WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 6, 2011

นักวิชาการออสซี่ตั้งคำถาม เลือกตั้งไทยจะ "เป็นธรรม" ได้อย่างไร? เมื่อผู้เล่นอีกฝ่ายถูกกันออกจากสนาม

ที่มา มติชน



แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ นักวิชาการด้านมานุษยวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ผู้ให้ความสนใจกับประเด็นการเมืองไทยร่วมสมัย ได้เขียนบทความขนาดสั้นเผยแพร่ในเว็บล็อก "นิว มันดาลา" (นวมณฑล) โดยตั้งคำถามว่า ถ้าประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคมนี้ การเลือกตั้งดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างยุติธรรมหรือไม่?


วอล์คเกอร์วิเคราะห์ว่า ด้านหนึ่ง การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอาจมี "ความบริสุทธิ์ยุติธรรม" ในแง่ของกระบวนการเลือกตั้งขั้นพื้นฐาน โดยเขาไม่ค่อยเห็นพ้องต้องกันกับความคิดของพรรคฝ่ายค้านอย่าง พรรคเพื่อไทย หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง ที่ระบุว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์จะโกงการเลือกตั้งและกระทำการใดๆ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ตนเองได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกสมัย เพราะนี่คือข้อกล่าวหาที่เคยใช้เล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพันธมิตรมาก่อน และเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า ข้อกล่าวหาเช่นนั้นก็จะถูกนำกลับมาใช้เล่นงานนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เช่นกัน


นักวิชาการชาวออสเตรเลียผู้นี้เห็นว่า การกล่าวอ้างถึงการโกงการเลือกตั้งนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันทางการเมืองในสังคมไทย ทว่าถึงที่สุดแล้ว ประเพณีทางการเมืองอันอันตรายเช่นนี้ ก็จะกร่อนเซาะทำลายความเชื่อมั่นศรัทธาที่มีต่อกระบวนการเลือกตั้งไปในตัวด้วย


ทั้งนี้ วอล์คเกอร์ยังไม่เคยเห็นหลักฐานชัดเจนใดๆ ที่จะระบุว่าผลการเลือกตั้งครั้งหลังๆ ในประเทศไทยมิได้สะท้อนให้เห็นถึงเจตจำนงแท้จริงของประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ.2554 ก็คงไม่มีอะไรแตกต่างไปจากการเลือกตั้ง 2-3 ครั้งก่อนหน้านั้น และมันจะเป็นการเลือกตั้งที่ "ยุติธรรม" หากพิจารณาจากกระบวนการจัดการเลือกตั้งในภาพรวมทั้งหมด


อย่างไรก็ตาม ถ้าอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งภายหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า ประเด็นว่าด้วย "ความยุติธรรม" ก็จะยิ่งขยายใหญ่ออกไปจนยากเกินเยียวยา พร้อมด้วยคำถามที่ว่า


การเลือกตั้งดังกล่าวยังมี "ความเป็นธรรม" อยู่หรือไม่ เมื่อมีคนเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ผู้มีอำนาจมีแนวโน้มจะยอมรับผลการเลือกตั้งเพียงรูปแบบเดียว?

การเลือกตั้งดังกล่าวยังมี "ความเป็นธรรม" อยู่หรือไม่ เมื่อพรรคฝ่ายค้านหลักถูกตัดสินยุบพรรคโดยกระบวนการยุติธรรม และไม่ใช่เพียงครั้งเดียวแต่เรื่องที่ว่าเกิดขึ้นมาแล้วถึงสองครั้ง?

การเลือกตั้งดังกล่าวยังมี "ความเป็นธรรม" อยู่หรือไม่ เมื่อนักการเมืองคนสำคัญๆ ของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ล้วนถูกห้ามทำงานการเมืองอย่างเป็นทางการ?

และ การเลือกตั้งดังกล่าวยังมี "ความเป็นธรรม" อยู่หรือไม่ ถ้าผู้นำที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสังคมไทย (ซึ่งหลุดออกจากตำแหน่งด้วยการทำรัฐประหารอย่างผิดกฎหมาย) ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันในสนามดังกล่าวได้?


นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียสรุปว่า จากคำถามทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า ชะตากรรมทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากที่สุดสำหรับอนาคตทางการเมืองไทย เพราะตราบใดที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สมัครใจหรือไม่สามารถจะเผชิญหน้ากับทักษิณในสนามเลือกตั้ง พวกเขาก็ต้องเผชิญหน้ากับข้อกล่าวหาว่าตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่ "ไม่เป็นธรรม" ต่อไป


หลายคนอาจคิดว่าสัญญาณเตือนถึงความชอบธรรมของรัฐบาลในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นราคาที่ต้องจ่ายอันสมเหตุสมผล เพื่อจะปลดปล่อยประเทศไทยออกจากทักษิณ แต่ราคาที่ถูกใช้จ่ายออกไป ก็คือ "ความเป็นธรรมในการเลือกตั้ง" ซึ่งอาจส่งผลให้การแก้ไขปัญหาระยะสั้นบางประการประสบผลสำเร็จ ทว่าในระยะยาวแล้ว มันจะนำไปสู่ความสูญเสียราคาแพงสูงลิบลิ่วอย่างแท้จริง