WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 23, 2011

รวม พรบ. และ พรก.นิรโทษกรรม ในประเทศไทย ตั้งแต่ 2475 ถึง ปัจจุบัน ตอนที่ 1

ที่มา Thai E-News

ทีม ข่าว ไทยอีนิวส์ เห็นความเคลื่อนไหวของนักรบไซเบอร์ แม้ว่าจะถูกคุกคามด้วยการเอาจริงเอาจังของรัฐมนตรี ในครม. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่รักของชาวเสื้อแดง (ทั้ง รมต. เฉลิม อยู่บำรุง และ รมต. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ) ที่แย่งกันประกาศผลงานแห่งความสำเร็จในการใช้มาตรา 112 และ พรบ. คอมพิวเตอร์ จับคนเข้าคุกด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเพื่อควบคุมการวิพากษ์วิจารณ์ขั้วอำนาจเก่า และปิดบล๊อคการเข้าถึงข้อมูลทางอินเตอร์เนทหลายหมื่น URLs

แต่ เหล่านักรบไซเบอร์ "มากคุณภาพ" กลับทำงาน "มากคุณภาพ" มากยิ่งขึ้น เปิดประเด็นปัญหาเมืองไทยกันด้วยเหตุ ด้วยผล พร้อมหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิงมากมาย

ไทย อีนิวส์ จะทยอยนำข้อเขียนของบรรดานักรบไซเบอร์ ที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการประชาธิปไตยของไทยมาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันค้นคว้าและเขียนบทความที่มีประโยชน์กับประชาชนชาวไทยผู้รักเสรีภาพและประชาธิปไตย


ทีมข่าว ไทยอีนิวส์
22 ธันวาคม 2554

0 0 0 0 0

รวม พรบ. และ พรก.นิรโทษกรรม ในประเทศไทย ตั้งแต่ 2475 ถึง ปัจจุบัน ตอนที่ 1

โดย เรดด์ เลิฟ
ที่มา เฟสบุค เรดด์ เลิฟ

1. พรก.นิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน 2475

ตราพระบรมราชโองการ พระราชกำหนดนิรโทษกรรมใรคราวการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช 2475

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเหล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า

การ ที่คณะราษฎรคณะหนึ่งซึ่งมีความปรารถนาอันแรงกล้าในอันที่จะแก้ไขขจัดความ เสื่อมโทรมบางประการของรัฐบาลสยาม และชาติไทยให้หายไป แล้วจะพากันจรรโลงสยามรัฐและชาติไทยให้เจริญรุ่งเ้รืองวัฒนาถาวรเท่าเทียม กับชาติและประเทศอื่นต่อไป จึงพากันยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ด้วยความมุ่งหมายจะให้มีรัฐธรรมนูญการ ปกครองแผ่นดินขึ้นเป็นข้อใหญ่ แล้วร้องขอไปยังเราเพื่อให้เราดำรงคงเป็นกษัตริย์แห่งสยามรัฐต่อไปภายใต้รัฐ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินนั้น

ทั้งนี้แม้ว่าการจะได้เป็นไปโดยขัดกับ ความพอพระทัยพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ และขัดใจสมาชิกในรัฐบาลบางคนก็ดี ไม่ว่าจะรุ่งเรื่องแล้วเท่าไรๆ ก็ไม่อาจจะก้าวล่วงการนี้เสียได้ ถึงกระนั้นก็พึ่งปรากฎ เป็นประวัติการณ์ครั้งแรกของโลกที่การได้เป็นไปโดยราบรื่นปกติ มิได้รุนแรง

และ แม้ว่าจะได้อัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการบางคนมาประทับและไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคมก็เพียงเพื่อประกัน ภัยของคณะ และเพื่อให้การดำเนินลุล่วงไปได้เท่านั้น หาได้กระทำการประทุษร้ายหรือหยาบคายอย่างใดๆ และไม่มุ่งหมายจะกระทำเช่นนั้นด้วย ได้แต่บำรุงรับไว้ด้วยดี สมควรแก่พระเกียรติยศทุกประการ

อันที่จริงการปกครองด้วยวิธีมีพระ ธรรมนูญการปกครองนี้เราก็ได้ดำริิอยู่ก่อน แล้ว ที่ราษฎรคณะนี้กระทำมาเป็นการถูกต้องตามนิยมของเราด้วย และด้วยเจตนาดีต่อประเทศชาติ อาณาประชาชนแท้ๆ จะหาการกระทำหรือแต่เพียงเจตนาชั่วร้ายแม้แต่น้อยก็มิได้

เหตุนี้จึงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกำหนดนี้ไว้ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้ ให้เรียกว่า "พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช 2475"

มาตรา 2 ให้ใช้พระราชกำหนดนี้ตั้งแต่ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัวได้ทรงลงพระบรมนามาภิไธยเป็นต้นไป

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้นไม่ว่าของบุคคลใดๆ ในคณะราษฎรนี้ หากว่าจะเป็นการละเมิดกฎหมายใดๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย

ประกาศ ณ. วันที่ 26 มิถุนายน พุทธศักราช 2475

ประชาธิปก ปร.

0 0 0 0 0


2. พรบ. นิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476


พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิด สภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2476"

มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2476/-/389/25 มิถุนายน 2476]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้น ไม่ว่าของบุคคลใดๆ คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนนี้ หากว่าจักเป็นการละเมิดบทกฎหมายใดๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย

ประกาศมา ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี

0 0 0 0 0

3. พรบ.อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488

พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและ จลาจล พุทธศักราช 2488"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2488/42/479/7 สิงหาคม 2488]

มาตรา 3 ให้อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พุทธศักราช 2488

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี

0 0 0 0 0

4. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พ.ศ.2489

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พ.ศ.2489

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของ ญี่ปุ่น พุทธศักราช 2489"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2489/25/237/30 เมษายน 2489]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นการต่อ ต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น หรือการดำเนินงานเพื่อการนั้นให้ผู้กระทำเป็นอันพ้นจากความผิดทั้งสิ้น

มาตรา 4 ถ้าผู้ที่ได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 ต้องคุมขังอยู่ในเรือนจำ ให้ผู้นั้นยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการดังกล่าวใน มาตรา 7 เพื่อให้พิจารณาปล่อยตัวไป

มาตรา 5 บุคคลที่ได้พ้นโทษไปก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ถ้าโทษนั้นเป็นโทษในความผิดที่ได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ก็ให้มี สิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการดังกล่าวในมาตรา 7 พิจารณามีคำสั่งแสดงว่าเป็นผู้ที่ได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ได้

มาตรา 6 เมื่อบุคคลที่คณะกรรมการได้มีคำสั่งแสดงว่าเป็นผู้ได้รับนิรโทษกรรมตามความ ใน มาตรา 5 หรือ ที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ปล่อยตัวตามความในมาตรา 7 ได้ร้องขอก็ให้คณะกรรมการออกหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่ได้รับนิรโทษกรรม ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 7 ให้มีกรรมการขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ และเจ้ากรมพระธรรมนูญเป็นกรรมการ มีหน้าที่ดังกล่าวในมาตรา 4 ในมาตรา 5 และในมาตรา 6

ในการพิจารณาคำร้องขอของบุคคลผู้ต้องคุมขังตามความใน มาตรา 4 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ได้รับนิรโทษกรรมตามความในพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้คณะกรรมการมีคำสั่งไปยังผู้บัญชาการเรือนจำให้ปล่อยตัวไปโดยมิชักช้า

มาตรา 8 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลให้มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือ สิ่งใดๆที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐาน และสั่งให้บุคคลสาบานหรือปฏิญานก่อนให้ถ้อยคำได้

มาตรา 9 ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ให้ถือว่ากรรมการตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายของกฎหมายลักษณะอาญา

มาตรา 10 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี

0 0 0 0 0

5. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ.2490

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2490/62/741/23 ธันวาคม 2490]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ เนื่องในการกระทำรัฐประหารเพื่อเลิกใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธ ศักราช 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หากเป็นการผิดกฎหมายใดๆ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง และการใดๆ ที่ได้กระทำตลอดจนบรรดาประกาศและคำสั่งใดๆ ที่ได้ออกสืบเนื่องในการ กระทำรัฐประหารที่กล่าวแล้วให้ถือว่าเป็นอันชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี

0 0 0 0 0

6. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ พ.ศ. 2494

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ พ.ศ. 2494"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2494/81/25พ/31 ธันวาคม 2494]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้เนื่องในการกระทำเพื่อเลิกใช้รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยพุทธศักราช 2492 และนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 พร้อมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศพุทธ ศักราช 2482 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช 2483 กลับมาใช้นั้น หากเป็นการผิดกฎหมายใดๆก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง และการใดๆ ที่ได้กระทำตลอดจน บรรดาประกาศและคำสั่งใดๆ ที่ได้ออกสืบเนื่องในการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายทุก ประการ

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี

0 0 0 0 0

7. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2500/81/1พ/26 กันบยายน 2500]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ว่าในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำความผิดหรือผู้ถูกใช้ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และในกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งนี้ไม่ว่ากระทำอย่างไร และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง และบรรดาประกาศหรือคำสั่งไม่ว่าจะเป็นในรูปใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้โดยถูกต้องทุกประการ

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 ได้กระทำไปโดยปรารถนาที่จะขจัดความเสื่อมโทรมในการบริหารราชการและการใช้ อำนาจอันไม่เป็นธรรม ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนและหวาดกลัวแก่ประชาชนโดยทั่วไป และได้กระทำโดยมิได้ปรารถนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือบำเหน็จตอบแทนอย่างใด จึงเป็นการสมควรให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่บุคคลผู้กระทำการยึดอำนาจในครั้ง นี้

0 0 0 0 0

8. พรบ. นิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2500 เป็นต้นไป
[รก.2500/11/283/29 มกราคม 2500]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำของบุคคลใดๆ ก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 หากเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาฐานกบฏภายในราชอาณาจักร ฐานกบฏภายนอกราชอาณาจักร ฐานก่อการจลาจล หรือตามกฎหมายอื่นซึ่งเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับความผิดดังกล่าวแล้ว ก็ให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

ความในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่บุคคลผู้กระทำความผิดฐานกบฏ ฐานก่อการจลาจล หรือความผิดทำนองเดียวกันกับความผิดดังกล่าว ซึ่งไม่ได้ตัวมาเพื่อดำเนินคดีก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2499

มาตรา 4 บรรดาการกระทำของบุคคลใดๆ ก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 อันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกันระงับหรือปราบปรามการกบฏ การก่อจลาจล หรือการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นซึ่งเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับความผิด ดังกล่าว หรือการพยายาม หรือการตระเตรียมกระทำการดังกล่าว หากเป็นความผิดตามกฎหมายใดๆ ก็ให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำ พิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 5 ความผิดตามกฎหมายใดจะถือว่าเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับความผิดฐานกบฏภายใน ราชอาณาจักร ฐานกบฏภายนอกราชอาณาจักร หรือฐานก่อการจลาจลตาม มาตรา 3 หรือ มาตรา 4 ให้เป็นไปตามค วินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

มาตรา 6 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ ผู้พิพากษาศาลแห่งท้องที่หนึ่งนาย อัยการแห่งท้องที่หนึ่งนาย เป็นคณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับนิรโทษกรรมซึ่งถูกศาลพิพากษา ลงโทษคดีถึงที่สุดแล้วและยังมิได้พ้นโทษไป หรือคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และส่งรายชื่อต่อศาลหรืออัยการแห่งท้องที่เพื่อศาล หรืออัยการแห่งท้องที่นั้นออกหมายสั่งปล่อยหรือถอนฟ้อง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้ปล่อยตัวไปตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป

ใน กรณีที่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมถูกลงโทษหรือถูกฟ้องความผิดฐาน อื่นซึ่งไม่ได้รับนิรโทษกรรมรวมอยู่ในคดีเดียวกันกับความผิดที่ได้รับนิรโทษ กรรมด้วยให้ศาลหรืออัยการออกหมายสั่งปล่อยหรือถอนฟ้องเฉพาะความผิด ที่ได้รับนิรโทษกรรมแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่อัยการขอถอนฟ้องตามความใน มาตรานี้ ให้ศาลสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ถ้าการตั้งกรรมการบางนายดังกล่าวในวรรคแรกจะ ไม่สะดวกในการปฏิบัติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการตามที่เห็นสมควร เป็นกรรมการแทนได้

มาตรา 7 ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ที่ถูกพิพากษาลงโทษโดยศาลทหารหรือผู้ถูกฟ้องในศาลทหาร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งข้าราชการเป็นคณะกรรมการตามที่เห็น สมควร มีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับนิรโทษกรรมซึ่งถูกศาลทหารพิพากษาลงโทษคดี ถึงที่สุดแล้ว และยังมิได้พ้นโทษไป หรือคดียังอยู่ในระหว่างการ พิจารณาของศาลทหารและส่งรายชื่อต่อทหาร หรืออัยการทหารเจ้าหน้าที่ เพื่อศาลทหาร หรืออัยการทหารเจ้าหน้าที่สั่งปล่อยหรือถอนฟ้องแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้ปล่อยตัวไปตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับเป็นต้นไป ให้นำความในวรรคสองและวรรคสามของ มาตรา 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 8 ผู้ซึ่งจะได้รับนิรโทษกรรมผู้ใดยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ระงับการสอบสวนฟ้องร้องผู้นั้นตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็น ต้นไป

ในกรณีที่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมต้องหาว่ากระทำความผิดฐานอื่น ซึ่งไม่ได้รับ นิรโทษกรรมรวมอยู่ในคดีเดียว กันกับความผิดที่ได้รับนิรโทษกรรมด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการสอบสวนฟ้องร้องเฉพาะความผิดที่ได้รับ นิรโทษกรรม

มาตรา 9 บุคคลผู้ได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้ใดถูกเรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์คืน หรือ ถูกถอดจากยศหรือบรรดาศักดิ์ เนื่องจากการกระทำความผิดอันได้รับนิรโทษกรรมนั้น ถ้าประสงค์จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยศหรือบรรดาศักดิ์คืนตามที่ได้รับอยู่เดิม ก็ให้ผู้นั้นแจ้งความประสงค์ไปยังสำนักคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการขอพระราช ทานคืนให้ต่อไป

มาตรา 10 บุคคลที่ได้ระบุไว้ใน มาตรา 9 ถ้าเป็นบุคคลที่เคยได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญมาแล้ว ก็ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตามเดิม ถ้าบุคคลดังกล่าวเคยเป็นข้าราชการมาก่อน และยังไม่ได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จหรือบำนาญ ก็ให้ได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จหรือบำนาญเพราะเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญที่ใช้อยู่ใน ขณะที่ออกจากราชการนั้น

การให้เบี้ยหวัดบำเหน็จหรือบำนาญตามพระราช บัญญัตินี้ไม่ผูกพันรัฐบาลที่ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มหรือให้สิทธิใดๆ เท่าเทียมกับข้าราชการที่ออกจากราชการโดยมิได้กระทำผิดหรือถูกลงโทษ ในการพิจารณาจ่ายเบี้ยหวัด บำเหน็จหรือบำนาญ ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าคำวินิจฉัยของกระทรวง การคลังเป็นเด็ดขาด

มาตรา 11 สิทธิในการรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญตาม มาตรา 10 ให้เกิดตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้เบิกจ่ายย้อนนับแต่วันที่กล่าวแล้วนี้ได้แต่ต้องยื่นคำร้องขอรับเบี้ย หวัด บำเหน็จ หรือบำนาญภายในกำหนด หนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 12 ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ในโอกาสที่พระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมา ครบ 25 ศตวรรษ ทางราชการจะได้บำเพ็ญกุศลเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสนี้ การให้อภัยทานถือว่าเป็นกุศลอย่างหนึ่ง นอกจากรัฐบาลจะได้ดำเนินการเพื่อให้มีการให้อภัยโทษแก่นักโทษทั้งหลายทั่ว ราชอาณาจักรโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเป็นการให้อภัยทานในโอกาสนี้แล้ว รัฐบาลเห็นว่าความผิดฐานกบฏจลาจลนั้น เป็นความผิดที่มุ่งร้ายต่อรัฐบาลหรือเกี่ยวกับการปกครองของรัฐบาล จึงน่าจะให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นการระงับเวรด้วยการไม่จองเวรตามพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย ให้นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐาน กบฏหรือจลาจล เฉพาะผู้ที่ได้ตัวมาดำเนินคดีหรือผู้กระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องจากการกระทำ ป้องกัน ระงับหรือปราบ ปรามกบฏหรือจลาจล หรือการพยายามหรือการตระเตรียมกระทำการดังกล่าว และให้ได้รับสิทธิบางประการที่สูญ เสียไป เพื่อให้ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในครั้งนี้ได้ระลึกถึงพระรัตนตรัย และปฏิบัติตนอยู่ในหลักพระธรรมซึ่งจะเป็น ผลดีแก่ตนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม ในการนี้จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ขึ้นใช้บังคับต่อไป

0 0 0 0 0

โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2