WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 22, 2011

นักวิจัยสงสัยไฉน ‘เฟซบุ๊ก’ ถึงไม่ใช่ ‘เครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรม’

ที่มา ประชาไท

ขณะที่เด็กแนว เด็กฮิป อาจคิดว่าเฟซบุ๊กจะกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารทางวัฒนธรรมได้ แต่นักวิจัยก็เผยผลการสำรวจว่ามีแต่เพลงแนวคลาสสิกและแจ๊สเท่านั้นที่มีการ แพร่กระจายทางรสนิยมในหมู่เพื่อนฝูง

19 ธ.ค. 2011 - ผลการวิจัยล่าสุดเสนอว่าแนวทางการ ‘ไลค์’ หรือการเลือก ‘เป็นเพื่อน’ กับใครก็ตามในเฟซบุ๊ก อาจขัดกับภาพลักษณ์แบบฮิปๆ ของเฟซบุ๊กเอง เนื่องจากเมื่อมีคนกดไลค์วงอัลเตอร์เนทีฟหรืออินดี้วงเดียวกับคุณ คุณก็คงเริ่มรู้สึกไม่ค่อยชื่นชอบวงเหล่านั้นแล้ว

ขณะเดียวกันรสนิยมทางดนตรีคลาสสิกดูจะแสดงผลในทางตรงกันข้ามคือมีการ แพร่กระจายไปในหมู่เพื่อนฝูง แต่โดยรวมๆ แล้วนักวิจัยพบว่า รสนิยมส่วนใหญ่ไม่ได้แพร่กระจายไปในหมู่เพื่อน แต่เป็นตัวคนเล่นเฟซบุ๊กเองที่ส่วนใหญ่จะหาเพื่อนที่มีรสนิยมใกล้เคียงกัน อยู่แล้ว
“ในช่วงสามปีที่ผ่านมาเราถูกทุบหัวด้วยความเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถแพร่กระจายได้เหมือนโรคติดต่อ เพื่อนของคุณมีอิทธิพลกับคุณในหลายๆ ทาง” เควิน ลูอิซ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวถึงงานวิจัยหลายชิ้นในช่วงเวลาที่ผ่าน มา รวมถึงงานวิจัยที่บอกว่าโรคอ้วนแพร่กระจายได้ในทางสังคม “แต่เมื่อคุณลองคลายปมพวกนี้ออกดูแล้ว คุณก็จะพบว่าเพื่อนคุณมีอิทธิพลกับคุณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” อย่างน้อยก็ในเฟซบุ๊ก
“นักศึกษาที่มีรสนิยมทางดนตรีหรือภาพยนตร์เหมือนกันในบางด้านจะมีโอกาส เป็นเพื่อนกันมากกว่า แต่ก็มีน้อยกรณีมากที่นักศึกษาจะรับเอาความชื่นชอบแบบเดียวกับเพื่อนของตนมา ด้วย” ลูอิซกล่าว
กด 'ไลค์' วงอินดี้เพื่อสร้างอัตลักษณ์เฉพาะ
นักวิจัยได้ทำการสำรวจการใช้งานเฟซบุ๊กของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาราว 200 คน เป็นเวลา 4 ปี เริ่มจากตอนที่เขาเป็นน้องใหม่ในเดือน มี.ค. 2006 โดยมีการรวบรวมข้อมูลเป็นรายปีเกี่ยวกับคนที่พวกเขาเลือก ‘เป็นเพื่อน’ ด้วย และสิ่งต่างๆ ที่พวกเขากด ‘ไลค์’ (ทั้งดนตรี ภาพยนตร์ และหนังสือ ที่พวกเขาเลือกแสดงผ่านโปรไฟล์ของพวกเขา) ข้อมูลนี้ยังได้เอามารวมกับข้อมูลด้านการศึกษาและที่อยู่อาศัยของตัวนัก ศึกษาเองอีกด้วย
พวกเขาพบว่า นักศึกษาที่มีรสนิยมทางดนตรีและภาพยนตร์ส่วนหนึ่งเหมือนกัน จะมีโอกาสเป็นเพื่อนกันมากกว่า ขณะที่รสนิยมเรื่องหนังสือนั้นไม่มีผล โดยแทนที่รสนิยมจะเผยแพร่ผ่านเพื่อนอีกคนไปยังอีกคน นักศึกษาจะเป็นฝ่ายขอเป็นเพื่อนกับคนที่มีรสนิยมดนตรีเหมือนกันเช่น ชื่นชอบในแนว ‘ไลท์/คลาสสิกร็อค’ หรือ ‘คลาสสิก/แจ๊ส’ หรือภาพยนตร์แนว ‘แนวเสียดสีมืดมน’ หรือ ‘ตลกงี่เง่า/เลือดสาด’
มีผลที่แตกต่างอยู่บ้างคือการที่รสนิยมดนตรี คลาสสิก/แจ๊ส จะแพร่กระจายไปในหมู่เพื่อนฝูง ขณะที่กลุ่มนักศึกษาที่ชื่นชอบแนว อินดี้/อัลเตอร์เนทีฟ จะไม่ค่อยแสดงออกในรสนิยมเหล่านี้ด้วยตัวเองเท่าไหร่
“การเข้าไปกด ‘ไลค์’ วงแนว อินดี้/อัลเตอร์เนทีฟ เหล่านี้ไม่เป็นเพียงแค่ว่าพวกเขาชอบมัน แต่เป็นการเข้าไป ‘ไลค์’ ก่อนที่คนจะ ‘ไลค์’” ลูอิซกล่าว “นักศึกษาพวกนี้รู้สึกว่า นี่มันทำให้ฉันแตกต่างจากคนอื่น และถ้ามีใครมากดไลค์เพจนี่ด้วยก็จะทำให้ฉันรู้สึกมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวน้อย ลง”
เฟซบุ๊กก็เหมือน ‘ซุป’
ความเหมือนกันในด้านอื่นยังมีอิทธิพลต่อการเลือกเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ก ด้วยเช่นกัน เช่น ที่อยู่อาศัย วิชาเอก และกลุ่มเพื่อน ความเหมือนกันเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากในการที่นักศึกษาสองคนจะเป็นเพื่อน และยังคงความเป็นเพื่อนกันไปตลอด 4 ปี ในเฟซบุ๊ก
การวิจัยครั้งนี้สนับสนุนงานวิจัยชิ้นก่อนๆ ที่แสดงให้เห็นหลายครั้งหลายคราว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นเป็นแหล่งที่หลอม รวมสิ่งที่เหมือนกันราวกับ ‘ซุป’ สมาชิกของโซเชียลเน็ตเวิร์กมักจะเป็นคนที่มีความคล้ายคลึงกับคุณในด้านความ ชอบและภูมิหลัง
“พวกเราคันหาสิ่งที่เหมือนกันในหมู่เพื่อนของพวกเรา ในเฟซบุ๊กเองก็เช่นกัน พวกเรามองเห็นการแบ่งแยกกันทางเชื้อชาติ ฐานะทางสังคม และคนที่เรียนวิชาเอกตัวเดียวกันก็มีโอกาสเป็นเพื่อนกันมากกว่า” ลูอิซกล่าว “สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่นักสังคมวิทยาและนักสังคมศาสตร์ได้ศึกษามาก่อนหน้า นี้แล้วเราก็ได้พิสูจน์ซ้ำ”
ความเหมือนกันในกลุ่มเพื่อนเช่นนี้บ่งบอกว่า การปฏิสัมพันธ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นทำให้การเชื่อมโยงกันทางสังคมของ กลุ่มคนที่เหมือนกันเหล่านี้เหนียวแน่นขึ้น ผู้คนจะเลือกเป็นเพื่อนกับคนที่คล้ายกับพวกเขาแทนที่จะสร้างความคุ้นเคยให้ มากขึ้นกับคนที่เป็นเพื่อนกับเขาอยู่แล้ว โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการประชุมของสภาวิทยาศาสตร์แห่ง ชาติของสหรัฐฯ (PNAS)
ที่มา:
Why Most Cultural Tastes Don't Spread on Facebook, Jennifer Welsh, Livescience, 19-12-2011