ที่มา มติชน
โดย คนในศาล
บทความที่ท่านผู้อ่านจะอ่านต่อไปนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทำใจให้ว่าง ไม่ยึดติดกับตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง เพื่อจะได้มองเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้อย่างแจ่มชัดว่ากฎหมายมุ่งหมายให้มีความหมายเช่นไร มิฉะนั้น การแปลความกฎหมายจะบิดเบือนไปตามอคติความชอบและความเกลียด หาแก่นแท้ไม่ได้ ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้จึงต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเช่นกัน กล่าวคือ ได้สัญชาติไทยมาพร้อมกับการเกิดเป็นบุคคล แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมิได้ให้ความหมายของคำว่า "ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด" มีความหมายอย่างไร หากบุคคลที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสัญชาติไทยโดยการเกิดสัญชาติเดียว คือ พวกผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยและเกิดในราชอาณาจักรไทย ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) (2) ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักสืบสายโลหิตและหลักดินแดนทั้งสองหลัก ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติ แต่หากบุคคลดังกล่าวเกิดนอกราชอาณาจักร แม้จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ตามหลักสืบสายโลหิต แต่ขณะเดียวกันก็จะได้สัญชาติของประเทศที่ผู้นั้นเกิดตามหลักดินแดน บุคคลนี้จึงเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ขณะเดียวกันก็มีสัญชาติของประเทศที่ผู้นั้นเกิดโดยการเลือกอีกสัญชาติหนึ่งตามกฎหมายของประเทศนั้น ปัญหาจึงเกิดมีขึ้นว่า คนที่มีสองสัญชาติโดยการเกิดในลักษณะเช่นนี้จะมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ หากไม่มีแน่นอนย่อมไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ สมควรอย่างยิ่งที่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ว่าไปแล้วคนไทยทุกคนก็เกี่ยวข้องหมด จะต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณาให้ตกผลึกโดยองค์กรที่มีอำนาจ ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ไม่ใช่ยังไม่มีผู้เสนอเรื่องเข้าสู่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง บุคคลในองค์กรนั้นก็ออกมาแสดงความคิดเห็นรับรองคุณสมบัติของคนสองสัญชาติทันทีว่า ไม่ขาดคุณสมบัติของการเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้เขียนรู้สึกอายที่ครั้งหนึ่งเคยร่วมอาชีพด้วย ดังนั้น บุคคลสองสัญชาติจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ตนมีสัญชาติทั้งสองสัญชาติ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลทุกรัฐบาลไม่ว่าประเทศใดต่างมีนโยบายขจัดปัญหาคนสองสัญชาติ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาคนสองสัญชาติกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังจะเห็นได้จากบริเวณชายแดนไทยและมาเลเซีย จะมีคนกลุ่มหนึ่งมีสองสัญชาติ คือ สัญชาติไทยและสัญชาติมาเลเซีย คนกลุ่มนี้บางคนได้กระทำความผิดต่อกฎหมายไทยในราชอาณาจักรไทย แล้วก็หลบหนีไปอยู่ในดินแดนของประเทศมาเลเซีย ทำให้ยากต่อการที่จะติดตามจับกุมตัวมาลงโทษ หรือแม้แต่จะขอให้ทางการของประเทศมาเลเซียส่งคนดังกล่าวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนมาพิจารณาคดีที่ศาลไทยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนดังกล่าวย่อมจะต้องอ้างว่าตนเป็นคนสัญชาติมาเลเซีย และโดยหลักการแล้วประเทศต่างๆ จะไม่ยอมส่งคนสัญชาติของตนไปให้ประเทศอื่นพิจารณาลงโทษ เข้าทำนองว่า หากลูกเราทำผิดเราก็จะลงโทษเอง จะไม่ส่งลูกของเราไปให้คนอื่นลงโทษ ยกเว้นประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการแก้กฎหมายต่างไปจากอดีต ทำให้มีการส่งคนสัญชาติไทยเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปให้ประเทศอื่นลงโทษ ปัญหานี้รัฐบาลไทยทุกรัฐบาลมีนโยบายขจัดปัญหาคนสองสัญชาติมาโดยตลอด โดยมีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียเพื่อแก้ปัญหา ท่านผู้อ่านลองหลับตานึกภาพดูซิว่า หากบุคคลผู้กำหนดนโยบาย (นายกรัฐมนตรี) เป็นบุคคลสองสัญชาติเสียเองแล้ว ปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปได้หรือ และความมั่นคงของประเทศจะเป็นเช่นไร ลองตรองดู จึงมีปัญหาว่ามีความหมายเช่นไร เนื่องจากบุคคลคนหนึ่งอาจมีหนึ่งสัญชาติหรือมีกว่าหนึ่งสัญชาติก็ได้ ถ้ามีเพียงสัญชาติเดียวการแปลความย่อมไม่มีปัญหา แต่หากมีสองสัญชาติจำต้องแปลความหมาย (ตีความ) ของกฎหมายว่ามีความมุ่งหมายหรือเจตนาอย่างไร ซึ่งการตีความที่เด็ดขาดเป็นเรื่องของอำนาจตุลาการ แต่ขณะที่ยังไม่มีคดีความขึ้นสู่ศาลที่มีอำนาจพิจารณา บรรดาผู้ใช้กำหมายทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมายหรือไม่ก็ตาม หรือแม้แต่ประชาชนคนเดินดินก็มีสิทธิที่จะตีความกฎหมายได้ ผู้เขียนจึงขอแสดงความคิดเห็นให้ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูว่า คนสองสัญชาติจะมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีหรือไม่ คนบางคนแค่เพียงอาศัยแผ่นดินประเทศอื่นเกิดแล้วก็กลับมาอยู่ประเทศไทย เรียนหนังสือ ทำงาน มีครอบครัวในประเทศไทย คนคนนี้ท่านว่าเขามีความเป็นคนไทยเต็มตัวหรือไม่ เมื่อเทียบกับอีกคนหนึ่งพ่อแม่เป็นคนไทย แต่เกิดต่างประเทศ เติบโต เรียนหนังสือ มีชีวิตอยู่ในประเทศที่เกิดเรื่อยมาจนเรียนจบ แล้วจึงกลับประเทศไทยและได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตลอดตั้งแต่เมื่ออายุครบ 25 ปี จนกระทั่งเป็นนายกรัฐมนตรีโดยประชาชนไม่รู้มาก่อนว่าคนคนนี้มีสองสัญชาติ และยังไม่สละสัญชาติที่ไม่ใช่สัญชาติไทยจนบัดนี้ พูดง่ายๆ คนคนนี้ปกปิดข้อเท็จจริงต่อประชาชนมาโดยตลอดจนกระทั่งถูกจับได้กลางสภา ก็ยังคงอ้างข้างๆ คูๆ ว่า เรียนหนังสือก็เสียค่าเทอมแบบคนต่างชาติ เข้าไปประเทศที่ตนถือสัญชาติอีกสัญชาติหนึ่งก็ต้องขอวีซ่า เท่ากับมีเจตนาที่จะถือสัญชาติไทยสัญชาติเดียว ซึ่งฟังดูก็มีเหตุผลแต่ไม่สมเหตุสมผล ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ยังไม่ได้สละสัญชาติที่ไม่ใช่สัญชาติไทย จึงมีคำถามถามต่อไปว่า ถ้ามีเจตนาจะถือสัญชาติไทยเพียงสัญชาติเดียว มีเหตุผลใดจึงไม่สละสัญชาติอื่นเสียแต่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียแต่แรก ยิ่งมีพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ต่ออธิปไตยของประเทศไทย เช่น นายกรัฐมนตรีตลอดจนรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่างประกาศยอมรับว่าดินแดนที่ 7 คนไทยถูกจับเป็นดินแดนของประเทศเขมร ให้ 7 คนไทยรับสารภาพแล้วจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่หากท่านผู้อ่านยอมรับได้กับเรื่องที่กล่าวข้างต้นทั้งสามข้อ ย่อมแสดงว่าท่านผู้อ่านแปลความหมายของคำดังกล่าวว่า หมายความว่า จะมีสัญชาติกี่สัญชาติไม่สำคัญแม้จะเป็นสัญชาติของประเทศที่เป็นศัตรูกับประเทศไทยก็ตาม ขอเพียงแต่ให้สัญชาติไทยโดยการเกิดรวมอยู่ด้วย ก็มีคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้ก็ไม่ว่ากัน สุดแท้แต่วิจารณญาณของท่าน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศโดยตรง จึงใคร่ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่จำกัดเฉพาะพรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพรรคที่นายกรัฐมนตรีสังกัดควรเป็นธุระจัดการปัญหานี้ให้ตกผลึก โดยการร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า บุคคลสองสัญชาติขาดคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศโดยตรง ไม่ใช่จำกัดเฉพาะพรรคการเมือง และควรอย่างยิ่งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเสนอคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งให้สั่งว่า บุคคลสองสัญชาติคนนี้ขาดคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยออกมาให้ถึงที่สุดว่า คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดนั้นมีความหมายเช่นไร แต่หากท่านไม่ดำเนินการจะเป็นเพราะเห็นแก่พวกพ้องหรือไม่ก็ตาม บรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหลายก็มีสิทธิที่จะร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทยได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไว้ในมาตรา 101 ประการแรกว่า ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมาตรา 171 กำหนดคุณสมบัติของผู้จะเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ว่า ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
ผู้เขียนได้ศึกษา พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 แล้ว ปรากฏว่าไม่มีบทบัญญัติให้บุคคลสองสัญชาติสละสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงว่า ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด
1.ขอให้ท่านผู้อ่านลองถามใจตนเองว่า เรารับบุคคลสองสัญชาติเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่
2.หากบุคคลสองสัญชาติซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องไปเจรจา ลงนามทำสัญญาทางการค้าหรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศไทยกับประเทศที่นายกรัฐมนตรีถืออีกสัญชาติหนึ่ง ท่านผู้อ่านจะไว้วางใจได้โดยสนิทใจหรือ ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะทำเพื่อประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทยเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
3.หากสัญชาติอีกสัญชาติหนึ่งของนายกรัฐมนตรีเป็นสัญชาติของประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน และมีความขัดแย้ง ตลอดจนมีการปะทะกันด้วยกำลังทหารถึงขั้นประกาศว่าเป็นสงคราม เช่นนี้ ท่านผู้อ่านจะยังคงไว้วางใจให้คนคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศต่อไปหรือไม่
จะเห็นได้ว่าเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศทั้งสิ้น ฉะนั้น หากท่านผู้อ่านไม่สามารถรับเรื่องที่กล่าวข้างต้นทั้งสามข้อได้ ย่อมแสดงว่าท่านผู้อ่านแปลความหมายของคำว่า "สัญชาติไทยโดยการเกิด" หมายความว่า ต้องมีสัญชาติไทยเพียงสัญชาติเดียว
อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวแต่ต้นแล้วว่า ปัญหาของคนสองสัญชาติมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ หากไม่มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ย่อมไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้