WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 22, 2011

ธงชัย วินิจจะกูล (2): ความตอแหลอันเป็นเอกลักษณ์ และ 1984 แบบไทยที่ Orwell ไม่รู้จัก

ที่มา ประชาไท

ภาคต่อของการอภิปราย “เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” โดยธงชัยพูดเรื่องภาวะ “Hyper Royalism” และภาวะตอแหลในสังคมไทย พร้อมอธิบายเรื่อง “1984 แบบไทยๆ” ที่ George Orwell ไม่รู้จัก

เรื่องก่อนหน้านี้
ธงชัย วินิจจะกูล (1): เมื่อความจริง(นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน, 20 ธ.ค. 54


เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ร้าน Book Re:public จ.เชียงใหม่ ได้จัดการเสวนาหัวข้อ “เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” โดยมีผู้อภิปรายคือธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติ ศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ดำเนินรายการโดย “ภัควดี ไม่มีนามสกุล” นักแปลและคอลัมน์นิสต์ โดยก่อนหน้านี้ ประชาไทได้นำเสนอส่วนหนึ่งของการอภิปรายของธงชัย วินิจจะกูล ไปแล้ว (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และต่อไปนี้เป็นส่วนต่อเนื่องของการนำเสนอโดยธงชัย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ: ข้อความในวงเล็บและคำเน้น เป็นการเน้นโดยประชาไท)

ธงชัย วินิจจะกูล

"(George) Orwell ไม่เคยเจอสังคม 1984 ที่เป็นจริงนอกไปจากสังคมนาซี Orwell ไม่เคยเจอ 1984 แบบตะวันออก พูดง่ายๆ ว่า สังคมที่ใช้ Thought Control เป็นหลัก มันเวิร์คยังไงในความเป็นจริง Orwell ไม่เคยเจอ

ใน กรณีของ 1984 ในสังคมไทย มีคนฉลาดมากมายที่ไม่ได้บิ๊กนัก ทั้งบิ๊กทั้งไม่บิ๊ก บิ๊กระดับพอสมควร ไม่บิ๊กที่สุด พร้อมจะปกปักรักษา 1984 หรือทำตัวเป็นคนสอดส่องพวกเราแทน มีคนพร้อมจะออกหนังสือเพื่อ Whitewash อยู่เป็นประจำ อยู่เต็มไปหมด พวกเขาจึงมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะเขียนงานวิจัย พิมพ์หนังสือ ทำตัวฉลาด ทำตัวเป็นผู้รู้ผู้ดีและเฉลิมฉลองไป ในขณะที่คนจำนวนมากทำอย่างนั้นไม่ได้ มีคนอย่างนี้เต็มไปหมด ไม่ใช่ Big Brother เท่านั้น

... ประเด็นหนึ่งที่เดวิดมองข้าม มองข้ามเลย แล้วผมไม่คิดว่าเขาผิด เพียงแต่ผมอยากจะหยอดให้เขาเพิ่ม ให้เขาคิด คือ เมื่อเขาอธิบายถึง Defamation Regime ที่เกิดขึ้นในภาวะที่ไม่ปกติที่กลายเป็นปกติบนรากฐานของวัฒนธรรมเกี่ยวกับ การจัดการความจริงแบบพุทธเถรวาท เขาอภิปรายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สฤษดิ์ (ธนะรัชต์) ถึงปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้แยกแยะอย่างชัดเจน โดยที่เขาอธิบายว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นแยะเป็นธรรมดา แต่มีอะไรไหมที่เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นเงื่อนไขเป็นพิเศษในช่วงประมาณ 50 ปีนี้

สิ่งที่ผมอยากจะเพิ่ม นี่เป็นส่วนของผมแล้วนะ ไม่ใช่หนังสือเล่มนี้ คือ ผมคิดว่าสังคมไทยมี Royalism เป็น ปกติ แต่ภาวะที่ผมเรียกว่า “Hyper Royalism” เป็น “อีกภาวะหนึ่งซึ่งไม่ปกติที่กลายเป็นปกติ” ตรงนี้เป็นสิ่งที่เดวิดมองข้าม และเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าไม่ต้องการ Schmitt กับ Agamben (Carl Schmitt และ Giorgio Agamben) คุณต้องการความรู้ประวัติศาสตร์ไทยธรรมดาๆ

ผมเคยอธิบายแล้วในที่อื่นว่า 14 ตุลาฯ คือจุดเปลี่ยนผ่านให้อำนาจของ Monarchists ผมพูดถึง Monarchists มีตัว S ข้างหลังด้วยนะ เพราะฉะนั้นผมพูดถึง “พวกนิยมเจ้า” ทั้งหลาย ผมไม่ได้พูดถึงเจ้าด้วยซ้ำไป

ผมพูดทุกครั้ง เวลาพูดเรื่องนี้ต้องบอกว่า ตัวอย่างของพวกนิยมเจ้าที่ชัดเจนคือ พล.อ.เปรม (ติณสูลานนท์) ถ้าคุณไม่เชื่อ ไปถามท่านดูว่าท่านนิยมเจ้าไหม ท่านก็ต้องบอกว่า “ท่านนิยมเจ้า”

14 ตุลา คือจุดพลิกผันที่พวกนิยมเจ้าขึ้นมามีอำนาจ ไม่ใช่เปรม ตอนนั้นไม่ใช่เปรม ผมยกตัวอย่างแค่นั้น มีคนอื่นเยอะแยะ มีทั้งที่เป็นเจ้า และไม่เป็นเจ้า กลุ่มนิยมเจ้าพยายามขึ้นมาเถลิงอำนาจนับตั้งแต่หลังรัฐประหารปี 2490 ร่วมมือกับกองทัพ ผมจะไม่อธิบายเพิ่มคุณไปหาอ่านเอง ตอนนั้นยังระหกระเหิน สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ภายในเวลาแค่ 4-5 ปี ก็ถูกเตะออกไป แต่ในระหว่างนั้นก็เริ่มต้น รวมถึงวางฐานทางความคิดซึ่งพัฒนาต่อมาในยุคสฤษดิ์ หรือหลังสฤษดิ์เป็นต้นมา ตั้งแต่ 2490 หรือ 2492 เช่น รัฐธรรมนูญที่บอกว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข, มาตรา 8 ในปัจจุบัน, กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีมาก่อน แต่ไม่แน่ใจว่ามาปรับหนักในปี 2492 หรือไม่ กฎหมายเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สิน (ส่วนพระมหากษัตริย์) ก็ออกปี 2492

ดังนั้น ฝ่ายนิยมเจ้าช่วงนั้นกระทำการหลายอย่างถึงแม้ว่าจะถูก Kick out ตอน ปี พ.ศ. 2495 เขาได้เริ่มทำอะไรบางอย่างแล้ว บางอย่างไม่ได้ถูกยกเลิกตามไปด้วย กฎหมายเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นต้นไม่ได้ถูกยกเลิก ออกมาในปี 2492 ให้สิทธิพิเศษ ข้อยกเว้นต่างๆ มากมาย และก็อยู่อย่างนั้นมา ถึงแม้ว่าอำนาจพวกเขาตกลง พวกเขาก็พยายามฟื้นมาใหม่ตั้งแต่ยุคสฤษดิ์ แล้วก็มาจนถึง 14 ตุลาฯ ซึ่งเป็นจุดพลิกผัน จุดพลิกผันอาจจะยังไม่ถึงขั้นที่ทำให้ฝ่ายเจ้ามีอำนาจอย่างเด็ดขาด ยังต่อรอง ยังปะทะ ขึ้นๆลงๆอยู่กับทหารพักใหญ่ๆ จนกระทั่งหลังพฤษภาทมิฬ 35 ถึงจะกุมอำนาจเด็ดขาด

เอาเป็นว่าประมาณแค่ 30–40 ปีนี้เองแหละ 50 ปี ที่ฝ่ายกษัตริย์นิยมพยายามที่จะมีบทบาททางการเมือง ค่อนข้างสามารถพลิกผันได้นับตั้งแต่ 14 ตุลาฯ สุดท้ายแล้วตรงไหนที่บอกว่าสำเร็จจริง เหนือกว่าจริง ตรงนั้นไปเถียงกันเอง ผมเองกลับให้ความสำคัญกับจุดพลิกผันคือเมื่อ 14 ตุลาฯ

ผมอยากเรียกอันนี้ว่า “Royalist Democracy” สองคำนี้ในโลก ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า “Oxymoron” คือ “ขัดแย้งในตัวเอง” ช่างมัน ผมเองในแง่นักประวัติศาสตร์บางครั้งผมอยากได้คำพวกนี้ คือเวลาคนเขาแย้งเขาบอกว่า “คำพวกนี้ขัดแย้งในตัวเอง” แล้วในความเป็นจริงมันไม่ขัดแย้งในตัวเองหรือ ใช่ไหมครับ ผมคิดว่าความเป็นจริงในสังคมไทยก็มีสิ่งที่ขัดแย้งกันเองเต็มไปหมด ใครอย่าบอกว่าสังคมไทยไม่เดินหน้าสู่ประชาธิปไตย ไม่ได้นะ 30-40 ปีมานี้เราเปลี่ยนไปเยอะในทางที่เป็น Democratization แต่ในภาวะเดียวกันนี้ ความนิยมเจ้า “Royalism” กลับเพิ่มสูงด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นการใช้คำว่า “Royalist Democracy” ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการคำที่ Consistency หรือ Logical ผมกลับคิดว่าเป็นคำที่อธิบายภาวะที่มันขัดแย้งในตัวเองของสังคมไทย แล้วถามว่าในความเป็นจริงในสังคม ที่เป็นอยู่ในสังคมนี้มันไม่ขัดแย้งในตัวเองหรือ ผมว่าเต็มไปหมดเยอะแยะ เราทุกคนมีเรื่องขัดแย้งเต็มไปหมด

มนุษย์ Humanity อย่างหนึ่ง คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรีบอกว่ามนุษย์ต้อง Consistent ... ผมว่ามนุษย์ไม่ Consistent คุณสุชาติหาคนที่ Consistent อย่าหาเลย มนุษย์ปกติไม่ Consistent ขนาดนั้น

คือในภาวะที่การเมืองที่ Royalist Democracy พยายามก่อตัว เพียงแค่จุดเริ่มต้น เขาเผชิญกับการท้าทายอย่างสำคัญที่สุด เมื่อปี 1975 (พ.ศ. 2518) เกิดอะไรขึ้น เกิดการคุกคามของคอมมิวนิสต์ ... พยายามอย่าคิดแบบเรา พยายามคิดแบบพวกนิยมเจ้า ไม่ใช่แต่เพียงขบวนการนักศึกษา ขบวนการฝ่ายซ้ายในประเทศไทยที่ Turn Left หรือ Turn Radical แต่สิ่งที่พวกเขาตกใจมาก ผมเชื่อว่าอย่างนั้นนะ สิ่งที่พวกเขาตกใจมากกว่าคือ “การปฏิวัติอินโดจีน” ทันทีที่เกิดปฏิวัติทุกคนพูดเลยว่าประเทศไทยเป็น “Next Domino”

ผมไม่รู้พวกเราจินตนาการได้ไหม เพราะการขอให้คุณจินตนาการเป็นเจ้า เหาอาจจะขึ้นหัว แต่พยายามนึกถึงว่าคุณเจอข่าวอย่างนั้นผมว่าคุณช็อก แล้วหลังจากเจอข่าวนี้ เมื่อมองดูในประเทศ พวกฝ่ายซ้ายอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง เอเยนต์ของคอมมิวนิสต์อยู่ในประเทศไทย ถึงต้องออกรายการโฆษณาชวนเชื่อ ถึงต้องแต่งเพลง ถึงต้องอะไรต่ออะไรอย่างที่เรารู้จักกัน

กลัวคอมมิวนิสต์ ... แล้วมองย้อนมาจากปัจจุบันเราอาจจะบอกเป็นเรื่องตลก คอมมิวนิสต์ไม่เห็นมีอะไรน่ากลัว ทุกวันนี้ก็ล่มไปหมดแล้ว ตอนนั้นไม่ใช่อย่างนั้นครับ ตอนนั้นคอมมิวนิสต์มีสิทธิ์ที่จะโค่นสังคมไทย โค่นสังคมทุนนิยม เราอย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ยิ่งมองจากฝ่ายนั้น เขาเชื่อว่ามันเป็นไปได้ พอเชื่อว่าเป็นไปได้เขาก็ต้องสู้

การใช้ Royalism สู้กับคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เพิ่งคิดค้นขึ้นเมื่อปี 2518 สังคมไทยใช้กษัตริย์นิยมสู้กับคอมมิวนิสต์มาอย่างน้อยๆ ตั้งแต่ประมาณต้น 1960 หรือถ้าย้อนจริงๆ อาจจะย้อนไปได้ไกลกว่านั้น คือท่ามกลางบรรยากาศที่จะสู้คอมมิวนิสต์ตั้งแต่หลังสงครามเย็น อ่านบทความของคุณณัฐพล ใจจริงดู สหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญก็คือ กษัตริย์นิยมและสถาบันกษัตริย์น่าจะเป็นปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ใช้สู้กับ คอมมิวนิสต์ได้ Effective (มีประสิทธิภาพ) ได้ลงมือเริ่มต้นอย่างนิดๆ หน่อยๆ ตั้งแต่ปลาย 1950 แต่มาลงมือจริงในปี ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505)

การใช้สถาบันกษัตริย์ และกษัตริย์นิยม ในการสู้กับคอมมิวนิสต์มีมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น ช่วงพีคของสงครามของสงครามเย็นด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นพีคของสงครามเย็นในประเทศไทย ไม่ใช่ในโลกนะ ตอนนั้นในโลกเริ่มจะลง ก็คือว่าล่ม แต่ในประเทศไทยกลัวคอมมิวนิสต์กันสูงที่สุดตั้งแต่ประมาณปี 2518 เป็นต้นมา สิ่งที่เขาต้องสู้ก็คือยิ่งต้องเพิ่ม Royalism เข้าไปอีก ผมเรียกภาวะที่เพิ่ม Royalism เข้าไปนี้ว่า “Hyper Royalism”

“Hyper Royalism” ขอย้ำนะผมกำลังพูดถึง “Royalism” ผมไม่ได้พูดถึง Royal คนไหน นี่ไม่ใช่เพื่อเลี่ยงกฎหมาย แต่พูดตามความเป็นจริงว่า Hyper Royalism สามารถอยู่ในสมอง อยู่ในกิจกรรม อยู่ใน Ideology ของคนที่ไม่ใช่เจ้าได้ด้วยซ้ำไป Royalism ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นกับคนที่เป็นจ้า ต้องเป็น Blue Blood ไม่จำเป็น เกิดขึ้นกับใครก็ได้ เพราะฉะนั้นผมกำลังพูดถึง “Ism” หรือพูดอีกอย่างหนึ่งผมกำลังพูดถึง “ลัทธิ”

ผมไม่ทราบว่าจะแปล “Hyper Royalism” นี้อย่างไร ผมเขียนเป็นบทความเมื่อการสัมมนาที่สิงคโปร์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากนั้นอาจารย์ปวิน (ชัชวาลพงศ์พันธุ์) เอาไปใช้บ้าง แต่หลายครั้งอาจารย์ก็ใช้เหมือนผมคือใช้ภาษาอังกฤษ เพราะถ้าผมแปลแบบชาวบ้านเลยผมไม่มันใจว่ามันถูก แต่มันสะใจ คือ “คลั่งเจ้า” ถ้าหากผมแปลให้ลิเกหน่อยเพื่อที่จะให้พวกเรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ ไม่ถูกใจ และเผื่อคุณจะได้ช่วยผมคิด ก็คือ “กษัตริย์นิยมล้นเกิน”

000

“Hyper Royalism” หมายถึงอะไร ต้องอธิบายก่อนว่าผมเคยเขียนว่า Modern Monarchy คือสถาบันกษัตริย์สมัยใหม่มีลักษณะต่อไปนี้

หนึ่ง เป็นธรรมราชา พยายามบอกว่าตัวเองไม่มีด้านที่เป็นเทวราชา พูดอย่างให้ง่ายซึ่งไม่ถูกนัก แต่เอาเพื่อเข้าใจง่าย ก็เน้นด้านพระคุณ ไม่ใช่ด้านพระเดช ถ้าพูดอย่างให้ Strict (เคร่ง ครัด) แบบนักประวัติศาสตร์ผมไม่เคยคิดว่าธรรมราชากับเทวราชาในสังคมไทย ในสถาบันกษัตริย์ไทยในประวัติศาสตร์เป็นต้นมา แยกขาดจากกัน แยกไม่ได้ด้วยซ้ำไป ตรงนี้อธิบายแบบนักประวัติศาสตร์ได้

เพราะฉะนั้นคุณจะเจอว่า กิจกรรมอันหนึ่ง Mission หนึ่งของคุณ อานันท์ (ปันยารชุน) ที่เที่ยวพูดทั่วโลก คือพยายามเน้นด้านที่เป็นธรรมราชาของสถาบันกษัตริย์ไทย ผมคิดว่านั่นคือการพยายามสร้าง Modern Monarchy แต่นั่นไม่ถูกต้องในประวัติศาสตร์ ในประวัติศาสตร์สองอย่างนี้ไม่เคยแยกกัน

ตัวอย่างของการเป็นธรรมราชา และเทวราชาที่คู่กัน ผมมีตัวอย่างให้ดูง่ายๆที่พวกเรารู้จักดี

หนึ่ง คุณจำประวัติพระเจ้าอโศกได้ไหมครับ? พระเจ้าอโศกนี่ถือเป็นโมเดลของสถาบันกษัตริย์แบบพุทธนะ ตามตำนาน จริงหรือเปล่าช่างมัน พระเจ้าอโศกต้องไปปราบคนเขาทั่วแล้วถึงค่อยกลายเป็นธรรมราชาใช่ไหมครับ คำตอบก็คือพระเจ้าอโศกต้องเป็นทั้ง 2 อย่าง โมเดลของกษัตริย์พุทธที่ดีต้องเป็นทั้ง 2 อย่าง

สอง ก็คือเจ้าชายสิทธัตถะไง ตอนเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินี่ คำทำนายคืออะไรครับ? โหรพราหมณ์ทั้งหลายบอกท่านจะเป็นจักรพรรดิหรือไม่ก็เป็นพระพุทธเจ้า นั่นหมายความว่าในบุญบารมีของทารกคนนี้พระองค์นี้ บุญบารมีมากขนาดนี้ของทารกพระองค์นี้ สามารถจะเป็นจักรพรรดิก็ได้ สามารถจะเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้

ใน Concept แบบพุทธนี่อำนาจกับธรรมะไม่ได้ตรงข้ามกันนะ ฝรั่งต่างหากที่บอก “Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely” ใช่ไหมครับ Concept แบบพุทธแต่โบราณ “Power is virtuous.” คือ “อำนาจเป็นธรรม”

“Absolute power is Absolute virtue.” “อำนาจสูงสุดก็คือเป็นธรรมสูงสุด” นี่ผมไม่ได้ประชด Conceptพุทธ แต่โบราณเป็นอย่างนั้น ฮินดูพุทธเป็นอย่างนั้น คนสมัยใหม่เท่านั้นแหละที่ดัดจริตอยากจะแยก 2 อย่างออกจากกัน แล้วก็บอกว่าพระองค์เป็นแต่ธรรมราชาไม่มีด้านที่เป็นเทวราชา นี่คือ Mission ของการสร้าง Modern Monarchy

ข้อสองคือต้องเป็น Popular Monarchy ไม่ใช่เพราะว่า สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยแต่เพราะว่า Public sphere คือปริมณฑลสาธารณะกว้างขว้างใหญ่โตขึ้น สถาบันกษัตริย์จึงต้อง engage กับ public การ engage กับ public จึงทำให้มีลักษณะเป็น Popular หรือ Populism ในลักษณะดีกรีต่างๆกัน อันนี้เป็นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว

อันที่สาม ต้องเป็น Royal Capitalism ก็คือไม่มีสตางค์อยู่ไม่ได้ ง่ายแค่นั้นเอง

อันที่สี่ สุดท้ายแล้ว หลัง 2475 คือต้องอยู่เหนือการเมือง Modern Monarchy นะครับ ความเป็นจริงเป็นอย่างไรก็แล้วแต่เราจะเข้าใจว่าความเป็นจริงแปลว่าอะไร แต่ Modern Monarchy ของไทยคือภาวะ Royalism ตามปกติ “Hyper Royalism” เป็นภาวะ Royalism ที่ยิ่งกว่าปกติ มีลักษณะต่อไปนี้ ... มีอีกคำที่ผมแปล Hyper Royalism แปลว่าลัทธิกษัตริย์นิยมแบบเว่อร์ก็ได้ ง่ายๆ นะครับ

000

Hyper Royalism ลักษณะต่อไปนี้

หนึ่ง การเป็น Royalism แบบหนักหน่วงขึ้น แบบมากขึ้น แบบหนักหนามากขึ้น ดูจากอะไรครับ คุณกลับไปหาข้อมูลง่ายนิดเดียว ผมคิดว่าหนังสือพิมพ์หรือเผลอๆ วิกิพีเดียอาจจะมีด้วยซ้ำไป ผมไม่แน่ใจนะ ผมเดาเล่นๆ จำนวน ขนาด และความถี่ของพิธีการเฉลิมฉลองทั้งหลายที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ แทบทั้งหมดเป็น “Invented Tradition” (ประเพณีประดิษฐ์) แล้วคุณจะพบว่าทั้งจำนวน ขนาด ความถี่ ผมอุตส่าห์ไม่ใส่งบประมาณนะครับ มันเว่อร์ขึ้นทุกที การพูดอย่างนี้นี่ผมมั่นใจว่าไม่ผิดกฎหมายเพราะผมกำลังว่าคนที่จัดงานเหล่า นี้

คุณกลับไปดู Fact ธรรมดา วันแม่เกิดเมื่อไหร่? 2519 ครับ วันแม่เกิดขึ้นครั้งแรกนานมาแล้วสมัยจอมพล ป. (ป. พิบูลสงคราม) ก็มี ใช้วันแม่ตามสากล วันแม่ที่เป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของสมเด็จพระราชินีครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2519 ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่ถึง 2 เดือน

หลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองพิธีอภิเษกของฟ้าชาย หลังจากนั้นวันพ่อมาปี 2523

หลังจากนั้นงานใหญ่อันหนึ่งที่ผมเองยังไม่แน่ใจ เป็นเรื่องที่ต้องคิดอีกที แต่ผมคิดว่า Trigger การ เฉลิมฉลองอย่างเรียกว่ามโหฬาร พูดง่ายๆ ว่าวันพ่อวันแม่ครั้งแรกก็ฉลองแต่ยังไม่สาหัสสากรรจ์นัก รายการที่สาหัสสากันและเป็น Pattern คือการสมโภช 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์

หลังจากนั้นมาคุณก็จะมีครบ ครบ 10 ปี ครบรอบ แค่เฉลิมพระชนม์พรรษาคุณนับไป ครบ 10 หรือครบ 12 นี่ คุณนับให้หมดนี่นับทั้งแบบ 10 นับทั้งแบบ 12 คือทั้งฝรั่งทั้งจีนนะ คุณจะเจอว่ามีเท่าไหร่ แล้วไหนจะมีอะไรนะครับ ผมเรียกไม่ถูกนะครับ รัชดาภิเษก กาญจนาภิเษก ไหนจะมีอย่างนี้อีกเยอะแยะนะครับ

เรื่องเหล่านี้นี่สมัยโบราณเขาไม่ทำนะหรือมีไม่กี่อย่างที่ทำ แล้วส่วนใหญ่เวลาทำมันไม่เป็น Public ritual เพราะของเหล่านี้ไม่ใช่ Public ritual พิธีกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องของเจ้า ประชาชนอย่างเราไปเกี่ยวอะไรด้วย สมัยนี้ต้องเป็นอย่างนั้น

สอง คือความศักดิ์สิทธิ์ Hyper Royalism ที่สำคัญ อย่างหนึ่งคือศักดิ์สิทธิ์ ไม่กี่วันก่อน อ.สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) โพสต์และมีคนส่งมาให้ผมอ่าน บอก Max Weber บอกว่ายิ่งเป็นสมัยใหม่ยิ่งควรจะ Rational และ Secular ... ไม่เห็นจริงเลย

อ.สมศักดิ์พูดถูกนะครับผมขอเติมแค่ว่าเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาเขาสังเกตมาประมาณ 20 กว่า ปีแล้ว นักมานุษยวิทยาเขาอธิบายแล้วหลายคน เริ่มต้นจาก... ใครรู้จัก Jean Comaroff และ John Comaroff ที่อธิบายเรื่อง Occult (เวทย์มนต์) ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ แล้วมีการศึกษาพิธี Occult คือลัทธิพิธีที่เป็น Magic พวกนี้ เกิดขึ้นเยอะมากในโลก ยิ่งเป็นทุนนิยมยิ่งเป็น Neo-Liberal ยิ่งเกิด Occult

Weber ผิด ทุกคนเห็นกันทั้งโลกแล้ว ในอเมริกาคุณดูสิยิ่งเป็นศาสนาจัดเข้าไปใหญ่เลย จะอธิบายอย่างไร นักมานุษยวิทยาได้อธิบายเรื่องนี้ ในกรณีสังคมไทย Christine Gray อธิบายไว้ในวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษเมื่อปี 1986 ว่ายิ่งเป็น Capitalism สถาบันกษัตริย์ดีลกับเรื่องนี้อย่างไร คำอธิบายของ Christine Gray ถ้าจะสามารถสรุปสั้นๆ 2 ประโยคแค่นั้นเองแปลว่าอะไรเดี๋ยวคุณไปคิดกัน ก็คือว่าเพราะพิธีกรรมและความศักดิ์สิทธิ์ถูก Commodify และเพราะความกินดีอยู่ดีถูกทำให้กลายเป็น Magic เขาบอกปัจจัย 2 อย่างนี้รวมกันทำให้เกิด Occult ของโลกทุนนิยม ในกรณีของสังคมไทยปรากฏในรูปของ Royalism

แต่ Christine Gray ไม่ได้อธิบาย Hyper Royalism คือภาวะเว่อร์ Peter Jackson อธิบายไว้ในบทความบทแรกของหนังสือเรื่อง “Saying the Unsayable” (Saying the Unsayable Monarchy and Democracy in Thailand) ออกมาเมื่อปี-2 ปีนี้เอง

บทความบทแรกของ Peter Jackson อธิบายเรื่องนี้ เขายังพยายามอธิบายด้วยการใช้ว่าสัดส่วนหรือระดับของ “เทวราชา” และ “ธรรมราชา” มีมากน้อยต่างกันอย่างไร ขึ้นและลงอย่างไร ผมไม่ค่อยชอบอย่างนี้ แต่ไม่เป็นไร แต่ประเด็นใหญ่คือ Peter Jackson พยายามอธิบายภาวะที่ยิ่งเกิดความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ ผมว่าน่าอ่าน แล้ว Peter Jackson ใช้ Christine Gray เป็นฐานในการอธิบายหลายอย่างเช่นเดียวกับ David Streckfuss นะครับ ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์นะครับ

อันที่สาม ลักษณะของ Hyper Royalsim “ลัทธินิยมเจ้าแบบ เว่อร์” ผมต้องเน้นคำว่าลัทธิ เพราะคำว่าลัทธิเป็นศัพท์บาลีเก่า แปลว่ามิจฉาทิฐิ เหมือนที่เขาใช้เรียกว่าลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิบริโภคนิยม ... เวลาเป็นความเชื่อที่ผิดนี่เขาเรียกว่าเป็นลัทธิ ในความเห็นของผม ผมไม่กระดากใจที่จะบอกว่าการเว่อร์ Royalism แบบเว่อร์นี่เป็นลัทธิชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะในทางวิชาการหรือในทางการเมืองผมคิดว่าพูดได้เต็มปากว่าเป็นลัทธิ ชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าบรรดาพวกเชียร์เจ้าเหล่านั้นกรุณาอธิบายหน่อยว่าพวกคุณไม่ใช่ ลัทธินี่อย่างไร

คุณสมบัติประการที่สาม ก็คือ ผมเริ่มจากภาษาอังกฤษพวกนี้นะ ขออภัย เพราะว่าส่วนหนึ่งคือผมคิดอย่างนั้น กับอย่างที่สองผมยังหาคำแปลถูกใจไม่เจอ

คุณสมบัติที่สาม คือ “Hyperbolic Exaggeration” คือการ... (ผู้ฟัง: เว่อร์) เว่อร์ ไปๆ มาๆ มันก็เว่อร์อยู่ดี คือมันไม่รู้จะหา ... คำว่าเว่อร์มันคงเกินไปหน่อย

ในที่นี้ผมหมายถึงอะไร? หมายถึงง่ายๆ คือสิ่งที่หลายคนพูดกันอยู่ทั่วไปในสังคมไทย ไม่ใช่แต่เพียงคนที่มีความเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ คนรักเจ้าก็พูด ปรากฏการณ์ความ Hyperbolic ก็คือปรากฏการณ์ทำให้คนนั้นคนนี้จำนวนมาก เหนือมนุษย์ คงไม่ต้องอธิบายนะครับ มีความสามารถสารพัด แตะอะไรก็เป็นทอง ใช่ไหมครับ ถ้าคุณเป็น Royalsim ปกติคุณไม่ต้องทำให้เจ้าแตะอะไรก็เป็นทองหรอก เจ้าก็เป็นเจ้าเขาก็เหนือมนุษย์อยู่แล้วคุณจะทำให้อะไรมากกว่านั้นครับ

นับจำนวนปริญญาบัตรนี่ ผมว่ามันเป็นไปไม่ได้นะ จำนวนอาคารสถานที่ที่ตั้งชื่อทั้งหลาย ผมคิดว่าอาการเหล่านี้ อย่าลืมนะคือคนทำคือคนอย่างเรา คือชาวบ้าน คือราชการ คือรัฐ นี่เราก็ไม่ได้กำลังวิจารณ์เจ้าเลย ผมพูดถึง Hyper Royalsim ไม่ได้พูดถึงเจ้าพระองค์ไหน แต่เป็น Ism เป็นลัทธิ ที่อยู่ในสังคมไทย

Hyperbolic คือทำให้กลายเป็น คุณนึกเองแล้วกัน ซึ่ง Royalism โดยปกติโดยไม่จำเป็น แต่นี่คือ Hyperbolic คือ Hyper Royalism นะครับ

แล้วก็อันที่สี่ ก็คือว่า Hyper Royalism ต้องมี Public เกี่ยวข้อง ที่ผมพูดถึงนี่คือความหมายกว้าง ราชการ หน่วยงานรัฐ ไม่ใช่เจ้าทำเอง อาจจะมีบางอย่างเจ้าทำเอง มีบางอย่างที่ไม่ใช่เจ้าทำ ไม่ใช่เจ้าริเริ่มด้วยซ้ำไป เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ผมไม่ได้กำลังบอกว่าเป็นความตั้งใจ เจตจำนงภายในของเจ้าพระองค์ไหน เพราะฉะนั้นการที่ Public Participate ก็คือว่าไม่ใช่รัฐ แต่คนที่เป็นราชายิ่งกว่าราชาเองนี่เต็มบ้านเต็มเมืองกันไปหมด คำของอาจารย์กิตติศักดิ์ (ปรกติ) ใช่ไหมครับ วันก่อนพูดในรายการตอบโจทย์

คุณดูหนังสือต่างๆ ที่อยู่บนแผงสิ จะบอกว่าหนังสือบนแผงเกิดจากเจ้าสั่งให้เขียน ... ไม่ใช่ เขียนกันเองหาเงิน หาหน้า หาเหรียญตรา ภาวะเว่อร์อย่างนี้แต่ก่อนไม่เกิดนะฮะ 20-30-40 ปีมานี้เกิด

การที่ Public จะ Participate ได้นี้ เพราะ Royalism ถูก Commercialized ปรากฏการณ์นี้จึงไม่เกิดในยุคของ Royalism ในยุคที่เกิดทุนนิยมหรือการเป็นการค้าไม่สูงเหมือนปัจจุบัน มันเกิดขึ้นในยุคปัจจุบันเพราะมันถูก Commodified การ Engage ของ Public ได้จึงเกิดขึ้นจากการที่มันมีช่องให้เข้าไปร่วมได้ในการผลิตที่กลายเป็น สินค้า กับสองคือ สื่อมวลชน คุณโปรดสังเกตว่า การเกิดเติบโตของ Royalism และอย่างหนักเลย ควบคู่ ผมไม่ได้บอกว่าเป็นเพราะนะ แต่มันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของทีวี

Hyper Royalism เติบโตไปคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลงของระบบโทรคมนาคมการสื่อสารฝ่ายเดียว ที่สำคัญจึงได้แก่ ทีวี

ผมยังไม่กล้าคิดถึงอินเตอร์เน็ตไม่ใช่เพราะกลัว แต่ขอคิดอีกหน่อยมันยังมีอะไรหลายๆ อย่างต้องคิด แต่ทีวีนี่ชัดเจนเหมาะสมอย่างยิ่งแก่การขยายตัวของ Hyper Royalism เพราะ มันทั่วถึงบ้าน เห็นภาพ สมจริงและข้างเดียว ถ้าขาดคุณสมบัติเหล่านี้ มันไม่เกิด Effectiveness มันไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ทั่วถึง ไม่ข้างเดียว ต้องทั่วถึง สมจริงด้วย และข้างเดียว ใช่ไหมครับ ถ้าไม่เห็นภาพไม่สมจริงจะทำให้เกิดจินตนาการลำบาก “ทั่วถึง สมจริง ข้างเดียว” ทีวีจึงมีความสำคัญมากในช่วงการขยายตัวของ Hyper Royalism ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา

ประการสุดท้ายของ Hyper Royalsim ก็คือว่า แต่ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาสี่ประการข้างต้นนั้น ต้องไปควบคู่กับการปราบปรามคนที่ไม่เห็นด้วยอย่างหนัก

ผลของมันคืออะไร ผลของที่กล่าวมาทั้งหมด “สภาวะยกเว้น” “Defamation Regime” “Hyper Royalism” ในความเห็นของผมเกิดระบอบทางสังคม การเมืองหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ปกครองด้วยอุดมการณ์ ปลูกฝังยัดเยียดหรือบังคับอุดมการณ์ และการ Control ทางความคิด แต่ในสังคมไทยไม่ใช่ เผด็จการสุดกู่อย่างพม่า อย่างเกาหลีเหนือ เอาแล้วสิ แล้วมันเวิร์คอย่างไร ตรงนี้ผมเองก็ฝากให้คิด

ผมไม่ได้ไม่กล้ายืนยันสิ่งที่ผมเสนอที่บอกแล้วว่าผมคิดมานาน สุดท้ายผมก็ต้องคิดต่อ ไม่ใช่ว่าผมมีข้อสรุป

ประเด็นตรงนี้ก็คือว่า ผมตั้งคำถามกับตัวเองมานาน หลายเรื่อง อีกเรื่องที่จะตั้งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็คือว่า ขออภัยนะถ้าสิ่งที่ผมพูดต่อไปนี้ ฟังแล้วอาจจะรู้สึกว่าน่าเกลียดมาก สเกลหรือขนาดของการฆ่ากันในสังคมไทย ไม่ใหญ่

ก่อนอื่นต้องขออภัยเพราะผมคิดว่า หนึ่งคนก็ใหญ่พอแล้ว แต่เราก็กำลังจะพูดถึงในทางที่เราจะถอยตัวห่างออกมาหน่อยเทียบกับอีกหลาย สังคม สเกลการฆ่ากันในสังคมไทย ไม่ใหญ่ ขอย้ำนะครับ หนึ่งคนก็มากเกินไปแล้ว เรากำลังพูดถึงการทำงานในสังคมอย่างไรถึงต้องใช้การฆ่ามาก ไม่มากนี้ ผมคิดว่าสังคมไทยการคอนโทรลด้านหลักไม่ใช่การฆ่า ผมคิดว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ A rule by ideology and thought control หรืออยากจะบอกว่า พูดในประสาคนรักเจ้าคือ “ควบคุมด้วยความจงรักภักดี” เพราะฉะนั้นถ้าคุณทำให้คนจงรักภักดี แล้วคุณคอนโทรลไม่ให้คนไม่จงรักภักดีคุณก็ไม่ต้องฆ่า ถ้าคุณยอมทำให้คนยอมสยบต่ออำนาจรัฐ และไม่ล่วงละเมิดและคิดกบฏต่ออำนาจรัฐ คุณก็ไม่ต้องฆ่า

เหตุที่เรามีการฆ่ากันน้อย โดยเปรียบเทียบ หนึ่งคนก็มากแล้ว แต่ถ้าเทียบกับหลายที่ สเกลเราไม่ใหญ่ มีหลายปัจจัย ผมไม่ได้บอกว่านี่มีปัจจัยเดียวนะฮะ ผมจะพูดถึงอีกเรื่องหนึ่งว่ามีปัจจัยอะไรบ้างแต่ไม่ใช่ที่นี่ แต่ปัจจัยหนึ่งผมคิดว่าด้านหลักของการคอนโทรลเราใช้ Thought control เราใช้ Ideology

สิ่งที่เขาทำก็ถือว่าฉลาดด้วยนะ ซับซ้อนมาก ไม่คอนโทรลทุกเรื่องแต่คอนโทรลจาก ... จุดนี้เป็นจุดที่ผมฝากไว้ ผมอาจจะผิดแต่ผมคิดว่าน่าจะถูกเยอะแล้วแต่ว่าต้องการการศึกษา ต้องการคนที่ช่วย ... ก็คือ คอนโทรลในเรื่องที่กระทบต่อเรื่อง Social Order ระเบียบทางสังคมสำคัญๆ จำนวนหนึ่ง

เวลาพูดเรื่องนี้คุณอาจจะคิดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ ใช่แน่นอนฮะ แต่มีอย่างอื่นด้วย ยกตัวอย่างเช่นเรื่องอะไรมีเรื่องเกี่ยวกับ “รัฐ” ไง “อำนาจของรัฐ” การที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐได้ขนาดไหน ไปจนถึงเรื่องที่เราพูดยกตัวอย่างเมื่อกี้เป็นเรื่องตลกๆ การพูดว่าพระเล่นกีตาร์ได้หรือไม่ หมอมีความรู้สึกทางเพศได้หรือไม่ คุณอาจจะนึกไม่ถึง แต่ผมว่าจุดนี้เป็นจุดที่จะคุณต้องคิด จะอธิบายแค่ไหนว่าบางเรื่องเขาไม่ต้องคอนโทรล เขาปล่อย บางเรื่องต้องคอนโทรลว่าไม่ให้ละเมิด มันไม่ใช่สักแต่เพียงว่า (คอนโทรล) เรื่องผู้มีอำนาจอย่างเดียว ผมคิดว่าไม่ง่ายแค่นั้น แต่ตรงนี้ผมขอทิ้งไว้ว่าขอเก็บไปคิดอีกทีว่าจะอธิบายอย่างไรว่าเรื่องบาง เรื่องที่ดูเล็กก็ถูกคอนโทรล

ยกตัวอย่างเช่นความรู้ทางประวัติศาสตร์ “เขาคอนโทรลแต่ไม่คอนโทรล” ผมจึงพูดได้แต่ไม่ทีทางไปปรากฏในหนังสือเรียน ใช่ไหมฮะ แค่นี้ตัวอย่างให้เห็นเลยว่ามันไม่ได้ง่ายเพียงแค่ว่า “ห้าม” กับ “ให้” แต่อะไร “ห้าม” อะไร “ให้” นี้ อธิบายอย่างไรว่าแค่ไหน “ห้าม” แค่ไหน “ให้” เรื่องเหล่านี้ผมขอทิ้งไว้ทั้งหมดว่า ผมขอค่อยๆ คิด แต่จะพยายามอธิบายว่า นี่คือจุดที่ผมคิดว่า (เดวิด) สเตร็คฟัส ไปไม่ถึงแล้วผมอยากจะเห็น เพราะว่าถ้าจะมีใครคิดถึงเรื่องนี้ได้นี่ เขาน่าจะเป็นคนหนึ่งที่คิดถึงเรื่องพวกนี้ได้ เพราะเขามีฐานการเข้าใจเรื่องการจัดการ Truth มาอย่างไร

“Defamation Regime” จึงไม่คอนโทรลทุกเรื่อง ไม่คอนโทรลทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เกาหลีเหนือ ไม่ใช่ในพม่า ไม่ใช่ในนาซี และไม่ใช่ 1984 ของ Orwell (George Orwell) ต่างกันนะแต่เดี๋ยวจะบอกมีเรื่องหลายอย่างที่กลับร่วมกัน

ตรงนี้ผมก็เอาแค่ว่าผมไม่รู้หรอกว่าอะไรคือ “คอนโทรล”/“ไม่คอนโทรล” ทิ้งไว้แค่นี้นะ

ผมจะอธิบายต่อไปว่า เดวิด สเตร็คฟัส (David Streckfus) อธิบายการ คอนโทรลในตัวอย่างสามอัน ซึ่งเขาใช้วิธียกตัวอย่าง สุดท้ายสามารถจะสร้าง Pattern สรุป Pattern ได้ไหมว่า “คอนโทรล” อะไร “ไม่คอนโทรล” อะไร เขายกตัวอย่าง 3 เรื่องนะครับ ก็คือข่าว ฟิล์ม ประวัติศาสตร์ ดูบทที่ 12 การจัดการกับ Truth ที่อยู่ในข่าว Information และ News ที่อยู่ใน Art, Film ที่อยู่ใน History โดยเขาใช้วิธีอธิบายว่าทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ แต่แน่นอนเขายังไม่ได้สรุปกฎเกณฑ์ออกมา ผมถึงบอกว่าถ้ามีใครจะพออธิบายเรื่องนี้ได้คนที่ใกล้หน่อยก็น่าจะเป็นสเต ร็คฟัส แต่ผมคิดว่าเรื่องอย่างนี้ต่อให้สเตร็คฟัส คนเดียวคงไม่พอ คงต้องมีคนช่วย

เพราะฉะนั้น ภาพใหญ่ของระบบที่ปกครองด้วย Thought Control นี่มี 2 ด้าน ด้านหนึ่ง Ideological Indoctrination คือการปลูกฝังทางอุดมการณ์ และด้านที่สองคือการใช้ Social Sanction ภาษาไทยเขาแปลว่าการใช้การจัดการควบคุมทางสังคม ซึ่งในกรณี Social นี้ผมรวมถึงอำนาจรัฐด้วย คือในแง่หนึ่ง Positive บอกว่าอะไรควรทำ อีกด้านหนึ่งบอกว่าอะไรอย่าทำ ใช้ทั้ง 2 อย่าง

000

ผลคืออะไร? ในความเห็นของผม ผลคือต่อไปนี้ครับ

หนึ่ง สังคมไทยปัจจุบันในความเห็นผมเป็นสังคมที่เหลือเชื่อในเรื่องความตอแหล

อันนี้อย่างซีเรียสนะ ผมคิดอยู่นานคำว่า ... ผมรู้จักคำว่าตอแหลอย่างที่พูดกัน แล้วผมคิดถึงคำนี้ในภาษาอังกฤษ แล้วสุดท้ายผมมานึกว่าคำภาษาอังกฤษคำนี้เผลอๆ คำที่น่าจะอธิบายตัวนี้ดีที่สุดคือตอแหล ภาษาอังกฤษคือคำว่า “Suffocating Hypocrisy” หน้าไหว้หลังหลอกแบบจนโอ้ย ... เหลือเชื่อ

คือ คุณเจอคนหน้าไหว้หลังหลอกเต็มสังคมไปหมด ผมไม่พูดถึง ... พวกเราด้วยหน้าไหว้หลังหลอกหมด ผมไม่ได้กำลังพูดถึง “เจตนา ภายใน” ไม่ได้กำลังพูดถึงนิสัย ผมกำลังพูดถึงปรากฏการณ์ทางสังคม Defamation Regime, Thought Control การบังคับที่บอกอะไรพูดได้พูดไม่ได้ ทำให้เราทุกคนจะอยู่รอดได้ต้องช่วยกันตอแหล ไม่ตอแหลอยู่ไม่ได้

ความตอแหลเป็นความจำเป็น เป็นเอกลักษณ์ไทย เพราะสังคมมันเป็นอย่างนี้ไง เพราะฉะนั้นผมพยายามที่จะย้ำคือไม่ได้บอกว่าพวกเรานิสัยเป็นอย่างไร นิสัยส่วนตัวคุณตอแหลมากน้อยผมไม่เกี่ยว ผมพูดถึงการใช้ชีวิตทางสังคมต้องตอแหล Suffocating Hypocrisy คือ หน้าไหว้หลังหลอก Suffocating แปลว่า “อึดอัดจนหายใจไม่ออก” ในความหมายนี้ก็คือ “มันตอแหลเสียจนน่าอึดอัด” แล้วเราจะไม่ตอแหลก็ไม่ได้

ทุกคนช่วยกันตอแหล ทุกคนรู้ว่าคนอื่นตอแหล ทุกคนเชิดชูการตอแหล ไม่ลงโทษ ไม่ห้ามปราม ไม่บอกว่าการตอแหลเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ เชิดชูกันเข้าไป ตั้งแต่บนสุดจนถึงล่างสุด ตอแหลหมด นี่คือปรากฏการณ์ของ Defamation Regime ที่ กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย ขอย้ำเป็นครั้งที่ 3-4 เพราะไม่ตอแหลอยู่ไม่ได้ เราทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนเรียนรู้ที่จะต้องรู้จักหน้าไหว้หลังหลอก ปากอย่างใจอย่าง ปากว่าตาขยิบ คุณใส่เข้ามาให้หมด

ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์นะ คุณจะเห็นว่าหลายเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจคุณต้องตอแหล ใช่ไหมครับ ในชีวิตประจำวันของเรานี่ต้องรู้จักตอแหล หลายเรื่องมาก

ถ้ากลับไปถึงเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ผมขอพูดต่อหน้ากล้องนี้ด้วย เพราะผมไม่ได้กำลังว่าอะไรเจ้าเลย ผมอยากถามคนที่รักเจ้าทั้งหลาย จริงหรือไม่ว่าพวกคุณนี่นินทาเจ้านี่บ่อยมาก? คนที่บอกว่ารักเจ้าทั้งหลายมีใครกล้ายกมือไหมว่าพวกคุณไม่เคยนินทาเจ้าเลย? การที่คุณนินทาเจ้า ผมพูดต่อหน้ากล้องเผื่อคนที่รักเจ้าฟังอยู่นะครับ การพูดลับหลังนินทาเจ้าบางคนอย่างหนักนี่นะ พวกนิยมเจ้าจำนวนมากซุบซิบเป็นว่าเล่น เพราะเชียร์เจ้าคนนั้นไม่ชอบเจ้าคนนี้ แล้วพวกคุณยังออกมาตอแหล เทิดทูน ฟ้องคนอื่นเขา

และนี่คือปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ทั่วสังคมไทย ผมอยากถามคุณทหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย พวกคุณไม่เคยนินทาเจ้าหรือครับ? ผมอยากถามท่านผู้พิพากษาทั้งหลายว่าคุณเคยนินทาเจ้าไหมครับ? เวลาคุณนินทานี่สิ่งที่คุณพูดกันเองส่วนตัวนี่พูดกับภรรยา-สามีคุณนี่คุณคิดว่ามันกระทบกระเทือนความรู้สึกคนไทยทั่วประเทศไหม?

หรือเอาเข้าจริงถ้าการนินทาเจ้าบางพระองค์เป็นการกระทบความรู้สึก การนินทาเจ้าบางพระองค์ไม่กระทบความรู้สึก? ใช่หรือเปล่าครับ? ถ้าอย่างนั้นนี่ บรรดาคนรักเจ้าทั้งหลายกรุณาคิดดีๆ นะ คิดให้ดีก่อนที่จะไปเล่นงานคนอื่น ก่อนที่จะไปเรียกร้องความรักเจ้าแบบ Hyper อย่างที่ทำกันอยู่ในสังคมไทย มันน่าอายไหมที่พวกคุณก็ทำในสิ่งที่คุณกำลังลงโทษคนอื่น? มันแฟร์ไหมที่พวกคุณก็ทำในสิ่งที่คุณกำลังลงโทษคนอื่น? เมื่อคนเขาต้องการพูดออกมาไม่ว่า ... บางคนเขาไม่ได้ทำด้วยซ้ำไป หรือบางคนเขาพูดมาจากสิ่งที่เขาคิดคุณก็ลงโทษเขา เพื่อยืนยันว่าสังคมไทยต้องตอแหลอย่างพวกคุณถึงจะได้ดิบได้ดี ใครจะบอกว่านั่นเป็นความผิดหรือไม่ผิดนั้นตามแต่จะตัดสินกันไป สำหรับผมตอบในแง่อย่างน้อยที่สุดมันไม่แฟร์

ข้อสอง ผลของสังคมนี้คืออะไร? Self-denial คือการหลอกตัวเอง หลงตัวเอง ผมดูคำอธิบายที่ออกมา 2-3 วันนี้เกี่ยวกับกรณีอากงนี่ เมื่อคืนผมดูรายการทีวีรายการหนึ่งของผู้นำกลุ่มคนอะไรที่ไปประท้วงหน้าสถานทูต (ผู้ฟัง – หมอตุลย์) ไม่ใช่หมอตุลย์ (ผู้ฟัง – สยามสามัคคี) กลุ่มนั้นแหละครับ...

ผมจำไม่ได้ชื่ออะไรผมดูรายการ เขาอธิบายว่าทำไมกฎหมายหมิ่นถึงจำเป็นอะไรต่ออะไร ผมนั่งนึก คืออันนี้ผมไม่ยืนยัน แต่ว่าเป็นข้อสังเกตแล้วกัน ผมเชื่อว่าคำอธิบายของ เขาฟังได้เฉพาะในประเทศไทยแค่นั้นคือมีคนไทยจำนวนมากที่ยินดีจะคิดเท่าที่ คุณคิด คุณไปอธิบายให้คนที่พอมีการศึกษาที่อื่นฟังนี่เขารู้สึกมันไม่ Make Sense แม้กระทั่งสิ่งที่คุณอานันท์พูดบ่อยๆ “สังคมไทยมีลักษณะพิเศษๆๆ” ปัญหาของคำพูดแบบนั้นไม่ใช่ว่าผิดนะ ปัญหาคือการพูดแบบนั้นมันไม่มีทางผิด ในทางปรัชญาการพูดอะไรที่ไม่มีทางผิดนี่เขาถือว่าไม่มีความหมายอะไรเลย

คุณไปถามพวก Logical positivism ดูสิ การพูดอะไรที่ไม่มีทางผิดนี่แปลว่าไม่มีความหมายอะไรเลย คำพูดนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย ผมพูดว่าคนทุกคนต่างกันนี่ก็ไม่มีความหมาย ใช่ไหมครับ? มันก็ธรรมดา พูดทำไม? เว้นแต่ผมจะพูดต่อว่าต่างกันแล้วอย่างไรอีก

เราอยู่ในสังคมที่หลงตัวเอง คับแคบ Self-denial คือมีโน่นมีนี่มีปัญหาเต็มไปหมด มีพระที่เล่นกีตาร์ เราก็บอก “ไม่ พระไม่เล่นกีตาร์” ตำรวจคอรัปชั่นมีเท่าไหร่ผมไม่ทราบ แต่จำเป็นไหมที่กรมตำรวจต้องออกมาบอกว่าตำรวจไทยไม่คอรัปชั่น ทำไมคุณอานันท์ถึงต้องออกมาพูดแล้วพูดอีก? แล้วคนรักเจ้าอีกจำนวนมากออกมาพูดแล้วพูดอีกว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ยุ่งเกี่ยว กับการเมือง

พวกนี้คือ “ปรากฏการณ์หลอกตัวเอง” หลอกตัวเอง ผมหมายความว่าเขารู้นะ คุณคิดว่าตำรวจไม่รู้หรือว่าตำรวจคอรัปชั่น? คุณคิดว่าคนไทยไม่รู้หรือว่าพระก็มีดี มีไม่ดีเยอะแยะไปหมด? มีเล่นกีตาร์มีโน่นมีนี่เต็มไปหมด รู้ ... คนเหล่านั้น กองเซนเซอร์ หรือว่า คนดูเขาไม่ใช่คนโง่ รู้พอกัน แต่ทำไมจึงต้องพูดอย่างนั้น เพราะเขาถือความจริงคนละชุด แล้วตั้งใจตอแหลไปถึงความจริงอย่างนั้นเพื่อที่ตัวเองจะไม่ต้องเผชิญกับ ปัญหาที่มีอยู่แล้วเพื่อเผชิญความจริงอีกแบบหนึ่ง แล้วบอกว่าจะจัดการอย่างไร หลอกตัวเองกันไป

สังคมไทยอยู่ในภาวะหลอกตัวเองอย่างน่ากลัวมาก การหลอกตัวเองที่สำคัญที่สุดก็คือคนที่ชอบถามว่าเอาเจ้าหรือไม่ คนทั้งหลายที่ถามคำถามเหล่านั้น ... ผมยกคุณภิญโญ (ไตรสุริยธรรมา) ไว้คน เพราะผมคิดว่าภิญโญเขาไปเอาจากคนอื่นถามเหมือนกันนะ แต่ถ้าภิญโญจะรับผมก็ไม่ว่าอะไรนะ คนเหล่านั้นถามตัวเองก่อนว่าตัวเองเอาเจ้าหรือไม่ แล้วถามต่อไปด้วยนะ ... เดี๋ยวถ้ามีโอกาสผมจะพูดเรื่องนี้แล้วกัน ถามต่อไปด้วยนะ เอาเจ้าคุณแปลว่าอะไร ก่อนที่จะไปถามคนอื่นเขา ถามตัวเองก่อนนะว่าการเอาเจ้าของคุณตอแหลหรือไม่ ถ้าคุณยังตอแหลคุณไม่มีสิทธิ์ไปถามคนอื่น เพราะถ้าคุณถามคนอื่น ย่อมชอบธรรมอย่างยิ่งที่คนอื่นจะตอแหลกลับมา

สาม ผลของมันคือในเรื่องที่ถูกควบคุม หมายถึงในปริมณฑลที่เกิดการถูกควบคุมนี้ คนในสังคมไทยจะขยายต่อไปจากการตอแหล เพราะตอแหลฟังดูเหมือนการด่าที่นิสัย ผมไม่ได้พูดถึงนิสัยผมพูดถึงพฤติกรรม คราวนี้เป็นเรื่องที่เรียกพฤติกรรมก็ได้แต่เป็นขององค์กร ของสถาบันทางสังคม ก็คือเรื่อง Self censored ผลของมันคือ Self Censorship ระบาดทั่วสังคมไทย

วงการสื่อมวลชนไทยทั้ง Print ทั้งทีวี ใช้คำว่าน่าผิดหวังยังน้อยเกินไปมาก ถ้าใช้คำว่า “ทรยศต่อวิชาชีพ” น่าจะใกล้เคียง พวกเขาทรยศต่อวิชาชีพกันเต็มไปหมด เพราะอะไร ทำไมจึงต้อง Self Censored คือนอกจากตอแหล ในกรณีของ Self Censored ... เพราะความกลัว ตรงนี้ผมไม่ด่ากัน พูดง่ายๆ การทรยศต่อวิชาชีพผมรับไม่ได้ มันต้องหาวิธีสู้ พวกเขาก็ไม่สู้ แต่การที่คนในสังคมกลัวเต็มไปหมด ความกลัวเราว่ากันไม่ได้ สังคมไทยอยู่ด้วยการตัว แค่ไหนจะข้ามเส้นไม่ข้ามเส้น

สี่ ลักษณะตอแหล หลอกตัวเอง หลงตัวเอง Self censored เหล่าคือ ประการสุดท้าย ที่ช่วยให้มันกลายเป็นระบบระเบียบอย่างชัดเจน คือ กระบวนการยุติธรรม

กระบวนการคำตัดสินหลายอย่าง สถาปนาให้เราเห็นว่าแค่ไหนเราพูดได้ พูดไม่ได้ แล้วคุณก็รู้อยู่ว่าคำตัดสินที่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อยมันยุติธรรมมากหรือน้อย แค่ไหน แต่เมื่อมันเกิดขึ้นปุ๊บ มันได้ขีดเส้น ให้เรารู้ว่าแค่ไหนควรจะกลัว ไม่กลัว ละเมิด ไม่ละเมิด

000

คุณลักษณะของ Hyper Royalism ที่กล่าวมาทั้งหมดยกเว้นการตอแหล มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ (1984) แล้วเดี๋ยวผมจะอธิบายว่าทำไม (George) Orwell พลาด ว่าไม่สามารถคาดการณ์ถึงเรื่องการตอแหลได้ ผมคิดว่ามีคำอธิบาย

เราอาจจะหัวเราะว่าเวลาเราบอกว่าไทยเราคล้ายพม่าหรือเกาหลีเหนือ เรามีข้อแตกต่างมากมายสาธยายไม่หมด แต่บางคนบอกว่าเกาหลีเหนือคือรูปธรรมที่เป็นชีวิตจริงของ 1984 ผมไม่ อธิบายว่า 1984 คืออะไรนะ คิดว่าพอเข้าใจนะ พูดถึงสังคม Totalitarian ประการสำคัญ ที่ผมว่ามันคล้ายคือ สังคมที่ถูกอธิบายในหนังสือเล่มนี้อาศัย Thought Control

แน่นอนพอเป็นนิยาย หนังสือเล่มนี้อธิบายหลายอย่างจนเว่อร์ อันนั้นก็ว่าไป ถ้าใครจะมานั่งเทียบว่าไทยไม่เหมือน 1984 ผม ก็จะหัวเราะ ก็ใครบอกว่าเหมือนหรือ ผมบอกว่าเราสามารถเข้าใจสังคมไทยได้โดยพยายามคิดออกไปจากหนังสือเล่มนี้ แล้วเราจะเข้าใจได้หลายๆ อย่าง ไม่มีทางที่ Degree จะขนาดนั้น มนุษย์เราไม่มีทางควบคุมได้ขนาดนั้น แม้คุณบอกว่าเกาหลีเหนือทำได้ ผมยังไม่แน่ใจ แต่ช่างมันผมไม่รู้จักเกาหลีเหนือขนาดนั้น

ประเด็นที่น่าสนใจกว่ากลับอยู่ตรงนี้ครับ ผมอยากจะเรียกว่า ของไทย ผมอยากจะเรียกเป็น“1984 แบบไทยๆ” นั่น หมายถึงว่า หลายๆ อย่างไม่เหมือนนะ ตัวอย่างที่ไม่เหมือนก็คือเราไม่มี Big Brother แต่เราเป็น 1984 ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

Orwell โชคร้าย ไม่เคยเกิดมาในสังคมที่มีพระมหากษัตริย์ ใช่ไหมฮะ รู้จักแต่ Big Brother รู้จักแต่ O’Brien สังคมไทยโชคดีกว่า ... ตรงนี้ผมกำลังประชด ใช่

อย่างน้อยที่สุดใน 1984 ไม่เคยเลยที่ประชาชนจะซาบซึ้งกับ O’Brien ไม่มี 1984 ใช้แต่พระเดช ใช้แต่อำนาจ กดปราบ แต่โปรดสังเกตว่า 1984 ก็ไม่ฆ่า เดี๋ยวจะกลับมาประเด็นนี้

1984 มีหลายอย่างที่ผมคิดว่าน่าตกใจมากเวลาอ่านถึงและเหมือนสังคม ไทยเลยถ้าจะคิดหน่อย ยกตัวอย่างเช่นเขามี Ministry of Truth ที่ชาวบ้านเรียกชื่อย่อว่า “Minitrue” คุณลองนึกดูว่าถ้า Ministry of Information แล้วคุณเรียกย่อว่า MiniInfo ใช่ไหม แล้วสิ่งที่เขาทำคือ MiniInfo จริงๆ MiniInfo, MiniCommunication, MiniTechnology

อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ผมสารภาพว่า ผมอ่านผมไม่เข้าใจ จะภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยอะไรก็เถอะ 1984 เขา บอกว่า “สงครามคือสันติภาพ” คือสังคมนั้นนะครับ สังคมที่อยู่ภายใต้ Big Brother “สงครามคือสันติภาพ” “เสรีภาพคือความเป็นทาส” “อวิชชาคือกำลัง” ผมเอาอย่างเดียว “เสรีภาพคือความเป็นทาส” ... “อวิชชาคือกำลัง” ผมพอเข้าใจ “สงครามคือสันติภาพ” ผมไม่ค่อยแน่ใจ คิดไม่ค่อยออก

แต่พอผมคิดถึงคำว่า “เสรีภาพคือความเป็นทาส” ผมไม่เคยเข้าใจ จนกระทั่งผมคิดถึงสังคมไทยที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ นี่คือคำอธิบายที่บอกว่า สังคมไทยเป็น 1984 ประเทศไทย คุณลองคิดอย่างนี้นะ

เวลาคุณวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็แล้วแต่ วิจารณ์พวกนิยมเจ้า วิจารณ์ 112 คุณ จำได้ไหม จะมีปรากฏการณ์ Feedback มี Reaction หนึ่งประจำ เช่น “ถ้าคุณไม่ไปทำ ก็ไม่เห็นเดือดร้อนอย่างนั้นเลย” ใช่ไหมฮะ “ถ้าคุณไม่เป็นอย่างนั้น ไม่คิดอย่างนั้น ก็อยู่ประเทศนี้ได้” “ถ้าคุณไม่อยากอยู่ ถ้าคุณยังคิด ก็ออกไปอยู่ประเทศอื่นซะ”

โปรดสังเกตนะครับว่า ผมเข้าใจความหมายคืออะไร ถ้าคุณแสวงหาเสรีภาพ คุณตาสว่าง ปรากฏการณ์คือคุณอึดอัดกับชีวิตคุณไม่รู้ว่าจะพูดได้แค่ไหน ต้องกลัวการถูกปราบปรามไล่ล่า หลบๆ ซ่อนๆ สมัยก่อนเข้าใต้ดิน เข้าป่า ถูกเข้าคุก ถ้าคุณคิดมาก ออกจากข้อจำกัด อยากมีเสรีภาพทางความคิด ชีวิตคุณไม่เป็นสุขในความหมายว่าคุณว่าจะถูกไล่ล่า ไม่มีเสรีภาพ

แต่ถ้าคุณยอมตาบอดต่อไป อย่าคิดมาก อย่าแสวงหาเสรีภาพ อย่าสู้ อย่าพยายามมี Individualism อย่า พยายามมีปัจเจกภาพ ยอมเป็นเฟืองตัวเล็กๆ ที่สามัคคีกันทำตามหน้าที่ตัวเองดีที่สุด คิดถึงองค์รวมให้มาก ลดความขัดแย้ง เกิดบูรณาการ ถ้าเป็นอย่างนี้คุณสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติอย่างไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ไม่ต้องระวังตัว ไม่ต้องกลัวว่าจะพูดข้ามเส้น ไม่ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่ต้องเสี่ยงตำรวจ คุณมีเสรีภาพเต็มเปี่ยมที่จะดำเนินชีวิตปกติ

เห็นไหมครับ เสรีภาพคือการเป็นทาส การเป็นทาสต่างหากคือเสรีภาพ ผมไม่เคยเข้าใจประโยคนี้เลย จนกระทั่งผมมานั่งนึก ใช่ สังคมไทยแบบนี้ไง คนจำนวนมากจึงมีเสรีภาพ คนจำนวนน้อยต่างหากล่ะที่บ้า กระเสือกกระสน อยากจะมีเสรีภาพ แล้วไง ผลที่ได้คือการเป็นทาส

1984 มีอีกหลายอย่าง เช่น ลักษณะพิเศษของ 1984 คือ O’Brien มีความสัมพันธ์กับประชาชนอย่างเป็นเอกลักษณ์มีไม่มีใครเหมือน Big Brothers ขณะนั้นยังลงมาคุยกับ Winston กับ Julia

อันนี้ก็มีใครพูดเป็นประจำนะว่า “สังคมไทยมีความสัมพันธ์ที่พิเศษ” ผมว่า 1984 ก็พิเศษเหมือนกันล่ะ อาจจะพิเศษคนละอย่าง แต่พิเศษเหมือนกัน Winston เป็นประชาชนธรรมดาสามัญที่เกิดอาการตาสว่างแล้วตั้งคำถาม ถึงที่สุดในกรณี 1984 จึงเกิดกรณีความเป็นปัจเจก พฤติกรรมการเป็นปัจเจกที่ง่ายที่สุดก็คือ Sex ที่ไม่ต้องการถูกคอนโทรลด้วย Big Brother

ผมเคยคิดมาตลอดว่าถ้า O’Brien ตาย 1984 จะมีรัชทายาทไหม แล้ว Big Brother จะอยู่ด้วยไหม นี่ผมไม่ได้พูดเล่นนะ ผมรู้ว่าเป็นนิยาย ผมตั้งคำถามเพื่อพยายามจะนึกว่า สังคมแบบนั้นมันเวิร์คอย่างไร โอเคผมก็ไม่มีคำตอบ เพราะสุดท้ายก็เป็นนิยาย แต่ว่า กลับกันนะฮะ ผมกลับคิดว่า หรือว่า Orwell กำลังบอกอะไรอยู่ แล้วเราหรือผมยังคิดไม่ถึง จนกระทั่งผมมาเจอกับ 1984 ที่มีชีวิตจริงกับตัวเอง ผมพอบอกได้ว่า Orwell น่าจะมีอยู่ในใจ แต่เขาไม่จำเป็นต้องสาธยายแน่ๆ หมายความว่าอย่างไรฮะ ผมก็คิดถึงนาซี สตาลิน แน่ๆ ระบอบทั้งสองจะอยู่อย่างไร ระบอบทั้งสองจะอยู่ได้ยาวไหม เขาเห็นอยู่ทั้งนาซี ทั้งสตาลิน ให้ยาวแค่ไหนก็ไม่ยาวได้ตลอดไป เขาจะคิดอย่างไรเมื่อเกิดการเปลี่ยน อันนี้ใช่ ผมเลยกลับมาคิดว่าสังคมไทยจะเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ คือการสืบทอดอำนาจในยุคนาซีซึ่งไม่เกิดเพราะนาซีล่ม ในยุคสตาลิน ซึ่งเกิดหลังจาก Orwell ตายไปแล้ว Orwell เลยไม่มีคำตอบพวกนี้

ผมเลยมาคิดถึง 1984 แบบไทยๆ ล่ะ ... คิดเอาเองก็แล้วกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นคำตอบเดียวกัน เพราะว่าอย่าลืมว่าในกรณีของไทย ไม่ได้มี O’Brien หนึ่งคนที่เป็น Big Brother เราเป็น Network เราเป็นกลุ่ม แล้วแต่ละคนไม่บิ๊กขนาดนั้น อาจจะมีบางคนบิ๊ก แต่บางคนไม่บิ๊ก เป็น Network ที่มีอำนาจมากน้อยต่างกันที่ช่วยสอดส่อง และดูแล Control Though ของประชาชนทั่วไป มันไม่เวิร์คเหมือนใน 1984 หรอก

แต่ในทางกลับกัน ผมกลับคิดอีกอย่างว่า สิ่งที่ Orwell อธิบายภาพในหนังสือเล่มนี้ไม่เนี้ยบเลย ไม่ประณีต ไม่เนี้ยบ ไม่ซับซ้อนOrwell ไม่เคยเจอสังคม 1984 ที่เป็นจริงนอกไปจากสังคมนาซี Orwell ไม่เคยเจอ 1984 แบบตะวันออก พูดง่ายๆ ว่า สังคมที่ใช้ Thought Control เป็นหลัก มันเวิร์คยังไงในความเป็นจริง Orwell ไม่เคยเจอ

ในกรณีของ 1984 ในสังคมไทย มีคนฉลาดมากมายที่ไม่ได้บิ๊กนัก ทั้งบิ๊กทั้งไม่บิ๊ก บิ๊กระดับพอสมควร ไม่บิ๊กที่สุด พร้อมจะปกปักรักษา 1984 หรือทำตัวเป็นคนสอดส่องพวกเราแทน มีคนพร้อมจะออกหนังสือเพื่อ Whitewash อยู่เป็นประจำ อยู่เต็มไปหมด พวกเขาจึงมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะเขียนงานวิจัย พิมพ์หนังสือ ทำตัวฉลาด ทำตัวเป็นผู้รู้ผู้ดีและเฉลิมฉลองไป ในขณะที่คนจำนวนมากทำอย่างนั้นไม่ได้ มีคนอย่างนี้เต็มไปหมด ไม่ใช่ Big Brother เท่านั้น

พวกเขาชอบ อันนี้น่าสนใจนะฮะ คนประเภทนี้ชอบทำตัว Liberal เหมือนกับ O’Brien จำได้ไหมครับ O’Brien ทำตัว Liberal มากเอาเข้าจริงเป็น Big Brother เสียเอง คนพวกนี้มักจะเป็น Liberal ในขณะที่ Julia กับ Winston โดนคุกคามปราบปราม เขาทำตัวเข้ามาเข้าอกเข้าใจ O’Brien ทำตัวเข้าอกเข้าใจ Winston ตลอดเวลา แล้วสุดท้ายอย่างไร เอา Winston เข้าไปทรมาน เขาไม่ฆ่านะ ทรมานจนกระทั่ง Winston ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ภาษาไทยเขาเรียกการกระทำที่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมว่า “สารภาพ”

Winston ยอมสารภาพ Winston จึงสามารถออกจากการถูกจองจำทรมานได้ คุณคิดเอาเองนะ ผมไม่ได้บอกนะ ว่าคุณคิดถึงใคร ผมว่าพวกเราคิดกันอยู่

คุณต้องยอมสารภาพ คุณจึงจะมีเสรีภาพอีกครั้ง เพื่อจะออกมาเป็นทาสตามเดิม ถ้าคุณไม่ยอมสารภาพคุณจะมีเสรีภาพได้ แต่คุณต้องอยู่ในคุก เสรีภาพอยู่ในใจ กับเสรีภาพ Physical มันตรงข้ามกัน อำนาจของ Big Brother หรือ O’Brien อันนี้ในโน้ตผม Big Brother ผมย่อว่า B.B. O’Brien ผมย่อว่า O.B. คือการทำลายความเป็นปัจเจกชน ทำลายความมุ่งมั่นของคนที่จะเป็นกบฏทางปัญญา โปรดสังเกตว่า O’Brien ไม่ฆ่า, 1984 ไม่ฆ่า แต่ทรมานทางใจจนหมดสภาพ สุดท้าย Winston สารภาพและได้ปล่อยออกมา ทั้งที่ Winston ยังคิดถึง Julia และคิดถึง Sex แปลว่าอะไรครับ Winston ต้องตอแหล Winston ต้องเก็บเสรีภาพที่เขามีอยู่ไว้ในใจ Winston หรือพูดกลับกัน Winston อยู่ในสภาวะ Suffocating Mind คือชีวิตจิตใจเขาจะหายใจไม่ออก เขาก็เลยอยู่กับมัน เขาจึงจะได้รับการอภัยโทษ

คุณต้องคุกเข่าก่อน ไม่งั้นคุณไม่มีเสรีภาพ

คุณคิดถึงชื่อหลายๆ คน ที่คุณนึกเอาเองก็แล้วกัน ผมไม่จำเป็นต้องบอก Orwell ไม่รู้จัก 1984 ชนิดนี้ เขาจึงบอกแค่ Winston ออกมา มีฉากตอนท้ายนิดเดียวว่า Winston ยังคิดถึง Julia และคิดถึง Sex อยู่ ผมกลับคิดว่าคนจำนวนมหาศาล Orwell คิดไม่ถึง ทั้งที่ติดคุกไปแล้ว และออกมา เขาไม่ได้เปลี่ยนง่ายๆ และคนอีกตั้งมากมายที่เขายังไม่ติดคุก แต่เขารู้จักตอแหล เขายอมเอาตัวเองไปอยู่ในจองจำของ Suffocating Mind เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกจองจำทาง Physical … Orwell ไม่รู้จักสังคมประเภทนี้ การบังคับและ Control ในกรณี Orwell จึงเป็นไปอย่างเถื่อนๆ ดิบๆ อ่านดูแล้วหลายคนบอกเรื่องนี้ไม่ควรเป็น Classic เลย เถื่อนๆ ดิบๆ ผมเห็นด้วย การใช้ภาษาที่งามกว่า Animal Farm ไม่ใช่เล่มนี้ แต่เรื่องนี้มีอะไรให้คิดอีกแบบหนึ่ง

Orwell ไม่รู้จัก 1984 ที่ประณีต เนียน และมีศิลปะ ไม่รู้จักสังคมที่ A rule by ideology and thought control อันนี้แหละครับคือลักษณะพิเศษของสังคมไทยที่สังคมอื่นเขาไม่เป็นกัน คือเรา Rule ด้วย Ideology และ Thought Control ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแนบเนียนมาก ใครคิดว่าเมืองไทยมีลักษณะพิเศษอย่างอื่น ก็แก้มา