ที่มา ประชาไท
วันเด็กปีนี้มาพร้อมกับประเด็นย้อนแย้งที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิเช่น กรณีพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา ที่มีต้นตอมาจากขบวนการปลุกชาตินิยมของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ (พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเฟสใหม่? ) ซึ่งเมื่อหันมามองบ้านเราพบว่ายังมีเด็กข้ามพรมแดนมาจากปะเทศกัมพูชา ไม่ว่าจะมากับครอบครัวแรงงานข้ามชาติหรือมาทำอาชีพขอทาน ที่พวกเขายังไม่รู้ชะตากรรมว่าจะตกเป็น “เหยื่อ” ของสถานการณ์การเมืองที่ “ผู้ใหญ่ไทยหัวใจรักชาติ” จุดชนวนไว้เมื่อไร
รวมถึงประเด็นความพยายามฝึกเด็กอายุไม่กี่ขวบให้เป็นบอดี้การ์ดนายกในนามหน่วย “จิ๋วเรนเจอร์” ที่มีการฝึกระเบียบวินัยแบบทหาร-ตำรวจ เพื่อภารกิจรักษาความมั่นคงฉบับจิ๋ว รอกระชับพื้นที่ความปลอดภัยให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปฏิบัติหน้าที่ผู้นำประเทศในวันเด็กที่จะถึง -- แต่เหรียญอีกด้านคือลูกหลาน “คนเสื้อแดง” ที่พ่อแม่ลุงป้าน้าอาของพวกเขาพึ่งเสียเลือดเสียเนื้อปะทะกับทหารเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ผู้เขียนเห็นว่าเด็กไทยต้องข้ามพ้นขอบเขตจำกัดของพรมแดนกรอบคิดเรื่องรัฐชาติ และเด็กก็ไม่สมควรถูกปลูกฝังให้ยอมรับความรุนแรงและอำนาจนิยม เช่นการนำเด็กเข้าไปเล่นอาวุธสงครามในค่ายทหาร หรือการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ให้กับนายก แบบหน่วยรบพิเศษจิ๋วเรนเจอร์นี้
ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ และรัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยกำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
กำเนิดคำขวัญวันเด็กแบบจอมพล ป.พิบูลสงคราม-จอมพลสฤษดิ์ สิ้นชีวิต
คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยจอมพล ป. ได้ให้คำขวัญวันเด็กปีนั้นว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม” และต่อมาได้กำเนิดเพลงหน้าที่ของเด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี)
จนกระทั่งวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงครามออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลาของยุคการพัฒนาตามอเมริกา ในพ.ศ. 2502-2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งคำขวัญวันเด็ก คือ “ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า” และปีต่อๆมา ก็จะเพิ่มเติมต่อท้ายคำขวัญเปลี่ยนจากรักความก้าวหน้า เป็นจงเป็นเด็กที่รักความสะอาด และต่อมาจงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย จนถึงจงเป็นเด็กที่ประหยัด ในท้ายที่สุดของปี 2506 คือ จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด แล้วต่อมาวาระสุดท้ายของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง รวมอายุได้ 55 ปี และจอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง
หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้วทายาท ทั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาลของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 บุตรทั้ง 7 คนของจอมพลสฤษดิ์ได้ฟ้องท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาวมาก ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดในเมืองไทย โดยการที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้ จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความมั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์ นั่นเป็นสิ่งที่แสดงถึงความขัดแย้งอย่างชัดเจน ที่เราไม่อาจเอาตัวแบบอย่างเรื่องประหยัด จากยุคสมัยของพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการได้ สำหรับเด็กๆ คำขวัญเป็นโวหารจอมปลอมจากนายกฯ เมื่อความจริงปรากฏขึ้นมาว่า บทเรียนของการคอรัปชั่นโดยทหาร เป็นส่วนหนึ่งระบบราชการ และส่วนหนึ่งของการนำเสนอคำขวัญให้เด็ก คือ จงเป็นเด็กที่ประหยัด และจงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด ทำให้เราเห็นว่า ขยันคอรัปชั่นรวยเร็วกว่าประหยัด โดยบทเรียนทางประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม บทเรียนดังกล่าว ทำให้เราเข้าใจไม่มีคำขวัญ ที่เป็น “คุณธรรม” หรือ “ชาติ” ในคำขวัญ แต่ว่ายุคสมัยลัทธิทหารชาตินิยม ก็เป็นแบบของจอมพลสฤษดิ์ โดยดูได้จากการเปลี่ยนวันสำคัญของชาติไทยจาก 24 มิถุนานั่นเอง และมิติมุมมองหนึ่งของยุคที่ไทยเราแพ้คดีเขาพระวิหารแล้วยังมารับรู้ เห็นความจริงในทีหลังเรื่องคอรัปชั่น เพราะเราอยู่ในยุคที่ถูกปิดหูปิดตามาก่อนหน้าที่จอมพลสฤษดิ์จะตาย จึงได้ถูกเปิดเผยความจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงได้ชัดเจน
งดจัดงานวันเด็ก ในสมัยจอมพลถนอม และการกลับมากำเนิดคำขวัญวันเด็กกับชาติไทยโดยรัฐบาลทหาร
พ.ศ. 2507 จอมพล ถนอม กิตติขจร ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
ทั้งนี้ กรณีคำขวัญเป็นตัวอย่างของการเปรียบเทียบให้เข้าใจการกำเนิดของเด็กกับชาตินิยมโดยทหาร ในพ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย เป็นต้นมา ก็มีความสำคัญเด็กกับชาติไทย ที่มีต่อมา คือ คำขวัญที่คล้องจองจำง่าย ถึง“เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ” นี่เป็นบทสะท้อนของการสร้างพรมแดนของเด็ก ให้อยู่ในความทรงจำของเด็กไทย ที่เห็นได้อย่างชัดเจน
หลัง 14 ตุลา 2516 กับกำเนิดคำขวัญวันเด็กว่า “คุณธรรม”ในยุคสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม และหลังรัฐประหาร 2534
พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 (-2531) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หลัง 14 ตุลา 2516 เป็นต้นมา ซึ่งเราสามารถพิจารณาคำขวัญจากการลำดับของยุคสมัยของรัฐบาลต่างๆ จนเห็นได้ว่า รัฐบาลพลเอกเปรม ในช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบนั้น มีคำว่า “คุณธรรม” เกิดขึ้นมาเป็นองค์ประกอบของการสร้างเด็กไทยในชาติ จนกระทั่งต่อมา รัฐบาลชาติชาย จากมีคำว่า “คุณธรรม” กลายเป็นไม่มีคำว่าคุณธรรมในยุคหลังรัฐประหาร แล้วเกิดเหตุพฤษภาทมิฬ เป็นต้น แล้วการกลับมาของคำว่า “คุณธรรม” และไม่มีคำว่าคุณธรรมในยุคประชาธิปไตยในสมัยรัฐบาลชวน คือ ช่วงปี 2543-44 จนกระทั่ง รัฐบาลทักษิณก็ไม่มีคำว่า “คุณธรรม” ปรากฏให้เห็นอีกต่อไป
พ.ศ. 2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
วิเคราะห์ความสัมพันธ์การเมืองหลังรัฐประหาร 2549 กับคำขวัญเชิดชูคุณธรรมจากวันเด็ก-ทักษิณ และจิ๋วเรนเจอร์
เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหาร จึงน่าสนใจต่อการวิเคราะห์คำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย ถ้อยคำหรือข้อความ ที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ แสดงอุดมคติ หรือเป้าหมายของกิจกรรมวันเด็ก และการวิเคราะห์คำว่า คุณธรรม ที่มีความหมายตามพจนานุกรม “คุณธรรม [คุนนะ-] น. สภาพคุณงามความดี.” และสื่อสัญลักษณ์ถึงความดี ทั้งด้านศาสนา และมุมมอง โดยพื้นฐานของมนุษย์เชื่อมโยงกับคุณธรรม เป็นสิ่งสำคัญ แต่ว่ามาตรฐานของคุณธรรม ในสังคมไทย จะต้องตรวจสอบ ไม่ให้คุณธรรมตก อยู่ภายใต้ความเชื่อโดยไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้ ซึ่งสะท้อนภาพความเป็นไปในสังคมแต่ละยุคสมัยไม่น้อย [1] ดังคำขวัญต่อไปนี้
พ.ศ. 2550 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
ฉะนั้นจากตัวอย่างของการเปรียบเทียบของคำขวัญในยุคจอมพลป.จอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม และพลเอกเปรม ถึงรัฐประหาร 2549 จึงมีความน่าสนใจ โดยผู้เขียนขอนำเสนอมุมมองลำดับเวลากล่าวอย่างย่อๆ ว่า เกิดรัฐประหารโดยทหาร ซึ่งมาจากพลเอก สนธิ บุญยรัตนกลิน เป็นคนที่ทักษิณ คิดว่าจะช่วยปรับโครงสร้างทางทหาร และสนธิ ช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ กลับกลายเป็นโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ในวันที่ 19 กันยายน 2549 แล้วรัฐบาลออกแบบทำนิยายรัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนนิยาย [2] และคำขวัญยังเหมือนเรื่องหลอกเด็กในเรื่องคุณธรรมก็เป็นการโกหก และถ้าเราสนับสนุนบทบาทการเล่นเป็นบทบาททหารตามงานวันเด็ก อาวุธ และเกมส์ ที่ทำให้เด็กเสพย์ติดเชื่อง่ายๆ ก็จะเป็นเรื่องที่ทำร้ายเด็ก
ทั้งนี้จากปีที่ผ่านมา คือ 2553 ก็นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ได้เชิดชูคำขวัญ คือ เชิดชูคุณธรรม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันเด็ก เพื่อไม่ให้รับอิทธิพลของเทคโนโลยีเร็วเกินไป ขณะที่ฝ่ายของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งสมัคร และสมชาย ไม่มีโอกาสให้คำขวัญวันเด็ก แต่ในปีที่แล้วนั้น (2553) ทักษิณก็ได้ส่งมอบคำขวัญวันเด็ก คือ “อนาคตจะสดใส ต้องใฝ่เรียนรู้เทคโนโลยี” ซึ่งถือว่าเป็นคำขวัญวันเด็กจากนายกนอกทำเนียบคนแรก
ในปี 2554 ที่จะถึงนี้ผู้เขียนหวังว่าเราจะต้องสร้างอนาคตเด็กไทยให้ข้ามพ้นเรื่องชาตินิยมให้ได้ ในท่ามกลางกระแสเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ กรณีพรมแดนไทย-กัมพูชา รวมถึงการส่งเสริม “รัฐทหาร” ที่สะท้อนจากการจัดงานกิจกรรมวันเด็ก จับเด็กมาแต่งตัวเป็นทหาร และสวมหมวกให้จิ๋วเรนเจอร์ เป็นตำรวจเด็ก [3] โดยรัฐบาลทหารแบบอภิสิทธิ์ในขณะนี้
ต้องเปลี่ยนทัศนคติของเด็ก ไม่ใช่นำพาเด็กโดยสร้างการครอบงำสวมหมวกให้เด็ก ภายใต้คำขวัญ "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" ซึ่งหากจะจับผิดคำขวัญนี้ดีๆ การปลูกฝัง “มีจิตสาธารณะ” ของนายอภิสิทธิ์นั้นคือเพียงการจับเด็กมาใส่ชุดทหารเพื่อนำมาเป็น รปภ. ให้แก่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น โดยต้องการให้ทุกคนไม่เว้นว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ (สลิ่มทั้งหลาย) หลงลืมบทพิสูจน์ การหาความจริง หาความเป็นธรรมให้กับผู้ตาย ผู้ติดคุก ที่เขาอาจจะมีลูกหลาน .. แต่กระนั้นวันเด็กในปีนี้พวกเขาก็ไม่มีโอกาสจะพาลูกหลานไปเฉลิมฉลองงานวันเด็กได้เหมือนครอบครัวอื่นๆ
อ้างอิง
[1] บัญญัติ คำนูณวัฒน์ “เล่าสู่กันฟัง-มีอะไรในคำขวัญวันเด็ก” นสพ.คมชัดลึก วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2553
[2] อรรคพล สาตุ้ม ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย
http://www.prachatai.com/journal/2010/12/32184
[3] เปิดจิ๋วเรนเจอร์ตร.คุ้มกันมาร์ควันเด็ก นสพ.คมชัดลึกวันอังคารที่ 4 มกราคม 2554