ที่มา thaifreenews
โดย สุรชัย..namome
แปลจากวอร์ชิงตันไทม์ เขียนโดย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
ในขณะที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับเหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจและปะทุขึ้น ในการตื่นตัวปฏิวัติของอาหรับ การยึดอำนาจเงียบโดยกองทัพกำลังคลืบคลานเข้ามาสู่ประเทศไทยพร้อมกับการ ประกาศการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคม ในขณะเดียวกันมีความกังวลใจว่ากระบวนการที่เร่งรัดดังกล่าวอาจจะขาดความเป็น ธรรม รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณได้ออกมาปฏิเสธอย่างหนักแน่นถึงความเป็นไปได้ที่จะอนุญาติให้มี การสังเกตการณ์การเลือกตั้ง โดยใช้คำพูดเหยียดเชื้อชาติว่า เขา“ไม่เคารพฝรั่ง” และจะไม่อนุญาติให้ฝรั่งมามีอำนาจเหนืออธิปไตยแผ่นดินไทย และเรายังสามารถคาดเดาได้ว่าในอนาคต คำพูดในทำนองนี้จะเพิ่มความน่าเกลียดมากกว่าเดิม
เป็นเวลาเกือบหนึ่งปีแล้วที่รัฐบาลทหารหนุนหลัง นำโดยชาวอังกฤษอย่าง นายมาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นดีเห็นงามกับการสังหารผู้ชุมนุมประท้วงทั้ง91 รายเพื่อจะหลีกเลี่ยงการเลือกตั้งก่อนกำหนด เนื่องจากกลัวว่าตนเองจะพ่ายแพ้ ปัจจุบันพรรคผู้นำรัฐบาลอย่างพรรคประชาธิปัตย์กลับกระตือรือล้นอยากเลือก ตั้งก่อนกำหนดเพราะต้องการกีดกันไม่ให้ผู้นำฝ่ายตรงข้ามหลายคนที่กำลังจะถูก ปล่อยออกจากเรือนจำ หรือกำลังจะพ้นจากการตัดสิทธิ์ทางการเมืองห้าปีลงเล่นการเมือง
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นเชิงลึกในการแข่งขันที่กำลังมาถึงมากกว่าที่ผู้สังเกตการณ์มือ สมัครเล่นมองเห็น เรื่องที่น่าสนใจคือบทบาทของผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ จันโอชา บุคคลที่ดูเหมือนภาพล้อการ์ตูนผู้นำเผด็จการทั่วไปจากประเทศโลกที่สามมาก ขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกันพลเอกประยุทธยังมีกิตติศัพท์ชอบพูดเรื่อยเปื่อยต่อหน้าสาธารณ ชน ซึ่งเกินเลยกว่าอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและสติปัญญาอันเล็กน้อยของเขา แต่คำพูดของเขามีความสำคัญ เพราะทำให้เราเข้าใจถึงธาตุแท้ของกลุ่มอำมาตย์ที่น่าขยะแขยง
เมื่อไม่นานนี้ พลเอกประยุทธ์สัญญาว่ากองทัพจะวางตัว “เป็นกลาง” ในครั้งนี้ แต่เมื่อพิจารณาเหตุการณ์แวดล้อม ดูจะเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อ เพราะกองทัพขยายใหญ่ขึ้นตั้งแต่ปี 2549 เพื่อพยายามจะชี้นำผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งให้เลือกตั้งบุคลลที่กองทัพปรารถนา หรือยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่กองทัพคิดว่าไม่มีค่าพอจะสนับ สนุน พลเอกประยุทธ์มักจะส่งสัญญาณว่าเขาไม่ลังเลที่จะแทรกแซงหากไม่ได้ดังใจ ปรารถนา ไม่นานมานี้ สิ่งที่เขาพูดได้สะท้อนเรื่องคำเตือนในการเลือกนายกรัฐมนตรีว่า การเลือกตั้งเป็นตัวเลือกระหว่างนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ หรือความรุนแรงรอบใหม่กับความไร้เสถียรภาพ โดยสามารถตีความได้ว่า หากคนไทยไม่เลือกนายอภิสิทธิ์อีกครั้ง กองทัพก็ไม่หนักใจที่จะกระทำต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในครั้งหน้า เหมือนกับที่เคยทำกับรัฐบาลสามชุดก่อน
การเลือกเอานายอภิสิทธิ์มาบังหน้า แสดงให้เห็นว่ากองทัพไทยเรียนรู้จากบทเรียนในปี 2535 เพราะการที่พลเอกสุจินดา คราประยูรยืนยันที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยตนเองทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ใน กรุงเทพมหานคร และจบด้วยการสังหารหมู่ผู้ประท้วงมือเปล่าที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำ และเพื่อจะหลีกเลี่ยงหายนะดังกล่าวอีกครั้ง ภาพลักษณ์ที่สุถาพและความเป็นผู้ดีของนายอภิสิทธิ์จึงเป็นภาพอุดมคติที่นำมา ใช้ปกปิดการครอบงำทางการเมืองไทยของกองทัพ อย่างไรก็ตาม ไม่ต่างจากผู้นำเผด็จการโลกที่สามทั่วไป พลเอกระยุทธ์รู้สึกยากที่จะต่อต้านสิ่งล่อใจโดยต้องการย้ำเตือนสาธารณชนว่า เขาเป็นผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริง การจัดการกับปัญหาความขัดแย้งชายแดนกับประเทศกัมพูชาคือหลักฐานชัดเจนที่ แสดงให้เห็นว่าเหล่านายพลพวกนี้ไม่ทำตามคำสั่งพลเรือน มีเรื่องที่น่าอับอายเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ไม่ยอมให้อินโดนีเชียเข้ามาเป็นตัวกลางในการ ไกล่เกลี่ยปัญหา ทั้งที่รัฐบาลนายอภิสิทธิได้เห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าวก่อนหน้านี้แล้ว วันรุ่งขึ้น รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณต้องรีบออกมาไกล่เกลี่ยเรื่องความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลกับ กองทัพ
ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและกองทัพมักมีความซับซ้อนและไม่ สมดุลในประวัติศาสตร์ไทย แต่ความเพิกเฉยอย่างหน้าด้านพลเอกประยุทธ์ที่ขัดขืนคำสั่งของรัฐบาลอย่าง เปิดเผยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่นานมานี้ กองทัพตัดสินใจที่จะใช้นโยบายของตนเองในเรื่องที่จะให้ผู้สังเกตการณ์อินโด นีเชียเข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชายแดนกับกัมพูชาหรือไม่และ แม้ว่าจะขัดแย้งกับคำสั่งของรัฐบาลก็ตาม ถึงนายอภิสิทธิ์จะไม่ออกมาบ่น แต่เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าใครคือคนที่มีอำนาจอย่างแท้จริง และราคาที่รัฐบาลจะต้องจ่ายให้กับกลุ่มคนหยิบยื่นชัยชนะของการเลือกตั้งให้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเสนอตัวเลือกที่ชัดเจนให้แก่ประชาชน ตัวเลือกที่ว่าคนไทยหลายล้านคนจะตัดสินลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้นาย อภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นสิงที่นายอภิสิทธิ์ไม่เคยมี หรือไม่ เพราะนายอภิสิทธิ์ขึ้นสู่อำนาจโดยความช่วยเหลือของการแทรกแซงของตุลาการและ กองทัพ หรือเลือกที่จะไม่ลงคะแนนเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์ เหมือนที่พวกเขาเคยทำในปี 2544, 2548 และ 2550
การเลือกตั้งที่จะมาถึงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมนี้ รัฐบาลเป็นฝายได้เปรียบอย่างมาก เพราะพรรคฝ่ายค้านที่ชนะทุกการเลือกตั้งตลอดเป็นเวลาสิบปีถูกทำลายโดยคำสั่ง ศาลให้ยุบพรรคการเมืองทั้งสี่พรรค ตัดสิทธิ์ผู้นำทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมากกว่า 200 คน และทำให้กลุ่มคนบางส่วนที่มีอำนาจในพรรคนั้นถอนตัวออกจากพรรคการเมืองดัง กล่าว และกลุ่มมือที่มองไม่เห็นต้องใช้วิธีการนี้เท่านั้นเพื่อควบคุมการเมือง ไทย และสามารถตั้งนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2551 แทนที่จะมาจากการชนะผลการเลือกตั้งจากคะแนนเสียงส่วนใหญ่
การยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่องของฝ่ายตรงข้าม ทำให้รัฐบาลถือโอกาสปฏิรูปรัฐธรรมนูญแบบจอมปลอมได้สำเร็จ โดยเขียนขึ้นเพื่อเอื้อให้พรรคประชาธิปัตย์ได้รับส่วนแบ่งที่นั่งมากขึ้น ในขณะที่นักการเมืองจากพรรคบางคนเสนอให้ปฏิรูปมากกว่าเดิมเพื่อเปิดช่องให้ พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แม้พรรคจะไม่ได้รับคะแนนเสียงส่วนมากก็ตาม
นอกจากจะจัดการกับฝ่ายตรงข้ามที่สะบักสะบอมโดยกฎเกณฑ์ที่ร่างขึ้นมาใหม่ แล้ว ในการเลือกตั้งปีนี้พรรคประชาธิปัตย์จะยังคงช่วยเหล่ากองทัพ ข้าราชการ ตุลาการและกลุ่มอำมาตย์ที่นิยมเจ้าอีกครั้ง สถาบันเหล่านี้พร้อมที่จะใช้กำลังทรัพย์ ทรัพยากรของสถาบัน และเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์เท่าที่จำเป็นเพื่อจะส่งเสริมนายอภิสิทธิ์ บุคคลที่ไม่ได้รับการยอมรับขึ้นสู่อำนาจ แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในการเลือกตั้งเมื่อปี 2550 โดยองค์กร Freedom Houseเคยออกมาระบุว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ “อิสระและเป็นธรรม” อย่างแท้จริงเพราะมีกองทัพช่วยหนุนหลัง (แต่ไม่สำเร็จอย่างเห็นได้ชัด) นายอภิสิทธิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อพิจารณาคำเตือนที่ว่าใครก็ตามที่ “หลบหลู่สถาบัน” จะถูกตามล่าเหมือนสุนัข ทั้งกองทัพและรัฐบาลพลเรือนจอมปลอม โดยเหล่านายพลที่อยู่เบื้องหลังกล่าวว่าบุคคลใดที่ต่อต้านพวกเขาคือศัตรูของ สถาบันกษัตริย์ แผนการดังกล่าวนั้นชัดเจนมากเพราะการกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี มักมีนักกิจกรรมฝ่ายตรงข้ามตกเป็พวกเขายังถูกปฎิบัติอย่างทารุณโดยระบบ กฎหมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามในสายตาของสาธารณชนและทำ ให้ผ่ายตรงข้ามรู้สึกท้อแท้ไม่อยากต่อต้านโครงสร้างอำนาจที่แท้จริงของ ประเทศไทย
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้จะเสนอตัวเลือกที่ ชัดเจนแก่ประชาชนไทย อย่างไรก็ตามการตัดสินใจดังกล่าวมีมากกว่าการสนันสนุนตัวเลือกทางนโยบายหรือ ผู้ลงสมัครแข่งขัน ตัวเลือกที่พวกเขาต้องเลือกคือการจะยอมรับกฎเกณฑ์ของกองทัพและให้ความชอง ธรรมกับรัฐบาลที่ใช้บังหน้ากองทัพหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การทำลายกลุ่มอำมาตย์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งโดยการเลือกตั้งที่ แสดงให้เห็นถึงความอดทนและยึดมั่นต่อประชาธิปไตยและความมุ่งมั่นที่จะกำหนด ชีวิตตนเองของคนไทย การเลือกประชาธิปไตยมากกว่าจะเลือกเผด็จการจึงมีราคาที่ต้องจ่ายอย่างแน่นอน เพราะกองทัพไทยไม่เคยตอบโต้การท้าทายของประชาชนอย่างมีไมตรีจิตร แต่กระนั้น ก็เป็นเรื่องที่แย่ยิ่งกว่าที่คนไทยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะยอมจำนนต่อการข่ม ขู่และความกลัว และยอมปล่อยให้ลูกหลานในอนาคตต้องเป็นผู้นำพาประเทศออกจากการปกครองโดยกอง ทัพ
http://robertamsterdam.com/thai/