WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 1, 2011

ค้าน “ซูเปอร์สกายวอล์ก” หวั่นผลาญภาษี

ที่มา ประชาไท

นายกสมาคมต้านสภาวะโลกร้อน" ออกแถลงการณ์ถึงผู้ว่า กทม. ตั้งข้อสังเกตโครงการทางเดินลอยฟ้า 50 กิโลเมตร ใช้งบตกกิโลเมตรละ 300 ล้าน สูงกว่าโครงการที่กำลังก่อสร้างกว่า 5 เท่า เตือนให้ระวังทัศนอุจาด แนะจัดระเบียบทางเท้า ติงทำไมปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้ามายึดแทนที่คนกรุงเทพ 5.7 ล้าน จะได้ใช้สัญจร

หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2554 นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ออกแถลงการณ์ ถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเรื่อง “คัดค้าน กทม.ผุดทางเดินลอยฟ้า: นโยบายผลาญภาษีประชาชน” โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้

แถลงการณ์สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
ถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คัดค้าน กทม.ผุดทางเดินลอยฟ้า : นโยบายผลาญภาษีประชาชน

กรณีที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่า กทม. ได้ออกมาเปิดตัวโครงการว่า กทม.มีแผนก่อสร้างโครงข่ายทางเดินลอยฟ้า หรือซูเปอร์สกายวอล์ก (Super Sky Walk) ระยะทางรวม 50 กม. เพื่อให้คนกรุงเทพฯมีทางเดินลอยฟ้าที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยจะแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกมีระยะทาง 16 กม. วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 5,200 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนมี.ค.นี้ ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน กำหนดแล้วเสร็จปี 2555 และระยะที่สองมีระยะทาง 32 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 10,000 ล้านบาท คาดจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2555 แล้วเสร็จปี 2557

และต่อมานายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ออกมาแจงเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ กทม. เปิดตัวโครงข่ายซูเปอร์สกายวอล์กหรือทางเดินลอยฟ้าระยะทางรวมกว่า 50 กม.ทั่วพื้นที่กทม.เพื่อความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของประชาชนสู่ระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ แล้วนั้น ล่าสุด กทม.ได้ขยายผลโครงข่ายดังกล่าว โดยได้รับความร่วมมือกับภาคเอกชนในการลงทุนก่อสร้างทางเดินเท้าลอยฟ้าเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มผู้ประกอบการย่านราชประสงค์และประตูน้ำ ศูนย์การค้าแพลทินัมตอบรับข้อเสนอลงทุนเอง 100% โดยจะมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ในช่วงเดือน พ.ค.นี้ เบื้องต้นรูปแบบทางเดิน จะเชื่อมโยงตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม ผ่านแยกราชประสงค์มุ่งหน้าไปยังคลองแสนแสบ ถนนราชดำริ ต่อเนื่องไปจนถึงศูนย์การค้าแพลทินัม รวมระยะทางประมาณ 500 เมตรนั้น

สมาคมฯ มีข้อสังเกตว่าการก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าระยะทาง 50 กม. ของ กทม.ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง หรือเฉลี่ยกิโลเมตรละกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบข้อมูลการก่อสร้าง จะเห็นว่าบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าใต้แนวเส้นทางรถไฟฟ้าช่วงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-แบริ่ง รวมระยะทาง 17 กม. ใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยกิโลเมตรละ 58.82 ล้านบาทเท่านั้น แต่ทางเดินลอยฟ้าใหม่นี้ทำไมแพงกว่าถึง 5 เท่า และเงินที่นำมาใช้ก่อสร้างเป็นเงินจากภาษีของประชาชน ไม่ใช่เงินส่วนตัวของนายสุขุมพันธ์หรือของนายธีระชน ที่คิดอยากจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ ที่สำคัญโครงการผลาญเงินดังกล่าวสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวแล้วหรือไม่อย่างไร

ประเด็นปัญหาที่ยกมาวิพากษ์ในวันนี้ นอกจากจะเรื่องงบประมาณที่สูงเกินเหตุแล้ว แต่ขอตั้งข้อสังเกตอีกประการถึงความเหมาะสมของการสร้างทางเดินลอยฟ้าในพื้นที่เมืองว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่ ประการใด เหตุใดจึงจ้องแต่จะเพิ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นอุจจาดทัศน์ (Visual Pollution) ให้กับเมืองกรุงเทพฯเข้าไปอีก ทำไมไม่กลับไปจัดการทางเดินเท้าที่เป็นสมบัติสาธารณะของคนไทยและคนกรุงเทพฯ ทุกคนให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทำไมปล่อยให้มีแม่ค้า-พ่อค้าแผงลอย ทั้งตัวจริงตัวปลอม มายึดพื้นที่ทางเท้าเต็มกันไปหมดทั้งบ้านทั้งเมืองล่ะครับ แถมยังเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐบาลในโครงการประชาวิวัฒน์ในการขยายจุดผ่อนผันเพิ่มให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้เพิ่มเข้าไปอีกกว่า 280 จุดอีก ขอถามหน่อยว่าพื้นที่สาธารณะทางเท้าเหล่านี้เป็นของนายสุขุมพันธ์หรือของนายธีระชนหรือของนายกรณ์หรือของนายอภิสิทธิ์หรืออย่างไร

ปัญหาดังกล่าว กทม.หมดปัญหาที่จะแก้ไขปัญหาทางเท้า ก็เลยยึดทางเท้าซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของคนกรุงเทพฯทั้ง 5.7 ล้านคนไปประเคนให้กับพ่อค้าแม่ค้าไม่ถึง 10,000 รายได้สร้างประโยชน์และผลกำไรมาจ่ายเทศกิจหรือกทม.ในรูปของค่าธรรมเนียมเท่านั้นหรือ ขอถามหน่อยว่าสิทธิของคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ที่เขาต้องใช้ทางเท้าในการสัญจรไปมาหายไปไหน แล้วเขาเหล่านั้นเสียภาษีให้ กทม.ไปเพื่อการใด

แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 43 ระบุไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน เมื่อโครงการดังกล่าวอยู่ในข้อยกเว้น กทม.จึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำโครงการดังกล่าวได้แต่อย่างใด

นอกจากนั้นในหมวดที่ว่าด้วยหน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 74 ยังระบุไว้ชัดเจนว่าบุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี แล้วการที่ กทม.ทำโครงการนี้นั้นเป็นการรักษาผลประโยชน์ต่อส่วนรวมตรงไหน

แต่สิ่งที่กทม.กำลังดำเนินการอยู่นี้ท้าทายต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง ถือว่าเป็นการเอาสมบัติสาธารณะมามอบให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือเอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้แสวงหาประโยชน์ หรือเพื่อผลประโยชน์ของเอกชน ให้กับบริษัทห้างร้านสรรพสินค้า เพื่อให้ลูกค้าสะดวกในการเดินเข้ามาใช้บริการธุรกิจของตนฝ่ายเดียว หรือประโยชน์ของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ที่ได้ใจต่อกลุมผู้ค้าฝ่ายเดียว แต่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนและเสียหายให้เกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้ทางเท้าอันเป็นสมบัติสาธารณะอย่างชัดแจ้ง

ประเด็นดังกล่าว สมาคมฯเห็นว่ากทม. ดำเนินงานตามนโยบายที่ขัดต่อกฎหมาย ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างถนนคนเดินลอยฟ้าเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ส่วนถนนทางเดินเท้าด้านล่างที่มีอยู่ก็จะถูกนำไปจัดสรรให้กับพ่อค้า-แท่ค้าแผงลอยได้ใช้ประโยชน์กันเต็มบ้านเต็มเมือง และกทม.ก็จะใช้เป็นข้ออ้างว่าไม่มีทางเดินเท้าที่โล่งเดินสบายบนทางเท้าเดิม ๆ ให้ประชาชนเดินได้ จึงต้องตั้งงบประมาณที่แสนแพงมาก่อสร้างหรือจัดทำทางเท้าลอยฟ้าให้เต็มบ้านเต็มเมืองเต็มไปหมดได้อีก ที่สำคัญการทำทางเดินเท้าลอยฟ้าดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนขยายของระบบขนส่งมวลชน ซึ่งต้องเขียนไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสียก่อน แต่เมื่อสมาคมฯตรวจสอบแล้วไม่มีปรากฏหรือเขียนไว้เลย จึงเข้าข่ายผิดต่อ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 โดยตรง ซึ่งไม่สามารถกระทำได้โดยทันที

สมาคมฯ จึงใคร่เรียนมายังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรัฐบาล เพื่อทบทวนหรือยุติโครงการทั้ง 2 ดังกล่าวเสียหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน หาก กทม.เพิกเฉยและยังคงจะดำเนินโครงการทั้งสองนี้ต่อไป สมาคมฯไม่มีหนทางอื่นใดที่จะยุติโครงการดังกล่าวได้ นอกจากการพึงกระบวนการศาลปกครองเท่านั้น

ประกาศมา ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

นายศรีสุวรรณ จรรยา
นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน