WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 21, 2011

อนุรักษ์นิยม หรือ เสรีนิยม: ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง สมองและพันธุกรรม

ที่มา ประชาไท

แม้งานวิจัยหลายชิ้นจะพบว่าการทำงานในส่วนที่ต่างกันของสมองมีผลต่อ ทัศนคติทางการเมืองว่าจะเอียงไปในทางอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยม แต่นักวิจัยก็เตือนว่าผลอาจเป็นไปในทางย้อนกลับคือการมีทัศนคติทางการเมือง ไปกระตุ้นการทำงานของสมอง ขณะเดียวกันก็ชี้ว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์มีผลไม่แพ้เรื่องสภาพแวดล้อม สมอง และพันธุกรรม

18 ธ.ค. 2011 - เว็บไซต์ Livescience รายงานว่า ผลสำรวจล่าสุดจากนักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาพบว่าปัจจัยด้านสมองมีส่วนต่อทัศนคติทางการเมืองของคนที่เป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม รวมถึงการเลือกสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างเดโมแครทและริพับลิกันในสหรัฐฯ ด้วย

"จากการพิสูจน์แสดงให้เห้นแนวโน้มว่า ส่วนการทำงานของสมองมีความเกี่ยวข้องเชิงชีววิทยาต่อทัศนคติทางการเมือง" ดาเรน ชรีเบอร์ ศาตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าว

ทีมนักวิจัยบอกว่า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางการเมืองได้นอกเหนือไปจากส่วนการทำงานของสมองที่มากหรือน้อยแตกต่างกัน เช่น ปัจจัยด้านประสบการณ์ที่มีส่วนอย่างมากในการสร้างอัตลักษณ์ทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดชีวิต หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านฤดูกาลเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว

ขณะเดียวกันก็มีบางคนที่มีทัศนคติทางการเมืองแบบตายตัว การแบ่งขั้วเช่นนี้อาจเป็นการเน้นย้ำถึงความแตกต่างในเชิงชีววิทยาที่มีผลต่อการมองโลก ซึ่งเหตุการณ์และประสบการณ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

"โดยทั่วไปแล้ว คนที่มีความคิดแบบกลางๆ จะสามารถเปลี่ยนข้างไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่งได้ แต่ผมไม่เคยเห็นฝ่ายซ้ายสุดขั้วคนไหนกลายเป็นฝ่ายขวา" มาร์โก เอียโคโบนี ศจ. ด้านจิตเวชและชีวพฤติกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าว

ทัศนคติทางการเมืองเชิงปริมาณ

จากผลสำรวจของ Gallup แสดงให้เห็นว่าจำนวนตัวเลขร้อยละของผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นเสรีนิยม, เป็นกลาง หรือเป็นอนุรักษ์นิยม ยังค่อนข้างคงที่อยู่ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

โดยกลุ่มประชากรชาวเสรีนิยมยังคงอยู่ที่ร้อยละ 20 กลุ่มที่เป็นกลางร้อยละ 37 ส่วนกลุ่มอนุรักษ์นิยมค่อยเพิ่มขึ้นเป็นราวร้อยละ 40 ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา

หากพิจารณาในกลุ่มที่สุดขั้วแล้ว ผู้ที่บอกว่าตัวเองเป็นฝ่ายซ้ายหัวแข็งผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครทมีอยู่ร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับกลุ่มฝ่ายขวาหัวแข็งผู้สนับสนุนพรรคริพับลิกันซึ่งมีอยู่ร้อยละ 21

สมองของคุณสีน้ำเงินหรือแดง

นักวิจัยมีข้อสงสัยมานานแล้วว่า คนเราบางคนจะเกิดมาพร้อมกับระบบทางชีวภาพที่ทำให้มีแนวคิดแบบฝ่ายซ้ายสุดขั้วหรือฝ่ายขวาสุดขั้ว โดยไม่อาจเลือกได้จริงหรือไม่ ชรีเบอร์กล่าวว่า มีงานวิจัยศึกษาสมองของผู้ที่บอกว่าตัวเองเป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมอยู่หลายชิ้นซึ่งก้มักให้ผลคล้ายกัน

ผลที่คล้ายกันสองอย่างแรกคือการที่สมองของนักเสรีนิยมจะมีการทำงานในส่วนของสมองที่เรียกว่าอินซูล่า (insula) และสมองส่วนซินกูเลท คอร์เท็กซ์ส่วนหน้า (anterior cingulate cortex) มากกว่า โดยสมองส่วนอินซูล่าใช้จัดการกับความขัดแย้งของกระบวนการคิด ขณะที่ซินกูเลท คอร์เท็กซ์ส่วนหน้าช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่มีความขัดแย้ง

ขณะที่กลุ่มนักอนุรักษนิยมจะมีการทำงานในส่วนของอมิกดาลา (Amygdala) หรือที่รู้จักกันดีว่า "ศูนย์รับความกลัว" "หากคุณเห็นงูหรือรูปภาพของงู ส่วนของอมิกดาลาจะทำงาน มันเป็นเครื่องตรวจวัดภยันตราย" เอียโคโบนีกล่าว

การวิจัยของอังกฤษเมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็สนับสนุนการศึกษาในอดีตโดยวัดจากภาพโครงสร้างของสมอง ซึ่งเปิดเผยว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ชาวอนุรักษ์นิยมจะมีขนาดสมองส่วนอมิกดาลาใหญ่กว่า ซึ่งบ่งบอกถึงการใช้งานจากระบบประสาทในส่วนนี้มากกว่า ขณะที่ชาวเสรีนิยมจะมีส่วนซินกูเลท คอร์เท็กซ์ส่วนหน้าใหญ่กว่า

เมื่อพิจารณางานวิจัยเหล่านี้ร่วมกันแล้ว ทำให้ประเมินได้ว่าชาวเสรีนิยมสามารถทนต่อสภาวะไม่มั่นคงได้ง่ายกว่า ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบนโยบายแบบเทาๆ ในสหรัฐฯ กลุ่มคนเหล่านี้มักจะเป็นพวกสนับสนุนให้มีทางเลือกในการทำแท็ง (pro-choice) และมีความโอนอ่อนต่อผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย

ขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็มีแนวคิดในการมองแบบคู่ตรงข้ามระหว่างสิ่งที่เป็นอันตรายกับสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย และจุดยืนพื้นฐานเช่นนี้ก็ขยายไปสู่จุดยืนทางการเมืองเช่น การเป็นฝ่ายต่อต้านการทำแท็ง สนับสนุนให้เด็กเกิดมา (pro-life) และมีความเข้มงวดต่อกรณีผู้อพยพมากกว่า

อย่างไรก็ตามชรีเบอร์เตือนว่า การเน้นย้ำทัศนคติทางการเมืองชนิดใดชนิดหนึ่งอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสมองได้ แทนที่สมองจะเป็นฝ่ายกำหนดทัศนคติ

ชรีเบอร์คิดว่า มันง่ายเกินไปกับการโยงเรื่องทัศนคติทางการเมืองกับรูปแบบและการทำงานของสมอง และมันยังไม่เพียงพอจะพิสูจน์แนวคิดที่ว่าคนเราจะยึดติดกับแนวคิดทางการเมืองอย่างตายตัว

การเมืองที่สืบทอดผ่านพันธุกรรม

มีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมหลายชิ้นที่บ่งบอกว่าทัศนคติทางการเมืองถูกสร้างขึ้นมาจากประสบการณ์มากกว่าสร้างมาโดยกำเนิด

ชรีเบอร์เปิดเผยว่า เมื่อนำงานวิจัยจากหลายประเทศมาพิจารณาเชื่อมโยงกันแล้ว พบว่าตัวอย่างร้อยละ 40 มีการถ่ายทอดเรื่องแนวคิดทางการเมืองผ่านทางพันธุกรรม หมายความว่า พ่อและแม่ต่างก็ถ่ายทอดยีนส์มาสู่ลูกได้

แม้ว่าตัวเลขร้อยละ 40 จะถือว่ามีนัยสำคัญ แต่ก็ยังมีอีกมากกว่าครึ่งที่แนวคิดทางการเมืองมาจากอิทธิพลของการใช้ชีวิต และไม่ได้มาจากลักษณะฌแพาะตัวของคนๆ นั้น เช่นความสูงและสีตา

ชรีเบอร์กล่าวสรุปว่า อัตลักษณ์ทางการเมืองไม่ได้เป็นเรื่องของพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อม แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

การเมืองตั้งแต่ในครรภ์

งานศึกษาเหล่านี้พิสูจน์ได้อย่างมากว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมือง มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับเหล่าสัตว์ตระกูลไพรเมท (สัตว์จำพวกลิง) ที่เป็นญาติใกล้เคียงกับมนุษย์พบว่า สิ่งที่เป็นพลังเบื้องหลังวิวัฒนาการทางสมองของพวกเรา คือการขัดเกลาทางสังคม

ลิงส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มทางสังคม มีการร่วมเป็นพันธมิตรและแตกแยกกันผ่านทางพฤติดรรมที่ซับซ้อนจำพวกการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและการหลอกลวง

"หลักฐานชี้ว่าสาเหตุที่พวกเรามีสมองอย่างมนุษย์ในทุกวันนี้ก้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองพวกนี้" ชรีเบอร์กล่าว "และเมื่อเรามีกลุ่มทางสังคมที่ซับซ้อนขึ้น พวกเราก็ต้องการมวลสมองมากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ ในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงการรวมกลุ่ม"

การรวมกลุ่มที่ว่านี้หมายรวมถึงพรรคการเมืองใหญ่ด้วย ความภักดีต่อพรรคการเมืองใดหรือการไม่เลือกพรรคใดเลยก็ตาม เป็นสิ่งที่แปรปรวนและเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

เมื่อเดือนที่แล้ว Gallup ได้ทำการสำรวจโพลล์พบว่ากลุ่มประชากรที่เรียกตัวเองกว่าเป็นเด โมแครท, ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และริพับลิกันมีอยู่ร้อยละ 36, 35 และ 27 ตามลำดับ เมือย้อนกลับไปในเดือน ส.ค. ตัวเลขผลสำรวจกลับเป็นร้อยละ 28, 44 และ 26 ตามลำดับ

การไหลเวียนของจำนวนตัวเลขนี้เป็นเรื่องเข้าใจได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลานานไปตำแหน่งของพรรคการเมืองและความนิยมของสมาชิกสำคัญในพรรคนั้นๆ ก็เสื่อมลงไปด้วย "การเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา" ชรีเบอร์กล่าว

ที่มา

Life's Extremes: Democrat vs. Republican, 18-12-2011, Adam Hadhazy, Livescience
http://www.livescience.com/17534-life-extremes-democrat-republican.html