WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 8, 2011

10 เมษามาบรรจบ

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 7 เมษายน 2554)

เวลา 1 ปี ผ่านไปอย่างรวดเร็ว

กระทั่งอีก 3 วันข้างหน้า จะเป็นวันครบรอบ 1 ปี ของเหตุการณ์นองเลือดที่สี่แยกคอกวัวและถนนราชดำเนิน

ซึ่งมอบ "บทเรียนทางการเมือง" หลายหน้าแก่สังคมไทย

ประการแรก เหตุการณ์ปะทะในวันนั้น นำไปสู่การสูญเสียของทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพ และกลุ่มคนเสื้อแดง

ว่ากันว่าถ้าเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ไม่ยุติลง จากการตัดสินใจร่วมกันของแกนนำ นปช.และผู้นำรัฐบาล

รัฐบาลอภิสิทธิ์อาจเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ย่อยยับ

ทว่า การสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อก็คงมีมากมายมหาศาลเช่นกัน

คนกลุ่มหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในเหตุการณ์ครั้งนั้นก็คือ "กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" ที่คล้ายจะยืนอยู่ข้างคนเสื้อแดง

จนนำไปสู่ความวิตกกังวลต่อการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธฝ่ายประชาชน

แต่เหตุการณ์การสลายการชุมนุมในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 ก็พิสูจน์ว่ากองกำลังดังกล่าวยืนระยะได้ไม่นานพอ และไม่มีศักยภาพมากพอจะต่อต้านประสิทธิภาพของกองทัพ

ประการต่อมา การดำเนินนโยบายต่างประเทศถือเป็นข้อกังขาหนึ่งที่หลายฝ่ายมีต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์

และสถานการณ์ก็ยิ่งย่ำแย่หนักขึ้นด้วยการเสียชีวิตที่สี่แยกคอกวัวของ "นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ" ช่างภาพรอยเตอร์สชาวญี่ปุ่น

ภายหลังความสูญเสีย เจ้าหน้าที่ทางการทูตของญี่ปุ่นได้เฝ้าติดตามความคืบหน้าของคดีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยกลับไม่สามารถให้คำตอบที่น่าพอใจแก่ทางการญี่ปุ่นได้ว่า อะไรคือสาเหตุการเสียชีวิตของนายมูราโมโตะ? ใครเป็นคนฆ่าเขา?

รัฐบาลไทยหลายชุด รวมทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์อาจไม่ได้ห่วงใยในชีวิตพลเมือง (บางกลุ่ม) ของตนเอง

แต่อย่าคิดว่ารัฐบาลของประเทศอื่นจะมีท่าทีเช่นเดียวกัน

ประการสุดท้าย ถ้ามองในระยะสั้น เหตุการณ์ 10 เมษา 2553 อาจถือเป็นความพ่ายแพ้ของกองทัพ

ส่วนเหตุการณ์ 19 พฤษภา 2553 ก็ถือเป็นความพ่ายแพ้ของคนเสื้อแดง

ทว่า หากพิจารณาในระยะยาว ทั้งสองเหตุการณ์อาจถือเป็นส่วนเสี้ยวของ "ภาพใหญ่" ว่าด้วยความไม่สอดคล้องลงรอยกันระหว่างรัฐไทยกับประชาชนไทยจำนวนมากในยุคปัจจุบัน

ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐไม่สามารถครอบงำอุดมการณ์ของประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอีกต่อไป

ทิศทางอำนาจในสังคมไทยไม่ได้ดำเนินไปในลักษณะ "ทางเดียว" หรือ "บนลงล่าง" อีกต่อไป

หนทางคลี่คลายสภาวการณ์เช่นนี้ ไม่ใช่การใช้กำลังเข่นฆ่ากัน

แต่คือการกลับมาต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตย ผ่านการเลือกตั้ง การขยายเพดานและเปิดพื้นที่ให้ความเห็นต่าง การดำเนินคดีกับผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชนรวมทั้งเจ้าหน้าที่

และต่อให้ดำเนินการเช่นนี้ได้ ก็ใช่ว่าความขัดแย้งที่ดำรงอยู่จะจบสิ้นลงในเวลาอันใกล้