WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, April 7, 2011

เพื่อร่วมรำลึกวันจักรี: ย้อนประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยสายตาของไพร่

ที่มา Thai E-News


โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ
7 เมษายน 2554


6 เมษายน 2554 เมื่อวานนี้ เป็นวันครบรอบ 229 ปี แห่งราชวงศ์จักรี เป็นวันสถาปนาปฐมบรมราชาแห่งราชวงศ์จักรี ตามที่เราท่านได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เกิดขึ้นหลังจากเจ้าพระยาจักรีทำรัฐประหารและประหารชีวิตพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมทั้งครอบครัว และขุนนางที่จงรักภักดีทั้งหลาย

การโค่นราชวงศ์หนึ่งแล้วตั้งราชวงศ์ใหม่เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยในยุคสมัยสมบูรณาณาสิทธิราชย์ และราชวงศ์จักรีก็ไม่ได้มีประวัติแห่งการก่อกำเนิดที่แตกต่างจากราชวงศ์อื่นๆ เช่นกัน

ดังนั้นในการร่วมรำลึกวันจักรี ในฐานะประชาชน เราควรร่วมรำลึกอย่างมีสติ ด้วยการพยายามเข้าใจวิถีคิดและจิตวิทยาการเมืองแห่งราชวงศ์จักรี เพื่อสืบสานและรักษาอำนาจให้คงอยู่คู่ฟ้า

ราชวงศ์จักรีได้สืบทอดแนวคิดและจิตวิทยาการบริหารบ้านเมืองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาจากราชอาญาจักรอยุธยา และราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายในอดีต และปฏิบัติตาม “โองการสวรรค์” ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

วิถีการรักษาอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มักอิงแอบแนบชิดกับนายทหารเสนาบดี ควบคู่ไปกับส่งเสริมค่านิยมความเชื่อในเรื่อง “ความเป็นสมมุติเทพ” ที่ดำรงต่อเนื่องมาเนิ่ินนานหลายพันปีแห่งประวัติศาสตร์มหาราชา อันเป็นยุทธศาสตร์แห่งการดำรงอยู่และขยายราชอาญาจักร และเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการสร้างความชอบธรรมและการยอมรับในหมู่ประชาชนว่า การเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ขึ้นเป็นผู้ปกครองแว้นแคว้นนั้นๆ นั้นเป็นโองการจากสวรรค์ ทั้งมหาจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ของจีน พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งมหาอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ หรือแม้แต่พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษที่ฉีกสัญญาประชาคมที่ทำไว้กับขุนพลจากเมืองต่างๆ เมื่อกว่า 800 ปีที่ผ่านมา (แม้ว่าสุดท้ายก็ต้องยอมทำสัญญาแมคนาคาร์ตาในปลายรัชกาลก็ตาม) ต่างก็อ้างว่าพระองค์ได้รับการแต่งตั้งจากสวรรค์

นั่นมันเนิ่นนานมามากแล้ว หลายร้อยปีมาแล้ว สถาบันกษัตริย์ในหลายประเทศปลาสนาการไปในช่วง 229 ปี

ภาพการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยเครื่องกิโยติน 21 มกราคม 1793 (พ.ศ. 2336)

พระราชวงศ์พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซีย ทุกพระองค์ถูกสังหารโหดในวันที่ 17 กรกฎาคม 1918 (2461)

ภาพการปฏิวัติรัสเซียพ.ศ. 2460

ในช่วงเวลาหลายร้อยปีนี้ ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่างก็ทยอยถูกโค่นล้มโดยประชาชนในทั่วทุกมุมโลก สำหรับกษัตริย์ที่ชาญฉลาดต่างก็รู้ว่าจำต้องปรับตัวลงมาอยู่ร่วมกับประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ

กษัตริย์ที่บ้าอำนาจที่ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญต่างก็ถูกโค่น อย่างถอนรากถอนโคน และถูกประหารชีวิต (ชัดเจนที่สุดได้แก่ กรณีพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซีย หรือร่วมสมัยในกรณีของพระเจ้าคยาเนนทราของเนปาล ที่ถูกโค่นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่รัฐบาลทักษิณถูกโค่นด้วยรัฐประหาร 2549 ของคณะปฏิรูปการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (หรือในอีกนัยยะหนึ่งก็คือรัฐประหาร โดยคณะรัฐประหารอ้างว่า เพื่อดึงอำนาจกลับไปสู่สถาบันพระมหากษัตริย์))

สมบูรณาญาธิราชย์แบบไทยไทย

ถ้ามองย้อนคร่าวๆ ไปยังบันทึกการเมืองสมัยอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ พวกเราจะเห็นการฆ่าฟันแย่งชิงกันขึ้นสู่อำนาจตลอดเวลา เกือบทุกรัชสมัย เกิดมาพร้อมกับวรรณกรรมเพื่อการกล่อมเกลาสังคม อาทิ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ใช้ประกอบการทำพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อสาบานตนต่อพระมหากษัตริย์ ที่ใช้มาตั้งแต่องค์ปฐมกษัตริยแห่งราชอาณาจักรอยุธยา และสืบสานต่อเนื่องมาจนถึงกรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และจนถึงปัจจุบัน
แม้จะมีการพูดเรื่องทศพิธราชธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองระบอบกษัตริย์ ไม่รู้จักกับคำว่า (หรือไม่มีนิยามคำว่า) “ความยุติธรรม” มีแต่เพียงคำว่า “พระราชอำนาจ”“พระราชโองการ” และ/หรือ “พระราชดำริ” เป็นต้น

ระบบสมบูรณาณาสิทธิราชย์ เพื่อการเมืองที่กดหัวคน จึงเป็นระบบการเมืองที่เหน็ดเหนื่อย ที่ไม่มีเสถียรภาพ ไม่ยั่งยืน เพราะมันต้องอยู่กับความหวาดระแวง ชิงไหวชิงพริบ ต่อสู้แย่งชิงอำนาจ ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา

ประวัติศาสตร์เจ้าจึงเป็นประวัติศาตร์แห่งเขตแดนที่ไม่เคยอยู่นิ่ง - ประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยสงครามและการนองเลือดแห่ง . .

==> การรักษาอำนาจและอาณาเขตแดน (ของเจ้า) ==> การขยายอาณาเขต ==> การกู้แผ่นดิน ==> การแย่งชิงในราชสำนัก ==> เกิดราชวงศ์ใหม่

เป็นวัฎจักรหมุนวนกันอย่างนี้ ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น จนกว่าจะเจ้าจะยอมรับในระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ที่ทุกคนได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

การเมืองกษัตริย์จึงเป็นการเมืองของศักดินาชนชั้นสูง การเมืองของกษัตริย์ อุปราช และเสนาบดีกลาโหม

เป็นการเมืองที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น - ทั้งขึ้นทั้งล่อง - หรือที่สุภาษิตว่าไว้ว่า “เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราญ” เป็นการเมืองที่แน่นอนว่าประชาชนต่างก็ไม่พอใจ และต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ประชาชนต้องเสี่ยงชีวิตในฐานะทหาร เสียชีวิตจากการปล้นสะดมภ์ ขาดอาหาร และถูกจับเป็นเชลยข้ามเขตแดนกันไปมา ตามแต่ว่าศึกครั้งนี้มหาราชองค์ไหนคือผู้ชนะ

ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีคำว่า “ประชาชน” มีแต่คำว่า ไพร่ ทาส เลก ที่ไม่มีอธิปไตยของชีวิตตัวเอง เป็นเพียงกำลังแรงงาน สนมนางกำนัล เครื่องบำเรอความใคร่ และกองกำลังทหารที่หล่อเลี้ยงความมั่งคั่งแห่งเมืองหลวง

ในระบบศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เจ้าศักดินาคนไหนก็ตามที่เริ่มมีอิทธิพลและมีไพร่ทาสมากเกินไป จะถูกจับตามอง และถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่ฉ้อฉลคนอื่น พวกเขามักจะถูกกำจัดทิ้งอย่างง่ายดาย ฆ่าเรียบ เผาเรียบ พร้อมกับยึดไพร่ ทาส มาเแจกจ่ายระหว่างกลุ่มที่ชนะ

นี่คือการเมืองแห่งอำนาจของลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ไทย เป็นการเมืองแห่งการรบราฆ่าฟัน จี้ปล้น แย่งชิง เผาบ้าน เผาเมือง กันอยู่ตลอดเวลา มันโหดร้ายยิ่งนัก

ด้วยเหตุนี้ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ดำรงตนด้วยการบ่มเพาะความเชื่อว่ากษัตริย์คือโอรสสวรรค์ จึงถูกท้าทายจากพลังประชาชนควบคู่มาพร้อมกับประวัติศาตร์ราชสำนัก เพราะในตัวลัทธิแนวคิดนี้ มันขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความรักอิสรภาพ รักสงบ และรักความเป็นไท ประชาชนทั่วไปต่างก็ต้องการดำรงชีวิตด้วยความเข้าใจและเคารพในธรรมชาติ พึ่งตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งลงแรงช่วยเหลือกันและกันในเทือกสวนไร่นา ดังนั้นพวกเขาไม่ต้องการเป็นข้า ไพร่ หรือทาสของใครทั้งนั้น

การลุกขึ้นโค่นเผด็จการและกษัตริย์ในโลกปัจจุับัน

ลัทธิการปกครองระบบกษัตริย์ และเผด็จการทหารที่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็กำลังอยู่ในภาวะอกสั่นขวัญหาย อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศในอาฟริกา และตะวันออกกลางที่การเปลี่ยนผ่านได้เกินอายุขัยมานานร่วมศตวรรษ จนอยู่หลงยุค หลงสมัย และกลายเป็นตัวตลกในหมู่ประชาคมโลกมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประชาชนในประเทศเหล่านั้นก็รู้ดี และกำลังลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและยุติหลายศตวรรษแห่งชีวิตที่ถูกกดขี่ภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์และเผด็จการทหาร

ประเทศที่ปกครองด้วยลัทธิมหาราชเอกบุรุษ และเผด็จการทหารหรือเผด็จการรัฐสภา ที่อยู่รอดมาถึงปัจจุบัน (เหลืออยู่น้อยเต็มที่) ต่างก็อยู่่เกินอายุขัย และต่างก็พยายามอย่างหนัก และทุ่มเทงบประมาณของรัฐ(อันจำกัด) จำนวนมากมายมหาศาล ไปกับการสร้างภาพและปลูกฝังความคิดแห่ง “สมมติเทพ” และ “ความศักดิ์สิทธิ์” ให้กับองค์พระมหากษัตริย์กันอย่างบ้าคลั่ง ทั้งพัฒนากลไกที่ซับซ้อนและวิจิตรบรรจงมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งพัฒนาการแห่งเครื่องประดับอาภรณ์และพระราชธรรมเนียมต่างๆ

บทเรียนของกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส คือบทเรียนแห่งการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญอย่างน่าชื่นชม



สุรเสียงพระเจ้าฆวน คาร์ลอส ที่ ๑ แห่งสเปน มีพระราชดำรัสปฏิเสธการรัฐประหาร 2521

ประวัติศาสตร์ไพร่

การลุกขึ้นสู้ของประชาชนที่อาฟริกาตอนเหนือและตะวันออกกลางในช่วงปลายปีที่่ผ่านจนถึงขณะนี้ คือประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้ของประชาชนแห่งยุคสมัยปัจจุบัน

ภาพการประท้วงกษัตริย์บาร์เรน กุมภาพันธ์ 2554

ประชาชนอียิปต์ลุกขึ้นขับไล่เผด็จการมูบารัค 25 มกราคม 2554 ทั้งประเทศและต่อเนื่อง มูบารัคต้องยอมลาออกในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

จากศรีปราชญ์ถึงณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

เราจะเห็นได้ว่า แม้ประวัติศาสตร์มักจะเขียนโดยชนชั้นสูงเพื่อชนชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่ มันก็ยังทิ้งเรื่องราวให้เราอ่านระหว่างบันทัดได้อยู่บ้างจากบันทึกเหล่านี้ได้บ้าง อาทิ มันได้บันทึกจิตวิญญาณอิสระของมนุษย์คนหนึ่งไว้เช่นกันเมื่อร่วมสี่ร้อยปีที่ผ่านมา จิตวิญญาณของมหากวีแห่งยุคสมัยพระเจ้านารายณ์ “ศรีปราชญ์” ที่ยิ่งใหญ่จนแม้แต่นักประวัติศาสตร์ราชสำนักก็ไม่อาจไม่บันทึกความยิ่งใหญ่ของเขา ที่ตอบโต้ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมของพระนารายณ์ ที่กล่าวหาศรีปราชญ์ว่า . .

หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย
นกยูงหางกระสัน ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อยเดียรฉาน

ศรีปราชญ์ย้อนตอบ . .

หะหายกระต่ายเต้น ชมแข
สูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้า
ระดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา
อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน
การตอบโต้ครั้งนี้ระหว่างศรีปราชญ์ มหากวีแห่งยุคสมัยกับพระสนมของพระนารายณ์ ทำให้เขาติดคุกหลวงและถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราชจนถูกประหารชีวิต ซึ่งเขาได้เขียนบทกลอนในวันประหารชีวิตไว้ว่า . .
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์อาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง

นี่เป็นบทกวีแห่งเสรีชนเมื่อกว่่าสี่ร้อยปีที่ผ่านมา. .

สำหรับการร่วมรำลึก 229 แห่งราชวงศ์จักรี ข้าพเจ้าขอนำคำปราศรัยของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ที่หน้ารัฐสภา เป็นคำปราศรัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นคำปราศรัยแห่งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย มาบันทึกปิดท้ายบทความ เพื่อเป็นบันทึกแห่งยุคสมัยของหน้าประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทย

เราเกิดบนผืนแผ่นดิน เราโตบนผืนแผ่นดิน เราก้าวเดินบนผืนแผ่นดิน เมื่อเรายืนอยู่บนดิน เราจึงห่างไกลเหลือเกินกับท้องฟ้า ... พี่น้องครับ...

เมื่อเรายืนอยู่บนดิน ต้องแหงนคอตั้งบ่า แล้วเราก็รู้ว่า ... ฟ้าอยู่ไกล...
เมื่อเราอยู่บนดิน แล้วก้มหน้าลงมา เราจึงรู้ว่า ... เรามีค่า เพียงดิน ...
แต่ผมแน่ใจว่า ... ด้วยพลังของคนเสื้อแดง ที่มันจะมากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทุกนาที ทุกนาที


แม้เรายืนอยู่บนผืนดิน แม้เราพูดอยู่บนผืนดิน แต่จะได้ยินถึงท้องฟ้า แน่นอน!


เสียงไชโยโห่ร้องของเราในยามนี้ จากคนที่มีค่าเพียงดิน จากคนที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดิน จะได้ยินถึงท้องฟ้า แน่นอน!


คนเสื้อแดง จะบอกดิน บอกฟ้าว่า ... คนอย่างข้า ก็มีหัวใจ...!
คนเสื้อแดง จะบอกดิน บอกฟ้าว่า ... ข้าก็คือคนไทย...!
คนเสื้อแดง จะถามดิน ถามฟ้าว่า ... ถ้าไม่มีที่ยืนที่สมคุณค่า...!
จะถามดิน ถามฟ้าว่า... จะให้ข้าหาที่ยืนเองหรืออย่างไร...!
เสียงไชโยโห่ร้องของคนเสื้อแดง จะได้ยินถึงดิน ถึงฟ้า...!

ไม่มีบทจบไหนจะงดงามและจุดประกายแห่งความหวังของการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสังคมที่เท่าเทียมและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว ในวาระครบรอบ 229 ปีแห่งรัตนโกสินทร์





ข่าวที่ผ่านมาในไทยอีนิวส์

216ปีกิโยตินบั่นพระเศียรราชินีมารี อังตัวเนต

92ปีวันอวสานราชวงศ์โรมานอฟรัสเซีย

จากเวบไซด์กลุ่มนิติราษฎร เมื่อฆวน คาร์ลอสปฏิเสธรัฐประหาร - ปิยบุตร แสงกนกกุล