WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 19, 2011

ดวงจำปา: ขยายความต่อ "กรณีประเทศไทย กับ ศาลอาญาระหว่างประเทศ"

ที่มา Thai E-News

โดย ดวงจำปา
ที่มา เฟสบุค Doungchampa Spencer
19 ธันวาคม 2554


ใน ขณะนี้ ดิฉันเห็นการโพสต์หลายเรื่อง ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้เขียนบทความ ด้วยการนำเอาศัพท์ทางเทคนิคมาใช้ จนกลายเป็นเรื่องที่สร้างความงุนงงออกไป เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ขอสรุปแบบง่ายๆ นะคะ



ประวัติโดยสังเขป: ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรมไปเมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ยังไม่ได้เป็นรัฐภาคีโดยสมบูรณ์ เนื่องจากว่ายังไม่ได้ลงนามให้สัตยาบัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Ratification

เนื่องจากเหตุการณ์ที่มีผู้สูญเสีย ชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เมื่อเดือน เมษายน / พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2553 ระบบยุติธรรมของประเทศไทยก็ยังไม่มีการลงโทษผู้กระทำความผิดแต่ประการใด (นอกจากการตั้งขอหา ยัดเอาแกนนำ และ ประชาชนเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในคุก) จนกระทั่งมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งนำโดย คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคนี้เข้าไป ก็ตั้งความหวังว่า จะได้รัฐบาลที่กระทำการปฎิบัติตามนิติรัฐและนำความยุติธรรมกลับคืนมาสู่ ประเทศ

สิ่งหนึ่งในความปรารถนาต่อความสงบสุขก็คือ การนำเอาระบบยุติธรรมของนานาชาติเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินพิจารณาคดีด้วย กล่าวคือ การลงนามอย่างเป็นทางการ (ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) ให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ขอย้อนอดีตกลับไปนิดหนึ่ง คือเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 ทนายความโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ทำการถ่ายทอดวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเรื่องดำเนินการต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในข้อหาของเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ

และที่เพิ่งผ่านมาเมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เราได้เห็นข่าวของท่าน สส สุนัย จุลพงศธร เข้าไปยื่นหนังสือต่อสำนักอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ ขอร้องให้เปิดคดีการสอบสวนในะเรื่องการปราบปรามประชาชนซึ่งมีการเสียชีวิต โดยทางฝ่ายรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พร้อมกับมีบทความหลาย เรื่องออกมาโพสต์เกี่ยวกับศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยอ้างถึงอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม, ให้รัฐบาลทำการลงสัตยาบัน และ ให้การยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ

0 0 0 0 0

เลย ตัดสินใจเขียน blog ชิ้นนี้ เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนว่า มันเป็นเรื่องคนละอย่างกัน จะมาผสมปนเปกันไม่ได้



1. การยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศ: เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กล่าวขึ้นมาพอสมควรในเรื่องการนำผู้ที่ออกคำสั่งทั้งหมดมาลงโทษ โดยใช้อำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

หลักการใช้: กรณีการยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เนื่องจากว่า ประเทศนั้นๆ ยังไม่เป็นสมาชิกในรัฐภาคี ตามหลักการกล่าวคือ การนำเอาบทอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรมมาตรา 12 วงเล็บ 3 เข้ามาปฎิบัติ มีผลบังคับใช้ 60 วันหลังจากการยอมรับอำนาจศาลกับศาลอาญาระหว่างประเทศ

กรณีเช่นนี้ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นคดีๆ ไป หรือเรียกว่า กรณีเฉพาะกิจ (ad hoc)

และถ้าดูลึกๆ ลงไปแล้ว จะต้องมีการพิจารณาว่า ศาลของประเทศไทยไม่มีความสามารถหรือไม่มีความประสงค์ที่จะพิจารณาคดีเหล่านี้ด้วยหรือไม่

การรับรอง: รัฐบาลหรือผู้แทนของรัฐบาล สามารถยื่นเอกสารที่ลงนามอย่างเป็นทางการให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ เนื่องจากเรื่องนี้ เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ หรือ Unilateral act of State จึงไม่ต้องมีการผ่านรัฐสภา ด้วยมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

การ บังคับใช้ย้อนหลัง: มีการถกเถียงในเรื่องนี้ว่า ถ้าประเทศไทยประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลแล้ว จะนำมาใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ออกคำสั่งของการปราบปรามคนเสื้อแดงในเดิอน เมษายนและพฤษภาคมของ ปี พ.ศ. 2553 ได้หรือไม่?

ตามหลักการแล้ว จะต้องดูว่า เหตุการณ์ที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรง (อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ) นั้น ได้สิ้นสุดลงหรือยัง หรือว่าเหตุการณ์นั้น ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้ายังเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง การยอมรับอำนาจศาล ก็สามารถนำมาใช้ได้

แต่สำหรับเหตุการณ์เมื่อเดือน เมษายน / พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2553 นั้น มันได้สิ้นสุดลงไปแล้ว (และมีการเปลี่ยนรัฐบาลบริหารประเทศ) โอกาสที่จะนำเรื่องนี้ มาเป็นผลใช้บังคับย้อนหลัง ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ

อาจจะมีเรื่องทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้องได้ อยู่ที่การตีความด้วยในประเด็นย้อนหลัง

ความเป็นไปได้: การ ที่รัฐบาลไทยยอมรับให้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศมีสิทธิพิจารณาคดีนั้น ฝ่ายการเมืองพรรคตรงข้าม จะหาเรื่องหยิบประเด็นและทำการประโคมเรื่องทันทีว่า เป็นการลุล่วงพระราชอำนาจเพราะศาลจะต้องกระทำการตัดสินคดีภายใต้พระ ปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น อาจจะมีการโยงไปถึงความไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยฝ่ายของ รัฐบาล ในเรื่องการให้องค์กรจากต่างประเทศเข้ามารุกรานอธิปไตยของประเทศเสียด้วยซ้ำ

การ ตีความรวมไปถึงการเซ็นรับรองเอกสารในเรื่องการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ อาจจะถูกฝ่ายค้านดำเนินการ โดยยื่นเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญว่า การกระทำโดยการให้ศาลของประเทศอื่นมามีอำนาจเหนือศาลไทยนัั้น เป็นการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ก็ไม่ยอมผ่านรัฐสภา หรืออ้างเหตุผลอื่นๆ ประกอบ ท่านผู้อ่านก็คงจะทราบเองว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องหรือไม่ หรือควรจะตัดสินออกมาในรูปไหน

ถึง แม้ว่าจะเป็นการกระทำของรัฐฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ฝ่ายตรงกันข้ามจะ "พาลหาเรื่อง" และพยายาม "สร้างมาตรฐานใหม่" ดังนั้น ดิฉันจะไม่แปลกใจเลย ถ้าเรื่องนี้ ถูกส่งขึ้นไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ และมีการตัดสินแปลกๆ ว่า "รัฐบาลทำผิด" ซึ่งเราก็เห็นๆ กันมาหลายครั้ง ในคำตัดสินที่ค้านต่อสายตาชาวโลก (แถมห้ามวิจารณ์ในคำตัดสินเสียด้วย)

ศาล ที่เทียบเท่ากับศาลสูงสุดของประเทศไทยคงจะแย้งในเรื่องนี้ว่า ศาลไทยเอง "มีความสามารถ" และ "มีความประสงค์" ที่จะตัดสินคดีเหล่านี้ จึงอาจจะทำให้เรื่องของการเสริมเขตอำนาจภายในประเทศเข้ามาใช้ก่อนที่จะ สามารถยอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศได้

สรุป: โอกาส ที่จะเกิดเรื่องของการยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น มันแทบเป็นไปไม่ได้เลย และญาติของวีรชนที่เสียชีวิตไปและบรรดาผู้บาดเจ็บต่อการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเรียกหาความยุติธรรมจากศาลไทยแทน เพื่อดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดเท่านั้น

0 0 0 0 0


2. การลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ: การลงสัตยาบันนั้น กระทำเพื่อให้ประเทศเป็นสมาชิกในรัฐภาคีโดยสมบูรณ์ เต็มไปด้วยสิทธิการยอมรับอำนาจศาล มีการพิจารณาตามหลักการยุติธรรมโดยกฎหมายระหว่างประเทศ รวมไปถึง การเสนอชื่อผู้พิพากษาไทยขึ้นไปปฎิบัติหน้าที่ในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ด้วย

หลักการใช้: เมื่อ รัฐบาลลงนามในสัตยาบันแล้ว จะมีผลบังคับใช้ 60 วันหลังจากการลงนาม สามารถใช้ได้ทุกกรณีที่ภายในประเทศมีวิกฤติการณ์รุนแรงและมีผู้เสียชีวิต เป็นการยอมรับให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถเข้ามาดำเนินคดีได้ เมื่อศาลของประเทศไทยไม่สามารถหรือไม่ปรารถนาที่จะดำเนินการในคดีนั้นๆ

ศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่เข้ามาแทรกแทรงก่อน เพราะเป็นการเสริมเขตอำนาจภายในประเทศอยู่แล้ว ภ่าษาอังกฤษเรียกว่า Complementary

การรับรอง: ตามความเข้าใจของดิฉัน เรื่องการลงสัตยาบันนี้ น่าจะต้องผ่านรัฐสภาก่อน โดยอ้าง: ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 ซึ่งกล่าวว่า "การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาที่จะต้องตราพระราชบัญญัติอนุวัติการสนธิสัญญาดัง กล่าว ฝ่ายบริหารจะต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ" ดังนั้น ทางฝ่ายรัฐบาลจะต้องเสนอเรื่องนี้ เข้าไปในรัฐสภาก่อน เพื่อการดำเนินการให้ถูกต้องตามลายลักษณ์อักษรและตามหลักการของรัฐธรรมนูญ

State Party ในความหมายของอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม แปลกันว่า "รัฐภาคี" ซึ่งตรงกับมาตรา 190 วรรค 2 นี้ (ถ้ายังไม่มีการแก้ไขมาตรา 190 ก่อน ดิฉันคาดว่าจะต้องเสนอเรื่องเข้าสู่รัฐสภา เพื่อการพิจารณาลงมติค่ะ)

(ตาม ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา หมวดที่ 1 ข้อที่ 3 ระบุว่า ""สมาชิกรัฐสภา" หมายถึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และ "การประชุมรัฐสภา" หมายถึง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้หมายความรวมถึงการประชุมวุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในระหว่างที่สภาผู้แทน ราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ)

การบังคับใช้ย้อนหลัง: ไม่สามารถกระทำได้

ความเป็นไปได้: เรื่อง นี้ ประชาชนที่เลือกรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศ ต้องการให้ดำเนินการให้เรื่องการลงสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ ได้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีความหวังว่า จะนำเอาผู้กระทำผิดในเหตุการณ์เดือนเมษายน และ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เข้ามาลงโทษได้ (แต่จริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องย้อนหลัง ซึ่งอาจจะไม่สามารถนำเข้ามาสู่การพิจารณาคดีได้ เพราะประเทศไทยยังไม่ได้ลงสัตยาบันให้กับอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม)

ประชาชน หลายฝ่ายเริ่มกระทำการกดดันให้รัฐบาลกระทำการลงสัตยาบันเสียที เพื่อป้องกันฝ่ายเผด็จการเข้ามาทำร้ายประชาชนมือเปล่าอีก แต่ทางรัฐบาลยังไม่ได้นำเรื่องนี้เข้าไปสู่รัฐสภาเสียที หรือ อาจจะเป็นไปได้ ที่ทางรัฐบาลต้องการประวิงเวลา เพื่อการต่อรองทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างบุคคลสองกลุ่มใหญ่ที่เรา ก็ทราบๆ กันอยู่ว่าเป็นใคร

สำหรับความเห็นส่วนตัวของดิฉันในเรื่อง นี้ ถ้ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยเสนอเรื่องการลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ เข้าสู่รัฐสภา น่าจะผ่านคะแนนเสียงในรัฐสภาได้โดยไม่ยากนัก นอกจากกลุ่ม สว ลากตั้ง จะเป็นผู้ฉุดให้เรื่องนี้พีงครืนลงมา คราวนี้ประชาชนก็คงจะจองเวรกับท่านวรนุชเหล่านี้ แทนที่จะเป็นกับรัฐบาล (ซึ่งน่าจะเป็นการท้าทายที่ดีในการทำการประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาล และลดความกดดันลงมาด้วยนะคะ คือรัฐบาลทำแล้ว แต่ถูกพวกวรนุชนี้ คว่ำข้อเสนอ ความกดดันจะตกไปอยู่กับ สว ลากตั้งทั้งหมด)

แท้จริงแล้ว ดิฉันคิดว่า มันมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลมีความหวั่นวิตกและความหวาดกลัวต่อฝ่ายตรง ข้ามมากกว่า (โดยเฉพาะจากพวกที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายอำมาตย์และมือที่มองไม่เห็น) ที่จะดำเนินการเริ่มก่อตัวรวมตัวเพื่อประท้วงอย่างรุนแรงหลังจากที่มีการลง นามสัตยาบันแล้ว จนรัฐบาลจะต้องดำเนินการปราบปรามแบบเดียวกันกับที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เคยกระทำ มาก่อน จากนั้นพวกป่วนเมืองเหล่านี้ ก็สามารถหาเรื่องเข้าใส่รัฐบาลจนได้และจะต้องถูกดำเนินคดีโดยศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ถ้ากลัวว่า เรื่องมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ อย่าไปยื่นเสนออะไรให้กับรัฐสภาเพื่อเปลืองตัวเจ็บตัวเสียดีกว่า

สรุป: เรื่อง นี้ อาจจะมีการอ้างเหตุผล ด้วยการดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาอีกในเรื่องของการให้ประเทศอื่น สามารถเข้ามาตัดสินอยู่เหนือพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอ้างถึงความน่าเชื่อถือและความไม่จำเป็น ด้วยอ้างเหตุผลที่ว่า ระบบศาลยุติธรรมของประเทศไทยนั้น เป็นมาตรฐานดีอยู่แล้วต่อสากลโลก

ดัง นั้น รัฐบาลก็คงจะไม่มีการดำเนินการรีบเร่งใดๆ ในเรื่องการลงสัตยายันทั้งสิ้น แต่มียุทธวิธี ที่จะทำการประวิงเวลาต่อไป เพื่อลดความกดดัน และเบี่ยงเบนความสนใจไปที่เรื่องอื่นๆ แทน เป็นต้นว่า ประโคมข่าวในเรื่องการปราบปรามเวปหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ มากกว่า การลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ประชาชนจะต้องกดดันต่อไป หรือ เลือกพรรคการเมือง (ถ้ามีการเลือกตั้งคราวหน้า) ซึ่งสัญญาว่า จะนำเอาการลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเป็นนโยบายในการหาเสียงรวมอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้รัฐบาลนี้ัยังคงบริหารราชการบ้านเมืองอยู่ได้ ประชาชนก็คงจะต้องช่วยผนึกกำลังช่วยเหลือรัฐบาลด้วยความชอบธรรม ถ้ามีการขัดขวางหรือต่อต้านจากฝ่ายตรงข้าม ที่ปฎิเสธการยอมรับในเรื่องของการลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ


0 0 0 0 0

ใน ทั้งสองกรณีที่กล่าวมา คือ โดยการปฎิบัตินั้น การยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศ และ การลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศน่าจะสามารถมีเขตอำนาจในประเทศไทยได้ ตั้งแต่วันที่ประกาศใช้

0 0 0 0 0




เรื่องของทนายความโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

เรื่อง ของทนายความ โรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม เป็นการยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศโดยการนำเอาสัญชาติอังกฤษของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาพิจารณาคดีในฐานะผู้กระทำความผิด เนื่องจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศในรัฐภาคี การดำเนินการนี้ จะกระทำได้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแต่เพียงผู้เดียว ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลฝ่ายบริหาร (และอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบในการสั่งการด้วย)

สำหรับ บุคคลอื่นๆ นั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องในกรณีที่ทนายความโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัมยื่นฟ้อง เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกในรัฐภาคี (ยังไม่ได้ลงสัตยาบัน และคิดว่า คงจะไม่ยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตัดสินคดีด้วย ตามเหตุผลที่อ้างไว้ดังกล่าวข้างต้น)

เรื่องนี้ จะต้องดูการตีความของสัญชาตินายอภิสิทธิ์ โดยทางศาลอาญาระหว่างประเทศด้วยว่า เป็นอย่างไร ถ้าเขาตีความว่ามีสองสัญชาติจริงและนายอภิสิทธิ์ยังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ ทางอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศอาจจะกระทำการยื่นฟ้องได้

ทนายความอัมสเตอร์ดัมเอง ได้กล่าวไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ๋์ พ.ศ. 2554 ว่า " ..... แต่ข้อเท็จจริงคือประเทศไทยไม่ได้ลงนามในศาลอาญาระหว่างประเทศ ...... ณ วันนี้ นายมาร์ค อภิสิทธิ์ล้มเหลวที่จะแสดงเอกสารว่าเขาได้สละสัญชาติอังกฤษแล้ว เป็นการย้ำว่าประเด็นที่นายมาร์คเป็นและยังคงถือสัญชาติอังกฤษอยู่นั้นเป็น เรื่องจริง ดังนั้นเขาจึงตกอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ......" และ " ....อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยกเรื่องเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศและประเด็นการรับพิจารณาคดี เหตุการณ์ในประเทศไทย แต่โอกาสที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณาคดียังคงมีน้อย...." ตามบทความอ้างอิงนี้: จดหมายเปิดผนึกจากโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมถึงพี่น้องเสื้อแดง

0 0 0 0 0

เรื่องที่ ท่าน สส สุนัย จุลพงศธร ไปยื่นเรื่องที่ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น มันช่วยอะไรได้บ้าง?

ท่าน สส สุนัย จุลพงศธร ไปยื่นเรื่องที่สำนักอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เพื่อขอร้องให้ทางศาลอาญาระหว่างประเทศ เปิดการสอบสวนในคดีการปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยการขอร้องให้นำเอาหลักการตามอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม มาตรา 12 วงเล็บ 3 ว่าด้วย การพิจารณาคดีของประเทศที่ยังไม่เป็นรัฐภาคี มาเป็นเรื่องอ้างอิง

สำนักงานอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ สามารถรับเรื่องไว้ได้ ซึ่งดิฉันเคยกล่าวหลายครั้งว่า เปรียบเสมือนกับ นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เข้าไปยื่นหนังสือให้กับทางสถานฑูตสหรัฐอเมริกา และ สำนักงาน UN ในประเทศไทย การยื่นหนังสือ ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับจะต้องปฎิบัติตามข้อเรียกร้องโดยเสมอไป ฉันใดก็ฉันนั้น

สิ่ง ที่ดิฉันมั่นใจมากคือ ทางศาลอาญาระหว่างประเทศ จะไม่มีการปฎิบัติสองมาตรฐานโดยเด็ดขาด เพราะการสร้างมาตรฐานขึ้นมาใหม่ มันมีผลกระทบต่ออีก 120 กว่าประเทศในโลกไปด้วย

การวิเคราะห์ต่อคำถามที่มีในเรื่องนี้คือ:

1. ทางรัฐหรือตัวแทนของรัฐ ยินยอมในเรื่องอำนาจของศาลหรือยัง? อนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม ได้ระบุว่า รัฐจะต้องยินยอมให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ กระทำการตัดสินคดีดังกล่าวได้ การยื่นหนังสือของท่าน สส สุนัยนั้น ไม่ได้เป็นการให้รัฐยินยอม เพราะ ท่าน สส สุนัย ไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐ หรือ ตัวแทนของฝ่ายบริหาร ท่านไม่มีอำนาจลงนามในหนังสือยอมรับเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศได้

หนังสือ ของท่าน สส สุนัย จุลพงศธร เป็นในรูปแบบของ request for opening the inquiry หรือ เป็นการขอร้องให้มีการสอบสวน ในนามของ ประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งเทียบเท่ากับ Committee's Chairperson ไม่ใช่การยินยอมจากทางฝ่ายรัฐบาล

2. เหตุการณ์เฉพาะกิจนั้น ได้สิ้นสุดลงไปแล้วหรือยัง? คำตอบคือ เหตุการณ์ได้สิ้นสุดลงไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 การใช้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศมาตัดสินย้อนหลัง ไม่สามารถกระทำได้ เพราะทางรัฐบาลไม่ได้ยินยอมในเรื่องอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งแต่แรก ก่อน ศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่ยอมเข้ามาแทรกแทรงในอธิปไตยของประเทศไทยโดยเด็ด ขาด

3. เหตุการณ์เฉพาะกิจนั้น เข้าข่ายในสามประเด็นใหญ่ของการรับฟ้องหรือไม่? สามประเด็นที่กล่าวคือ อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และ อาชญากรรมสงคราม ความหมายในการฟ้องนั้น มุ่งไปสู่เรื่องของ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งทางศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้:

"Crimes against humanity are particularly odious offenses in that they constitute a serious attack on human dignity or grave humiliation or a degradation of one or more human beings...... However, murder, extermination, torture, rape, political, racial, or religious persecution and other inhumane acts reach the threshold of crimes against humanity only if they are part of a widespread or systematic practice."

คำแปล: "อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติคือการกระทำความผิดโดยเฉพาะอย่างน่าสะพึงกลัว กล่าวคือเป็นการโจมตีอย่างรุนแรงต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์หรือทำความ อัปยศอดสู่อย่างมหันต์หรือการก่อความเลวทรามให้กับบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้น ไป...... อย่างไรก็ตาม, การฆาตกรรม, การกวาดล้าง, การทรมาน, การข่มขืน, การกล่าวหาฟ้องร้องทางการเมือง, ทางเชื้อชาติหรือทางศาสนาและการกระทำอื่นๆ ที่ไร้มนุษยธรรมได้เข้าไปสู่เกณฑ์ของเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ถ้าเพียงเรื่องเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฎิบัติที่ขยายเป็นวงกว้างหรือมีไปตามระบบเท่านั้น"

จากการสัมภาษณ์ของท่านผู้พิพากษาคาอูล ได้กล่าวในเรื่องจำนวนผู้เสียชีวิตไว้ว่า:

"..A high death toll may be a first indication that such crimes might have been committed, but further prerequisites, in particular the legal requirements of the crimes, must be fulfilled."

"...เมื่อ เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากอาจจะเป็นการบ่งบอกว่า อาจจะมีการกระทำอาชญากรรมนั้นๆ เกิดขึ้น แต่ข้อกำหนดเบื้องต้น โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งที่เรียกร้องทางกฎหมายของอาชญากรรมนั้น จะต้องมีความถูกหลักการเสียก่อน..."

ตามความคิดของดิฉันนั้น เรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาตินั้น เข้าประเด็นแน่นอนค่ะ

4. มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่สามารถโยงไปถึงอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติได้ บ้าง? คำจำกัดความในเรื่องนี้ อยู่ในมาตราที่ 7 ข้อที่ 1 ของอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งระบุดังนี้คือ:

...attack directed against any civilian population, with knowledge of the attack: การปราบปราบโดยตรงกับพลเมืองของประเทศ ซึ่งรับทราบเป็นอย่างดีในเรื่องการปราบปรามนั้นๆ:

การกระทำดังกล่าว มีดังต่อไปนี้:

(a) Murder; การฆาตกรรม;

(b) Extermination; การกำจัดกวาดล้างประชาชนให้สิ้นซาก;

(c) Enslavement; การนำประชาชนมาใช้งานเยี่ยงทาส;

(d) Deportation or forcible transfer of population; การเนรเทศประชาชนหรือการบังคับถ่ายเทไล่ให้ประชาชนออกไปอยู่นอกประเทศ;

(e) Imprisonment or other severe deprivation of physical liberty in violation of fundamental rules of international law; การจำคุกหรือการกีดกันอื่นๆ อันรุนแรงต่อเสรีภาพของร่างกาย ซึ่งเป็นการละเมิตต่อกฎขั้นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ;

(f) Torture; การทรมาน;

(g) Rape, sexual slavery, enforced prostitution, forced pregnancy, enforced sterilization, or any other form of sexual violence of comparable gravity; การข่มขืน, การนำเอาบุคคลมาเป็นทาสบำเรอกาม, การบังคับให้เป็นโสเภณี, การบังคับให้มีการตั้งครรภ์, การบังคับให้ทำหมัน หรือในรูปแบบอื่นๆ ของการกระทำที่รุนแรงทางเพศที่มีความหนักหนาสาหัสเทียบเท่ากัน;

(h) Persecution against any identifiable group or collectivity on political, racial, national, ethnic, cultural, religious, gender as defined in paragraph 3, or other grounds that are universally recognized as impermissible under international law, in connection with any act referred to in this paragraph or any crime within the jurisdiction of the Court;

การฟ้องร้องต่อกลุ่มบุคคลใดๆ หรือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง, เชื้อชาติ, สัญชาติ, เผ่าพันธุ์, วัฒนธรรมประเพณี, ศาสนา, เพศ ตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่สาม หรือ ด้วยเรื่องอื่นๆ ซึ่งทางนานาอาระประเทศได้ยอมรับว่า ไม่ยินยอมได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆ ที่กล่าวถึงในย่อหน้านี้ หรือ อาชญากรรมใดๆ ภายใต้เขตอำนาจการตัดสินของศาลอาญาระหว่างประเทศ;

(i) Enforced disappearance of persons; การใช้กำลังให้บุคคลต่างๆ สูญหายไปโดยปราศจากร่องรอย

(j) The crime of apartheid; อาชญากรรมในเรื่องการแบ่งแยกสีผิว

(k) Other inhumane acts of a similar character intentionally causing great suffering, or serious injury to body or to mental or physical health.

การ กระทำอ่ื่นๆ อย่างไร้มนุษยธรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ด้วยความจงใจที่จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างสาหัส หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงกับร่างกาย หรือ สุขภาพทางสมองหรือทางร่างกายด้วย...

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า การกระทำของรัฐบาลชุดที่แล้ว เข้าข่ายในเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ตามคำจำกัดความที่กล่าวมา แต่อาจจะมีการตีความในประเด็นของจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ

ถ้า มีเรื่องการขุดศพต่างๆ หรือบุคคลที่สูญหายไปเข้ามารวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย อาจจะทำให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งหมายความว่า ยังมีการปกปิดเรื่องจริงอยู่อีก

การสรุป:

ดัง นั้น เท่าที่อ่านและตีความตามคำจำกัดความในเรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ด้วยตนเอง: ขอสรุปว่า อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ไม่ได้หมายถึงการเสียชีวิตเท่านั้น แต่หมายถึงผลกระทบต่อประชาชนที่ยังมีชีวิตส่วนใหญ่ได้ด้วย เพราะคำจำกัดความนั้น เป็นต้นว่า การเนรเทศ หรือ การนำประชาชนไปใช้งานเยี่ยงทาสนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตแต่อย่างใด แต่มีผลกระทบกับประชาชนเป็นจำนวนมาก

ดิฉันมาดูบทความต่างๆ แล้ว เรามาเน้นถึงเรื่องการสูญเสียชีวิตกันอย่างเดียวนะคะ ถ้านับจำนวนผู้บาดเจ็บต่อการกวาดล้างรวมไปด้วย ดิฉันมั่นใจว่า เรื่องนี้สามารถเข้าข่ายได้ทันที เพราะมีผู้บาดเจ็บประมาณ 2 พันคนขึ้นไป ถ้าจำไม่ผิด

แต่เราจะไปติดในเรื่องของ การไม่ยอมรับอำนาจศาลจากศาลอาญาระหว่างประเทศ และ คดีความย้อนหลังของอาชญากรรมนั้นๆ การเดินทางของ ท่าน สส สุนัย อาจจะไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย แต่มันเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มหันมาสร้างความกดดันให้กับรัฐบาลว่า จะดำเนินการในขั้นต่อไปอย่างไรในเรื่องนี้ เป็นต้นว่า กระทำการลงสัตยาบันเสียทีค่ะ

(ส่วนบุคคลที่ชอบออกมาให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับ เรื่องที่ว่า ควรจะเนรเทศผู้ไม่จงรักภักดีไปอยู่ที่อื่นนั้น ก็จงโปรดระวังไว้ด้วยว่า มันไปเข้าข่ายในเรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาตินะคะ)

0 0 0 0 0

แล้วเราจะต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะดำเนินการต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งการปราบปรามประชาชน?

ตอน นี้ ดิฉันยังไม่มีความคิดเห็นใดๆ นอกจากว่า การให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อการป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ ไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้กระทำความผิดสามารถได้รับการละเว้นโทษได้

และที่น่าเศร้าใจ คือ ดิฉันไม่เห็นทางออกต่อการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้เสียชีวิตใน เหตุการณ์เมื่อเดือน เมษายน และ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 (เพราะการฟ้องร้องโดยองค์กรของนานาชาติ จะต้องยึดหลักความเคารพในอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ ก่อน) นอกจากพึ่งทางศาลของประเทศไทย ซึ่งเราก็รู้อยู่แล้วว่า มันจะออกมาแบบไหน

แต่ ที่แน่นอนที่สุดคือ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย จะต้องคัดค้านในเรื่องการออกกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับทุก ฝ่ายอย่างถึงที่สุด อย่าให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมันหมายถึงว่า กระบวนการศาลยุติธรรมโดยการดำเนินการจากศาลอาญาระหว่างประเทศอาจจะสิ้นสุด โดยทันที เนื่องจากมีการตัดสินคดีความภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยโดยเรียบร้อย แล้ว

การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จะทำให้การตัดสินคดีความในเรื่องแบบนี้เป็นที่สิ้นสุด จะไม่มีการตัดสินเกิดขึ้นอีกจากความผิดในเรื่องเดียวกันนี้อีก ซึ่งตรงกับหลักการที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Double Jeopardy Law หรือผู้ที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดในกรณีนั้น ๆ จะไม่ถูกลงโทษซ้ำสอง

0 0 0 0 0

บทสรุป:

ประชาชน จะต้องกดดันต่อไป ในเรื่องการลงสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ มันเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต ถึงแม้ว่า จะไม่สามารถมีผลย้อนหลังก็ตาม

เลือกพรรคการเมืองที่ให้คำมั่นสัญญาใน การเลือกตั้งครั้งหน้าว่า จะนำเอาการลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเป็นนโยบายในการหาเสียงรวมอยู่ด้วย (ถ้ารัฐบาลปัจจุบัน ยังหลีกเลี่ยงการลงนาม)
คัดค้านการออกกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมอย่างเหนียวแน่น เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมได้เกิดขึ้นไปตามครรลองของมัน

ดวงจำปา สเปนเซอร์

0 0 0 0 0

บทความต่อเนื่อง:

บทความแปล: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศได้แล้ว

บทความแปล: ศาลโลกไม่มีอำนาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรมบนผืนแผ่นดินไทย

บทความแปล: เสื้อแดงยังคงไม่ท้อ หลังจากที่ศาลโลกกล่าวว่า ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

บท ความแปล: ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา รายงานของ ท่านผู้พิพากษา ดร. คาอูล ภาคที่ 1

บทความแปล: ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา รายงานของ ท่านผู้พิพากษา ดร. คาอูล ภาคที่ 2