ที่มา ประชาไท
ภัค วดี วีระภาสพงษ์ แปลจาก Fernando Duarte, “Interview – Zygmunt Bauman on the UK Riots,”http://www.social-europe.eu/2011/08/interview-zygmunt-bauman-on-the-uk-riots/ (ผู้แปลแปลมาเฉพาะบางส่วนเท่านั้น)
ซิก มุนท์ บาวมัน (Zygmunt Bauman) ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งมหาวิทยาลัยลีดส์และนักสังคมวิทยาระดับแถวหน้าของ ยุโรป ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นสังคมมนุษย์ร่วมสมัย มีผลงานหนังสือหลายเล่ม อาทิ Liquid Modernity, 44 letters from the liquid-modern world, Living on borrowed Time เป็นต้น
ถ้า มองจากแนวคิดในงานเขียนของคุณเกี่ยวกับยุคโพสต์โมเดิร์นและ ลัทธิบริโภคนิยม มันเป็นเรื่องน่าขบคิดมากน้อยแค่ไหนจากข้อเท็จจริงที่การจลาจลครั้งนี้มุ่ง ไปที่การปล้นสินค้าบริโภคเป็นหลัก?
กล่าวได้ว่า การจลาจลครั้งนี้คือการระเบิดที่จะต้องเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว.....อุปมาดัง เช่นทุ่งระเบิด ทุกคนรู้ดีว่ากับระเบิดบางอันจะต้องระเบิดขึ้นมาจนได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพียงแต่ไม่มีใครรู้ว่าตรงจุดไหนและเมื่อไร อย่างไรก็ตาม ในกรณีของทุ่งระเบิดทางสังคม การระเบิดมักแพร่กระจายออกไปในทันที สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในแบบ “เรียลไทม์” ของยุคสมัยใหม่ ซึ่งกระตุ้นให้เกิด “พฤติกรรมเลียนแบบ” ทุ่งระเบิดทางสังคมนี้เกิดขึ้นมาจากการผสมผสานของลัทธิบริโภคนิยมกับความไม่ เท่าเทียมที่เพิ่มมากขึ้น การจลาจลครั้งนี้ไม่ใช่การกบฏหรือการลุกฮือของประชาชนที่อดอยากยากไร้หรือ ชนกลุ่มน้อยทางศาสนาหรือชาติพันธุ์ที่ถูกกดขี่ แต่เป็นการก่อความวุ่นวายของผู้บริโภคที่ขาดแคลนกำลังซื้อและถูกกีดกัน (defective and disqualified consumers) ต่างหาก ประชาชนที่ขุ่นแค้นและถูกเหยียบย่ำจากภาพหรูหราฟู่ฟ่าของความมั่งคั่ง ซึ่งพวกเขาถูกกีดกันออกไป เราต่างถูกคุกคามและโน้มน้าวให้มองว่าการช้อปปิ้งคือสูตรสำเร็จของชีวิตที่ ดีและเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาชีวิตทุกอย่าง แต่ประชากรส่วนใหญ่กลับถูกกีดกันจากการใช้สูตรสำเร็จนี้ เราจะเข้าใจการจลาจลตามเมืองใหญ่ ๆ ในอังกฤษได้ชัดเจนที่สุด เมื่อมองว่ามันเป็นการกบฏของผู้บริโภคที่คับข้องใจ
มีการ วิเคราะห์วิจารณ์กันมากมายถึงรากเหง้าปัญหาทางสังคมเบื้อง หลังการจลาจล และการวิเคราะห์แบบหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการใช้สมมติฐานเกี่ยวกับ ความไม่เท่าเทียม รัฐบาลจะต้องเผชิญกับภารกิจที่ซับซ้อนมากแค่ไหนในการแก้ไขปัญหานี้ ในเมื่อมโนทัศน์เกี่ยวกับ “คนที่มี” กับ “คนที่ไม่มี” ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปมากในสองสามทศวรรษที่ผ่านมาก
ใน กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับวิธีการที่รัฐบาลแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ เกิดจากการพังทลายของระบบสินเชื่อ (วิธีการของรัฐบาลก็คือ ปรับโครงสร้างหนี้ของกลุ่มธนาคารเพื่อให้ “คืนสู่ภาวะปรกติ” แต่ภาวะปรกติก็คือการดำเนินการแบบเดิม ๆ ที่เป็นสาเหตุหลักของการพังทลายและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นแหละ!) ฉันใดก็ฉันนั้น วิธีการของรัฐบาลอังกฤษที่ปฏิบัติต่อการก่อความวุ่นวายของกลุ่มประชาชนที่ ถูกเหยียบย่ำกลับจะยิ่งซ้ำเติมการเหยียบย่ำที่เป็นสาเหตุของการจลาจลให้ฝัง ลึกลงไปอีก ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมแตะต้องต้นตอของการเหยียบย่ำนั้น ซึ่งก็คือลัทธิบริโภคนิยมอย่างบ้าคลั่งควบคู่กับความไม่เท่าเทียมที่ถ่าง กว้างขึ้น ๆ มาตรการเด็ดขาดไม่ปรานีที่รัฐบาลนำมาใช้อาจหยุดยั้งการระเบิดได้ชั่วครั้ง ชั่วคราว แต่ไม่ได้ถอดชนวนทุ่งระเบิดที่เป็นสาเหตุและไม่ได้ป้องกันการปะทุระเบิด ครั้งต่อไป ปัญหาสังคมไม่เคยถูกแก้ไขจากการบังคับใช้เคอร์ฟิว มันรังแต่จะกลบฝังปัญหาให้เน่าเปื่อยและพุหนองต่อไป.....วิธีการของรัฐบาล อังกฤษเป็นแค่ความพยายามอันผิดพลาดที่คิดว่าจะแก้ไขความป่วยไข้เรื้อรังของ สังคมได้ด้วยยาแรงขนานเดียว การเยียวยาความป่วยไข้ให้หายขาดได้ จำเป็นต้องอาศัยการปฏิรูปกลไกการทำงานของสังคมอย่างจริงจัง รวมไปถึงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ Edgar Morin (นักปรัชญาและนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส) เคยชี้แนะไว้ในครั้งล่าสุดที่เขาไปอภิปรายที่เมืองเซาเปาลู
เมื่อ สัมภาษณ์เยาวชนที่มาจากครอบครัวยากจน พวกเขาแสดงความขุ่นเคืองอย่างชัดเจนต่อการขาดโอกาสในการศึกษาและการทำงาน แต่เรากลับไม่เห็นมีมหาวิทยาลัยไหนถูกเผา เราพอจะตั้งสมมติฐานได้ไหมว่า มีสัญลักษณ์บางอย่างแฝงอยู่ในการเผาห้างดิ๊กสัน
เมื่อถูกกด ดันให้อธิบายว่าทำไมจึงโกรธแค้น ไม่ว่าคนหนุ่มสาวเหล่านี้จะตอบว่าอะไรก็ตาม (ซึ่งส่วนใหญ่ก็พูดซ้ำคำอธิบายที่ได้ยินมาจากทีวีหรืออ่านมาจากหนังสือ พิมพ์....) ข้อเท็จจริงก็คือ ขณะที่ปล้นและเผาร้านค้า พวกเขาไม่ได้พยายาม “เปลี่ยนแปลงสังคม” ไม่ได้พยายามแสวงหาระบบระเบียบอื่นมาแทนที่ของเก่า ไม่ได้พยายามแสวงหาระบบระเบียบอื่นที่มีมนุษยธรรมกว่าและเอื้อต่อการดำรง ชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรียิ่งกว่า พวกเขาไม่ได้ขบถต่อลัทธิบริโภคนิยม แต่พยายามหาหนทาง (ที่ผิดพลาดและเลวร้าย) ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมต่างหาก ถึงแม้จะเป็นชั่วขณะอันแสนสั้นก็ตามที พวกเขาต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแถวขบวนของผู้บริโภคที่ตัวเองถูกกีดกัน มาตลอด การก่อความวุ่นวายของพวกเขาไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า ไม่มีการประสานกัน มันเป็นแค่การระเบิดขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วนจากความคับข้องใจที่สั่งสมมา นาน ซึ่งสามารถอธิบายได้ในแง่ของ “เพราะอะไร” ไม่ใช่ในแง่ของ “เพื่ออะไร” ผมสงสัยว่าคำถาม “เพื่ออะไร” ไม่น่าจะมีบทบาทใด ๆ ในงานเลี้ยงฉลองการทำลายล้างอย่างบ้าคลั่งครั้งนี้
นโยบาย สาธารณะที่ทำให้เกิดการเคหะชุมชนขึ้นมา ซึ่งตอนนี้ถูกวิจารณ์ว่าทำให้เกิดหย่อมย่านในเมืองที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยก กีดกัน เป็นนโยบายที่สมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ในฐานะส่วนหนึ่งของปัญหาหรือไม่
(การ เคหะชุมชนหรือ council estates เป็นนโยบายที่ใช้ในอังกฤษมานาน จุดประสงค์คือการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยราคาถูกให้ชนชั้นแรงงานเช่าโดยมี เงื่อนไขต่าง ๆ)
รัฐบาลอังกฤษที่ผ่านมาหลายชุดยกเลิกการสร้าง “การเคหะชุมชน” มานานแล้ว และปล่อยให้การกระจายของประชากรในพื้นที่ รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ เป็นเรื่องของกลไกตลาดโดยสิ้นเชิง การกระจุกตัวของประชาชนที่เสียเปรียบและยากจนในบางพื้นที่ของเมือง ซึ่งไม่ต่างจากสลัมมากนัก มันไม่ได้เกิดมาจากแนวนโยบายสังคม แต่เกิดมาจากปัญหาราคาบ้านและที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยิ่งถูกซ้ำเติมจากแนวโน้มของประชากรเมืองส่วนที่มีฐานะที่มักสร้าง กำแพงล้อมตัวเองให้พ้นจากปัญหาของเมืองใหญ่ ด้วยการไปซื้อบ้านอยู่ในพื้นที่ที่เรียกกันว่า “ชุมชนล้อมรั้ว” การแบ่งแยกและการแบ่งขั้วตามเมืองใหญ่ ๆ ในปัจจุบันเป็นผลลัพธ์มาจากกลไกตลาดเสรีที่ไม่ถูกควบคุมทางการเมือง ถ้าหากนโยบายรัฐจะมีส่วนซ้ำเติมปัญหาบ้าง ก็คงเพียงในแง่ที่รัฐบาลไม่ยอมเข้ามารับผิดชอบโดยตรงต่อสวัสดิภาพของชีวิต มนุษย์ และตัดสินใจ “โยนภาระ” ไปให้ทุนเอกชนมีบทบาทแทน
ในบทความที่คุณเขียนลงในวารสาร Social Europe Journal (http://www.social-europe.eu/2011/08/the-london-riots-on-consumerism-coming-home-to-roost/) คุณไม่ยอมนิยามการจลาจลครั้งนี้ว่าเป็นการปฏิวัติทางสังคม จริง ๆ แล้วในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มีความปรารถนาที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่บ้างสักน้อยนิดหรือ ไม่ หรือมีเพียงแค่ความไม่สมดุลระหว่างภาวะความอยากของมวลชนเท่านั้น?
จน ถึงตอนนี้ ผมก็ยังไม่เห็นหลักฐานใด ๆ ที่บ่งบอกว่ามีความปรารถนาเช่นว่านี้......การสร้างภาพโรแมนติกเกี่ยวกับ ชีวิตอันสมถะและปฏิเสธกิเลสตัณหาคืออุดมการณ์ที่พวกคนร่ำรวยและสุขสบายสร้าง ขึ้นมาเสมอ ตราบเท่าที่ความสุขสบายของพวกเขาไม่ได้รับผลกระทบ พวกเขาก็ชอบแสดงออกว่าอยากเลียนแบบอุดมคตินี้ (ซึ่งเป็นความเพ้อฝันที่ไร้เหตุผล อันจะบรรลุได้ก็ด้วยวิธีการที่ไร้เหตุผลเท่านั้น!) แต่ไม่มีวันยอมแลกไลฟ์สไตล์ของตนกับวิถีชีวิตที่ตัดกิเลส พอเพียงและสมถะจริง ๆ หรอก ดังที่ Neal Lawson (http://www.social-europe.eu/author/neal-lawson/) ตั้งข้อสังเกตได้อย่างเฉียบคมว่า “การที่บางคนติดป้ายฉลากให้อย่างไร้น้ำใจว่า ‘ชนชั้นต่ำที่ป่าเถื่อนบ้าคลั่ง’ คำพูดนี้เป็นแค่กระจกเงาที่สะท้อนภาพของชนชั้นนำที่ป่าเถื่อนบ้าคลั่งเหมือน กัน” ถึงแม้มันจะเป็นกระจกเงาที่บิดเบือนและบิดเบี้ยว แต่กระจกก็เป็นกระจกที่สะท้อนเงาวันยังค่ำ.....
ตำรวจย่อม ไม่สามารถเฝ้าอยู่ตามท้องถนนเป็นจำนวนมากไปได้อีกนาน สักเท่าไร และชีวิตก็จะกลับมาเป็น “ปรกติ” ในเร็ววัน เมื่อดูจากการที่การจลาจลของผู้บริโภคครั้งแรกนี้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวด เร็ว ชาวลอนดอนควรกริ่งเกรงมากน้อยแค่ไหนว่าปัญหาอาจจะเกิดตามมาอีกในอนาคต
คุณ กับผมต่างก็ได้แต่คาดเดา......แต่เราทุกคนทราบดีจากประสบการณ์ที่มี มากมายว่า การลงโทษหนัก ๆ สามารถดับไฟได้สักกองสองกอง แต่มันไม่มีทางฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ไฟไหม้ให้มอดสิ้น “เชื้อไฟทางสังคม” ได้อย่างเด็ดขาด ผลกระทบเพียงอย่างเดียวที่เกิดจากปฏิบัติการของตำรวจในการตอบโต้สถานการณ์ เฉพาะหน้าครั้งนี้ ก็คือจะทำให้เกิดเสียงเรียกร้องอยากให้มีปฏิบัติการของตำรวจมากขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ปฏิบัติการของตำรวจมีความสามารถอันยอดเยี่ยมในการผลิตซ้ำความจำเป็นที่จะ ต้องมีมันไปเรื่อย ๆ อย่าลืมว่าในกรณีของผู้บริโภคที่คับข้องใจและถูกกีดกัน การนำพวกเขาคืนสู่ “ภาวะปรกติ” หมายถึงการผลักพวกเขากลับไปอยู่ในสภาพที่เหมือนทุ่งระเบิดดี ๆ นี่เอง!
สุดท้ายแต่ไม่ใช่สำคัญน้อยสุด นิตยสาร New Statesman ได้ตั้งคำถามตบท้ายอันลือลั่นว่า ในเมื่อลัทธิบริโภคนิยมได้ฝังลึกลงในสังคมโพสต์โมเดิร์นเสียแล้ว หรือว่าชีวิตเราจะไม่มีทางเลือกอื่นอีก? เราจะวิจารณ์อย่างไรต่อความคิดที่ว่า “การช้อปปิ้งคือภาพของภาวะปรกติ”?
เมื่อ ไม่กี่เดือนก่อน François Flahaut ได้ตีพิมพ์ผลงานศึกษาที่โดดเด่นมากเกี่ยวกับแนวคิดของประโยชน์สาธารณะ (common good) และแนวคิดนี้สะท้อนอะไรในความเป็นจริง (Où est passé le bien commun ?, Éditions Mille et une nuits, 2011) สาระสำคัญของงานเขียนชิ้นนี้ มุ่งเน้นประเด็นไปที่ลักษณะสังคมในปัจจุบันที่มีความเป็น “ปัจเจกชนนิยม” อย่างรุนแรง กล่าวคือ การที่แนวคิดเกี่ยวกับ “การเมืองที่ดี” ถูกกำจัดทิ้งไปและแนวคิดของสิทธิมนุษยชนถูกนำมาใช้แทนที่ ทั้ง ๆ ที่หากมองตามความเป็นจริงแล้ว แนวคิดสิทธิมนุษยชนจะมีได้ ก็ต้องมีแนวคิดของ “ประโยชน์สาธารณะ” เป็นพื้นฐานก่อน การดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษย์และชีวิตทางสังคมคือองค์ประกอบที่ทำให้เกิด ประโยชน์สาธารณะ และจากประโยชน์สาธารณะนี้เองที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมและคุณความดีทางสังคมตาม มา ด้วยเหตุผลนี้เอง การแสวงหาความสุขจึงควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต สถาบัน วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอื่น ๆ ที่เป็นชีวิตส่วนรวม แทนที่จะไปมุ่งเน้นที่ดัชนีความมั่งคั่ง ซึ่งบั่นทอนการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ให้เหลือเพียงแค่การแข่งขันและชิงดีชิง เด่นระหว่างปัจเจกบุคคล
ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่เรายังไม่มีคำตอบที่น่าเชื่อถือและมีหลักฐานชัดเจนในเชิง ประจักษ์ก็คือ ความสุขของการมีความเอื้ออาทรต่อกันจะสามารถแทนที่การแสวงหาความมั่งคั่ง ความพึงพอใจจากการได้บริโภคสินค้าที่ตลาดนำเสนอและการเอาชนะเหนือคนอื่น ทั้งหมดนี้ก็คือแนวคิดของความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่น เอง ซึ่งกลายเป็นสูตรสำเร็จที่เกือบจะได้รับการยอมรับเป็นสากลแล้วว่านี่แหละคือ ชีวิตที่ดีมีความสุข กล่าวโดยสังเขปก็คือ ความปรารถนาที่มนุษย์เรามีต่อการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ถึงแม้จะเป็นความปรารถนา “ตามธรรมชาติ” “มีร่วมกัน” และ “เกิดขึ้นมาเอง” แค่ไหนก็ตาม แต่มันจะเกิดเป็นจริงขึ้นมาได้หรือไม่ภายในสังคมปัจจุบัน โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของหลุมพรางกับดักจากลัทธิประโยชน์นิยมและถูกตลาดฉกฉวยไป ใช้ประโยชน์? ถ้าเราไม่เลือกหนทางด้วยเจตจำนงของเรา เราก็อาจถูกบังคับให้ยอมรับสิ่งที่ยัดเยียดให้จากผลร้ายแห่งการปฏิเสธของเรา เอง......
ในหนังสือเล่มล่าสุดชื่อ Redefining Prosperity ของศาสตราจารย์ Tim Jackson แห่งมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ เขาเตือนเราว่า รูปแบบความเติบโตอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้จะสร้างความเสียหายที่แก้ไขไม่ ได้ ทั้งนี้เพราะ “ความเติบโต” ถูกวัดด้วยการเพิ่มขึ้นของการผลิตเชิงวัตถุมากกว่าการบริการ เช่น เวลาว่าง สุขภาพ การศึกษา...... ทิม แจ็กสันเตือนเราว่า ในปลายศตวรรษนี้ “ลูกหลานของเราจะต้องเผชิญกับสภาพบรรยากาศโลกที่เลวร้าย ทรัพยากรที่ร่อยหรอ การทำลายธรรมชาติที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ การลดจำนวนลงของสปีชีส์ต่าง ๆ ความขาดแคลนของอาหาร การอพยพย้ายถิ่นฐาน และสิ่งที่ไม่น่าจะหลีกเลี่ยงได้ก็คือสงคราม” การบริโภคของเราที่ถูกกระตุ้น/ส่งเสริม/ผลักดันจากระบบสินเชื่อและบรรดาผู้ มีอำนาจ “เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนทางนิเวศวิทยา มีปัญหาทางสังคมและไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ” ข้อสังเกตที่น่าตกใจอีกประการหนึ่งจากศาสตราจารย์แจ็กสันก็คือ ในสภาพสังคมที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งคนรวยที่สุดจำนวนหนึ่งในห้าของประชากรโลกครอบครองรายได้ต่อปีถึง 74% ของรายได้ทั้งหมดในโลก ในขณะที่คนจนที่สุดหนึ่งในห้าของประชากรโลกต้องดำรงชีวิตด้วยรายได้เพียง 2% การทำลายธรรมชาติเพื่อนโยบายความเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งชนชั้นสูงอ้างว่าทำไปเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น เป็นแค่ความมือถือสากปากถือศีลและขัดต่อเหตุผลอย่างไม่น่าให้อภัย แต่ข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้กลับถูกเพิกเฉยจากช่องทางการไหลเวียนของข้อมูล (หมายถึงสื่อมวลชน—ผู้แปล) ที่เข้าถึงประชาชนจำนวนมาก (และมีประสิทธิภาพ) หรืออย่างดีที่สุดก็นำเสนอข้อเท็จจริงด้วยน้ำเสียงที่ปรับแต่งให้ประนี ประนอม จนชะตาชีวิตอันรันทดของมนุษย์เป็นแค่เสียงร้องในป่าชัฏรกร้างที่ไม่มีใครได้ ยิน