WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, April 7, 2011

จับตาคดีเลี่ยงภาษีบุหรี่6.8หมื่นล้าน

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ



การสัมมนาเรื่อง "แก้ปัญหาภาษีบุหรี่ 6.8 หมื่นล้านบาทอย่างไร? ประเทศไทยถึงไม่เสียประโยชน์" จัดโดย นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ เมื่อเร็วๆ นี้

มีผู้เกี่ยวข้องกับคดีและผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษีอากรเข้าร่วม โดยต่างให้ข้อคิดเห็นในการแก้ปัญหาดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ




มีหลักฐานเป็นที่ยุติว่า ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จดทะเบียนในมลรัฐเดลาแวร์ รัฐเดียวในสหรัฐที่ได้ชื่อ Tax Haven (ที่พักหลบภาษี) เช่นเดียวกับเกาะเคย์แมน เกาะบริติชเวอร์จิน

โดยมีทุนจดทะเบียนเพียง 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 500,000 บาท (ปีพ.ศ.2535)

ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโร และแอลแอนด์เอ็ม ซึ่งกำลังขยายตลาดโดยมีมูลค่าส่วนแบ่งตลาด 25% ของตลาดบุหรี่ทั้งหมดในปัจจุบัน (ประมาณ 400 ล้านซองเศษ/ปี) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อีกประเด็นคือ ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล ในสหรัฐถือหุ้น 100% ของฟิลลิป มอร์ริสฯ, ฟิลลิป มอร์ริส ฟิลิปปินส์ และฟิลลิป มอร์ริส มาเลเซีย

จึงไม่มีการซื้อขายกันจริง เท่ากับเป็นนิติกรรมอำพราง ถือเป็นความผิดสำเร็จตามองค์ประกอบกฎหมาย มีโทษทางอาญา

มีการกล่าวหาโดยนายสมชัย อภิวัฒนพร อดีตรองอธิบดีกรมสรรพสามิต ปัจจุบันเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ฟิลลิป มอร์ริสฯ หลีกเลี่ยงภาษีโดยการสำแดงราคา CIF อันเป็นเท็จต่ำกว่าความเป็นจริง

(ราคา CIF หมายถึง ราคาส่งมอบ ซึ่งคิดต้นทุนสินค้าบวกค่าประกันสินค้าขณะขนส่ง และค่าขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อ โดย C=cost I=insurance F=freights)

โดยสำแดงราคาบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโร 7.76 บาท และยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม 5.88 บาท ซึ่งนำเข้าจากโรงงานผลิตบุหรี่ของฟิลลิป มอร์ริส ฟิลิปปินส์ ขณะที่ทั้ง 2 บริษัทถือหุ้นโดยฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล ในสหรัฐ 100%

สรุปคือมีเจ้าของคนเดียวกัน ต่างจากการนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโรและแอลแอนด์เอ็มของบริษัทอื่นๆ เป็นอย่างมาก

เช่น บ.คิง เพาเวอร์ (มาร์ลโบโร 27.46 บาท, แอลแอนด์เอ็ม 14 บาทเศษ) บ.บางกอกแอร์เวย์ส (มาร์ลโบโร 30.39 บาท) วังถลางกรุ๊ป (มาร์ลโบโร 26.28 บาท) และบ.อลิสอินเตอร์ (มาร์ลโบโร 22.13 บาท) ทั้งที่เป็นบุหรี่ชนิดเดียวกัน

อีกทั้งการตรวจพิสูจน์คุณภาพบุหรี่ ซอง กระดาษห่อ ตราเครื่อง หมายการค้า พบว่าไม่แตกต่างกัน

การนำเข้าบุหรี่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมควบคุมโรค โดยกรมจะออกใบ ยส.3 ให้ ซึ่งมีการใช้ใบ ยส.3 สำหรับบุหรี่ทั้ง 2 ยี่ห้อร่วมกันระหว่างฟิลลิป มอร์ริสฯ, คิง เพาเวอร์, บางกอกแอร์เวย์ส และวังถลางกรุ๊ป

จากการตรวจสอบราคา CIF บุหรี่มาร์ลโบโรในประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซียซองละ 16.51 บาท, มาเลเซีย 19.95 บาท, บรูไน 30.87 บาท, สิงคโปร์ 20 บาท, ฮ่องกง 28 บาท

จึงเป็นที่มาว่าของเหมือนกัน แต่การแสดงราคา CIF ต่อ กรมศุลกากรไม่เหมือนกัน ขณะที่กรมศุลกากรก็ไม่แสวงหาข้อเท็จจริง ทั้งยังยอมรับราคา 7.76 บาท และ 5.88 บาทของฟิลลิป มอร์ริสฯ ว่าถูกต้อง

นายสมชัย ระบุด้วยว่า ถ้าสำแดงลดลง 1 บาท ภาษีต้องเสียลดลง 4 บาท การนำเข้าปีละ 400 ล้านซอง (ทั้งแอลแอนด์เอ็ม และมาร์ลโบโร) สำแดงต่ำบาทเดียว ภาษีหายไป 1,600 ล้านบาท

ถ้าสำแดงต่ำซองละ 10 บาท ภาษีหายไป 16,000 ล้านบาท/ปี จึงเป็นที่มาของความเสียหายถึง 6.8 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ยังพบการแทรกแซงคดี โดย นายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย อ้างบัญชานายกฯ เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุม

ครั้งแรก เรียกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และกรมศุลกากร นายเกียรติแจ้งต่อคณะพนักงานสอบสวนว่า ราคาของฟิลลิป มอร์ริสฯ เป็นราคาที่ถูกต้องตามที่กรมศุลกากรแจ้ง

แล้วเหตุใดดีเอสไอต้องดำเนินคดี จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากหากแพ้คดีในชั้น WTO

พนักงานสอบสวนจึงทำหนังสือถึงกรมศุลกากร ได้รับคำตอบว่ากรณีแจ้งราคาฟิลลิป มอร์ริสฯ ถูกต้องนั้น เป็นการตรวจสอบเอกสารเฉพาะที่ส่งมาให้ คือ หลักฐานการจ่ายเงินที่ซื้อกับฟิลลิป มอร์ริส ฟิลิปปินส์ เท่านั้น

หากดีเอสไอมีข้อมูลเชิงลึกกว่า สามารถดำเนินคดีไปได้ตามอำนาจหน้าที่

ต่อมานายเกียรติ เชิญประชุมครั้งที่ 2 ให้อัยการเข้าร่วมด้วย จากนั้นก็เชิญประชุมอีกหลายครั้ง สุดท้าย 29 พ.ย.53 อธิบดีกรมศุลกากรมาให้การเพิ่มเติมกับดีเอสไอ ส่งให้อัยการ

เดือนม.ค.54 พนักงานอัยการจึงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องส่งมายังดีเอสไอว่า จะแย้งคำสั่งหรือไม่ หากสั่งไม่ฟ้องคดีก็จบ การนำเข้าบุหรี่จะเป็นเรื่องถูกต้อง

ความเห็นอัยการสั่งไม่ฟ้องที่แตกต่างกับนายสมชัยผู้กล่าวหา และคณะพนักงานสอบสวนชุดเดิม สรุปคือ

ประเด็นที่ 1 พนักงานอัยการเห็นว่าแม้ฟิลลิป มอร์ริสฯ กับคิง เพาเวอร์จะนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อเดียวกัน แต่แหล่งที่มาและวิธีการจำหน่าย 2 บริษัทแตกต่างกัน เนื่องจากคิง เพาเวอร์เป็นร้านค้าปลอดภาษีและนำเข้าจากฟิลลิป มอร์ริส มาเลเซีย ผ่านบริษัทในสิงคโปร์

ที่เห็นต่าง คือ ใบรับรองแบบ ยส.3 ไม่พบหลักฐานว่าคิง เพาเวอร์แจ้งขอใบรับรอง ยส.3 แต่กลับนำใบรับรองฉบับเดียวกันกับที่กรมควบคุมโรคออกให้ฟิลลิป มอร์ริสฯ มาใช้แสดง

การสั่งบุหรี่ของคิง เพาเวอร์ผ่านไปยังบริษัทในสิงคโปร์ เป็นการ สั่งทางเอกสารเท่านั้น การส่งของขึ้นเรือมายังไทยดำเนินการโดยฟิลลิป มอร์ริส มาเลเซียทั้งสิ้น

โดยบริษัทในสิงคโปร์เป็นการอำพรางเพื่อป้องกันเรื่องภาษี เมื่อมีคดีเกิดขึ้น คิง เพาเวอร์ไม่สามารถสั่งสินค้าบุหรี่ได้อีก จึงไม่ได้ขายมาร์ลโบโรและแอลแอนด์เอ็ม

กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าฟิลลิป มอร์ริส มาเลเซีย ซึ่งขายบุหรี่ให้คิงเพาเวอร์ เป็นกลุ่มเดียวกับฟิลลิป มอร์ริสฯ และฟิลลิป มอร์ริส ฟิลิปปินส์

แหล่งที่มาของบุหรี่และวิธีการจำหน่ายจึงไม่แตกต่างกัน เนื่อง จากเป็นการอำพรางเพื่อฉ้อฉลภาษีอากร

ประเด็นที่ 2 พนักงานอัยการเห็นว่าฟิลลิป มอร์ริสฯ มีภาระภาษีมากกว่าคิง เพาเวอร์ ทำให้ต้องขายบุหรี่ซองละ 125 บาท เกินกว่าราคาที่กรมสรรพสามิตกำหนดให้ขายไม่เกิน 55-78 บาท ถ้าบริษัทจะขายให้ได้ ต้องขายในราคาต้นทุนบวกภาษีที่เหมาะสม ราคาต้องไม่เกิน 78 บาท

ที่เห็นต่าง กรณีนี้ฟิลลิป มอร์ริสฯ มีหน้าที่ต้องสำแดงราคา CIF ที่แท้จริง ไม่มีสิทธิ์สำแดงราคา CIF ต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อให้สามารถขายบุหรี่ได้ในราคาไม่เกินกว่าที่กรมสรรพสามิตกำหนด

เพราะหากไม่สามารถขายได้ในราคาดังกล่าว ฟิลลิป มอร์ริสฯ ต้องแจ้งให้กรมสรรพสามิตทราบ จะได้ปรับราคาขายปลีกใหม่ ตามโครงสร้างต้นทุนราคาที่แท้จริง

ประเด็นที่ 3 พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องเพราะเห็นว่ากรมศุลกากรส่งเอกสารมาให้เมื่อวันที่ 8 ต.ค.52 โดยนางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล รองอธิบดีกรมศุลกากร แจ้งว่าตรวจสอบการชำระภาษีแล้วไม่พบความผิด

ที่เห็นต่าง จากการตรวจสอบของดีเอสไอปรากฏว่า กรมศุลกากรส่งหนังสือลงวันที่ 10 พ.ย.52 โดยนายสมชาย พูลสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมศุลกากร แจ้งว่าการตรวจของกรมศุลกากร มิได้เป็นการตรวจค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ดังนั้น หากพนักงานดีเอสไอหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นตรวจสอบได้ในเชิงลึกกว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากร ถ้ามีพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำผิดอาญาของบริษัท ก็ย่อมเป็นไป ตามนั้น

จากการตรวจสอบพบว่า หนังสือที่นางฉวีวรรณส่งมาเมื่อ 8 ต.ค.52 เป็นการตรวจสอบเพียงเอกสารบางอย่างที่ฟิลลิป มอร์ริสฯ ส่งมาให้เท่านั้น เช่น งบดุล หลักฐานการจ่ายเงิน ราคา CIF ให้กับฟิลลิป มอร์ริส ฟิลิปปินส์

กรณีนี้คิง เพาเวอร์ก็มีหลักฐานการจ่ายเงิน ราคา CIF มาร์ลโบโร 27.46 บาท, แอลแอนด์เอ็ม ราคา 14 บาทเศษ จริงเช่นกัน

จากนั้นวงประชุมสัมมนาได้ระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าว

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สว.สรรหา กล่าวว่า กรณีนี้มีพิรุธมากมาย ควรให้องค์กรศาลพิจารณา การแก้ปัญหาระยะยาวต้องพิจารณาเรื่องการจัดเก็บภาษีใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและถูกต้อง

นายธวัชชัย สวนสีดา พนักงานสอบสวนชุดเดิม ให้ความเห็นว่า การดำเนินคดีครั้งนี้เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ไม่ได้หวังเงินรางวัล ถึงศาลตัดสินให้ฟิลลิป มอร์ริสฯ จ่ายค่าปรับ ก็ไม่มีทางจ่ายอยู่ดี

เพราะบริษัทตั้งอยู่ที่สหรัฐ ไม่มีทรัพย์สินใดๆ มีทุนจดทะเบียนเพียง 5 แสนบาท จึงไม่สามารถบังคับคดียึดทรัพย์สินใดๆ มาเป็นค่าปรับได้

เรื่องการแทรกแซงนั้น ประธานผู้แทนการค้าไทย เรียกดีเอสไอให้กลับไปทบทวนความเห็นสั่งฟ้องคดี เนื่องจากกรมศุลกากรระบุว่าไม่ผิด ต่อมาเชิญอัยการเข้ามาร่วมประชุมด้วย พูดคุยความเห็นทางคดีของดีเอสไอที่ไม่ตรงกับหนังสือตอบของกรมศุลกากร

ขณะที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า การแก้ปัญหาสำแดงต้นทุนบุหรี่หรือสุราที่ต่ำ ควรพิจารณาจากนโยบายรัฐเป็นหลักว่า

1.มุ่งเน้นด้านสาธารณสุข เนื่องจากยาสูบ สุรา เป็นสิ่งทำลาย สุขภาพประชาชน ก่อปัญหาสังคม เช่น อุบัติเหตุ ต้องทุ่มงบรักษาพยาบาลจำนวนมาก ดังนั้นต้องไม่ให้ประชาชนติดสุราและยาสูบเพิ่มขึ้น

หรือ 2.มุ่งเน้นด้านภาษี จัดเก็บรายได้เข้าประเทศเป็นหลัก ซึ่งจะส่งเสริมให้คนติดสุรายาสูบเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะในการจัดเก็บภาษี คือ 1.แก้กฎหมาย พ.ร.บ. สรรพสามิต สุรา ยาสูบ ไม่ต้องเกี่ยวกับศุลกากร ให้เป็นเรื่องภายในประเทศ มีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่างกัน และต้องมีมาตรการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีด้วย

2.จัดเก็บสองระบบควบคู่ คือในอัตราแบบปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับอัตราตามสภาพควบคู่ไป เหมือนประเทศสมาชิกแกตต์ แบบใดได้ประโยชน์สูงก็ใช้เป็นฐานเก็บภาษี เพราะมีสุรา ยาสูบบางประเทศที่มีต้นทุนต่ำ เช่น จีน ลาว

3.ยกเลิกสินค้าสุราและยาสูบออกจากแกตต์ เหมือนประเทศสมาชิกแกตต์ เพราะเป็นสินค้าต้องควบคุมที่เป็นภัยต่อสุขภาพประชาชน

และไม่ควรให้มีการแข่งขันทางการค้าเสรีเพราะจะเพิ่มจำนวน ผู้ติดสุรา ยาสูบ ทำให้รัฐต้องตั้งงบจำนวนมากดูแลสุขภาพรักษาพยาบาลด้านสาธารณสุข

เมื่อบุหรี่ไม่อยู่ในสินค้าแกตต์ การจัดเก็บจะมีภาษีศุลกากรด้วย

กรณีเป็นสินค้าแกตต์ ตั้งแต่ 1 ม.ค.53 ภาษีศุลกากร 0% แต่ ถ้าไม่เป็นสมาชิกภาษีศุลกากร 60% เมื่อรวมกับที่เก็บปัจจุบันคือ ภาษีสรรพสามิต 79% สสส 1.5% วิทยุฯ 1.5% อบจ 0.9% และ vat 7%

(กรณียาสูบผู้ขายเป็นผู้ชำระ vat และการคิดแต่ละทอด ต้องนำภาษีไปรวมก่อน)

ดังนั้น บุหรี่มาร์ลโบโร ถ้านำเข้าในราคา 7.76 (แม้เป็นราคาเท็จ) เมื่อบวกภาษีต่างๆ แล้ว ต้นทุนรวมภาษีราคาประมาณ 100 บาท ต้องขายในราคา 100 บาทขึ้น เช่นเดียวกับราคาขายในต่างประเทศ และเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ติดเพิ่มขึ้น

4.ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและอนุมัติราคา CIF ของสุรา ยาสูบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบไม่ให้สำแดงราคาต้นทุนต่ำ เพราะขณะนี้บริษัทนำเข้าสุรา บุหรี่ ยังสำแดงราคาต่ำ ซึ่งเป็นนิติกรรมอำพราง ต้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วนที่สุด

โดยกรรมการอาจประกอบด้วย ผู้บริหารกระทรวงการคลัง ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษี การค้าระหว่างประเทศ การสืบสวนสอบสวน สาธารณสุข หรือที่เป็นประโยชน์อื่นๆ

ส่วนนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร กล่าวว่า จะไปยื่นหนังสือถึงนายกฯ ให้สั่งการรมว.คลังไปยังกรมศุลกากร จัดเก็บภาษีให้ถูกต้อง รวมถึงจะยื่นหนังสือถึงรมว.ยุติธรรม ในฐานะกรรมการคดีพิเศษที่เคยรายงานนายกฯว่า ดีเอสไอมีความเห็นสั่งฟ้องฟิลลิป มอร์ริสฯ กับพวก โดยให้แจ้ง กำกับดูแล ติดตามการมีความเห็นของดีเอสไอโดยอธิบดีคนใหม่ที่มิใช่พนักงานสอบสวนเดิมคดีนี้

เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการและเหตุผลที่มีอยู่แล้วในสำนวนการสอบสวน