WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 1, 2011

มติชน รายงาน อาจารย์นิติฯจุฬา ไล่"มาร์ค"เชื่อเป็นนายกฯสมัยหน้า ประเทศไม่ดีขึ้น

ที่มา thaifreenews

โดย lovethai

อาจารย์จุฬาฯเสนอ"อภิสิทธิ์"ลาออก ดีกว่ายุบสภา หานายกฯใหม่ที่มีท่าทีปรองดอง มือประสานทุกฝ่าย


วันที่ 28 ก.พ. ศ. ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬา ฯ บรรณาธิการเว็ปไซต์ www.pub-law.net แสดงความเห็นกรณีที่มีกระแสเรียกร้องให้ยุบสภา พร้อมตั้งคำถามว่า การยุบสภาคือสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทยหรือไม่ ?



อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า " กระแสยุบสภามีที่มาจากการแก้รัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้ง ผมได้พูดไว้แล้วหลายครั้งว่า ประเทศชาติและประชาชนไม่ได้อะไรเลยจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบนี้ไม่ได้แก้ปัญหาของประเทศที่มีอยู่เลย การยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ แม้ระบบจะเปลี่ยนกลับไปเป็นของเดิม แต่ผมก็ค่อนข้างมั่นใจเต็มร้อยว่าเราคงได้คนเดิมเข้ามา เพราะฉะนั้นจะยุบสภาไปทำไม"


" วันนี้ ปัญหาของประเทศชาติมีอยู่มาก เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่ามีความแตกแยกระดับสูงในสังคม มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย มีปัญหาเศรษฐกิจ มีปัญหาเงินเฟ้อ มีปัญหาชายแดน มีปัญหากัมพูชา การยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่คงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น"


"อย่างไรก็ตาม ในแง่จิตวิทยา การยุบสภาอาจดีกว่าการอยู่เฉย ๆ แล้วไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้เลย เพราะความสนใจของผู้คนในช่วงเวลา 3 เดือน คงไปอยู่ที่การเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็คงลดน้อยลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะลดน้อยลงไปด้วย"


นอกจากนี้ เมื่อเกิดรัฐบาลใหม่ ความแตกแยกในสังคมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ก็จะกลับมาอีก เสื้อเหลืองสนับสนุนรัฐบาลก็หมายความว่าเสื้อแดงคงคัดค้าน ในทางกลับกัน เสื้อแดงสนับสนุนรัฐบาล เสื้อเหลืองก็คงคัดค้านเช่นกัน ความวุ่นวายก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ต่อไปไม่มีวันจบ แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น อย่างน้อย ก็เพื่อพยายามแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ

" ความเห็นส่วนตัวของผมนั้น หากนายกรัฐมนตรีตัดสินใจเลือกใช้วิธียุบสภา มีปัญหาตามมาแน่นอนครับ เรื่องแรกก็คือ กติกาในการเลือกตั้งที่ควรจะต้องให้รัฐสภาเป็นคนแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ให้สอดคล้องกับระบบเลือกตั้งที่ถูกรัฐธรรมนูญแก้ไข การเลือกให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกตั้งแทนที่จะให้รัฐสภาเป็นคนวางเกณฑ์เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้ว การเลือกตั้งก็ต้องเสียเงินมากมายหลายพันล้านบาทเพื่อให้คนแบบเดิม ๆ เข้ามาใหม่ และไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ต้องถูกต่อต้านอยู่แล้ว เนื่องจากสังคมยังคงแตกแยกแบ่งเป็นฝ่ายอยู่"

"ผมจึงขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกครับ ผมคิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย หากนายกรัฐมนตรีลาออกแล้วเราได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มีท่าทีปรองดองและเป็นมือประสานเข้ามาสร้างความปรองดองอย่างจริงจัง แก้ปัญหาสองมาตรฐานที่ค้างคาใจผู้คนจำนวนมากให้เรียบร้อย มีคำตอบสำหรับความสูญเสียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาการชุมนุมเมื่อพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา มีนโยบายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมสามารถปฏิบัติได้เกี่ยวกับการสร้างรัฐสวัสดิการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ส่วนรัฐสภาก็รีบเร่งจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ซึ่งควรใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จและมีความชัดเจนแล้วว่า ปัญหาของประเทศคลี่คลายลงไปในทางปรองดอง ค่อยคิดเรื่องการยุบสภา"

" ผมไม่หวังว่า ข้อเสนอผมจะมีผู้เห็นด้วย แต่อยากจะขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า หากนายกรัฐมนตรีตัดสินใจเลือกวิธียุบสภาและพรรคประชาธิปัตย์ได้กลับมาเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีครับ เพราะจากที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงต่างก็ไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนี้เหมือน ๆ กัน ยุบสภาไปแล้ว เลือกตั้งเข้ามาใหม่ นายกรัฐมนตรีคนเดิม เราก็คงต้องอยู่กับปัญหาเดิม ๆ ต่อไป ลองพิจารณาดูด้วยว่า การลาออกอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่อย่างน้อยก็จะช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศในการเลือกตั้ง แล้วก็อาจแก้ปัญหาได้ก็ได้ ถ้า ไม่ลองก็ไม่รู้ " ดร.นันทวัฒน์ แสดงความเห็น


(ที่มา มติชน , 28 กุมภาพันธ์ 2554)