WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 6, 2011

ศึกสองประธานาธิบดีในไอวอรี่โคสต์ ส่อแววยุติหลังฝรั่งเศสและยูเอ็นใช้กำลังเข้าแทรกแซง

ที่มา ประชาไท

ความรุนแรงทางการเมืองของไอวอรี่ โคสต์ซึ่งดำเนินมาเกือบปีอันเนื่องจากการอดีตประธานาธิบดีไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และใช้กำลังกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิตไปหลายร้อยคนกำลังจะสิ้นสุดลง โดยฝ่ายอดีตประธานาธิบดีขอเจรจายอมแพ้หลังถูกฝรั่งเศสและกองกำลังรักษาสันติภาพโจมตีวานนี้

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา ทหารฝรั่งเศสร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติได้ร่วมกันโจมตีฐานที่มั่นทางทหารของฝ่ายประธานาธิบดีบากโบ (Laurent Gbagbo) ขณะเดียวกัน กองกำลังฝ่ายของนายอลัสซาน อูอัตทารา ผู้นำซึ่งเป็นคู่ชิงตำแหน่งประธานาธิดีของนายบากโบก็เปิดฉากโจมตีกรุงอาบิดจัน เมืองหลวงขอไอวอรี่โคสต์อีกระลอกหนึ่ง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส นายอแลง จูปเป้ กล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศสว่า การเจรจาเพื่อให้นายบากโบลงจากอำนาจนั้นกำลังจะสำเร็จ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับโฆษกส่วนตัวของนายบากโบที่ยอมรับว่ามีการเจรจาเกิดขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับว่านายอูอัตทาราเป็นประธานธิบดี

โฆษกส่วนตัวของนายบากโบกล่าวด้วยว่า ข้อต่อรองเพื่อแลกกับการยุติการใช้กำลังของฝ่ายอดีตประธานาธิบดีบากโบคือการรับประกันความปลอดภัยของตัวเขาและผู้เกี่ยวข้อง

องค์การสหประชาชาติเผยว่าผู้บัญชาการทหาร ผู้บัญชาการตำรวจ และผู้บัญชาการหน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งสาธารณรัฐได้ยอมเปิดการเจรจาแล้ว

ทั้งนี้ นายบากโบเป็นอดีตประธานาธิบดีของสาธารณรัฐไอวอรี่ โคสต์ ซึ่งแพ้การเลือกตั้งให้กับนายอลัสซาน อูอัตทารา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อดีตประธานาธิบดีผู้นี้ปฏิเสธที่จะลงจากอำนาจและไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พร้อมทั้งใช้กำลังทางทหารปราบปราบฝ่ายต่อต้านซึ่งสนับสนุนผลการเลือกตั้ง และสนับสนุนผู้นำคนใหม่คือนายอลัสซาน อูอัตทารา (Alassane Ouattara) อย่างรุนแรง

องค์การสหประชาชาติระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามโดยใช้กองกำลังทหารไปจำนวนมากกว่า 500 คน และประชาชนอีกราว 1 ล้านคนต้องละทิ้งบ้านเรือน

ผู้สื่อข่าวบีบีซีตั้งข้อสังเกตว่าบรรยากาศภายในเมืองหลวงผ่อนคลายลงอย่างมากภายหลังข่าวการเจรจายุติการต่อสู้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนกว่า 4 ล้านคนยังคงต้องหลบอยู่ภายในที่พักอาศัยและเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร น้ำ และไฟฟ้า อันเป็นผลมาจากการการปะทะกันตลอดวันที่ผ่านมา

นายนิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสกล่าวว่า ฝรั่งเศสในฐานะอดีตเจ้าอาณานิคมจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงสถานการณ์ในไอวอรี่ โคสต์ซึ่งกำลังเลวร้ายถึงขีดสุดเพื่อปกป้องชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์และทำลายศักยภาพของกองกำลังฝ่ายที่สวามิภักดิ์ต่อบากโบให้หมดสิ้น

เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่ามีคนไทยอยู่ในไอวอรี่ โคสต์ 2 ราย และกำลังตรวจสอบว่าต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยหรือไม่

ไอวอรี่ โคสต์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนทิศตะวันตกติดกับประเทศกินี และประเทศไลบีเรีย ทิศเหนือติดกับประเทศมาลี และประเทศบูร์กินาฟาโซ ทิศตะวันออกติดกับประเทศกานา ทิศใต้ติดกับอ่าวกินี และเคยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในระหว่างปี ค.ศ. 1889-1944

อดีตประธานาธิบดีบากโบ ปัจจุบันอายุ 65 ปี เข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543



เล่าปูมหลังวิกฤตการณ์ในไอวอรี่ โคสต์ (Côte d’ivoire) โดยปิยบุตร แสงกนกกุล

Côte d’ivoire จัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม และ 28 พฤศจิกายน ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดี ลอกมาจากฝรั่งเศส คือ มีการเลือกตั้งสองรอบ รอบแรก หากผู้สมัครคนใดได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ก็ให้คนนั้นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่ถ้าไม่มีรายใดได้เกินกึ่งหนึ่ง ก็ต้องมีการเลือกตั้งรอบที่สอง โดยนำผู้ที่ได้คะแนนลำดับที่ 1 และ 2 มาชิงกัน

การเลือกตั้งรอบที่สองเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นการชิงดำระหว่าง Laurent Gbagbo ประธานาธิบดี กับ Alassane Ouattara

ระหว่างการหาเสียง มีการก่อการจลาจลกันหลายจุด มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ กลุ่มนักศึกษาที่สนับสนุน Alassane Ouattara ออกมาชุมนุมและช่วยรณรงค์หาเสียง ก็ถูกกองกำลังเข้าทำร้าย บาดเจ็บ ล้มตาย วันที่ 27 พฤศจิกายน ก่อนการลงคะแนนเสียงรอบที่ 2 ได้หนึ่งวัน ประธานาธิบดี Laurent Gbagbo ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ก็ยิ่งทำให้ฝ่ายสนับสนุน Alassane Ouattara ออกมาคัดค้าน เพราะมองว่า เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน Laurent Gbagbo ก็ยิ่งสามารถใช้กลไกรัฐให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองเองในการเลือกตั้งได้

วันที่ 2 ธันวาคม คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศผลให้ Alassane Ouattara ชนะ ด้วยคะแนน ร้อยละ 54.1 ในขณะที่ Laurent Gbagbo ได้ไปร้อยละ 45.9

Alassane Ouattara รู้ดีว่า Laurent Gbagbo มีกองกำลังหนุนหลังจำนวนมาก ทั้งกองทัพ และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญอีกด้วย จึงรีบชิงประกาศชัยชนะตัดหน้า พร้อมกับตั้ง Guillaume Soro เป็นนายกรัฐมนตรีทันที

นอกจากนี้ Alassane Ouattara ยังรีบหาแนวร่มจากประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติที่ส่ง เข้าไปเป็นผู้แทนเพื่อสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ต่างยอมรับว่า Alassane Ouattara ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

อย่างไรก็ตาม เป็นไปดังที่ Alassane Ouattara คาดเดาไว้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นพวกของ Laurent Gbagbo เสียส่วนใหญ่) โดย Paul Yao N’Dré ประธานตุลาการรัฐธรรมนูญออกมาประกาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ให้ Laurent Gbagbo เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ด้วยคะแนนร้อยละ 51.45 ส่วน Alassane Ouattara ได้ไปร้อยละ 48.55

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้เพิกถอนผลคะแนนการเลือกตั้งใน 7 จังหวัดทางตอนเหนือของประเทศ (ซึ่งกลุ่ม Forces nouvelles อดีตกบฏ เมื่อปี 2002 ยึดครองอยู่ และกลุ่มนี้ให้การสนับสนุน Alassane Ouattara ) โดยให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรงและจำนวนมากที่ทำให้ผลการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามปกติและไม่เป็นไปตามความเป็นจริง อันขัดกับหลักการเลือกตั้งโดยเสรี ทั่วไป และลับ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยังอ้างอีกด้วยว่า ผู้ลงคะแนนเสียงถูกข่มขู่บังคับให้ลงคะแนนเสียงให้กับ Alassane Ouattara

Laurent Gbagbo รีบแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งทันที พร้อมทั้งให้กองทัพออกมาหนุนตนเอง ในขณะที่ Alassane Ouattara ก็สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเหมือนกันในวันที่ 4 ธันวาคม โดยทำเป็นหนังสือ

ในขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศก็ออกมาเรียกร้องให้ Laurent Gbagbo ยอมรับผลการเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้ Alassane Ouattara ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เพื่อให้ประเทศได้เดินหน้าต่อได้

สถานการณ์ใน Côte d’ivoire จึงตึงเครียดเป็นอย่างมาก ด้วยเกรงว่า หากทั้งสองฝ่ายยังไม่ยอมกัน กองทัพจะถือโอกาสออกมารัฐประหาร สหภาพแอฟริกาจึงส่งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่คนกลางช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย

Côte d’ivoire เป็นประเทศที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารมีการเลือกตั้งที่โปร่งใสได้เสียที การเลือกตั้งประชาธิปไตยมีครั้งแรกเมื่อปี 1990 ปรากฏ ครั้งนั้น Félix Houphouët-Boigny แข่งกับ Laurent Gbagbo ซึ่งได้ไป ร้อยละ 18.5 ก็สงสัยกันว่า มีการทุจริตการเลือกตั้งเพื่อให้ Félix Houphouët-Boigny ได้เป็นประธานาธิบดี

ปี 1995 Alassane Ouattara ลงสมัคร แต่ก็ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่มีคุณสมบัติเพราะพ่อและแม่ไม่ได้มีสัญชาติไอวอเรียน Ouattara กับ Gbagbo รวมหัวกัน ตัดสินใจบอยคอตต์ไม่ลงสมัคร ทำให้ Henri Konan Bédié ได้เป็นประธานาธิบดีไปด้วยคะแนนร้อยละ 95

ตุลาคม 2000 Alassane Ouattara ถูกห้ามลงสมัครอีกตามเคย เพราะขาดคุณสมบัติเนื่องจากพ่อเป็นคนไอวอรี่โคสต์ที่เกิดที่บูร์กินาฟาโซ ในขณะที่ Henri Konan Bédié ก็หมดสิทธิรับสมัคร เพราะ ลี้ภัยอยู่ฝรั่งเศส ไม่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนสมัคร ผลสุดท้าย Laurent Gbagbo ชนะการเลือกตั้งไป

ในปี 2002 มีการกบฏในภาคเหนือโดยกลุ่ม Forces nouvelles แม้ Laurent Gbagbo ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครบวาระ แต่ก็อาศัยรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งต่อไปเรื่อยๆ เพราะมีเหตุการณ์ไม่สงบ อันไม่อาจทำให้มีการเลือกตั้งตามปกติได้ สุดท้าย มีการลงนามข้อตกลงกันเมื่อปี 2007 แต่งตั้ง Guillaume Soro หัวหน้ากลุ่มกบฏเป็นนายกรัฐมนตรี และกำหนดว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งโปร่งใส ยุติธรรม ในปี 2010

การเลือกตั้งครั้งนี้ใช้งบประมาณมหาศาล ประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาสังเกตการณ์จำนวนมาก แต่แล้ว... ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ ไปๆมาๆ ได้ประธานาธิบดีมาสองคน