WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, April 5, 2011

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กลไกลดความขัดแย้ง

ที่มา ประชาไท

ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นทั้งปรัชญา แนวคิด และกลวิธีในการเยียวยา สร้างความสามัคคีระหว่างเหยื่อการกระทำผิด ผู้กระทำผิด และสังคมขึ้นมาใหม่ โดยมุ่งให้ความสำคัญในการมองผู้กระทำอาชญากรรมเป็นเรื่องของความขัดแย้งของปัจเจก ( interpersonal conflict) ซึ่งเป็นการมองในมิติที่แตกต่างจากเดิมที่มองกันว่าอาชญากรรมเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎระเบียบของสังคมที่รัฐกำหนดไว้ภายใต้อำนาจอันชอบธรรม วิธีคิดแบบใหม่ที่ว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องความขัดแย้งของปัจเจกทำให้แต่ละฝ่ายได้ตระหนักในความรับผิดชอบในการแก้ไขความขัดแย้งที่จะอยู่ร่วมกัน เป็นการมองแบบองค์รวมที่เปิดโอกาสให้ทั้งผู้กระทำผิดและเหยื่ออาชญากรรม และสังคมได้มีช่องทางแสดงท่าที ความรู้สึก จิตสำนึกของฝ่ายตน ในอันที่จะช่วยเยียวยาประสานรอยร้าวทางอารมณ์ระหว่างสมาชิกในสังคม เพื่อนำพาสังคมสู่ดุลยภาพที่มีความเมตาเอื้ออาทรต่อกัน

แนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เริ่มเผยแพร่กระจายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ภายหลังการประชุม UN Crime Congress ครั้งที่ 9 เมื่อ ค.ศ.1995 จากนั้นระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 ได้มีการประชุมวิชาการหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเตรียมการเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่การประชุม UN Crime Congress ครั้งที่11 ที่ได้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 2548 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ในการประชุมมีประเด็นอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับหลักการพื้นฐานว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และแนวคิดดังกล่าวได้มีอิทธิพลในการเปลี่ยนกรอบแนวคิดของกระบวนการยุติธรรมไทยเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ [1] จนถึงปัจจุบัน

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นพัฒนาการรูปแบบหนึ่งของสังคมไทยที่สมาชิกในสังคมได้แสดงปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเมื่อมีพฤติกรรมอาชญากรรมหรือการกระทำผิดทางสังคมเกิดขึ้น ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำความผิด-เหยื่ออาชญากรรม และชุมชน จึงเป็นระบบความสัมพันธ์ที่ประชาชนในสังคมมีต่อกันในการควบคุมสังคมเมื่อมีความขัดแย้งที่เรียกว่าอาชญากรรมเกิดขึ้น และระบบนี้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์ยึดโยงกับระบบสังคมอื่นๆโดยรวมในการสร้างแบบแผนทางสังคม โครงสร้างหน้าที่ในการยุติปัญหาความขัดแย้งเพื่อเสถียรภาพของสังคม

ความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดจากการกระทำระหว่างกันทางสังคม ระหว่างบุคคลที่มีความผูกพันกันทางสังคมแต่มีข้อขัดแย้งต่อกันในความสัมพันธ์ ซึ่งหมายถึงทั้งเหยื่อและผู้กระทำผิด กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในฐานะที่เป็นกลไกหนึ่งของสังคมจะเป็นตัวกำหนดหน้าที่ให้มีการทำงานร่วมกันเกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ ระหว่างคู่กรณีและบุคคลผู้เกี่ยวข้อง ในที่นี้ก็คือ ระหว่างเหยื่อ-ผู้กระทำผิด และชุมชน และอาจรวมถึงผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายในสังคมในชุมชนนั้นๆ ยอมรับว่ามีความขัดแย้ง มีการเอาเปรียบ หรือล่วงละเมิดต่อกันเกิดขึ้น และจะจัดการกับความขัดแย้งนั้นร่วมกันจริงจังอย่างไรที่จะทำให้ความขัดแย้งยุติลง มีผู้รับผิดชอบ มีการชดใช้เยียวยาในอันที่จะส่งผลให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคมต่อไป

ซึ่งกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Mediation for Restorative Germinal Care) ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ว่า ต้องใช้ได้กับความผิดเล็กน้อยเท่านั้น เพราะในหลายๆประเทศได้นำหลักการนี้ไปใช้สำเร็จมาแล้ว ทั้งในรวันดาที่มีความขัดแย้งเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในมลรัฐเท็กซัส ใช้ในคดีฆาตกรรม และในประเทศแคนนาดาใช้ในคดีเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ การนำหลักการนี้ไปใช้นอกจากสามารถทำให้คดีอาญายุติได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดแล้ว ยังทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันระหว่างคู่กรณี เพราะมีวิธีดำเนินการเน้นไปที่ผู้เสียหายเพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้สำนึกต่อการกระทำของตนว่าการทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือการทำให้สังคมเดือดร้อนมีผลอย่างไร และที่สำคัญจะได้รู้ว่าการทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ครอบครัวของตนต้องเดือดร้อนนั้นเป็นอย่างไร อันจะมีผลทำให้สำนึกในการกระทำของตน

นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ชุมชนและสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและร่วมแสดงความเอื้ออาทรในการให้โอกาสผู้กระทำความผิดได้แก้ไขตนเองและร่วมคิดวิธีการเยียวยาผู้เสียหาย โดยผ่านคนกลางเป็น ผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมหรือผู้ประสานงานการประชุมก็ได้ สุดท้ายเมื่อความขัดแย้งได้ยุติลงด้วยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย จึงถือว่าเป็นความยุติธรรมอย่างแท้จริงซึ่งภายใต้การกลับคืนสู่สังคมด้วยความสมานฉันท์ นี้จะทำให้สังคมอยู่ได้อย่างสงบและปลอดภัยจากการกระทำความผิดซ้ำ

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มีหลากหลายรูปแบบ [2] แต่ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งของกลุ่มคนในสังคมไทยปัจจุบันนี้ควรจะใช้การประชุมกลุ่มโดยมีคนกลางคอยประสานความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร เป็นการประนอมข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์ (Victim –Offender MediationหรือVOM) ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการนัดเจรจาพูดคุยระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับแกนนำกลุ่ม นปช.ที่ประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธ์ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ ที่ได้จัดขึ้น ณ สถาบันพระปกเกล้าเมื่อต้นปี พ.ศ. 2553 เป็นการเจรจาที่เกือบนำไปสู่ผลสำเร็จที่ทั้งสองฝ่ายรับกันได้และสังคมโดยรวมก็รับได้ แต่ต้องยุติและล้มเหลวเพราะการเจรจานั้นขาดองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ นั่นคือคนกลาง ที่จะคอยทำหน้าที่สะท้อนความต้องการของแต่ละฝ่ายให้อีกฝ่ายได้รับรู้ เมื่อขาดคนกลางจึงส่งผลให้ความรู้สึกนึกคิด และความต้องการของคู่กรณีที่นำเสนอและปรากฏต่อสาธารณะขาดการกลั่นกรอง จึงเกิดปรากฎการณ์ต่างฝ่ายต่างคิดต่างทำโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม

ดังนั้นรูปแบบการประชุมกลุ่มเพื่อความสมานฉันท์ที่มีผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์มานั่งล้อมวงพูดคุยกัน โดยมีผู้คอยประประสานการประชุมที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และมีความเป็นกลางมาเป็นผู้ประสานการประชุมจึงเป็นทางออกของสังคมไทยและไม่สูญเสียหลักการความเป็น “ นิติรัฐ” แต่อย่างใด และเป็นที่ยอมรับว่าความยุติธรรมใดหากเกิดจากการตัดสินใจของคู่กรณีแล้วนั้นคือความยุติธรรมอย่างแท้จริง [3] และอาจถือได้ว่าเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนและชุมชนได้คิดตัดสินใจเรื่องความถูกผิดความยุติธรรมให้เกิดขึ้นเอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) จึงไปไกลกว่าเรื่องประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพราะประชาชนสามารถกลับไปมีอำนาจสร้างความยุติธรรมได้โดยตรง แทนที่จะผูกขาดอำนาจไว้ที่รัฐเพียงอย่างเดียว

ความขัดแย้งทางสังคม และทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หากนำแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักและดำเนินการจริงจัง ความยุติธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นความยุติธรรมบนพื้นฐานของความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายเพราะเกิดจากการตัดสินใจของคู่กรณีโดยตรง เพียงแต่มีคนกลางที่มีความรู้ความเข้าใจและมีความเป็นกลางเป็นผู้คอยประสานให้มีการเจรจาภายใต้บริบทของความสมานฉันท์ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) จึงเป็นทางออกให้กับสังคมได้กลับมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ปราศจากความโกรธแค้นต่อกัน

เชิงอรรถ

[1] จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. ดร. .กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ทางเลือกในการยุติข้อขัดแย้งทางอาญาสำหรับสังคมไทย.คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ . การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในการจัดการความขัดแย้งทางอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว. ภาคนิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความขัดแย้งแบบบูรณาการ . มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ . พ.ศ. 2550
[3] สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ .ดร. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม :ความยุติธรรมเชิงเยียวยาสู่วิธีการแสวงหาความยุติธรรมร่วมสมัยแบบอื่นๆ การไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์ในคดีอาญา.