WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 21, 2011

ผู้บริโภคเตือน ตั้งสติ ก่อนแก้ กม.ทรัพย์สินปัญญาเอาใจสหรัฐฯ

ที่มา ประชาไท

เครือข่ายผู้บริโภคจับมือเครือข่ายผู้ป่วย เตือนสติ รัฐมนตรี ‘ลูกยอด’ แนะต้องแก้กฎหมายเพื่อการเข้าถึงความรู้ และเพื่อการเข้าถึงยาของคนไทยเสียก่อน

20 ธ.ค.54 จากการที่ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ กำลังเร่งผลักดันการยกร่างและแก้กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อย่างเร่งด่วน จำนวน 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับการบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์, พ.ร .บ.ลิขสิทธิ์ และกฎหมายเอาผิดกับผู้ให้เช่าสถานที่ เจ้าของอาคาร และเจ้าของศูนย์การค้า ที่ให้ผู้เช่าสถานที่นำพื้นที่เช่าไปค้าขายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะการผลักดันให้ไทยหลุดพ้นจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็น พิเศษ (PWL)

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับท่าทีที่รุกลี้รุกลนในการเอาใจสหรัฐฯ เพื่อให้ปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) โดยไม่ศึกษา ข้อมูลเลยว่า รัฐบาลที่ผ่านมา นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้เสียค่าโง่ไปไม่น้อยกับการเอาใจสหรัฐฯ แต่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ซึ่งการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนในชาติมากกว่า

“ประเทศไทยติดในบัญชี PWL มา 5 ปี แต่มีงานศึกษาชี้ชัดว่า ไม่ส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจเลย ขณะที่งานวิจัยของเครือข่ายการเข้าถึงความ รู้ (A2K Network) ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2553 ซึ่งมูลนิธิฯร่วมวิจัยด้วยพบว่า เนื้อหาของกฎหมายลิขสิทธิ์ใน 34 ประเทศทั่วโลก พบว่า หลายๆประเทศ รวมทั้งประเทศไทยไม่เคยใช้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการทำให้นักเรียน นักศึกษา หรือเยาวชนทั่วไปได้เข้าถึงข้อมูล ความรู้ซึ่งมีอยู่ในงานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งหลายเลย ขณะที่ในกรณีของประเทศไทยแย่กว่า ได้แค่เกรด C เมื่อดูกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถรักษาสมดุลระหว่างการรักษาผล ประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์และการเข้าถึงข้อมูลความรู้โดยผู้บริโภคได้ดี ที่สุด พูดง่ายๆคือ รั้งอันดับที่ 30 (อันดับที่ 5 จากท้าย) ในขณะที่เพื่อนบ้านของเรา ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ได้อันดับ 5 13 19 และ 20 ตามลำดับ หากจะมีการแก้ไขกฎหมายอย่างเร่งด่วน ควรแก้เพื่อสร้างความสมดุลเรื่องนี้ด้วยไม่ใช่เพื่อเอาใจสหรัฐอย่างเดียวฯ”

ทางด้านนายอนันต์ เมืองมูลไชย สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาเครือข่ายผู้ป่วยและภาคประชาสังคมพยายามหารือกับกรมทรัพย์สินทาง ปัญญามาโดยตลอดให้เร่งแก้ปัญหาคำขอรับสิทธิบัตรในลักษณะไม่มีที่สิ้นสุด (evergreening) ที่มีมากถึงร้อยละ96 ของคำขอรับสิทธิบัตรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งหากไม่มี กลไกพิจารณาที่ดีและรัดกุมพอ ประเทศไทยจะเผชิญกับการผูกขาดของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติที่หนักหน่วงที่สุด

“เราพยายามขอให้ทางกรมฯรับคู่มือที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นไปปฏิบัติเพื่อ ป้องกันสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด, ในการแก้ พ.ร.บ.จะต้องขยายเวลาการคัดค้านไปเป็น 1 ปีจาก 90 วันแทนกฎหมายเดิม, ต้องมี ตัวแทน อย. หรือ สปสช.เข้าไปอยู่ในคณะอนุกรรมการเคมี ในคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อช่วยพิจารณาการให้สิทธิบัตร,ต้องไม่นำคนที่มีผล ประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเป็นคณะกรรมการสิทธิบัตร และที่สำคัญคือ การพัฒนาฐาน ข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่าย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการ ตอบรับใดๆเลย กลับมาเจอข่าวว่ารัฐมนตรีช่วยจะแก้กฎหมายเพื่อเอาใจสหรัฐฯ แต่ไม่ยอมเร่งแก้กฎหมาย-กฎระเบียบและกลไกต่างๆเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาให้กับ ประชาชน ซึ่งรับไม่ได้มากๆ”

ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวเพิ่มว่า ขณะนี้มีงานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงปัญหาของสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด กรมทรัพย์สินฯต้องตอบให้ได้ว่า คู่มือที่กำลังจะประกาศใช้จะแก้ปัญหา evergreening เช่นนี้อย่างไร มีประสิทธิภาพแค่ไหนโดยเฉพาะคำขอเรื่องการใช้และข้อบ่งใช้ที่ 2, สูตรตำรับและส่วนประกอบ, ตำรับยาสูตรผสม และขนาด/ปริมาณการใช้ หากทางกรมฯให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ หรือยังยืนยันจะปล่อยให้เป็นวินิจฉัยของผู้ตรวจสอบเช่นที่ผ่านมา เราคงต้องขอหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นการเร่งด่วน”

ทั้งนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยสิทธิบัตรยาที่จัดเป็นสิทธิบัตรไม่มีที่สิ้นสุด ในประเทศไทยและการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ทางยา ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2543-2553 จำนวน 2,034 ฉบับ พบว่า มีคำขอรับสิทธิบัตร ร้อยละ 96 ที่มีลักษณะอยู่ในเงื่อนไขที่เป็นevergreening patent โดยพบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือ คำขอรับสิทธิบัตร "ข้อบ่งใช้/การใช้" ร้อยละ 73.7 สูตรตำรับและส่วนประกอบ ร้อยละ 36.4 และ Markush Claimร้อยละ 34.7 ซึ่งทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้ทำหนังสือถึงกรม ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนำเสนอผลการวิจัยในฐานะที่เป็นองค์กรร่วมสนับสนุน การวิจัย และมีข้อเสนอแนะให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรจะพิจารณาคู่มือที่คณะผู้วิจัย พัฒนาขึ้นนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรซึ่งกรมฯกำลัง ดำเนินการพัฒนาระบบอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่ง ชาติ