WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 23, 2011

ประชาธรรม: 6 ทศวรรษกับการเปลี่ยนแปลงสังคมชาวนาภาคเหนือ

ที่มา Thai E-News

23 ธันวาคม 2554
ที่มา สำนักข่าวประชาธรรม




เมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเวทีเสวนาวิชาการ "6 ทศวรรษ กับการเปลี่ยนแปลงในสังคมท้องถิ่นล้านนา" เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง โดยมีนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปเข้ารับฟังเสวนาครั้งนี้อย่างคับคั่ง



สำนัก ข่าวประชาธรรม ขอนำเสนอการอภิปรายหัวข้อ "6 ทศวรรษการเปลี่ยนแปลงในสังคมชาวนาภาคเหนือ" นำอภิปรายโดย ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ และ รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

"เกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของชนชั้น คนในชนบทส่วนใหญ่ไม่ใช่เกษตรกร แต่คนกรุงเทพ ยังมองชนบทเป็นตาสีตาสาแบบเดิม ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงเราต้องมาทำความเข้าใจชนบทใหม่หมด"


ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ

ประเด็น แรก การทำความเข้าใจชนบท โดยทั่วไปจะเป็นการเขียนภาพสังคมชาวนาที่หยุดนิ่ง เพราะมันเป็นปัญหาเชิงทฤษฎี เพราะฉะนั้นภาพของอดีตจึงไม่จริง ปัญหาอีกส่วนหนึ่งของปัญหามุมมองของวิวัฒนาการสายเดี่ยว ไม่ว่าจะเป็นมาร์กซิส หรือทันสมัย พวกนี้จะมองหรือถามคำถามคล้าย ๆ กันคือเมื่อไหร่ชาวนาจะหมดไป วิธีคิดของ redfield ก็จะมองว่าชนบทจะสูญหายไป เมืองจะกดทับ แต่ในความเป็นจริง ชนบทกับเมืองจะวิ่งเข้าหากัน และสัมพัทธ์กัน และคนจะมองชาวนา มองที่ดิน แรงงาน และผลิต มุมมองแบบนี้ก็ไม่มองไปถึงเรื่องการบริโภค ไม่ได้มองชาวนาในมิติอื่น ๆ คิดแต่ว่าจะผลิตไปจนตาย ซึ่งมุมมองเหล่านี้เป็นปัญหาเชิงทฤษฎี ซึ่งเราต้องการมุมมองที่กว้างกว่านี้ในการมองการเปลี่ยนแปลง อีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่มาพร้อมกับการพัฒนา เพราะเมืองไทยตกอยู่ภายใต้การพัฒนาแบบตะวันตก แบบไม่สมดุลระหว่างเมืองกับชนบท ภายใต้ทิศทางแบบนี้ เราจะเห็นว่าชนบทกับเมืองจะถอยห่างออกจากกันไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้การ เปลี่ยนแปลงของการพัฒนายังเจอกับสงครามเย็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 ทำให้ชนบทเป็นเป้าหมาย ทำอยางไรไม่ให้อุดมกาณ์คอมมิวนิสต์ไม่แพร่กระจายในชนบท ช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาเอเชียอยู่ภายใต้เผด็จการทั้งสิ้น ล้วนแล้วแต่เป็นทหาร ปัญหาการพัฒนาสมัยสฤษดิ์ มีแผนพัฒนาฉบับที่ 1 จอมพลสฤษดิ์สั่งพระห้ามเทศน์เรื่องสันโดษ เพราะจะไม่เกิดการพัฒนา

การพัฒนาแบบนี้ทำให้เกิดเมืองโตเดี่ยว

อีก ส่วนที่เป็นปัญหาของการพัฒนาเมื่อเกษตรถูกออกแบบอุ้มอุตสาหกรรม และการทุ่มให้กับเมือง โดยเฉพาะ กรุงเทพ สภาวะล้มละลายของภาคเกษตร ไม่เฉพาะเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องการเมืองด้วย

รายได้จากภาคเกษตรลดลง อย่างต่อเนื่อง รายได้ส่วนใหญ่มาจากนอกภาคเกษตร นอกจากนี้ธรรมชาติก็ป่นปี้ ป่าจารีตก็ค่อยๆ ลดลง ประเด็นปัญหาการพัฒนาทำให้ชนบทอ่อนแอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านไม่ปรับตัว ความเป็นจริง ชาวบ้านปรับตัวมาตลอด เช่นการส่งลูกเรียน เพราะเขาต้องการไปให้พ้นจากการผลิตภาคเกษตร ชาวบ้านต้องการไปสู่เศรษฐกิจทุนนิยม เพราะฉะนั้นปัญหาการพัฒนาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชนชั้น แต่เดี๋ยวนี้คนในชนบท ส่วนใหญ่ไม่ใช่เกษตรกร แต่คนกรุงเทพ ยังมองชนบทเป็นตาสีตาสาแบบเดิม ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงเราต้องมาทำความเข้าใจชนบทใหม่หมด คนที่เคยเรียกว่าชาวนา กลายเป็นผู้ประกอบการ นักลงทุน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทำให้โครงสร้างชนบทมีความซับซ้อนมากขึ้น

คนเหล่านี้เป็นหัวคะแนนทาง การเมืองเป็นส่วนใหญ่ คนจนจริงๆ ไม่ค่อยได้อานิสงส์จากนโยบายเท่าไหร่ คนที่ได้ประโยชน์คือชนชั้นผู้ประกอบการ คนพวกนี้สนใจการเมือง เขาสนใจว่าเลือกพรรคนี้แล้วได้อะไร ภาพที่เราเห็นคือว่าการเมืองไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน การบริหารจัดการต้องปฏิรูปใหม่หมด ให้ทันกับชนบท ระบบแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป การกระจายอำนาจก็ไม่ใช่ อำนาจอยู่ตรงกลางแล้วกระจายมาให้ มันไม่ใช่ อำนาจมาจากรากหญ้า มันบอกกับเราว่าระบบตุลาการ ระบบราชการต้องปรับตัว

กรณีน้ำท่วม มันมีปรากฎการณ์ว่าชาวบ้านไปรื้อกระสอบทราย คนจะบอกว่ามันเป็นลัทธิเอาอย่าง แต่ความเป็นจริงคือชาวบ้านไม่มีข้อมูล ไม่มีเวทีให้ชาวบ้าน จึงต้องมีการชุมนุมเรียกร้อง เพื่อให้มีคนฟัง เพราะฉะนั้นปรากฏการณ์แบบเดิม ๆ รัฐราชการ ทหาร อำนาจครอบงำแบบนี้ใช้ไม่ได้อีกต่อไป

ประเด็นเดิมๆ ที่เคยพูดเรื่องการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการท้องถิ่น ไม่เพียงพออีกต่อไป เราต้องการหลักการใหม่ ดังนั้น งานวิชาการจึงมีความสำคัญ แค่มาจากการเลือกตั้งก็ยังไม่พอ เราต้องตั้งกติกาใหม่ที่เอื้อให้คนปรับตัว ปรับคุณภาพชีวิต วิธีคิดแบบเก่าๆ กฎหมายแบบเก่าๆ ก็ต้องเปลี่ยน เราต้องการทางเลือกในการจัดองค์กรทางสังคม ต้องการเวทีในการพูดคุยในระดับต่างๆ สิ่งที่ต้องการมากๆ คือการบริหารจัดการความขัดแย้ง เนื่องจากสังคมที่เปลี่ยนแปลง เราก็ต้องการสิ่งที่บริหารจัดการความขัดแย้งมากขึ้น.

"ความเปลี่ยน แปลงในชนบทก็ทำให้คนเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ ทำให้คนตั้งคำถามใหม่กับการกระบวนทัศน์หรือพล็อตประวัติศาสตร์ชนบทแบบเดิม ผมพบว่าสิ่งที่น่าสนใจคือหนังสือสีแดงเริ่มต้นอธิบายประวัติศาสตร์ของเขา ใหม่ เริ่มพูดถึงชีวิตที่ผ่านมา"


รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

เราจะมองการเปลี่ยนแปลงในชนบท เราจะมองอะไรบ้างที่จะบอกว่า ทำไมต้องแช่แข็งอดีตเพื่อจรรโลงอะไรไว้

ดัง นั้นเราจะพบว่าภาพชนบทแบบเดิมที่เราคิดว่าไม่มี แต่กลับฝังแน่นในสังคมไทย ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดของภาพชนบทแบบเดิมคือภาพ สคส. ซึ่งถูกสร้างขึ้นมา ถ้าหากเราจะรบ หรือสู้การเมืองของประวัติศาสตร์ชนบท ไม่ใช่แค่รบวันนี้ เราต้องสู้กับพล๊อตประวัติศาสตร์ชนบทเดิมนี้

ผมเสนอว่าถ้าเราจะคิด เรื่องการมองหาอนาคตใหม่ เราต้องเปลี่ยนพล๊อตของประวัติศาสตร์ชนบทใหม่ เสนอว่าภาพชนบทใน 6 ทศวรรษ สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกเป็นช่วงยากแค้นรอบด้าน เราไม่มีอะไรเลย อันนี้เป็นพล๊อตแบบชนบทดีงาม และทุนนิยมมารังแก ช่วงที่ สอง คนพยายามหาทางออกจากชีวิตที่เจ็บปวด ทำให้พี่น้องกระโดดมาสู่การผลิตเพื่อขาย ช่วงนี้เกิดตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา เป็นสังคมที่ผลิตเพื่อขาย และช่วงที่สาม เป็นช่วงละทิ้งสังคมชาวนา คนทำนาเป็นผู้จัดการนา

ยุคสามยุค จะอธิบายชาวบ้านอีกแบบหนึ่ง ในกระบวนการเปลี่ยนเป็นสังคมแบบใหม่เกิดการจับกลุ่มแบบใหม่ มีความเสมอภาคมากขึ้นในชนบท บางกลุ่มเป็นกลุ่มที่รัฐจัดตั้ง และเป็นฐานเสียงของพรรคการเมือง ดังนั้นในสังคมชนบทไทยเป็นสังคมอีกแบบหนึ่ง อาจจะเรียกว่ามีความเป็นประชาธิปไตยกว่าในเมือง เพราะมีกลุ่มสังคมที่หลากหลายมากขึ้น และมีความสัมพันธ์แบบเสมอภาคกัน

พล๊อต แบบใหม่จะเข้าไปท้าทาย และช่วงชิงอำนาจได้อย่างไร แล้วพล๊อตแบบเดิม แบบสังคมชนบทน่ารัก พล๊อตแบบนี้มันอยู่อย่างไร มีความสัมพันธ์ทางอำนาจอย่างไร เพราะถ้าใครควบคุมอดีตได้ ก็ควบคุมปัจจุบัน และอนาคตได้ หลังปี 2520 มีการเปลี่ยนแปลงมาก กอ.รมน.พยายามจะเข้าไปควบคุมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่พูดถึงฮีโร่ของทองถิ่น รัฐเข้าไปควบคุมประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะควบคุมปัจจุบัน หลังจากนี้ กลุ่มเอ็นจีโอก็มีส่วนอย่างมากในการเข้าไปควบคุมสังคมชนบทที่น่ารัก การยึดเอาวัฒนธรรมชุมชน

การควบคุมประวัติศาสตร์ พร้อมๆ กับการขยายตัวของรัฐ และบทบาทของสถาบันกษัตรย์ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม เมตตาธรรม การขยายตัวของมหาดไทย เป็นการขยายตัวเข้าไปควบคุมชนบท ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงเป็นการเมืองโดยแท้ ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าองค์อธิปัตย์ เป็นผู้ควบคุมความเที่ยงธรรม การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดปรากฎการณ์ที่อยู่นอกเหนือความคิดเดิม

ความ เปลี่ยนแปลงในชนบทก็ทำให้คนเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ ทำให้คนตั้งคำถามใหม่กับการกระบวนทัศน์หรือพล็อตประวัติศาสตร์ชนบทแบบเดิม ผมพบว่าสิ่งที่น่าสนใจคือหนังสือสีแดงเริ่มต้นอธิบายประวัติศาสตร์ของเขา ใหม่ เริ่มพูดถึงชีวิตที่ผ่านมา เขาเดือดร้อนอะไร ดังนั้นเริ่มมีการท้าชิงประวัติศาสตร์ชนบทกันแล้ว ถ้าจะถามว่าวงการประวัติศาสตร์จะเป็นอยางไร ก็ต้องเคลื่อนที่ การศึกษาประวัติศาสตร์เชิงขนบ ถ้าเราปรับตัวไม่ทันก็จะเกิดความขัดแย้งมากขึ้น การเมืองประวัติศาสตร์ชนบทกำลังเปลี่ยนความเข้าใจอย่างหนัก เพื่อที่จะสร้างพล๊อตใหม่ สิ่งที่เราต้องคิดกันในวันนี้คือการเขียนประวัติศาสตร์ในช่วงต่อไปนี้น่าจะ มีความหลากหลาย เพื่อทำประวัติศาสตร์กระแสหลักที่ครอบงำสังคมลดลง เพื่อคืนอำนาจให้กับเสรีชน

สุดท้ายนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาไม่ ใช่แค่โครงสร้างอยุติธรรม และเรากำลังเผชิญกับระบบอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่มีความหลากหลายมากขึ้น ที่คนมีอำนาจนำไม่สามารถควบคุมความหลากหลายได้ เราต้องทำให้เกิดการยอมรับความหลากหลายเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน