WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 20, 2011

"อนุดิษฐ์" โดนรับน้อง กับ "ความหวัง" หนักอึ้ง บนบ่า "รมว.ไอซีที"

ที่มา มติชน

ในประเทศ

ภาย หลังเข้ารับตำแหน่ง รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพียงไม่กี่วัน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน

รม ว.ไอซีทีคนใหม่ เปิดเผยว่า จะกำชับให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวง มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้นในการกำกับดูแลปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการหมิ่นสถาบันผ่านเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

ข่าวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วผ่านทางเว็บไซต์และเครือข่ายทางสังคมออนไลน์

กระทั่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนองจากเหล่าพลเมืองเน็ตตามมาอย่างทันควัน


มี ผู้เข้าไปโพสต์ข้อความสนทนาและตั้งคำถามที่หน้าเฟซบุ๊กส่วนตัวของ น.อ.อนุดิษฐ์ ซึ่งส่วนใหญ่แสดงความวิตกกังวลว่า การที่ รมว.ไอซีทีออกมาพูดเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย โดยไม่พูดเรื่องการปฏิรูปหรือแก้ไขกฎหมายบางมาตราที่บางฝ่ายเห็นว่ามีปัญหา นั้น เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า กระทรวงไอซีทีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะเข้าร่วมกับขบวนการล่าแม่มดออนไลน์เพื่อล่าล้างกลุ่มคนเสื้อแดงบางสาย

น.อ.อนุ ดิษฐ์ ได้เข้ามาตอบคำถามด้วยตัวเอง โดยอธิบายว่า จากข่าวที่ออกไป สื่อมวลชนได้ตั้งคำถามกับตนในฐานะผู้ใช้กฎหมาย เรื่องมีคนกระทำผิดกฎหมาย ตนจึงต้องตอบคำถามกลับไปในเรื่องของ "การบังคับใช้กฎหมาย" และไม่ได้พูดเรื่อง "การแก้ไขกฎหมาย" แต่อย่างใด เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นที่ถูกสัมภาษณ์

จากนั้น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้ามาโพสต์ในหน้าเฟซบุ๊กของ รมว.ไอซีที โดยแสดงความเห็นว่าเรื่องการบล็อกเว็บไซต์นั้น รัฐบาลชุดที่แล้วไม่ได้ทำ "ตามกฎหมาย" เสียทีเดียว เนื่องจากมีเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกด้วยข้อหา "หมิ่น" จำนวนมาก ซึ่งไม่ได้ทำอะไร "ผิดกฎหมาย"

ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ไม่ได้ฟ้องร้องเจ้าของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเหล่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ไม่มี "น้ำหนัก" มากพอ

อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังเห็นว่า ในบริบทของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตยุคปัจจุบัน การบล็อกเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที นั้น ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง ด้วยเหตุนี้ นโยบายดังกล่าวจึงถือเป็นการใช้ทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์

"ทั้ง หมดนี้ มองในแง่ common sense (สามัญสำนึก) ผมว่า ก็สมควรที่ไอซีทีจะได้ "ทบทวน" นโยบายในเรื่องนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ยืนยัน (ที่จะ) คงนโยบายที่เรียกว่า "เล่นงานเว็บหมิ่น" น่ะครับ" สมศักดิ์โพสต์ข้อความ

ซึ่ง รมว.ไอซีที ได้แสดงความเห็นด้วยกับนักวิชาการผู้นี้ และระบุว่าตนจะเน้นให้การบังคับใช้กฎหมายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างถูกต้องและ เท่าเทียม สำหรับเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกอย่างไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม ก็ย่อมไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐจะไปบล็อกเว็บไซต์เหล่านั้นอีก

รมว.ไอซี ที ยังกล่าวกับผู้ร่วมสนทนาทางเฟซบุ๊กทุกคนด้วยว่า "ผมอ่านทุกความเห็นที่กรุณาสละเวลามาพูดกันในวันนี้ และต่อประเด็นที่พูดกันนอกเหนือจากเรื่องการบังคับใช้กฎหมายก็คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมของกฎหมาย ซึ่งทุกท่านก็มีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็น และผมก็รับฟังด้วยความเต็มใจครับ"



แม้การสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่าง น.อ.อนุดิษฐ์และเหล่าพลเมืองเน็ต จะจบลงอย่างค่อนข้างมี "ความหวัง" อยู่บ้าง

แต่ "ความหวัง" ดังกล่าวนี่เอง ที่ดูเหมือนจะเป็น "การบ้านข้อยาก" สำหรับเจ้ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

"ความหวัง" เดียวกันนี้นี่เอง ที่ก่อให้เกิด "การรับน้อง" รมว.ไอซีที ขึ้น

ดังหนึ่งในความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก ที่ระบุว่า

"ท่าน รัฐมนตรีแถลงเช่นนั้นก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับ และจริงๆ ถ้าเป็นคนอื่น เช่น ท่านระนองรักษ์ แถลง ก็คงไม่มีใครสนใจ (เพราะเข้าใจขีดจำกัดของแต่ละบุคคล) แต่บังเอิญ ประชาชนจำนวนมากคาดหวังว่าท่านจะมีแนวคิด และกรอบในการทำงานที่แตกต่างออกไป

"ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า กฎหมายของกระทรวงไอซีที (และที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวเนื่อง) จำนวนมาก มีปัญหา ประชาชนไม่น้อยคับข้องใจในกฎหมาย (หรือในดุลพินิจของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย) อาทิ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งฉบับเก่า และ (ร่าง) ฉบับใหม่ ...

"ประชาชน คาดหวังว่า กระทรวงไอซีที จะเปิดรับความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น เลิกทำตัวเป็นตำรวจ แต่ทำตัวเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีไอซีทีให้ขยายวงกว้างขึ้น ยกเลิกการควบคุมโดยการปิดกั้น แต่ส่งเสริมให้ใช้อย่างถูกวิธี ถูกกฎหมาย ตีกรอบให้ชัดเจน ว่าขอบเขตของกฎหมายมีอยู่แค่ไหน

"เรื่องนี้เป็นอะไรที่ต้องใช้คนมีฝีมือ มีความสามารถ มากกว่าการไล่ปิดเว็บแบบรัฐมนตรีในรัฐบาลที่แล้วเคยทำ ด้วยความเคารพครับท่าน"

เช่น กันกับข้อโต้แย้งของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่มีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ น.อ.อนุดิษฐ์ โดยใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษ

ใจระบุ ผ่านเฟซบุ๊กว่า "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้งแล้ว แต่อำมาตย์ยังครองเมือง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) รับใช้อำมาตย์ เปิดเผยว่า นับจากนี้ไป จะมีการกำชับให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ในทุกระดับ มีการเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ในการกำกับดูแลปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์"

ขณะที่สมศักดิ์โต้แย้งว่า "ผมเพิ่งเห็นว่า อ.ใจ "วิพากษ์" คุณอนุดิษฐ์ นาครทรรพ ว่า "รับใช้อำมาตย์" ไปโน่นเลย

"พูด จริงๆ นะครับ ผมไม่เคยคิดจะ หรือคิดว่า ควรจะ "รีบ" วิพากษ์ในลักษณะนี้เลย ในแง่หนึ่ง ผม "เข้าใจ" หรือกระทั่งจะ "เห็นใจ" ด้วยซ้ำว่า ใครเป็น รมต.ไอซีที จะต้องเจอปัญหานี้แน่ และผม "เข้าใจ" เช่นกันว่า ไม่สามารถพูดได้ว่า "ต่อไปนี้เราจะเลิกการบล็อกเว็บ..." อะไรแบบนั้น"

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการจากธรรมศาสตร์ยังมีความหวังว่า รมว.ไอซีทีจากพรรคเพื่อไทย จะทบทวนนโยบายบล็อกเว็บไซต์เสียใหม่

นี่เป็นความหวังอัน "หนักอึ้ง" ที่วางอยู่บนบ่าของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ