WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 22, 2011

สำหรับเกษตรกร "การจัดการดินและน้ำ หลังน้ำท่วม ในสวนผลไม้และพื้นที่นาข้าว

ที่มา Thai E-News

ทีม ข่าวไทยอีนิวส์ เห็นว่า บทความนี้มีประโยชน์กับเกษตรกรและชาวเมืองที่ถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อาจจะนำเสนอช้าไปนิด แต่ก็คิดว่าอาจจะมีประโยชน์กับผู้อ่านไทยอีนิวส์ที่กำลังปวดหัวกับปัญหาผล กระทบกับไร่-นา-สวน หลังน้ำลด ได้บ้างไม่มากก็น้อย!

22 ธันวาคม 2554


ที่มา มติชน "บันทึกไว้เป็นเกียรติ"

โดย ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

ฉบับวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เนื่อง จากมีสวนไม้ผลบางพื้นที่เมื่อถูกน้ำท่วมขังแล้ว แต่ไม่สามารถที่จะเสริมคันดินได้ จำเป็นจะต้องปล่อยให้มีน้ำท่วมขังอยู่จนกว่าน้ำจะลด ในสภาวการณ์เช่นนี้ หากปล่อยไว้คงไม่มีโอกาสรักษาต้นไม้ผลอันมีค่าได้ ทางหนึ่งที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องประทังไปได้ นั้นคือ อาศัยหลักการเช่นเดียวกับการปลูกพืชในน้ำยา คือจำเป็นจะต้องใช้เครื่องอัดอากาศให้ออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อให้ส่วนรากหายใจได้ การช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในสภาพสวนผลไม้ อาจทำได้โดยการพ่นอากาศลงในน้ำหรือใช้เครื่องยนต์ที่มีกังหันน้ำหรือตีน้ำ ให้น้ำที่ท่วมขังมีการเคลื่อนไหวถ่ายเทหรือหมุนเวียน จะเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้ละลายในน้ำที่ท่วมขังอยู่ได้มากขึ้น และรากต้นไม้นำไปใช้ได้จนกว่าน้ำจะลด ภายหลังจากน้ำลดแล้วก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีที่ใช้กู้สวนได้

ความสามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมขังของชนิดไม้ผล ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจสรุปและแบ่งแยกเป็นเรื่องได้ ดังนี้

1. ชนิดของไม้ผล จากการทดลองที่ได้ศึกษามาในไม้ผลบางชนิด อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่อ่อนแออย่างมาก ต้นไม้ผลอาจตายภายหลังจากน้ำท่วมขังเพียง 24 ชั่วโมง ได้แก่ มะละกอ และจำปาดะ เป็นต้น กลุ่มที่อ่อนปานกลาง ต้นไม้ผลอาจทนอยู่ได้ระหว่าง 3-5 วัน เช่น กล้วย ส้มเขียวหวาน ทุเรียน มะม่วงกะล่อน มะนาว และขนุน เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่ทนทานได้พอสมควร ต้นไม้ผลอาจสามารถทนอยู่ได้ระหว่าง 7-15 วัน เช่น ชมพู่ พุทรา ละมุด มะขาม และมะพร้าว เป็นต้น

2. สภาพของน้ำที่ท่วมขัง สภาพของน้ำท่วมขังหากเป็นน้ำไหล ต้นไม้ผลมีโอกาสได้รับออกซิเจนที่ละลายมา ทำให้ระบบรากนำไปใช้ได้ หากน้ำที่ท่วมขังเป็นน้ำนิ่งและเน่า ก็จะช่วยลดความอยู่รอดของต้นไม้ให้สั้นลง

3. สภาพความสมบูรณ์ของต้นไม้ ต้นไม้ผลที่ไม่มีการติดผล หรือได้รับการดูแลรักษาจากเกษตรกรเป็นอย่างดี จะมีอาหารสะสมอยู่มาก แม้จะประสบกับสภาวะน้ำท่วมขังก็ยังทนอยู่ได้นานกว่า หากเป็นต้นไม้ที่มีการให้ผลผลิตที่สูงมากมาก่อน หรือมีการติดผลในระยะใกล้เก็บเกี่ยว อาหารสะสมภายในต้นจะเหลือน้อยลง สภาพต้นจะอ่อนแออย่างมากและตายได้โดยง่าย จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในปี พ.ศ. 2538 สวนส้มเขียวหวาน ในย่านรังสิต ในสวนที่ 1 ภายหลังจากน้ำท่วมขังได้เพียง 4 วัน เกิดอาการใบร่วงในทุกต้นจนหมดต้น โดยเริ่มร่วงตั้งแต่ วันที่ 3 ในขณะที่อีกสวนหนึ่งสามารถกู้สวนได้ภายหลังจากน้ำท่วมไปแล้ว 6 วัน ไม่ปรากฏอาการต้นตายเลย (ยกเว้น 1 ต้น ที่ดินถูกเหยียบย้ำขณะที่เปียกแฉะ) ต้นไม้ผลที่อยู่ในระยะผลิใบอ่อน โดยเฉพาะในระยะใบพวงจะมีสภาพที่อ่อนแออย่างมาก ส่วนต้นที่ผลิเป็นยอดอ่อนก่อนใบคลี่ส่วนยอดอ่อนมักตายหมด สำหรับต้นที่ไม่มีใบอ่อนเลย จะทนทานมากที่สุด

4. อายุหรือขนาดต้นไม้ผล ต้นไม้ที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมมีระบบรากที่เล็กกว่า ความทนทานจึงสู้ต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออายุมากกว่าไม่ได้

5. ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขัง หากระดับน้ำที่ท่วมขังนั้นสูงมาก จนท่วมกิ่งและใบหรือพุ่มต้นแล้ว โอกาสที่อยู่รอดจะน้อยมาก ในขณะเดียวกันถ้าระดับน้ำอยู่เพียงแค่เหนือดิน โอกาสที่ระบบรากจะได้รับออกซิเจนจะง่ายกว่า และใกล้กว่าในสภาพน้ำลึก

6. ระยะเวลาและจำนวนครั้งที่น้ำท่วมขัง ความอ่อนแอของต้นไม้จะมีมากขึ้น หากได้รับการท่วมขังระยะเวลาสั้นๆ แต่

ถูก ท่วมซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เช่น ต้นไม้ต้นหนึ่ง หากถูกน้ำท่วมขังต่อเนื่อง อาจสามารถทนได้นานกว่า 10 วัน แต่ต้นเดียวกันหากถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลา 5 วันแล้วระบายน้ำออกไป 15 วัน โดยเกิดน้ำท่วมขังซ้ำอีกครั้งเป็นระยะเวลา 3 วัน ต้นไม้นี้จะอ่อนแอกว่า เนื่องจากภายหลังจากถูกน้ำท่วมในครั้งแรกแล้วยังอยู่ในระหว่างการฟื้นคืนชีพ ซึ่งยังไม่เต็มที่แล้วถูกซ้ำอีก

7. อุณหภูมิ หากมีอากาศร้อนจัด จะเพิ่มความรุนแรงของความเสียหายจากการถูกน้ำท่วมขังของต้นไม้มากยิ่งขึ้น

8. ลม ในขณะที่ต้นไม้ผลถูกน้ำท่วมขังอยู่และมีลมพัดจัด ส่งผลให้ระบบรากคลอนและต้นโยก ต้นไม้จึงมีโอกาสตายได้ง่ายขึ้น ข้อเตือน : ต้นไม้ผลที่อยู่ในสภาวะของน้ำท่วมขัง ไม่ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นหรือยาว ก็ย่อมเป็นผลเสียหายต่อต้นไม้ผลทั้งสิ้น พืชแต่ละชนิดหรือแม้ว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือพันธุ์เดียวกันก็ตาม ความสามารถทนต่อสภาพถูกน้ำท่วมขังก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายหลากชนิดด้วยกัน อีกทั้งยังมีปฏิกิริยาร่วมระหว่างปัจจัยเหล่านั้นด้วย

การจัดการดิน และน้ำหลังน้ำท่วมในสวนผลไม้ ผลเสียหายที่เกิดแก่ไม้ผลที่ถูกน้ำท่วมขัง ถ้าน้ำท่วมนานๆ ไม้ผลบางชนิดอาจจะล้มตายได้ น้ำท่วมทำให้ดินขาดการระบายอากาศ ทำให้รากไม้ผลขาดออกซิเจน รากพืชจำเป็นต้องใช้ในการหายใจและเป็นที่สะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ ขณะน้ำท่วมอินทรียวัตถุในดิน เศษซากพืชและสัตว์ต่างๆ จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อรากไม้ผล ขณะน้ำท่วมประสิทธิภาพการดูดน้ำ และแร่ธาตุต่างๆ ของไม้ผลจะลดลง ทำให้ต้นไม้ขาดน้ำและธาตุอาหารพืช และขณะน้ำท่วมรากพืช ลำต้นของไม้ผลจะอ่อนแอ ง่ายต่อการที่โรคและแมลงจะเข้าทำลาย

วิธีการลดความเสียหาย

ของไม้ผล จากน้ำท่วม

1.ห้ามเข้าไปเหยียบย่ำใต้ต้นไม้ผล เพราะจะทำให้รากขาดและอาจทำให้รากเน่าได้ง่าย

2. กรณีที่ไม้ผลจะล้ม ต้องค้ำยันไม้ผลไว้ก่อน ต้องใช้ไม้ยาวๆ โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปเหยียบย่ำใต้พุ่มต้นไม้

3. ระบายน้ำออกจากโคนต้นให้หมดเป็นการเร่งด่วน

3.1 ทำร่องน้ำระหว่างแถวไม้ผลให้ลึก อย่างน้อย 1 ฟุต เหมาะสมที่สุด คือ 50 เซนติเมตร ถ้าในขณะนั้นดินเป็นเลน

3.2 เอาไม้แหวกดินให้เป็นร่องเล็กๆ ที่บริเวณโคนต้น ให้น้ำไหลลงสู่ทางระบายน้ำที่สร้างขึ้นมา ตาม ข้อ 3.1

4. ใช้พลั่วดึงเศษพืชและสัตว์ต่างๆ ที่ดินเลนทับถมออกให้หมด เพราะการสลายตัวของเศษพืชที่ฝังดินและน้ำท่วม ทำให้เกิดความร้อนและก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อรากพืช

5. ในกรณีที่มีไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่เจาะรูปักไว้ใต้โคนต้นเพื่อระบายความร้อน และก๊าซพิษออกจากโคนต้นขณะน้ำท่วมขังและดินแฉะ

6. เมื่อดินเริ่มแห้ง ตัดแต่งกิ่ง โดยเอาใบแก่และกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มที่ใบไม่ได้รับแสงแดดออก เพราะใบพวกนี้ปรุงอาหารไม่ได้หรือได้น้อย แต่กินอาหารมาก

7. ให้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ใส่ในร่องที่ขุดดินขึ้นรอบๆ ทรงพุ่ม ความกว้างของร่อง ประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร หรือใส่ที่โคนต้น ในกรณีที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็ก

8. ให้น้ำรอบๆ โคนต้น ในกรณีที่ดินแห้ง

8.1. ในกรณีที่เป็นที่ต่ำ ให้ยกขอบแปลงเป็นคันดินให้สูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วม ไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร โดยขุดคูน้ำรอบๆ แปลง แล้วนำดินจากการขุดคูน้ำมาปั้นเป็นคันดิน

รอบๆ แปลง ขอบคูน้ำ ให้ปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของดินและกรองตะกอนดินไม่ให้ไหลลงร่องน้ำ

8.2. นำดินที่ได้จากการขุดคูน้ำมาถมเป็นพื้นที่เพาะปลูก ที่เรียกว่า คูยกร่องสวน

8.3. ควรขุดบ่อหรือสระน้ำไว้ในพื้นที่ เพื่อใช้ระบายน้ำเมื่อฝนตกชุก และนำไปใช้เมื่อฝนทิ้งช่วง

8.4. ถ้าพื้นที่เป็นดินลูกรัง หรือดินเหมืองแร่เก่า หรือพื้นที่ดินทรายหรือดินแฉะ ให้ใช้วงบ่อในการปลูกไม้ผล (ข้อมูลโดย : กลุ่มวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำพื้นที่สูง สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน)

การจัดการดิน พื้นที่นาปลูกข้าวหลังน้ำท่วม จากการเกิดสภาวะน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก แม้แต่พื้นที่นาปลูกข้าวมีน้ำท่วมขังเป็นปริมาณมากและเป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้าวที่ปลูก ดังนั้น หลังจากน้ำลดลงอยู่ในระดับปกติ จำเป็นต้องเข้าไปดูแลจัดการดินและพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้นๆ

กรณี ที่ 1 ข้าวที่ปลูกได้รับความเสียหายเล็กน้อยและอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ระบายน้ำออก ควบคุมระดับน้ำให้เหลือประมาณ 5-10 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยให้ข้าวตามอัตราที่กำหนด ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (1 : 500) บำรุงต้นข้าวหรือใส่ลงน้ำ อัตรา 5 ลิตร ต่อไร่ ต่อครั้ง เมื่อข้าวอายุ 50 วัน และ 60 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว

กรณี ที่ 2 ข้าวที่ปลูกได้รับความเสียหายมาก ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ระบายน้ำออก ปล่อยให้ดินแห้ง ไถกลบตอซังข้าว เตรียมดินปลูกพืชอายุสั้น พืชที่แนะนำ

1. ถั่วเหลือง : พันธุ์ สจ.4 สจ.5 (ใช้เมล็ด 10-13 กิโลกรัม ต่อไร่) เชียงใหม่ 60 (ใช้เมล็ด 12-15 กิโลกรัม ต่อไร่) ตัดตอซังข้าว หรือไถกลบ นำเมล็ดถั่วเหลืองคลุกเชื้อไรโซเบียม แล้วปลูกเป็นแถว โดยใช้ไม้ปลายแหลมทำหลุม กว้าง 2-3 เซนติเมตร ลึก 3-4 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ 4-5 เมล็ด ต่อหลุม ในสภาพนาและสภาพไร่ ถ้าดินมีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสม 25x25 เซนติเมตร การใส่ปุ๋ย ดินร่วนทราย อินทรียวัตถุต่ำ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 10-20-10 อัตรา 25-35 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา 20-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ดินเหนียว ดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 10-20-10 หรือปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา 20-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ดินเหนียวสีดำ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 0-45-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ วิธีการให้ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม หรือโรยเป็นแถวพร้อมปลูกหรือหลังปลูก 20-25 วัน เก็บผลผลิต เมื่ออายุ 90 วัน ไถกลบต้นถั่วเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เพื่อปลูกข้าวต่อไป

2. ปลูกผักอายุสั้น เช่น ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน ผักบุ้งจีน เป็นต้น ปล่อยดินแห้ง สามารถเตรียมดินได้ ไถกลบตอซังใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 2 ตัน ต่อไร่ คลุกเคล้ากับดิน เตรียมดินละเอียด ยกแปลงกว้าง 4-5 เมตร และทำร่องน้ำ กว้าง 50 เซนติเมตร ปลูกผักชนิดต่างๆ ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำเฉพาะพืช และฉีดพ่นหรือรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เจือจาง 1 : 500 ทุก 15 วัน

3. ปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ ปล่อยดินแห้งแล้วเข้าเตรียมดินโดยไถดะ ไถแปร หรือคราด นำเมล็ดถั่วคลุกเชื้อไรโซเบียมก่อนนำไปปลูก ถั่วพร้า ปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 5-8 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม หลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 50-75 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุ 2-3 สัปดาห์ ถอนแยกเหลือหลุมละ 1-2 ต้น พรวนดินกลบโคนต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 3-9-6 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 120-150 วัน ตากเมล็ดไว้ 4-5 วัน นวดเก็บให้มิดชิด เก็บรักษาได้นาน 1-2 ปี ปอเทือง ปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด ระยะระหว่างต้น 50-75 เซนติเมตร ใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุ 2-3 สัปดาห์ ถอนแยกเหลือหลุมละ 1-2 ต้น พรวนดินกลบโคนต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 3-9-6 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 120-150 วัน ตากเมล็ดไว้ 4-5 วัน นวดเก็บให้มิดชิด เก็บรักษาได้นาน 1-2 ปี (ข้อมูลโดย : กลุ่มวิจัยและพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวและนานอกเขตชลประทาน สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน)

หนังสือ “การดูแลต้นไม้หลังน้ำท่วม” พิมพ์ 4 สี แจกฟรี พร้อมกับหนังสือ “ไม้ผลแปลกและหายาก เล่ม 1-3” รวม 4 เล่ม จำนวน 288 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมาย สอดแสตมป์ 150 บาท (ระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398