WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 6, 2011

‘เรืองไกร’กัดติด 'มาร์ค-กรณ์'เหนื่อย!!

ที่มา บางกอกทูเดย์

‘เรืองไกร’กัดติด'มาร์ค-กรณ์'เหนื่อย!!





คดีเอสเอ็มเอสนายกฯ
ไม่จบง่ายอย่างที่คิด
เพราะข้อสงสัยในเรื่อง 2 มาตรฐาน ยังคงวนเวียนหลอกหลอนผู้คนในสังคมไทยมาโดยตลอด นับตั้งแต่การทำรัฐประหาร 19 กันยา 49 เป็นต้นมา

ซึ่งทำให้ระบบยุติธรรมของไทยในทุกองคาพยพ ตกอยู่ในสภาพที่ต้องหาทางพยายามตอบคำถามบ้าง

หรือไม่ก็อยู่ในสภาพน้ำท่วมปากบ้าง

ในขณะเดียวกันอีกคนหนึ่งที่เหนื่อยในการตรวจสอบค้นหาความจริงให้กับสังคม ก็คือ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา จนกระทั่งถูกเรียกขานให้ฉายาว่าเป็น “ส.ว.จอมแฉ”

ซึ่งหากเป็นการแฉเพื่อสร้างศรัทธาความน่าเชื่อถือให้กับระบบยุติธรรมของไทยให้กลับคืนมาเหมือนในอดีต ก็ถือเป็นสิ่งที่พึงกระทำ

และนอกจากจะเป็นจอมแฉแล้ว นายเรืองไกร ยังมีลักษณะของการกัดติด หรือกัดไม่ปล่อย หากว่าเรื่องนั้นยังไม่ได้รับความกระจ่างมากเพียงพอ

อย่างเช่นกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ส่งข้อความสั้น(เอสเอ็มเอส) หลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่นายเรืองไกรร้องเรียนว่าเป็นเรื่องของการได้รับผลประโยชน์

และประโยชน์ที่ได้รับจากการนี้ก็เป็นประโยชน์อันควรถือเป็นเงินได้พึงประเมิน จากการส่งเอสเอ็มเอส ซึ่งทางกระทรวงการคลัง และโดยเฉพาะกรมสรรพากร จะต้องติดตามการจัดเก็บภาษีของนายอภิสิทธิ์ แต่กลับยังไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย ทั้งที่ถือว่าเป็นผลประโยชน์ได้รับตามประมวลรัษฎากร

แต่ปรากฏว่าทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เห็นว่า การที่นายกฯและนายกรณ์ขอความร่วมมือให้บริษัทมือถือ 3 แห่งส่งข้อความให้ประชาชน เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในนามภาครัฐ

ไม่ใช่ทำในนามส่วนตัวหรือหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

อีกทั้งเป็นการขอความร่วมมือเป็นการทำก่อนที่ได้รับการโปรดเกล้าเป็นนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง

ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทเอกชนทั้ง 3 แห่ง ก็ได้เสียภาษีอย่างถูกต้องจากการที่มีประชาชนส่งข้อความกลับมา จึงไม่เข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน

นอกจากนี้ได้รับคำชี้แจงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนว่า การส่งข้อความเอสเอ็มเอสไปให้ประชาชน ไม่ใช่การกระทำต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น

จึงมีมติให้ยกคำร้อง… เรียกว่าเป็นของขวัญปีใหม่กล่องใหญ่ให้กับนายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ เลยทีเดียว

แต่นายเรืองไกรยังคงไม่เห็นด้วย และได้มีการยื่นหนังสือถึง ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย เนื้อหาในหนังสือสรุปได้ว่า

จากการไต่สวนผู้แทนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 เครือข่าย ระบุว่า ใช้ชื่อผู้ส่งว่า UR_PM ย่อมาจาก YOUR PRIME MINISTER ซึ่งนายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ จาติกวณิช ได้เป็นผู้พิจารณาตรวจร่างข้อความการส่งเอสเอ็มเอสถึงประชาชน

กรณีดังกล่าว ป.ป.ช.ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย จะได้รับเฉพาะค่าบริการ จำนวน 3 บาท กรณีที่ประชาชนตอบกลับมาเท่านั้น ซึ่งเป็นความสมัครใจของประชาชนที่ต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม โดยถือเป็นรายได้ของผู้ให้บริการแต่ละราย มิได้มีการแบ่งปันกันระหว่างบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย หรือผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น
ซึ่งการพิจารณาของ ป.ป.ช. ที่เห็นว่า การขอรับบริการในการส่งข้อความสั้นดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์อื่นใดแล้วนั้น ย่อมเป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงที่ชัดเจนไปแล้ว

แต่การนำข้อกฎหมายมาพิจารณาว่า นายอภิสิทธิ์ไม่ได้รับประโยชน์เป็นการส่วนตัวนั้น แต่เป็นประโยชน์ทางราชการ น่าจะเป็นการตีความกฎหมายเกินกว่าที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 103 ไม่มีการบัญญัติเรื่องประโยชน์ทางราชการเอาไว้ จะมีเฉพาะในมาตรา 100 (4)

โดยหนังสือร้องเรียนของนายเรืองไกร ยื่นขอให้ ป.ป.ช.ทบทวนการพิจารณาคดีดังนี้ 1.การพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีตีความข้อกฎหมายตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 นั้น เป็นการพิจารณาเกินไปกว่าบทบัญญัติของกฎหมายในมาตรา 103 หรือไม่

เพราะคำว่า "ประโยชน์ทางราชการ" นั้น มาตรา 103 ไม่มีบัญญัติไว้ มีเพียงในมาตรา 100 ซึ่งบัญญัติว่า

"ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ ..

(4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น"

2.พิจารณาการรับประโยชน์อื่นใดของนายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อเท็จจริงที่ ป.ป.ช.แถลงในหน้าที่ 6 ถึง 7 กรณี ที่ทั้งสองคน "ได้เห็นชอบให้มีการสื่อสารกับประชาชนโดยวิธีการส่ง SMS และมอบหมายให้นายกรณ์ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งได้มีการนัดหมายผู้บริหารของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ สาระสำคัญของการประชุม คือขอให้ส่งข้อความถึงประชาชน ซึ่งนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ได้เป็นผู้พิจารณาตรวจร่างข้อความการส่ง SMS ถึงประชาชน" นั้น

แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อได้ว่า มีการใช้สถานภาพความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปขอรับประโยชน์อื่นใดจากบริษัทเอกชนแล้ว ซึ่งบริษัทเอกชนนั้นย่อมเป็นบุคคลในความหมายของมาตรา 103 ซึ่งการรับประโยชน์อื่นใดดังกล่าวนั้น ยังไม่พบข้อความการพิจารณาในการกระทำดังกล่าวในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย

ทั้งที่ข้อเท็จจริงเรื่องการรับประโยชน์จากบุคคลนั้นชัดเจนแล้ว โดยพิจารณาว่า กรณีนั้นเกิดขึ้นก่อนที่นายอภิสิทธิ์จะเป็นนายกรัฐมนตรี

ซึ่งก็เท่ากับว่า นายอภิสิทธิ์ได้กระทำการดังกล่าวร่วมกันกับนายกรณ์ ในขณะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันอยู่ในบทบัญญัติตามมาตรา 103 ด้วย

และเมื่อพิจารณาในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ใดในราชการฝ่ายบริหารที่จะไปประชุมหรือมอบหมายหรือไปขอความร่วมมือจากเอกชนแต่อย่างใด

จึงขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้โปรดพิจารณาเพิ่มเติมด้วย

พูดง่ายๆว่า ป.ป.ช.มีมติยกคำร้องนายกฯอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีไปแบบเกิดคำถามตามมามากมายแล้วก็จริง

แต่นายเรืองไกรก็ตามกัดต่อในในแง่การตีความของ ป.ป.ช. ว่าเกินกว่าอำนาจหรือไม่???

แถมยังจี้ในเรื่องของการเป็น ส.ส. แล้วมีการรับผลประโยชน์ด้วย

ซึ่งแน่นอนว่านายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์นั้น เป็น ส.ส.อยู่ก่อนแน่นอนแล้ว ดังนั้นก็น่าจะเป็นการรับผลประโยชน์ที่ชัดเจนด้วยหรือไม่???

งานนี้ไม่รู้เหมือนกันว่า ระหว่าง ป.ป.ช. กับ นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ ใครจะเหนือกว่ากัน เมื่อเจอ ส.ว.จอมแฉ กัดติดในเรื่องข้อกฎหมายไม่ปล่อยแบบนี้

แต่ที่เหนื่อยแน่ๆ ก็คือระบบยุติธรรมของไทยนั่นเอง ที่ยังคงถูกครหาว่าวนเวียนติดปลักอยู่กับ 2 มาตรฐานไม่เลิกรา

แต่สังคมไทยที่ป่วยหนักอยู่ในเวลานี้ ก็ต้องการคนแบบ “เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ”ให้มีเยอะๆยิ่งดี ไม่ใช่หรือ???