WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 20, 2011

เปิดพรมแดนของตัวเอง และร่วมกันนิยามประชาธิปไตยแบบไทยๆ กันใหม่เถิด

ที่มา ประชาไท

เราไม่ได้อยู่ในยุคที่ควรจะ "มุ่ง" ถามคำถามว่า "อะไร" (what) เช่น ระบอบการปกครองอะไรดีที่สุด (หรืออาจไปไกลถึง อะไรคือความจริงสูงสุด) เพราะเราอาจไม่มีวันได้รู้ เพราะคำถามแบบนี้มันตัดโลกความเป็นจริงทิ้งไป มันเป็นคำถามแบบลอยๆ เป็นไอเดีย จินตนาการล้วน เป็นอุดมการณ์ล้วนๆ

แต่เราอยู่ในยุคที่ควร "มุ่ง" ถามว่า "อย่างไร" (how) ก็คือ เราจะอยู่อย่างไรในโลกสภาวะอย่างในปัจจุบันนี้ ซึ่งนี่เป็นคำถามที่คำนึงถึงโลกความจริง คำนึงถึงบริบท คำถามถึงโลกที่แวดล้อมตัวเราอยู่ ซึ่งผมเข้าใจว่ามัน realistic มากๆ

ในสภาวะที่ความแตกต่างหลากหลายของผู้คนมัน "ปรากฏ" อย่างเด่นชัด (เมื่อก่อนยังไม่ปรากฏหรือถ้าปรากฏก็ยังไม่เด่นชัดเพราะเรายังไม่มีเทคโนโลยีอย่างเช่นอินเตอร์เนทหรืออื่นๆ) เมื่อผู้คนมีความแตกต่างกันมากขึ้น สิ่งที่ควรนำมาเป็นกติกาพื้นฐาน มันก็คิอสิทธิ์เสรีภาพพื้นฐานอันพึงควรจะมี สมัยก่อน คำว่า สิทธิเสรีภาพ ยังไม่มีใช้ (จริงๆอยากใช้คำว่า ยังไม่ฮิตติดลมบนแบบวันนี้) เพราะคนยังไม่เห็นความแตกต่างหลากหลายใน "วงกว้าง" เหมือนทุกวันนี้ คนยังไม่มี่ความรุ้มากกว่าที่ตัวเองรู้ (พูดง่ายๆกะลายังครอบเราไว้) คนยังไม่เห็นโลกๆอื่น ยังไม่รู้จักวัฒนธรรมอื่น รู้เฉพาะวัฒนธรรมของตนเอง ความแตกต่างจึงยังน้อย เพราะทุกคนเชื่อเหมือนกันหมด ปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพอันแตกต่างจึงยังไม่มี (ก็อีกนั่นแหละ สมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เนทซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเปิดกะลา) ในปัจจุบัน เมื่อความแตกต่างมันชัดเจน เราจึงต้องหาอะไรบางอย่างมาเป็นพื็นฐานในการอยุ่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง และหลักประกันพื้นฐานนั่นก็คือ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ใช่ว่าจะใช้หลักประกันโดยให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาครอบงำกำหนดให้ต้องเป็นเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์มันไม่ได้เหมือนกันอีกต่อไปแล้ว

และกติกาพื้นฐานแบบประชาธิปไตยมันก็สอดรับกับบริบทโลกปัจจุบัน เอากันตรงๆ เราไม่รู้หรอกว่า ประชาธิปไตยมันดีหรือไม่ดีในแง่ความคิดลอยๆ(เพราะโดย

หลักการทฤษฏีเพียวๆ ก็ยังเถียงกันไม่จบสิ้น) แต่เราก็ควรเชื่อว่ามันดีและใช้ได้เหมาะสมกับสภาวะ ปัจจุบัน เพราะมันรับประกันสิทธิเสรีภาพในความแตกต่างหลากหลายได้ดีที่สุด ,,,,

ผมไม่ค่อยเห็นด้วย เวลาเราเคลื่อนไหวโดยใช้คำว่า ประชาธิปไตยสากล เพราะผมไม่เชื่อว่ามันมีอยู่จริง (ในทางปรัชญา มันเป็น ideology ที่ละทิ้งบริบท) แต่ผมคิดว่าเราต้องร่วมกันนิยามประชาธิปไตยแบบไทยๆ (หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตาม) ขึ้นใหม่ อย่างเสมอภาคภายใต้กติกาที่เท่า เทียมกันให้ได้ และที่แน่ๆ ประชาธิปไตยแบบไทยๆในอย่างที่เป็นอยู่วันนี้ มันแย่ๆมาก มากที่สุด มันห่วย ห่วยแตก (พูดแล้วเดือด) เราต้องก้าวไปจากจุดนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผมเห็นว่าไม่ควรเอาหลักการปชต.สากลมาตั้งเป็นตัวรับประกันเหตุผลนะครับ ผมเห็นว่ามันก็ต้องมีหลักการประชาธิปไตยสากลนี่แหละมาใช้เป็นฐานเหตุผลในการอยู่ร่วมกัน "ในสภาวะโลกปัจุบัน" แต่เราต้องจำไว้เสมอว่าเราดำรงอยู่ท่ามกลางโลก(in-the-world) ท้ายที่สุด เราไม่สามารถที่จะละทิ้งบริบทได้ขาด

ปัญหาคือ พวกเรา"ส่วนใหญ่" ยังมองไม่เห็นปัญหา หรือสิ่งที่เป็นอุปสรรค "จริงๆ" ของประชาธิปไตยแบบบริบทไทยๆ (หรือจะเรียกอย่างอื่นก็ได้) ที่เรากำลังจะร่วมกันนิยาม

ขอเน้นย้ำอย่างที่กล่าวไปแล้ว ว่า การเอาโมเดลประชาธิปไตยสากลมาเป็นหลักการในการรับประกันก ติการ่วมกัน ผมเห็นว่าเป็นสิ่งทำได้ และผมเห็นด้วย แต่เราต้องคำนึงเสมอว่า ประชาธิปไตยสากลมันเป็นแค่ concept ถ้าเน้นมากไป มันจะกลายเป็นมองข้ามบริบท พูดตรงๆก็คือมันสุดโต่งเกินไปน่ะ ทุกวันนี้เราส่วนใหญ่มองเห็นแต่ ปัญหาเดิมๆที่ "พูดเมื่อไหร่ก็ถูก" เช่น ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาความยากจน ปัญหาความรู้ของพลเมือง ปัญหาการศึกษา เราส่วนใหญ่มองแต่ปัญหาเดิมๆ และไม่ "กล้า" ที่จะมองปัญหาในแง่มุมที่สำคัญกว่า ซึ่งอาจเป็นต้นตอปัญหาจริงๆ (ที่ ไม่กล้าก็เพราะว่าเรากลัว) เพราะเราถูกปลูกฝังมานาน นาน นาน แม้นจะไม่นานเท่าไหร่ แต่ก็ดูเหมือนนานแสนนาน ,,,, ที่พูดมานี่ผมโคดระวังคำพูด (ก็ผมกลัวหนิ) แต่คิดว่าคงเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร โดยเฉพาะผู้ที่รู้อยู่แล้วว่า ผมมีทัศนคติทางการเมืองอย่างไร

ตาสว่างและเข้าใจเสียทีว่า คำถามที่พวกคุณชอบถามคนอื่นว่า "คนไทยหรือเปล่า?" มันคือคำถามที่มาจากชุดความคิดของฝรั่ง กล่าวคือ แนวคิดเรื่องรัฐชาติสมัยใหม่(ซึ่งแน่นอนว่าเกิดจากฝรั่ง หรือคุณจะเถียง?) ขณะที่คุณตะโกนถามคนอื่นว่าคนไทยหรือเปล่านั้น คุณกำลังใช้ชุดความคิดรัฐชาติสมัยใหม่ซึ่งไม่ใช่ของคนไทย คุณก็กำลังกลืนน้ำลายตัวเองนะครับ, จริงๆ คำถุามนี้ มันเป็นคำถามที่ไม่ได้ถาม อย่างเช่น ผมเกิดในประเทศไทย อยู่ในไทยมาทั้งชีวิต แล้วจู่ๆมีคนมาถามผมว่า คนไทยหรือเปล่า (ทั้งที่เขาก็รู้อยู่ว่าผมเป็นคนไทย) มันไม่ใช่คำถาม แต่เป็นคำเหยียด เป็นคำที่ใช้เพื่อแบ่งแยก นั่นเพราะเขาถามผมเนื่องจากเห็นว่าผมทีทัศนคติทางการเมืองที่ดูเหมือนไม่ภักดีกับชาติ(ตามความหมายของเขา)

คำถามที่ใหญ่กว่าคือ เราจะอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกันโดยทุกคนมีส่วนนิยามคำว่าชาติอย่างเสมอภาคได้อย่างไร? ซึ่งเป็นโลกที่พรมแดนขวานทองอันเป็นจินตนาการที่มนุษย์มโนขึ้นมา (ซึ่งมนุษย์ฝรั่งคิดขึ้นก่อน แล้วเราไปเอาอย่างเขา) พรมแดนแห่งจินตนาการนี้มันได้สลายลงแล้วโดยเทคโนโลยี ปัญหาคือ เราจะอยู่อย่างไรในความหลากหลายของมนุษย์ที่ปรากฏเด่นชัดมากขึ้น? และการมีอยู่ของรัฐยังจำเป็นอยู่ไหมในโลกปัจจุบัน?(ซึ่งคำตอบก็คงหลากหลาย) ผมคิดว่า จำเป็น แต่มันต้องเป็นรัฐในจินตนาการแบบใหม่ ไม่ใช่แบบแผนที่ขวานทอง

ดูจาก ข้อความที่ผมยกมาจากหนังสือ โลกาภิวัตน์ ด้านล่างนี้เถิด

"เส้นแบ่งพื้นที่ทางสังคมบนโลก ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งแบ่งระหว่าง 'ภายในประเทศ' กับ 'ต่างประเทศ' สอดคล้องกับการก่อร่างอัตลักษณ์รวมหมู่ของคนกลุ่มหนึ่งที่ตั้งอยู่บนฐานของ การผลิตสร้าง 'เรา' ที่เหมือนกัน และ 'เขา' ที่เราไม่คุ้นเคย

ด้วยเหตุนี้ ระบบ >>"รัฐชาติสมัยใหม่"<< จึงตั้งอยู่บนฐานคิดทางจิตวิทยาและความเชื่อทางวัฒนธรรม ซึ่งสร้างความรู้สึกปลอดภัยในการอาศัยอยู่และความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้พลเมืองมอบความภักดีให้กับชาติของตนจนหมดใจ เมื่อถูกกล่อมเกลาให้วาดภาพคนอื่นว่าเลวร้าย ความเชื่อของพลเมืองว่าชาติของตนนั้นเหนือกว่าชาติอื่นๆเป็นการสร้างความฮึก เหิมทางจิตใจที่จำเป็นต่อการทำสงครามขนาดใหญ่" -- จากหนังสือ Globalization โลกาภิวัตน์ ความรู้ฉบับพกพา เขียนโดย Manfred Steger แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง สำนักพิมพ์ open world