ที่มา Thai E-News
ร่วมลงนาม-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เจ้าของรางวัล "ปาล์มทองคำ"เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เป็นบุคคลหนึ่งในบรรดาผู้มีชื่อเสียง 112 คนที่ร่วมลงชื่อในโครงการ"มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" ท่าทีของการรณรงค์ครั้งนี้คือ สร้างให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 มีนาคม 2554
ในการชุมนุมใหญ่วันนี้(12มี.ค.54) เพื่อรำลึกครบรอบ 1 ปีของวันเริ่มต้นประท้วงครั้งใหญ่(12มี.ค.-19พ.ค.53)ซึ่งนปช.เป็นผู้จัดการการชุมนุม ได้มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มอิสระต่างๆ ทั้งจากคนเสื้อแดงในต่างประเทศ ในนามเสื้อแดงนานาชาติ เคลื่อนไหวออกจดหมายเปิดผนึกให้ยกเลิกมาตรา 112 รวมทั้งกลุ่มเสื้อแดงเสรีชน และผู้ที่เคลื่อนไหวในโลกอินเตอร์เน็ต กำหนดจะเดินพาเหรดและชูป้ายให้ยกเลิกมาตรา 112ด้วย (อ่านข่าว:แดงนานาชาติผนึกกลุ่มอิสระแคมเปญยกเลิก112 ในงานชุมนุมใหญ่12มีนารำลึกวันเริ่มต้นลุกขึ้นสู้ครบปี )
ขณะเดียวกันในเฟซบุ๊ค มีการจัดทำโครงการ มาตรา 112: การรณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ( "Article 112" awareness campaign )
ซึ่งนอกจากนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังมีผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงเจ้าของรางวัลระดับนานาชาติในแวดวงบันเทิงร่วมลงชื่อด้วย 5 คนคือ
*อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์เจ้าของราวัลปาล์มทองคำ เมืองคานส์ จากภาพยนตร์เรื่อง"ลุงบุญมีระลึกชาติ"
*วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลระดับนานาชาติ จากเรื่อง"ฟ้าทะลายโจร" และ "มหานคร"
*อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ "อีร่า นิว ฮอไรซันส์" จากเรื่อง"เจ้านกกระจอกเทศ"
*ลี ชาตะเมธีกุล ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลAsian Film Awards และเจ้าของรางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยมภาพยนตร์เรื่อง"รักแห่งสยาม"
*ธัญสก พันสิทธิวรกุล ผลงานเด่นที่ได้รับรางวัลนานาชาติ อาทิ สวรรค์สุดเอื้อม (Happy Berry) ได้รับรางวัลสารคดียอดเยี่ยม (Grand Prize) จากเทศกาลสารคดีนานาชาติไต้หวัน ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2547 โครงการ ศาลาคนเศร้า (Heartbreak Pavilion) ได้รับรางวัลสูงสุด (Pusan Top Award) จากโครงการ Pusan Promotion Plan จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน พ.ศ.2548
*อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง "บีไฮด์ เดอะ วอลล์" ซึ่งนิตยสารไบโอสโคปยกย่องให้เป็น 1 ในรายชื่อ "100 หนังไทยแห่งทศวรรษ" 2543 -2552
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวแจ้งว่า ท่าทีของการรณรงค์ครั้งนี้คือ สร้างให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย พวกเรามีความเห็นว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นปัจจัยคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นกลไกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะต้องการแก้ไข หรือยกเลิก หรือแม้แต่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวก็สามารถเข้าร่วมการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ เพียงแต่บุคคลนั้นสนใจถึงผลกระทบที่ตามมาจากการใช้กฎหมายดังกล่าว
มาตรา 112: การรณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ
โครงการฯระบุถึงรายละเอียด และผู้ร่วมลงชื่อในเบื้องต้น 85 ราย จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ 112 ราย ดังต่อไปนี้
บริบทสถานการณ์
ตัวเลขผู้ที่ถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาห้าถึงหกปีที่ผ่านมา ในระหว่างปี 2535 – 2547 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีการฟ้องร้องกันในศาลเฉลี่ยแล้วมีน้อยกว่า 10 คดี ดังนั้นผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวจึงยังจำกัดอยู่ในวงแคบ แต่ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างปี 2548 – 2552 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีมากถึง 547 คดี ที่ถูกนำไปพิจารณาคดีทั้งในระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เฉลี่ยแล้วปีละ 109 คดี และมีที่ศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน247 คดี ในปี 2547 เพียงปีเดียวมีการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในระดับศาลชั้นต้นมากถึง 164 คดี ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นย้ำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานนุภาพเป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย ด้วยหวังว่าจะมีทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกฎหมายดังกล่าวในท้ายที่สุด
หลักการและเหตุผล
จุดประสงค์ของการริเริ่มการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือ การรวบรวมบุคคล องค์กร และเครือข่ายต่างๆ ที่มีความห่วงกังวลต่อปัญหาที่เกิดจากกฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมาย ท่าทีของการรณรงค์ครั้งนี้คือ สร้างให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย พวกเรามีความเห็นว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นปัจจัยคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นกลไกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะต้องการแก้ไข หรือยกเลิก หรือแม้แต่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวก็สามารถเข้าร่วมการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ เพียงแต่บุคคลนั้นสนใจถึงผลกระทบที่ตามมาจากการใช้กฎหมายดังกล่าว
ชื่อภาษาไทยของการรณรงค์ครั้งนี้คือ “มาตรา 112: การรณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ”
และชื่อภาษาอังกฤษ คือ “Article 112: Awareness Campaign”
การรณรงค์จะเปิดตัวด้วยการแถลงรายชื่อบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 112 คน ซึ่งรวมถึง สื่อมวลชน แรงงาน นักกฎหมาย นักวิชาการ นักเรียน นักสิทธิมนุษยชน ศิลปิน ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในแวดวงทางศาสนา แพทย์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยบุคคลทั้ง 112 คนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น อย่างไรก็ตามยินดีรับรายชื่อเพิ่มเติมจากผู้ที่เห็นพ้องแนวคิดว่า มาตรา 112 นั้นควรได้รับการถกเถียงกันอย่างเปิดเผย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ
2. เพื่อผลักดันให้เกิดการถกเถียง แลกเปลี่ยน และหาทางออกเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ
รูปแบบกิจกรรมเบื้องต้น
เปิดตัวการรณรงค์ มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ โดยขอจัดต่อจากเวทีวิชาการเรื่องกฎหมายหมิ่นฯของกลุ่มนิติราษฎร์ วันที่ 27 มีนาคม 2554 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (เวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง) ในงานดังกล่าวจะมีการแถลงรายชื่อบุคคล 112 คน หรือใครก็ตาม ที่ยินดีจะแสดงตนต่อสาธารณะว่าสนับสนุนการรณรงค์ในครั้งนี้ และอาจจะมีบุคคลผู้ร่วมลงชื่อบางคนที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานในวันดังกล่าวได้ เราจึงขอเชิญให้ทุกท่านที่สามารถมาได้เข้าร่วมงาน ผู้ที่สามารถมาร่วมงานเปิดตัวได้จริงจะต้องจ่ายเงิน 300 บาทเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการทำงาน และบุคคล 112 ท่านแรกที่เข้าร่วมการรณรงค์จะได้รับเสื้อยืดที่มีโลโก้ของการณรงค์เป็นที่ระลึก
กรุณาแจ้งรายชื่อมาที่ article112lm@gmail.com
หมายเหตุ: 112 คนแรก ใช้เพื่อแสดงตัวตนในการเปิดตัว ไม่ปิดกั้นสำหรับคนที่สนใจจะเข้ามาร่วมในภายหลัง
รายชื่อผู้ร่วมลงนามเบื้องต้น
ผู้ร่วมรณรงค์แคมเปญเบื้องต้น 112 คน เบื้องต้นมีร่วมลงนามแล้ว 84 คนดังนี้
1.กานต์ ทัศนภักดิ์/Karnt Thassanaphak อาชีพ กวี นักเขียน ช่างภาพ และคนทำงานศิลปะ/Freelance Poet, Writer, Photographer and Artworker
2.อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา /Aphiwat Saengphatthaseema อาชีพ สถาปนิก/นักทำหนังสารคดีอิสระ
2.ธัญสก พันสิทธิวรกุล Thunska Pansittivorakul คนทำหนัง
3.ตากวาง สุขเกษม Takwang Sukkasem อาชีพรับจ้างอิสระ
4.พัชรี แซ่เอี้ยว / Patcharee Sae-eaw อาชีพ: นักพัฒนาเอกชน / an advocacy officer in non-governmental organization
5.ธีรกิจ วิจิตรอนันต์กุล / Teerakit Vichitanankul / ช่างภาพอิสระ
6.นายปราบ เลาหะโรจนพันธ์ / Prab Laoharojanaphan นักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7.อธิคม จีระไพโรจน์กุล Athikom Jeerapairotekun พนักงานบริษัทเอกชน
9.ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ -- ทันตแพทย์/อาจารย์มหาวิทยาลัย
10.วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง / Wisit Sasanatieng ผู้กำกับภาพยนตร์
11.กิตติกา บุญมาไชย/Kittika Boonmachai รับราชการ
12.กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป /Krittawit Rimtheparthip นักเขียน/สื่อมวลชน
13.ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ /Thida Plitpholkarnpim นักเขียน/สื่อมวลชน
14.ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ /Panu Boonpipattanapong /Freelance Writer&Designer
15.อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล / Apichatpong Weerasethakul ผู้กำกับภาพยนตร์
16.ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ /Chaisiri Jiwarangsan/ ศิลปิน
17.นันทพล อาชวาคม Nunthapol Ajawakom /Freelance Videographer, Video Editor
18.พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง / Panpoom Phudphong / นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน
19.นภัทร สาเศียร/Napud sasien นักศึกษา
20.ภัควดี วีระภาสพงษ์ Pakkavadee Veerapaspong นักแปล/นักเขียน
21.ชุติมา สมบูรณ์สุข (Chutima Somboonsook) - web content
22.คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง / Kanchat Rangseekansong นักเขียนอิสระ/อาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์
23.นิธิวัต วรรณศิริ Nithiwat Wannasiri /นักศึกษา /ผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา112
24.พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล Phuttipong Ponganekgul นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
25.ทิวสน สีอุ่น /Tewson Seeoun/ นักศึกษาปริญญาโท, Post-graduate Student
26.ชัยธวัช ตุลาธน Chathawat Tulathon กองบรรณาธิการ สนพ. ฟ้าเดียวกัน
27.บารมี ชัยรัตน์ Baramee Chaiyarat /นักพัฒนาเอกชน
28.จีรนุช เปรมชัยพร Chiranuch Premchaiporn / นักกิจกรรม/สื่อมวลชน Media Activist/Journalist
29.ดวิด สเตรคฟัส David Streckfuss /นักวิชาการ ม.ขอนแก่น
30.นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต /แพทย์ชนบท
31.ประวิตร โรจนพฤกษ์ Pravit Rojanaphruk /นักข่่าว เดอะเนชั่น Journalist, The Nation
32.พฤกษ์ เถาถวิล / นักวิชาการ ม.อุบลราชธานี
33.สฤณี อาชวานันทกุล Sarinee Achavanuntakul /นักเขียน/นักวิชาการอิสระ
34.สมชาย ปรีชาศิลปกุล /นักวิชาการ ม.เชียงใหม่
35.เทวฤทธิ์ มณีฉาย Tewarit Maneechay /ประชาชน
36.ทวีพร คุ้มเมธา Thaweeporn Kummetha/นักข่าวCorrespondent
37.ยิ่งชีพ อัชชานนท์ Yingcheep Atchanont /นักพัฒนาเอกชน
38.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ Pimsiri Petchnamrob อาชีพ คนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน NGO worker
39.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ Kengkij Kitirianglarp อาชีพ: นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
40.จิตรา คชเดช Jittra Cotshadet /นักสหภาพแรงงาน
41.สุริยะ ครุฑพันธุ์ Suriya Garudabandhu / กองบรรณาธิการนิตยสาร Wallpaper* (Thai edition)
42.ดร.สันติภาพ คำสะอาด อาจารย์/นักเขียน/เจ้าของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
43.ลี ชาตะเมธีกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
44.อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์
45จอมพจน์ เกษมรุ่งชัยกิจ ผู้ประกอบการ
46.ชมวรรณ วีรวรวิทย์ Chomwan Weeraworawit /profession: media/writer/phd candidate (law)
47.นัชญ์ ณัยนันท์ Nach Naiyanan /อาชีพรับจ้างทั่วไป
48.พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ Punsak Srithep/ประชาชน
49.ธีระพล คุ้มทรัพย์ Theeraphon Khoomsap /นักเคลื่อนไหวฝึกหัด
50.นายอานนท์ นำภา Anon Numpa / ทนายความ สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
51.อนุสรณ์ อุณโณ Anusorn Unno/คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University
52.พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ Ponglert Pongwanan/ประชาไท
53.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว Bencharat Saechua/ อาจารย์ม.มหิดล
54.ณัฐ ศิริวิบูลย์ Nat Siriviboon / นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มร. / Content Editor
55.เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร kriangsak teerakowitkajorn / อ.วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ. ศูนย์ลำปาง
56.พรพิศ ผักไหม pornpit puckmai/นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน/กิจการเพื่อสังคม(อดีตทำงานNGO)
57.สมยศ พฤกษาเกษมสุข somyot pruksakasemsuk / บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Red Power
58.อัญชลี มณีโรจน์ Unchalee Maneeroj /ประชาชน
59.นายวุฒิกร แสงรุ่งเรือง wuttikorn sangrungruang /ประชาชน
60.นาย ศราวุธ ดรุณวัติ Sarawut Darunwat /นักออกแบบอิสระะ/อาจารย์มหาวิทยาลัย
61.เกียรติศักดิ์ ประทานัง / พ่อบ้าน นักเขียน นักแปลอิสระ
62.พรเทพ สงวนถ้อย / อาชีพรับจ้างทั่วไป
63.ธนาวิ โชติประดิษฐ Thanavi Chotpradit / นักศึกษาปริญญาเอก , Department of History of Art and Screen Media, Birkbeck, University of London
64.สุธารี วรรณศิริ Sutharee Wannasiri / นักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน
65.นายเอกรินทร์ ต่วนศิริ Ekkarin Tuansiri/นักวิจัยอิสระ
66.ปรมัษฐ์ ช่างสุพรรณ Paramat Changsupan / วิศวกร Civil Engineer
67.นายพรมมา ภูมิพันธ์ Promma Phumpan / ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า (LUBG)/ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ (TWFT)
68.นางสาวเกศแก้ว มีศรี Kadkeaw Meesri / รองประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (TWFT)
69.นายประวร มาดี Praworn mardee / เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์/ฝ่ายจัดตั้งสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
70.นายโสภณ ชัยสันต์ Sopon Chaiyasan /ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหภาพแรงงานฟูรูกาวาเม็ททัลไทยแลนด์
71.นายชยุต พันธุ์น้อย Chayut Pannoi / รองประธานสหภาพแรงงานฟูรูกาวาเม็ททัล ไทยแลนด์
72.นายชุมพล ภูมิพันธ์ Chumpol Phumpan / เลขานุการกลุ่มสหภาพแรงงานเบอร์ล่า/นายทะเบียนสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
73.นายสมหวัง โพธิ์ ทองคำ Somwhang Pothongkam / ฝ่ายคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
74.นางสาวณัณปภัส แก้วทอง Nanpapas Keawthong / ประธานสหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลแคร์
75.นายศิริชัย สิงห์ทิศ Sirichai Singthis / ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่ง ประเทศไทย (TWFT)
76.นางวิภา มัจฉาชาติ (Vipa matchachat) กลุ่มคนงาน Try Arm
77.ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล / อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
78.พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ Pichate Yingkiattikun / นักศึกษาปริญญาโท เศรษศาสตร์การเมือง จุฬาฯ และผู้ช่วยประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต
79.อัญญกาญ จีระอัญการ Anyakan Jeeraanyakan / business owner, freelance designer & writer
80.วาทินี ชัยถิรสกุล Watinee Chaithirasakul / ประชาชน
81.เอกชัย ปิ่นแก้ว Ekachai Pinkaew/ นักสิทธิมนุษยชน นักเขียน และนักศึกษาปริญญาเอก/ Human Rights Defender, Writer, and Ph.D. Candidate
82.ทรงยศ แววหงษ์ Songyote Waeohongsa/ นักวิชาการ/ Academic
83.C.J. Hinke / ซี.เจ. ฮิงกิ, Freedom Against Censorship Thailand (FACT) กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย
84.แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ Dr. Andrew Walker/Senior Fellow, College of Asia and the Pacific, The Australian National University
*****
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
-อภิชาตพงศ์ เจ้าของรางวัลปาล์มทองคำหนังเมืองคานส์ฟ้องโลก:ประเทศไทยถูกปกครองโดยมาเฟียผู้กดขี่
-แดงนานาชาติผนึกกลุ่มอิสระแคมเปญยกเลิก112 ในงานชุมนุมใหญ่12มีนารำลึกวันเริ่มต้นลุกขึ้นสู้ครบปี