวันตก ชนิดทั้งสององค์พูดอังกฤษไม่มีสำเนียงผิดเพี้ยน แถมราชินีทรงศิริโฉมงดงาม นับว่าเป็นมอนาร์คีที่ครบถ้วนในคุณสมบัติ

แต่จอร์แดนก็หนีไม่พ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงไปตามโลกาภิวัฒน์ซึ่งกำลังเป็นพายุโหมภูมิภาคอาฟริกา และตะวันออกกลางอย่างหนักหน่วงในขณะนี้ คือความต้องการประชาธิปไตยอันแท้จริง ไม่ใช่แต่เพียงชื่อ หรือรูปแบบที่มีการปฏิบัติอย่างบิดพริ้ว ส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่สร้อยต่อท้ายชื่อให้ยืดยาวเสียด้วยซ้ำไป

การเรียกร้องในจอร์แดนอาจเริ่มจากความต้องการปฏิรูประเบียบบริหารราชการ และกำจัดคอรัปชั่น แต่บัดนี้กระแสขยายตัวเป็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพราะ “กษัตริย์มาแล้วก็ไป แต่ความห่วงใยของพวกเราอยู่ที่ประเทศชาติ”*** เป็นคำพูดของชี้ค เอเดล มาฮามิด หัวหน้าเผ่าในตอนใต้ของประเทศอันเป็นจุดที่มีการประท้วงเกิดขึ้นมาแล้วนานปีดีดัก

“กษัตริย์ทรงพระราชอำนาจในการแต่งตั้งรัฐบาล ทั้งยังทรงสามารถยุบสภาด้วยพระองค์เอง พระราชอำนาจควรต้องถูกจำกัด” ชี้ค เอเดลกล่าวว่าพระราชอำนาจจะต้องตรวจสอบได้ (held accountable) “ในเมื่อลงลึกถึงรายละเอียดขนาดนั้น”

ตลอดหลายปีที่ผ่านมากลับมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มพระราชอำนาจกษัตริย์มากยิ่งขึ้นไปอีก ถึงแม้การต่อต้านสถาบันกษัตริย์แบบที่บ้านเราเรียกว่า “ล้มเจ้า” มีโทษจำคุกเพียงไม่เกิน ๓ ปี การวิพากษ์สถาบันกษัตริย์ในจอร์แดนยังเพียงแค่ตีวัวกระทบคราด โดยโจมตีว่าข้าราชบริพารรายล้อมองค์กษัตริย์ฉ้อราษฎร์บังหลวง เอาตำแหน่งหน้าที่มาหาผลประโยชน์ใส่ตนเอง และครอบครัว จากหน่วยงานวิสาหกิจของรัฐ

แต่กระนั้นก็ยังไม่ละเว้นถึงราชินีผู้เลอโฉมว่าพระองค์ทรง “ก้าวก่ายในการแต่งตั้งข้าราชการชั้นสูง แล้วยังทรงมัวหมองในเรื่องเงินทองขององค์การระหว่างประเทศที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภก”

แน่นอนว่าการเป็นอยู่ และที่จะเป็นไปของราชวงศ์ฮัสชีไม้ท์แห่งจอร์แดนคงไม่อาจจะนำมาเทียบเคียงกับราชวงศ์ของไทยได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเราเวลานี้อันเกี่ยวกับปฏิกิริยาในภาคประชาชนต่อกฏหมายที่ใช้ปกป้องสถาบันกษัตริย์มีเนื้อหารายละเอียดไม่ต่างกันมากนัก

ความต้องการเปลี่ยนแปลงของประชาชนจอร์แดนต่อราชวงศ์ฮัสชิไม้ท์ยังอยู่ในขอบข่ายของคำศัพท์ที่ว่า “ปฏิรูป” และผู้คนต้องการแค่ปรับแก้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะต่างตระหนักว่าการจะเปลี่ยนสิ่งใดที่สั่งสมมานับเกือบร้อยปีอย่างพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินนั้นก่อผลร้ายแรงดั่งแผ่นดินไหว และคลื่นมหาภัย

ไม่ทราบว่าคลื่นแห่งปัญหาของกฏหมายอาญามาตรา ๑๑๒ จะก่อผลร้ายขนาดไหน และไม่ทราบเช่นกันว่าอาการหวั่นไหวต่อผลร้ายของการตีความบังคับใช้ ม. ๑๑๒ ที่ไม่ต้องตามครรลองแห่งคลองนิติธรรมจะก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือไม่เพียงใด

คำตอบที่พอมองเห็นได้อยู่ในสายน้ำที่ลอยล่องไป แต่อาจจะไม่ลอยไกลเท่าไรนักแล้ว เพราะใครบางคนไปสร้างเขื่อนสกัดกั้นไว้เสียมากมาย

* http://www.enlightened-jurists.com/blog/24

** http://www.internetfreedom.us/thread-16933.html

*** http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2011/03/08/AR2011030805052.html?wpisrc=nl_headline