WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 21, 2011

TDRI: อนาคตสังคมสูงอายุไทยยังน่าห่วง

ที่มา ประชาไท

ผล วิจัยระบุไทยยังตื่นตัวช้ารับสังคมสูงอายุ แนะรัฐยังมีโอกาสรับมือและได้ประโยชน์จากสังคมสูงอายุระยะเริ่มต้น ผลวิจัยพบคนไทยทั้งในเมืองและชนบทมีช่วงอายุพึ่งตนเองได้น้อยลง เตือนวัยแรงงานทำใจยอมรับต้องทำงานยาวนานขึ้นและ เก็บออมพร้อม “แก่”อย่างมีคุณภาพ ลดภาระลูกหลานที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุสัดส่วน 1.6 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน ในอีก 30 ปีข้างหน้า

อีกเรื่องน่าวิตกสำหรับวัย แรงงานไทยในปัจจุบันที่อยู่ในภาวะทำงานหนัก ออมต่ำ ไม่มีจะออม และในอีก 10-20-30 ปีข้างหน้าก็จะกลายเป็นผู้สูงอายุ ในสังคมที่มีสัดส่วนประชากรแต่ละวัยไม่แตกต่างกันมาก วัยแรงงานจะแบกภาระหนักดูแลเด็ก คนแก่ แนวโน้มจึงพึ่งได้น้อยลง การใช้ชีวิตช่วงสูงวัยหลังเกษียณไปจนตลอดชีวิตซึ่งอาจอายุยืนเป็นร้อยปี จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า

แต่...น่าเสียดายที่ทั้งภาครัฐและตัวแรงงานยังตื่นตัวช้า ทั้งที่มีโอกาสสร้างคุณค่า ตักตวงประโยชน์จากสังคมสูงอายุที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้น จะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะการเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่สามารถทำให้เกิดผลดีได้ ถ้ามีการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ ด้านการบริโภค การทำงาน รายได้ การออม และการลงทุน

ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วตั้งแต่ปี 2553 มีผู้สูงอายุ 8.01 ล้านคนจากประชากร 67.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.9 มีการเตรียมพร้อมผู้สูงอายุมานาน ทั้งในด้านงานวิจัย การวางแผน การออกกฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ แต่ยังไม่ครอบคลุมด้านเศรษฐศาสตร์จึงจะถือว่าครบถ้วน นักเศรษฐศาสตร์ประชากร กว่า 30 ประเทศทั่วโลก จึงพัฒนาบัญชีรายได้ประชาชาติที่แสดงให้เห็นรายได้ รายจ่ายด้านต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของประชากรในระดับประเทศ เรียกว่า “บัญชีเงินโอนประชาชาติ” (National Transfer Accounts: NTA)ที่มีการวัดรายละเอียดด้านประชากรโดยเฉพาะรายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อการบริโภค และการโอนเงินระหว่างวัยต่างๆตั้งแต่เด็กจนกระทั่งสูงอายุอย่างเป็นระบบ ทำให้เห็นวงจรชีวิตทางเศรษฐกิจและระบบการถ่ายโอนทรัพยากรเพื่อเกื้อหนุนกัน ระหว่างวัยต่างๆ ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับวางแผนเตรียมความพร้อมบริหารจัดการ สังคมผู้สูงอายุ

สำหรับประเทศไทยมีการพัฒนาและสร้างบัญชีการโอนประชาชาติขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันทำภายใต้ชื่อโครงการ “Intergenerational Transfers. Population Aging and Social Protection in Asia” โดยมีประเทศเข้าร่วม 5 ชาติ คือ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าประเทศอื่นในเอเชีย เมื่อเทียบกับสัดส่วนของรายได้จากการทำงาน และหากค่าใช้จ่ายสุขภาพเท่ากันแต่รายได้ไทยจะต่ำกว่า ก็อาจตีความได้ในลักษณะที่ว่าเป็นการ “ทำมาหาเลี้ยงหมอกับโรงพยาบาล เพราะเงินที่หาได้จะใช้จ่ายหมดไปกับเรื่องสุขภาพในวัยสูงอายุ”

นอกจากนี้ อีก 10 ปี เราจะมีเด็กกับผู้สูงอายุในสัดส่วนเท่ากันประมาณ 12 ล้านคนและในระยะยาวจำนวนผู้สูงอายุก็จะมากกว่าจำนวนเด็ก วัยแรงงานเริ่มลดลง เป็นโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงอายุประชากรที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทยต้องเตรียมการรองรับ รวมทั้งเพิ่มคุณภาพการลงทุนมนุษย์และกระตุ้นการออมของวัยแรงงาน สร้างหลักประกันยามแก่ และขอย้ำว่าผลการศึกษาของโครงการนี้ โดยทั่วไปชี้ว่าการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากมีการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ

ล่าสุดมีการศึกษาบัญชีเงินโอนประชาชาติสำหรับประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่างในเมืองและชนบท โดย ดร.มัทนา พนานิรามัย ซึ่งกล่าวว่า การสร้าง NTA ในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นการสร้างบัญชีระดับประเทศ แต่เนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและชนบทในประเทศไทยค่อนข้างมาก จึงต้องการสร้างบัญชีจำแนกตามประชากรในเขตเมืองและเขตชนบท เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับและแบบแผนของรายได้จากแรงงาน การบริโภค และระบบการเกื้อหนุนของประชากรสองกลุ่มนี้ ในแต่ละช่วงอายุตั้งแต่ 0-24 ปี 25-29 ปี และ 60 ปีขึ้นไป

ผลการศึกษาพบข้อเท็จจริง ที่ว่า ในภาพรวม คนในเมืองและคนในชนบทมีการบริโภคแตกต่างกัน โดยในเขตเมืองบริโภคเฉลี่ยประมาณ 103,137 บาทต่อคนต่อปี ในเขตชนบทบริโภคเฉลี่ย 67,456 บาทต่อคนต่อปี คนชนบทใช้จ่ายน้อยกว่าคนเมืองร้อยละ 35 35 มีความแตกต่างมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ใช้จ่ายต่ำกว่าถึงร้อยละ 42 การลงทุนของรัฐด้านการศึกษาและสุขภาพช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำคน เมืองและชนบทได้มากพอสมควร แต่ด้านสุขภาพก็ยังน้อยกว่าการศึกษา โดยสามารถลดความแตกต่างของการบริโภคด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุลงเพียงร้อย ละ 8 8

เมื่อดูเงินที่นำมาใช้จ่ายพบว่า ประชากรวัย 0-24 ปี ส่วนมากที่สุดได้จากการจุนเจือของผู้อื่นที่ให้ผ่านครอบครัวและผ่านรัฐบาล บางส่วนได้รับจากการทำงานบ้างแต่ก็น้อยกว่ามาก ผู้ใหญ่มีรายได้จากการทำงานมากกว่าร้อยละ 80 ที่เหลือเป็นรายได้จากสินทรัพย์ ผู้สูงอายุมีรายได้จากหลายแหล่งรวมกัน ผู้สูงอายุในเมือง มีรายได้จากการทำงาน จากสินทรัพย์ และจากการจุนเจือทางครอบครัวใกล้เคียงกัน ผู้สูงอายุในชนบท ต้องพึ่งรายได้จากการทำงานและจากสินทรัพย์มากกว่าจากการจุนเจือจากครอบครัว

รายได้ที่มีถูกใช้ไปอย่างไร ปรากฏว่า คนวัย 25-59 ปี ในเมืองใช้รายได้ร้อยละ 52 เพื่อการบริโภคของตนเอง จุนเจือผู้อื่นผ่านครอบครัวร้อยละ 37 และจุนเจือผู้อื่นผ่านกลไกของรัฐบาลอีกร้อยละ 12 เพราะคนวัยนี้ต้องเสียภาษีมากกว่าบริการที่ได้รับจากรัฐบาล คนชนบทวัยนี้ก็จัดสรรรายได้คล้ายๆ กัน แต่เนื่องจากมีรายได้น้อยกว่า ดังนั้นโดยเฉลี่ยต้องใช้ถึงร้อยละ 77 ของรายได้เพื่อการบริโภคของตนเอง ทำให้เหลือจุนเจือผู้อื่นได้ไม่มากนัก นอกจากคนวัยนี้แล้ว รายได้ของคนกลุ่มอื่นๆ ส่วนมากหมดไปกับการบริโภค มีเพียงคนเริ่มทำงานในเมืองเท่านั้นที่พอจะหาเงินจากการทำงานได้มากพอที่จะ สะสมสินทรัพย์เพิ่ม เป็นที่น่าสังเกตคือผู้สูงอายุในเมืองเป็นผู้ให้การจุนเจือสังคมสุทธิผ่าน กลไกของรัฐบาล เพราะผู้สูงอายุในเมืองก็ยังเสียภาษีมากกว่าส่วนที่ได้รับจากรัฐบาล

ข้อมูลเหล่านี้แสดงว่าโดย เฉลี่ยแล้วประชากรในชนบททุกกลุ่มอายุมีรายได้จากการจัดสรรสินทรัพย์ โดยแทบไม่มีการออมเพิ่ม แต่ใช้รายได้จากสินทรัพย์เดิม การก่อหนี้หรือลดการถือครองสินทรัพย์เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนประชากรในเขตเมือง มีกลุ่มเริ่มทำงานที่สามารถออมสุทธิเพิ่มได้บ้าง แต่ประชากรอีก 2 กลุ่มต้องอาศัยรายได้จากการจัดสรรสินทรัพย์เช่นกัน ดังนั้นความเชื่อที่ว่าผู้สูงอายุในชนบทได้รับการเกื้อหนุนจากครอบครัวเป็น หลักนั้นไม่เป็นจริง ในข้อเท็จจริงยังพบว่าบุตรส่วนมากยังมีการให้การเกื้อหนุนผู้สูงอายุอยู่ แต่อาจด้วยข้อจำกัดของรายได้ เงินที่ให้การเกื้อหนุนจึงค่อนข้างต่ำและไม่เพียงพอ แต่ที่แปลกใจคือ พบว่าทั้งคนในเมืองและในชนบทมีช่วงวัยที่พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจค่อนข้างสั้น คือ คนเมืองระหว่างช่วงอายุ 26-62 ปี คนชนบทระหว่างช่วงอายุ 31-55 ช่วงก่อนและหลังต้องอาศัยการจุนเจือจากผู้อื่นมาเพิ่มเติม

โดยสรุปจะเห็นว่า มีความแตกต่างระหว่างการบริโภคและรายได้ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท ซึ่งความจริงย่อมเป็นเช่นนั้น แต่มีความมีความแตกต่างมากในกลุ่มผู้สูงอายุ รายจ่ายภาครัฐด้านการศึกษาและสุขภาพมีส่วนช่วยทำให้ช่องว่างในการลงทุน ทรัพยากรมนุษย์ลดลง แต่สิ่งที่พบมากกว่านั้นและเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลคือ การเกื้อหนุนจากครอบครัวไม่ใช่แหล่งสำคัญที่สุดของผู้สูงอายุอีกต่อไป ผู้สูงอายุทั้งในเมืองและในชนบทต้องพึ่งการทำงานของตัวเองและต้องพึ่งรายได้ จากสินทรัพย์ของตัวเองมากขึ้น แต่ปัญหาก็คือคนจำนวนมากในปัจจุบันนั้น “ออมเพิ่มได้ยาก” นี่คือปัญหาที่ท้าทาย เมื่อในอนาคตอันใกล้สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแล้วจะเกื้อหนุนกันอย่างไร

ดร.มัทนา กล่าวว่า ถ้าดูภาระต่อการดูแลผู้สูงอายุ ในปี ค.ศ.2009 มีสัดส่วนวัยแรงงานที่สามารถเกื้อหนุนการดูแลผู้สูงอายุได้โดยเฉลี่ย วัยแรงงาน 4 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นวัยแรงงาน 1.6 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน คนทำงานในปัจจุบันจึงต้องตระหนักและทำใจยอมรับการทำงานที่ยาวนานขึ้น รวมทั้งต้องเก็บออมให้เพียงพอต่อการใช้ตลอดชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งรัฐบาลต้องส่งเสริมการออมให้มากขึ้น รัฐบาลควรพัฒนารูปแบบการออมที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย โดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ ความยั่งยืน และเพียงพอสำหรับการเป็นหลักประกันยามสูงอายุ

นอกจากนี้เมื่อดูความแตกต่างของรายได้และรายจ่ายระหว่างเพศชายและเพศหญิง ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเพศโดย ดร.นงนุช สุนทรชวการ ผล การศึกษาเบื้องต้นพบว่า เพศหญิงมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเพศชาย ทั้งส่วนที่จ่ายเองและรัฐจ่าย ในวัยเด็กไม่มีความแตกต่างกันมากแต่จะแตกต่างกันมากในวัยสูงอายุ โดยเพศหญิงมีค่าใช้จ่ายสุขภาพมากกว่าเพศชายตลอดทุกช่วงอายุ และเป็นค่าใช้จ่ายแฝง(จ่ายเอง)มากกว่าชายถึง 3 เท่า ขณะที่เพศชายมีรายได้มากกว่าเพศหญิงในช่วงวัยทำงาน

ดร.สราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพผู้สูงอายุไทยในปัจจุบันคือ เรามีผู้สูงอายุที่ยังทำงานหลังวัยเกษียณประมาณ 8.1 ล้านคน และเป็นผู้สูงอายุในชนบทมากกว่าในเมือง ผู้สูงอายุไทยร้อยละ 37.8 มีรายได้จากการทำงาน แต่รายได้รวมต่ำกว่ารายจ่ายเพื่อการบริโภค โดยเฉลี่ยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)มีรายจ่ายบริโภคสูงกว่ารายได้จากแรงงานประมาณ 30,600 บาทต่อคนต่อปี และมีการใช้จ่ายด้านสุขภาพในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย ผู้สูงอายุไทย 68.7% มีการออมในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่งมีมูลค่าการออมประมาณต่ำกว่า 50,000 บาท

ข้อเสนอแนะด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อชะลอการลดลงของอัตราการเกื้อหนุน และให้สังคมผู้สูงอายุมีผลดีต่อประเทศ จึงควรดำเนินการให้มีการบริโภคอย่างฉลาดและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมให้มีรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้ทำงานในระบบมากขึ้นและได้รับการคุ้มครองแรงงานเพื่อให้ผู้สูง อายุมีงานทำ มีรายได้ และมีการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อชราภาพมากขึ้น โดยให้มีเงินออมเพียงพอต่อการดำรงชีพเมื่อไม่ได้ทำงานหรือทำงานไม่ได้ เป็นต้น