WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 18, 2011

บทบรรณาธิการ ฟ้าเดียวกัน # 32: มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มรดกของใคร?

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 สิงหาคม 2554


ใครที่เป็นแฟนฟ้าเดียว กัน คงต้องรีบไปรอที่แผงหนังสือเป็นแน่แท้สำหรับฟ้าเดียวกับ #32 "มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มรดกของใคร?" ทั้งเพราะหน้าปกที่เด่นสะดุดตา และเนื้อหาเข้มข้น จากนักเขียนและนักวิชาการมากหน้าหลายตาที่นักอ่านและแฟนๆ ฟ้าเดียวกันคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี


บทบรรณาธิการ

ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดๆ ที่ตัดขาดจากรากฐานสังคมเดิมอย่างสิ้นเชิง แม้หลายครั้งพลังที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจะมาจากภายนอก แต่ผลของมันจะออกมาในรูปใดล้วนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็น “เนื้อดิน” เดิมของสังคมนั้นๆ แม้แต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ที่เกิดพร้อมกับ “อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม” เมื่อเกือบ 80 ปีก่อนก็เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดเช่นนี้


แต่สิ่งที่ทำให้สยาม/ไทยแตกต่างจากสังคมอื่น โดยเฉพาะเพื่อนบ้านนั้น อาจเป็นเพราะเราไม่เคยแตกหักกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ผ่านการปฏิวัติประชา ชาติอย่างในประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมโดยตรง

“มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังอยู่กับทุกอณูของปัจจุบัน” นี่คือข้อเสนอของธงชัย วินิจจะกูล ในปาฐกถา “มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2554

ธง ชัยเสนอว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม “ไม่ใช่เพียงแค่ระบอบการเมืองทางการที่จบไปแล้ว แต่หมายถึงยุคสมัยหรือช่วงขณะที่เป็นรากฐานของไทยสมัยใหม่ หมายถึงระบอบอำนาจ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และวาทกรรมสำคัญๆ ที่ก่อรูปเกิดขึ้นท่ามกลางการเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ และกลายเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ต่อมาอีกนาน ไม่ใช่แค่ช่วง 50 ปีนับจากปลายรัชกาลที่ 5 ถึงสิ้นรัชกาลที่ 7” ในมุมมองของธงชัย มรดกสำคัญที่สมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามทิ้งไว้ ได้แก่

ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์ ลัทธิรัฐเดี่ยวที่แข็งทื่อ ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม พุทธศาสนากับความเป็นไทย และสังคมอินทรียภาพที่มีอำนาจทรงธรรมเป็นหัวใจขององคาพยพทั้งหมด โดยมี (สถาบัน) พระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยร่วมที่ยึดโยงรากฐานเหล่านี้ของรัฐไทยสมัยใหม่เข้า ด้วยกัน

ณ ปัจจุบัน มรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ยังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันตามสื่อต่างๆ เช่น
“‘ป๋าเปรม’ รับไม่ได้ 3 จว.ใต้ ขอใช้ภาษามลายูในราชการ” (มติชนรายวัน, 25 มิถุนายน 2549)
“ศรีสะเกษลุกฮือชุมนุมใหญ่ทวงคืน ‘เขาวิหาร’ 14 ก.ย. ลั่นไม่ยอมเสียแผ่นดินไทยแม้นิ้วเดียว” (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 12 กันยายน 2552)
“‘เสรี’ นำทีมประชาสันติปฏิญาณ ร.5 ดันพุทธศาสนาประจำชาติ” (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 10 มิถุนายน 2554 )
“‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ นำปฏิญาณ ถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานผู้นำปฏิรูปการเมือง” (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 12 พฤศจิกายน 2548)

แต่มรดกที่เป็นรากฐานของปัญหาเรื้อรังในสังคมการเมืองไทยปัจจุบันเหล่านี้ เกิดจากสมบูรณาญา-สิทธิราชย์สยามเพียงฝ่ายเดียวหรือ?
หรือที่จริงแล้วเป็นมรดกที่อีกหลายฝ่ายร่วมกันสร้าง?
เป็นมรดกของใครกันแน่?

ฟ้าเดียวกัน จึงได้เชื้อเชิญผู้รู้อีก 5 ท่านมาร่วม “วิวาทะ” กับธงชัย ประกอบด้วย นิธิ เอียวศรีวงศ์ พระไพศาล วิสาโล อนุสรณ์ ลิ่มมณี ธเนศวร์ เจริญเมือง และกุลลดา เกษบุญชู-มี้ด

ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันคือ ปัญหาของการเมืองไทยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางในปัจจุบันนั้น เป็น “มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์” หรือเป็น “ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง” ในยุคหลัง และไม่มีความต่อเนื่องกับสถาบันกษัตริย์ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์?

บทความ “พระบารมีปกเกล้าฯ ใต้เงาอินทรี : แผนสงครามจิตวิทยาอเมริกัน กับการสร้างสถาบันกษัตริย์ให้เป็น ‘สัญลักษณ์’ แห่งชาติ” ของณัฐพล ใจจริง ได้เปิดประเด็นให้เห็นว่า สถาบันกษัตริย์สมัยใหม่แบบที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนั้น ถูก “สร้าง” ขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น และมีลักษณะเป็น “ราชา (ไม่) ชาตินิยม” เพราะยินยอมพร้อมใจทำตามความต้องการของมหาอำนาจ เช่น ยอมให้สหรัฐฯ ใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพโจมตีประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่คำนึงถึงปัญหาเรื่องเอกราชและอธิปไตยของชาติแต่อย่างใด

ภายใต้สภาวะปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 “รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ที่ทำให้การเมืองไทยแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554

ชนบทไทยอันห่างไกลที่เคยเป็นฐานสำคัญของอุดมการณ์ กษัตริย์นิยม (ผ่านการเสด็จพระราชดำเนินชนบท ซึ่งเชื่อมโยงกับอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น) ก็ถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างจากโฆษณาชวนเชื่อฉบับของทางการ ส่งผลให้เกิดอาการ “ตาสว่าง” กันเป็นจำนวนมาก สวนทางกับอุดมการณ์ “รักในหลวง” ของชนชั้นกลางในเมือง ดังที่แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในเครือข่ายทางสังคมออนไลน์

คำถามก็คือ มรดกที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ทิ้งไว้นั้น จะมีพลังหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นได้หรือไม่ สถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นปัจจัยยึดโยงมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะ “ตาสว่าง” พอที่จะมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วในระดับรากหญ้า และยอมเปิดช่องทางให้กับการประนีประนอมหรือไม่ หรือยังจะใช้ไม้แข็งเร่งให้สถานการณ์ “สุก” เร็วโดยไม่จำเป็น?

เราเชื่อว่าประชาชนจำนวนมากคงมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว แต่ฝ่ายสถาบันกษัตริย์และผู้นิยมเจ้านั้นเล่า...


* * * * * * * * *

สารบัญ

บทบรรณาธิการ
มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มรดกของใคร?
หาเรื่องมาเล่า
มลายูมุสลิม สถาบันกษัตริย์ไทยและอำนาจอธิปไตยในสภาวะยกเว้น
ดาริน อินทร์เหมือน
รัฐไทยกับความรุนแรงตั้งแต่ 2475-ปัจจุบัน :คำถาม หรอบคิด และปัญหา
อัญชลี มณีโรจน์
คำขบวน
Council Communism ลัทธิคอมมิวนิสต์สภาแรงงาน
ภัควดี วีระภาสพงษ์
ทัศนะวิพากษ์
มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน
ธงชัย วินิจจะกูล
มรดกของใคร?
นิธิ เอียวศรีวงศ์
พุทธศาสนากับมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระไพศาล วิสาโล
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นเพียงปัญหาหนึ่ง
อนุสรณ์ ลิ่มมณี
เส้นทางสังคมไทย 156 ปี (พ.ศ. 2398-2554)
ธเนศวร์ เจริญเมือง
ทุนนิยมโลกกับวิวัฒนาการของรัฐไทย
กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด
พระบารมีปกเกล้าฯ ใต้เงาอินทรี แผนสงครามจิตวิทยาอเมริกัน กับการสร้างสถาบันกษัตริย์ให้เป็น“สัญลักษณ์” แห่งชาติ
ณัฐพล ใจจริง
แผนยุทธศาสตร์ด้านจิตวิทยาของสหรัฐอเมริกาต่อชาวไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านจิตวิทยา
อัญชลี มณีโรจน์ (แปล)
Rupture รอยแตกข้างหลังภาพ
ธนาวิ โชติประดิษฐ
บทความปริทัศน์
จินตนาการหรือความจริงเรื่องความรุนแรงที่เล่นซ่อนหาอยู่ในหมู่บ้านที่ไม่สงบ
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
วิกิลีกส์ 196
“มูลบท” ว่าด้วยราชวงศ์ไทยและการเมืองสมัยปลายรัชกาลฉบับอเมริกันธนาพล อิ๋วสกุล
ประเทศไทย: แวดวงกลุ่มอิทธิพลภายในสถาบันกษัตริย์ในช่วงชีวิตอัสดงคตของกษัตริย์ภูมิพล
เอริก จี. จอห์น
รายงานพิเศษ 1 ปีความยุติธรรมที่หายไป
คำถามที่ยังค้างอยู่เกี่ยวกับการตายและการชันสูตรศพ
กฤตยา อาชวนิจกุล
สาวตรี สุขศรี
ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือการปฏิเสธความยุติธรรม
สาวตรี สุขศรี
การเมืองในการสร้างความทรงจำว่าด้วยความตายเดือน เม.ย.-พ.ค. 53
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี