WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 6, 2011

จดหมายเปิดผนึกแลกเปลี่ยนกับ พระไพศาล วิสาโล “ความเป็นกลางลงลึกถึงความเป็นจริงหรือไม่ ?”

ที่มา ประชาไท

ในบทความชื่อ ดูแล “ตัวกู” ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง (มติชนรายวัน 2 เมษายน 2554) หลวงพี่ไพศาล วิสาโล เขียนว่า

“...การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองเป็นเหลืองและแดงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อันเป็นผลสืบเนื่องจากความขัดแย้งในเรื่องรูปแบบทางการเมืองที่พึงปรารถนา (เน้นโดยผู้เขียน) ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับเสียงข้างมาก อีกฝ่ายต้องการการเมืองที่มีคุณธรรม ไร้การคอร์รัปชั่น ท่ามกลางความขัดแย้งดังกล่าวได้มีการกล่าวประณามหยามเหยียดจนเกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรง ถึงขั้นสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงต่อกัน จนเกิดเหตุการณ์นองเลือดระหว่างการล้อมปราบของฝ่ายรัฐ มีการสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในฝ่ายของคนเสื้อแดง

นอกจากการโจมตีต่อต้านจุดยืนทางการเมืองของกันและกันแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กันก็คือ ท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคุณค่าที่แต่ละฝ่ายยึดถือด้วย (เน้นโดยผู้เขียน) คนเสื้อเหลืองจำนวนไม่น้อยรู้สึกรังเกียจกับคำว่าประชาธิปไตย ความยุติธรรม (และแสลงหูกับคำว่าสองมาตรฐาน ความเหลื่อมล้ำ) ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยก็รังเกียจกับคำว่า คุณธรรม ความดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต (และแสลงหูกับคำว่า คอร์รัปชั่น) ทั้งนี้ก็เพราะถ้อยคำและคุณค่าเหล่านี้ถูกมองว่าผูกโยงอยู่กับฝ่ายตรงข้ามกับตน จึงมีความรู้สึกในทางลบจนเห็นว่าเป็นสิ่งเลวร้ายไปเลย

นั่นเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะทั้งประชาธิปไตย ความยุติธรรม รวมทั้งคุณธรรมความดี ความซื่อสัตย์สุจริต ล้วนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคนและจำเป็นต่อสังคมไทยในยุคนี้ ใช่แต่เท่านั้นมันยังเป็นคุณค่าที่ฟูมฟักอยู่แล้วในใจของทุกคนไม่ว่าเหลืองหรือแดง การปฏิเสธคุณค่าเหล่านี้(เน้นโดยผู้เขียน) ไม่ว่าอันใดอันหนึ่ง หมายถึงการปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่ในตนเอง รวมทั้งปิดโอกาสที่คุณค่าเหล่านี้จะเจริญงอกงามในใจตนเพื่อชีวิตที่มีคุณค่า”

ประเด็นแรก ที่ผมขอแลกเปลี่ยนกับหลวงพี่ไพศาล คือ ผมเห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นมาและเป็นอยู่เป็นความขัดแย้งที่มากกว่า “ความขัดแย้งในเรื่องรูปแบบทางการเมืองที่พึงปรารถนา ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับเสียงข้างมาก อีกฝ่ายต้องการการเมืองที่มีคุณธรรม ไร้การคอร์รัปชั่น” อะไรที่ “มากกว่า”โปรดดูคำกล่าวของ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ว่า

“เราร่วมต่อสู้กันมาตั้งแต่หลังปี 2549 สิ่งที่เราอยากเห็นมากที่สุดคือ ให้บ้านเมืองนี้เป็นประชาธิปไตย สิ่งที่เราอยากเดินไปถึงที่สุดคือ ผืนแผ่นดินนี้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ...ต้องการแค่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์เท่านั้น ผู้มีอำนาจให้สิ่งนั้นไม่ได้แต่กลับหยิบยื่นความตายให้เรา เพียงเพราะต้องการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ผู้ต้องรับผิดชอบต่อโศกนาฏกรรมในครั้งนี้คือผู้ลงมือ ผู้สั่งการ และผู้อยู่เบื้องหลัง เราไม่คาดคิดว่าผู้มีอำนาจจะอำมหิตถึงเพียงนั้น ไม่คาดคิดไม่ใช่เพราะรู้ไม่ทัน แต่ไม่คาดคิดเพราะที่ผ่านมาเรารักเขามากเกินไป ความรักทำให้คนตาบอด แต่ความตายทำให้คนตาสว่าง แล้วจะไม่มีวันหลงลืมความตายของประชาชน ไม่มีวันลืมความสูญเสียของผู้บริสุทธิ์ ตรงกันข้าม เราจะลืมตามองไปทุกมุมมืดเพื่อดูใครก็ตามที่ซ่อนตัวอยู่ให้เขารู้ว่าเรารู้แล้ว ตาสว่างแล้วทั้งแผ่นดิน” (ประชาไท/เข้าถึงเมื่อ 5/04/2554)

ผมคิดว่าคนเสื้อแดงส่วนใหญ่เข้าใจ “ความหมาย” ที่คุณณัฐวุฒิพูด และต้องการมากว่า “ประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับเสียงข้างมาก” (ซึ่งมักถูกฝ่ายตรงข้ามกล่าวหาว่า “ประชาธิปไตย 4 วินาที”) นั่นคือคนเสื้อแดง (ยืนยันมาตลอดว่า) ต้องการสร้างรูปแบบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับเสียงข้างมากและพ้นไปจากการครอบงำกำกับของอำนาจนอกระบบ เป็นประชาธิปไตยที่อยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคแบบอารยประเทศ

ประเด็นที่สอง หากพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่า คนเสื้อแดงปฏิเสธเสื้อเหลืองในเรื่องเรียกร้องรัฐประหารให้เป็นทางออกของการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน และอ้างการเมืองที่มีคุณธรรม ไร้คอร์รัปชันโดยให้ความสำคัญกับอำนาจของชนชั้นนำเหนืออำนาจของประชาชน เช่น อำนาจพิเศษ อำมาตย์ กองทัพ คนดีมีคุณธรรม (ที่ฝ่ายตนเป็นผู้นิยาม/เลือกสรร?) ให้เป็นฝ่ายที่มีสิทธิพิเศษในการสร้าง “การเมืองที่มีคุณธรรม ไร้คอร์รัปชัน” คนเสื้อแดงไม่ได้ปฏิเสธ “คุณค่า” ของ “การเมืองที่มีคุณธรรม ไร้คอร์รัปชัน” ว่าคุณค่าดังกล่าวนี้เป็นคุณค่าที่ไม่พึงปรารถนา

แต่อาจมีการแสดงออกที่เสมือนว่าคนเสื้อแดงบางส่วน “วิจารณ์/โจมตี” คุณค่าดังกล่าวนั้น ทว่าเมื่อดูในรายละเอียดจะเห็นว่า คนเสื้อแดงวิจารณ์/โจมตี “คำกล่าวอ้างกับการกระทำที่ขัดแย้งกัน” ของฝ่ายตรงข้ามมากกว่า และสำหรับคนเสื้อแดงการเมืองที่มีคุณธรรมและไร้คอร์รัปชันมีความเป็นไปได้มากกว่าภายใต้รูปแบบประชาธิปไตยที่เคารพเสียงข้างมากของประชาชน และเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนมีความเสมอภาค มีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ “ทุกอำนาจสาธารณะ” อย่างแท้จริงเท่านั้น

ประเด็นที่สาม ผมเคารพในบทบาทความเป็นกลางและเจตนาดีของหลวงพี่ไพศาลครับ และเห็นว่าการที่พระสงฆ์ในบ้านเรา (อาจจะ 1 ในประมาณ 250,000 รูป) แสดงบทบาท “เตือนสติ” ทุกฝ่ายเช่นที่หลวงพี่พยายามทำเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ผมก็อยากเห็นบทบาทความเป็นกลางที่ “สามารถลงลึก” ใน “ความเป็นจริง” มากกว่าที่เป็นมา

หมายถึง ผมอยากเห็นบทบาทความเป็นกลางที่ “มองเห็น” และ “อธิบาย” ปัญหาความขัดแย้งที่ลงลึกมากกว่าปัญหา “ความขัดแย้งระหว่างสี” หรือการพิพากษาเพียงแค่ว่า “แต่ละฝ่ายเอาพวกมากกว่าเอาความถูกต้อง” หรือ “แต่ละฝ่ายเอาพวกจนปฏิเสธคุณค่าที่ฝ่ายตรงข้ามยึดถือแม้เป็นคุณค่าที่สอดคล้องกับคุณค่าของฝ่ายตนเองก็ตาม” หรือแต่ละพวกต่างยึด “ตัวกู” เหนือ “หลักการ”

หรือหากจะวิพากษ์ “ตัวกู” ของแต่ละฝ่ายอย่างเที่ยงธรรม (ตามความหมายของความเป็นกลางที่ว่า “วิพากษ์วิจารณ์ทุกฝ่ายอย่างเที่ยงธรรมและเท่าเทียม”) หลวงพี่ก็น่าจะวิพากษ์ “ตัวกูใหญ่” ที่อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งด้วย จึงจะสรุปได้ว่าหลวงพี่ “สามารถ เป็นกลาง” ได้ในความหมายที่สามารถ “วิพากษ์วิจารณ์ทุกฝ่ายได้อย่างเที่ยงธรรมและเท่าเทียม” อย่างแท้จริง

นี่คือ “บางประเด็น” ที่ผมขอแลกเปลี่ยน “ความเห็นต่าง” (ความเห็นผมอาจผิดก็ได้) กับหลวงพี่ไพศาล ด้วยความเคารพ และด้วยจิตที่เป็นกัลยาณมิตรอย่างแท้จริงครับ !