ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
พรรคเพื่อไทย โดยคณะกรรมการติด ตามและตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล (คตร.) ที่มี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค เป็นประธาน จัดทำสมุดปกขาว "2 ปีสอบตก รัฐบาลอภิสิทธิ์" ความหนาทั้งสิ้น 10 หน้า เนื้อหาโดยสรุป ดังนี้
1.ด้านเศรษฐกิจ
การบริหารประเทศ 2 ปีที่ผ่านมา ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในโครงการเศรษฐกิจหลักๆ เช่น โครงการแจกเงิน 2,000 บาท โครงการต้นกล้าอาชีพ โครงการชุมชนพอเพียงที่มีการคอร์รัปชั่นมากมาย
รัฐบาลเน้นการสร้างหนี้ภาครัฐบาล โครง การแจกเงินเพื่อติดสินบนประชาชน ทำให้ประชาชนยากจนลง ขาดโอกาสสร้างฐานะ หวังพึ่งเงินที่รัฐบาลแจก
อีกทั้งเงินที่นำมาแจกเป็นเงินที่กู้มา ประชาชนต้องแบกรับภาระในอนาคต โดยหนี้ภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างมากมายจาก 3.4 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 37 ของจีดีพี เมื่อสิ้นปี เพิ่มเป็น 4.5 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 46 ของจีดีพี ในสิ้นปีཱ
รัฐบาลสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นกว่า 1.1 ล้านล้านบาท การสร้างหนี้เพิ่มขึ้นมากมายในเวลาเพียง 2 ปี จะนำพาระบบเศรษฐกิจของชาติล้มละลายได้เหมือนที่เคยเกิดเมื่อปีཤ
ผลงานด้านเศรษฐกิจยังปรากฏข้อมูลและข้อเท็จจริง ดังนี้
1) ทุจริตอย่างกว้างขวาง ผลสำรวจล่าสุดพบว่าต้องจ่ายกันถึง 25-30% หรือมากกว่านั้น
2) ไทยถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง จากอันดับ 36 มาอยู่ที่ 38 ปีที่แล้วก็ตกจากอันดับ 34 มาอยู่ที่ 36
3) ไทยไม่ได้อยู่ในรายชื่อประเทศที่น่าลงทุนอีกต่อไป
4) ปัญหาค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ กระทบการส่งออก
5) ปัญหามาบตาพุดสร้างความไม่มั่นใจให้นักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่เป็นผู้ลงทุนสูงสุด เหมือนสาเหตุการตายของนักข่าวญี่ปุ่นซึ่งสถานทูตญี่ปุ่นยังค้างคาใจ
6) ปัญหาประมูล 3 จี นายกฯ ไม่เร่งดำเนินการ ยังต่อปากต่อคำกับผู้ให้บริการที่เรียกร้องความยุติธรรม
7) ปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มทะลุเกิน 100 เหรียญ
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชนพบว่าให้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านเศรษฐกิจในรอบ 2 ปีของรัฐบาลอยู่ที่ 3.82 คะแนน
ย้อนกลับไปปีཨ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้คะแนนความพึงพอใจถึง 7.47 คะแนน แสดงถึงความสามารถที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
2.ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
รัฐบาลไร้ความสามารถแก้ปัญหาด้านสังคมและการเพิ่มคุณภาพชีวิต การบริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ผิดพลาด สร้างปัญหาต่างๆ ให้สังคมและคนไทยมากขึ้น ดังนี้
1) ปัญหายาเสพติด แม้รัฐบาลยืนยันว่าเอาจริงเอาจังแต่กลับพบว่าประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น
2) ปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3) ปัญหาผู้มีอิทธิพล ทั้งเรื่องการเรียกค่าคุ้มครอง การดูแลสถานบันเทิง การดูแลวินรถมอเตอร์ไซค์และประจำทาง การข่มขู่คุกคามสุจริตชน การปล่อยเงินกู้ บ่อนการพนัน หวยใต้ดิน การลอบสังหารศัตรูทางการค้า การทำร้ายศัตรูทางการเมือง
4) ปัญหาด้านสังคมและคุณภาพชีวิตอันเกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่ขาดความชัดเจน อาทิ
- นโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังต้องจ่ายเงินให้กับการศึกษาที่เรียกเก็บนอกจากค่าเล่าเรียนอีกหลายรายการ หัวใจของการศึกษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเรียนฟรี แต่อยู่ที่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
- นโยบายแก้หนี้นอกระบบ แม้รัฐบาลอ้างว่าประสบความสำเร็จ ตัวเลขลูกหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 600,000 ราย เข้าโครงการแล้ว 1,000,000 ราย
แต่เมื่อตรวจสอบกับสถาบันการเงินที่รับผิดชอบ คือธนา คารออมสินที่ดำเนินการได้เพียง 90,000 ราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการได้เพียง 300,000 ราย
- นโยบายเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและสังคม พบว่าโครงการจำนวนมากที่กระจายสู่ท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการทุกระดับ ถูกแทรกแซงโดยกลุ่มผลประโยชน์ที่เชื่อว่าประกอบไปด้วยกลุ่มนักการเมือง ข้าราชการและพ่อค้า มีการเรียกรับผลประโยชน์จากงบประมาณ
3.ด้านความมั่นคงของรัฐ
รัฐบาลนี้นอกจากไม่สามารถก่อให้เกิดความมั่นคงภายในแล้ว ยังก่อความไม่มั่นคงเสียเอง ดังนี้
- ล้มเหลวแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งที่รัฐบาลมีฐานเสียงสนับสนุนอย่างมากในภาคใต้ แต่เหตุการณ์ใน 3 จังหวัด ยังคงระดับความรุนแรงทั้งในด้านกว้างและลึก
ปฏิบัติการทางการเมืองและทางกองกำลังของฝ่ายก่อการร้ายขยายพื้นที่จากเขตชนบทเข้าสู่เขตเมืองมากขึ้น
- ใช้กฎหมายความมั่นคงในภาวะฉุกเฉินยาวนานเกินความจำเป็น ทั้งที่สถานการณ์ฉุกเฉินยุติแล้ว เท่ากับว่ารัฐบาลนี้ใช้ข้อยกเว้นมากกว่าบทบัญญัติทั่วไปที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญ
- ทุ่มงบจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่ารัฐบาลชุดใด เหมือนส่งสัญญาณว่าประเทศกำลังมีปัญหาความมั่นคงอย่างรุน แรง แต่อีกด้านหนึ่งถูกมองว่ารัฐบาลอ้างความมั่นคงเพียงเพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์เอาใจฝ่ายทหารซึ่งมีบทบาทจัดตั้งรัฐบาลนี้
- ใช้หน่วยงานความมั่นคงเพื่อประโยชน์ทางการเมืองมากกว่ารักษาความมั่นคงของชาติ
4. ด้านการต่างประเทศ
เป็นยุคที่การต่างประเทศไทยตกต่ำถึงขีดสุด ผิดพลาดตั้งแต่แต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ เป็นรมว.ต่างประเทศ ทั้งที่เป็นผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายปิดสนามบินสุวรรณภูมิ
การต่างประเทศในยุคนี้จึงเป็นการนำประเทศไปใช้ทำลาย ศัตรูทางการเมือง เอาประโยชน์ของพวกพ้องมาก่อนประโยชน์ของชาติ เปลี่ยนมิตรให้เป็นศัตรู ทำให้ภาพลักษณ์และสถานะของประเทศไทยในเวทีโลกตกต่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
รัฐบาลล้มเหลวในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กรณีกัมพูชา จนปัจจุบันความสัมพันธ์ยังไม่ปกติ มีโอกาสเสื่อมลงทุกเมื่อ
กรณีแต่งตั้งพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ที่เกี่ยวพันกับคดี เพชรซาอุฯ เกือบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ ขาดสะบั้น
กรณีนายวิกเตอร์ บูท ที่นายศิริโชค โสภา คนสนิทนายกฯ ใช้อภิสิทธิ์ไปพบในเรือนจำ กระทบสัมพันธ์ไทย-รัสเซียอย่างมาก เพราะรัสเซียเห็นว่ามีการแทรกแซงกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
5.ด้านการเมืองและการส่งเสริมประชาธิปไตย
- จำกัดเสรีภาพ แทรกแซง และปิดกั้นสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้สื่อของรัฐโจมตีฝ่ายตรงข้าม ปิดเว็บไซต์มากกว่า 5 หมื่นเว็บ รวมถึงเลือกปิดเฉพาะสถานีวิทยุชุมชนและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล
- ปฏิบัติต่อประชาชนในลักษณะสองมาตรฐาน
- แก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเอง เปลี่ยนเขตเลือกตั้งเป็นเขตเล็ก ลดส.ส.พื้นที่จาก 400 คน เหลือ 375 คน โดยเพิ่มส.ส.บัญชีรายชื่อจาก 100 คน เป็น 125 คน ให้ตนเองและพรรคร่วมรัฐบาลได้เปรียบเลือกตั้ง
- ทำลายระบบพรรคการเมือง ตั้งรัฐบาลโดยแย่งชิงสมาชิกพรรคการเมืองอื่น แสดงว่าไม่ให้ความสำคัญกับระบบพรรคการเมือง
- ทำให้กระบวนการยุติธรรมเสื่อมเสีย
6.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
- ระบบราชการเสียหาย ถูกทำลายความน่าเชื่อถือจากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงอย่างผิดกฎเกณฑ์และระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติ เช่น กรณีกระทรวงมหาดไทยในเรื่องทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ กรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากเหตุการณ์พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา
- ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง เช่น เลือกปฏิบัติในการสนับสนุนงบลงพื้นที่อย่างไม่เป็นธรรม หรือกรณีมอบสิ่งของที่จัดซื้อโดยงบของรัฐแต่แนบนามบัตรส่วนตัวของนักการเมือง
ใช้งบของหน่วยงานรัฐเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยมีภาพนายกฯ หรือรัฐมนตรีอย่างไม่เหมาะสมหรือจำเป็น เข้าลักษณะเบียดบังงบของรัฐเพื่อโฆษณาตนเอง
- การบริหารงานที่ล้มเหลว ไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อน ตอบสนองประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เช่น โครงการใหญ่ๆ ของกระทรวงคมนาคม พาณิชย์ และมหาดไทย
รวมถึงปัญหาข้อสงสัยการชนะประมูลในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ โดยบริษัทเอกชนบางรายที่มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลที่มีอิทธิพลหรือมีบารมีทางการเมืองในพรรครัฐบาล
- แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนไม่ทันต่อเหตุ การณ์ เช่น ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการช่วยเหลือของฝ่ายเอกชนและสื่อมวลชน