WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 20, 2011

สีของ ′คนจน′โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จัดโดย อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ที่มา thaifreenews

โดย เสรีชน คนใต้

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
น่าเสียดายมากๆ นี่เป็นบทความที่ไม่ดีเลย ของนิธิ
แต่มันดึกแล้ว ผมไม่มีแรงจะเขียนอะไรยาวๆ จะไปอ่านหนังสือก่อนนอนละ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324296944&grpid&catid=02&subcatid=0207


สั้นๆ คือ นอกจาก ผิด ที่เขียนในตอนต้นว่า การต่อสู้ระหว่าง "ระหว่างประชาธิปไตยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การเลือกตั้ง หรือประชาธิปไตยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อื่น" เป็นเรื่องที่ "ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับปัญหาจริงที่กำลังเกิดในสังคมไทยเลย โดยเฉพาะไม่เกี่ยวอะไรกับ "คนจน".."

ทีสำคัญ (เกี่ยวเนื่องกัน แต่เป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า) คือ การสะท้อนให้เห็นวิธีคิดที่ฝังแน่นในหมู่ปัญญาชนแอ๊คติวิสต์ ในช่วงที่ "ขบวนการภาคประชาชน" ("สมัชชาคนจน", "บ่อนอก-หินกรูด" ทั้งหลาย) หรือ "ngo" ต่างๆ รุ่งเรือง คือ ไอเดียที่ไม่เข้าใจความสำคัญเรืองการเมือง เรื่องอำนาจรัฐจริงๆ

(ไอเดียนี้ พูดจริงๆ ผมยังเห็นร่องรอยปรากฎอยู่เยอะ แม้แต่ในหมู่คนทีหันมาทางเสื้อแดงกันในปัจจุบัน . .. ในอดีต เมื่อ 5-6 ปีก่อน ไอเดียนี้ เป็นปัจจัยสำคัญทีทำให้ ปัญญาชนแอ๊กติวิสต์ เกือบเป็นเอกฉันท์ ไปเห็นด้วยกับการโค่นทักษิณ เพราะมองไม่เห็นว่า มันสำคัญขนาดไหน สำหรับ "คนจน" นี่แหละ เรื่อง - ถ้าจะใช้คำของนิธิ - ประชาธิปไตยมี "ศูนย์กลาง" ที่ไหน คือในสมัยนั้น ล้วนแต่รู้สึกกันว่า "ทั้งสองฝ่าย" ก็ "ไม่เอาไหนทั้งคู่" เพราะไมใช่ขบวนการที่เข้าข้าง "คนจน" ทั้่งคู่ อะไรแบบนั้น ไมใช่ขบวนการที่ address ประเด็น "ความเหลื่อมล้ำ" ฯลฯ ซึ่งผมเรียกว่า "สองไม่เอา" นั่นแหละ ผมก็นึกว่า นิธิ จะ "ข้ามพ้น" ไอเดียแบบนี้ ยังแปลกใจไมน้อยที่เห็นบทความนี้)

ประเด็นเรื่อง "การเมือง proper" เป็นอะไรที่เป็นจุดอ่อนสำคัญมากในวิธีคิดของปัญญาชนเหล่านี้ แม้่แต่ในปัจจุบัน ซึงเรื่องนี้ มี "ความเป็นมา" ทีซับซ้อนอยู่นิดหน่อย อันที่จริง นี่เป็นประเด็นหนึ่ง ที่ผมเตรียมว่าจะไปพูดในงาน Marxism 2011 (ถ้าได้ไปพูดอ่ะนะ)



................


ขอเพิ่มอีก นิด ไอเดียที่แสดงนี้ ทำให้นิธิ แชร์อะไรหลายอย่างร่วมกับคนอย่างประเวศ (ประเวศ ทุกวันนี้ ก็เน้นทำนองนี้แหละ เรื่อง "ปัญหาที่แท้จริงของประเทศ" อยู่ทีเรื่อง "ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ" ... นักวิชาการอย่าง ผาสุก ก็เช่นกัน

เรื่องนี้ มันโยงกับประเด็นเรื่อง "สถาบันฯ"ด้วย ที่ทำไม วิธีคิด และนักวิชาการเหล่านี้ ตลอดกว่าทศวรรษก่อน 2549 จึงไม่เพียงมองไม่เห็นประเด็นความสำคัญของเรื่องสถาบันฯ ที่สำคัญกว่านั้น ยังถึงกับมีลักษณะ ทีเกษียร เองพูดไว้เองในปี 2549 ว่า ในทางปฏิบัติ อยู่ใน "เครือข่ายในหลวง" (network monarchy)