WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 20, 2011

เมื่อ ว. วชิรเมธี ฝึกเณรให้เป็นชายและให้มีสมบัติผู้ดี

ที่มา ประชาไท

สมภาร พรมทา เคยกล่าวบนเวทีอภิปรายเดียวกันกับ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) คราวหนึ่งว่า

ผม เคยอ่านบทสัมภาษณ์ของพระมหาวุฒิชัยครั้งหนึ่ง เมื่อมีผู้ถามว่าท่านเป็นพระหนุ่มท่านรู้สึกอย่างไรกับความรู้สึกทาง กามารมณ์ ดูเหมือนท่านจะตอบว่า “อย่าไปคิดถึงมัน ทุกอย่างก็จบ” ความรู้สึกทางกามารมณ์นั้นชีววิทยาถือว่าเป็นกลไกหนึ่งในการสืบเผ่าพันธุ์ ธรรมชาติสร้างสิ่งนี้ให้เราโดยไม่ได้ขอ นอกจากไม่ได้ขอแล้วยังปฏิเสธไม่ได้ด้วย มันฝังอยู่ในเราทุกคน เวลาที่คนคนนั้นไปสวมจีวรพระ สิ่งนี้ก็ยังฝังอยู่ ผมคิดว่าถ้าเราสนใจชีววิทยา เราจะทราบว่าไม่ง่ายที่จะเอาชนะมัน [1]
สัญชาตญาณ ทางกามารมณ์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับพระสงฆ์สายเถรวาท (หรือนักบวชทุกศาสนาที่ห้ามเรื่องเพศสัมพันธ์) ที่มองกามารมณ์ด้วยทัศนะแบบประเมินค่าทางศีลธรรมว่า เป็นกิเลสตัณหา เป็นอกุศลธรรมที่พึงละหรือต้องเอาชนะให้ได้จึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้น กามารมณ์ที่ตรงข้ามกับ “ความบริสุทธิ์” จึงหมายถึง “ของสกปรก” ที่ไม่พึงแม้แต่จะคิดถึงมัน
แต่ในทางชีววิทยา สัญชาตญาณทางกามารมณ์ (การมีเซ็กซ์เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการแสดงออกของสัญชาตญาณนี้) เป็นข้อเท็จจริงทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่ถูกโปรแกรมเอาไว้แล้วในยีนหรือ ดีเอ็นเอของเรา ข้อเท็จจริงทางธรรมชาตินี้ไม่มีค่าเป็นบวกหรือลบ หรือไม่ได้มีความหมายดี-ชั่วทางศีลธรรมในตัวของมันเอง การตอบสนองทางกามารมณ์ก็เป็นไปตามกลไกทางธรรมชาติของร่างกายไม่ต่างอะไรกับ การกินอาหาร การกินอาหารจะมีความหมายว่าไม่ดีในทางศีลธรรม ก็ต่อเมื่อคุณไปขโมยเขากิน หรือการกินของคุณไปสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่นเป็นต้น การตอบสนองทางกามารมณ์ก็เช่นกัน มันจะมีความหมายว่าไม่ดีทางศีลธรรม ก็ต่อเมื่อไปล่วงละเมิด หรือก่อปัญหาแก่ผู้อื่น เป็นต้น
ไม่ ว่าเราจะคิดถึงมันหรือไม่ สัญชาตญาณทางกามารมณ์ในเนื้อตัวของเรามันก็ยังคงทำงานของมันอยู่อย่างเงียบ เชียบภายในจิตใต้สำนึกของเรา และมีพลังอำนาจเหนือชีวิตเรา ใครเคยอ่านงานของซิกมันด์ ฟรอยด์ คงจำกันได้ที่เขาบอกว่า ทารกดูดนม ดูดนิ้วมือ หรือเด็กเล่นอวัยวะเพศของตนเองก็เป็นอาการตอบสนองสัญชาตญาณทางเพศ ศิลปินที่สร้างงานศิลปะ หรือนักบวชที่เทศนาอุดมคติอันสูงส่งสวยงามทางศาสนาเป็นต้นนั้น ก็ล้วนแต่ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงขับทางเพศทั้งสิ้น ในหนังสือ “ปมเขื่อง” ท่านพุทธทาสก็อธิบายว่าสัญชาตญาณดังกล่าวนี้ฝังลึกอยู่ในสัญชาตญาณพื้นฐาน ที่สุดของมนุษย์คือ “อหังการ” หรือความรู้สึกว่ามี “ตัวกู” ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ ทั้งด้านบวกหรือลบของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง
ใน ทางพุทธเถรวาท มีหลักฐานมากมายในวินัยปิฏกที่แสดงให้เห็นว่า ภิกษุพ่ายแพ้ต่อสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เมื่อพระพุทธเจ้าห้ามภิกษุเสพเมถุน ภิกษุบางรูปก็หาทางออกด้วยการจับต้องกายหญิง เมื่อถูกห้ามจับต้องกายหญิง ภิกษุบางรูปก็ให้ภิกษุณีมายืนเปลือยกาย แล้วชักว่าว เมื่อมีวินัยห้ามทำเช่นนั้นอีก ภิกษุบางรูปก็บำบัดความต้องการทางเพศด้วยการข่มขืนศพ เสพเมถุนกับลิงตัวเมีย และยังมีเรื่องราวการบำบัดความต้องการทางกามารมณ์ของภิกษุทั้งทางปาก ทางช่องหู ซอกรักแร้ ทวารหนัก ฯลฯ ถูกบันทึกไว้อย่างวิจิตรพิสดารในอรรกถาวินัยปิฎก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พลังอำนาจของสัญชาตญาณทางกามารมณ์นั้นเอาชนะได้ยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด
นอก จากนี้ในวินัยปิฎกยังมีข้อมูลบันทึกว่า “พระอรหันต์ถูกลักหลับ” เรื่องราวมีว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งท่านนอนหลับอยู่ในกุฏิโดยเปิดประตูทิ้งไว้ ขณะหลับถูกลมรำเพยองคชาตของท่านจึงตึงตัว เมื่อสตรีสองสามคนเดินผ่านมาเห็นเข้า จึงจัดการลักหลับขึ้นคร่อมจนสำเร็จความใคร่ แถมก่อนจากยังชมว่า “หลวงพี่นี่สุดยอดจริงๆ” (คัมภีร์ว่าไว้ ได้ “ใจความ” ประมาณนี้จริงๆ) ท่านตื่นขึ้นมาเห็นคราบเปรอะอวัยวะเพศจึงไปถามพระพุทธเจ้าว่าต้องอาบัติหรือ ไม่ ได้รับคำตอบว่าบรรลุอรหันต์แล้วจิตไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ และพระพุทธเจ้าก็เตือนให้ระมัดระวังว่าภิกษุจะนอนต้องปิดประตูลงกลอนให้ เรียบร้อย
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า แรงขับทางเพศเป็นกลไกตามธรรมชาติทางกายภาพ พระอรหันต์ที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสก็มีธรรมชาติทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป เช่นเมื่อหิวต้องกินอาหาร เมื่อเจ็บป่วยต้องกินยา พระพุทธเจ้าก็มีโรคประจำตัว คือโรคทางเดินอาหารอันเป็นผลจากการบำเพ็ญทุกกริกิริยามาอย่างหนัก ต้องให้หมอชีวกปรุงโอสถให้อยู่บ่อยๆ และเมื่อร่างกายหมดสภาพที่จะใช้งานได้ต่อไปก็ต้องตาย แต่พระอรหันต์ต่างจากปุถุชนตรงที่จิตท่านไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เป็นทุกข์ไปตาม “อาการ” ของทุกข์ตามธรรมชาติทางกายภาพต่างๆ นั้น
ส่วน พุทธศาสนานิกายวัชรยาน และนิกายเซ็น มองสัญชาตญาณทางกามารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติไม่ได้มีความหมายดีชั้วในตัวมัน เอง ยอมรับว่ามันเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย หากพระอรหันต์จะฝันเปียกก็ถือเป็นเรื่องปกติ ของที่เป็นธรรมชาติทางกายเราต้องเข้าใจมัน อยู่กับมันอย่างเป็นมิตร ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ที่จะแปรเปลี่ยนมันให้เป็นพลังสร้างสรรค์ เช่นเรียนรู้ความรักในสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เรียนรู้ธรรมชาติความเป็นหญิงเป็นชาย ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมผ่านกามารมณ์ แปรเปลี่ยนความรักแบบกามารมณ์ให้ประณีตงดงามเป็นสายใยความผูกพันระหว่างคู่ ชีวิต พ่อ แม่ ลูก ขยายออกไปเป็นความรักความเข้าใจในมิติที่ซับซ้อนของความเป็นมนุษย์ และมนุษยชาติ กระทั่งเรียนรู้การบรรลุนิพพานผ่านความเข้าใจกระจ่างแจ้งในสัญชาตญาณทาง กามารมณ์จนถึงจุดที่จิตหลุดพ้นจากอำนาจบงการของสัญชาตญาณดังกล่าวนั้น
หาก มองตามทฤษฎีของฟรอยด์ การเก็บกดแรงขับทางเพศ มันเหมือนกับการบีบลูกโป่งพอเราบีบด้านหนึ่งมันจะโป่งอีกด้านหนึ่ง ส.ศิวรักษ์ เคยตั้งข้อสังเกตว่าพระสงฆ์เถรวาทไทยเก็บกดความต้องการทางเพศเอาไว้จึงทำให้ ไปโป่งด้านโลภะ และโทสะ หรือความต้องการอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ ตอนผมเป็นสามเณรผมสงสัยว่าทำไมห้องชั้นบนของกุฏิหลวงพ่อซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ จึงอัดแน่นไปด้วยเครื่องสังฆทาน กล่องมาม่า ปลากระป๋อง จีวร บริขารต่างๆ รกรุงรังเต็มไปหมด ทำไมท่านไม่ยอมแจกจ่ายสิ่งของส่วนเกินเหล่านี้แก่พระ เณร ศิษย์วัดที่ขาดแคลน ส่วนเรื่องเจ้ายศเจ้าอย่าง การวิ่งเต้นเรื่องสมณศักดิ์ จัดงานฉลองยศ แฮปปี้เบิร์ธเดย์ของพระผู้ใหญ่เป็นต้น ก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
เป็น ไปได้ว่าความโป่งทางสัญชาตญาณต้องการอำนาจนี่เองที่เป็นแรงขับใน การเผยแพร่ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” คือภาษา วาทกรรมทางศีลธรรมแบบโบยตี ข่มขู่ กด ข่ม เพื่อเรียกร้องความเชื่อฟัง ศรัทธา สยบยอมเพื่อปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นสัจธรรมของศาสนา และสถานะอันน่าศรัทธาหรือความเป็นผู้ทรงอำนาจในการตัดสินถูกผิดทางศีลธรรมใน นามของปราชญ์หรืออภิมนุษย์ก็ตาม เช่น ศีลธรรมที่ขู่ด้วยบุญ บาป นรก สวรรค์ การอวดศาสนาตนเองว่ามีสัจธรรมสูงส่งเหนือศาสนา และ/หรือองความรู้ ภูมิปัญญาใดๆ ในโลก การเรียกร้องการละกิเลสตรงๆ ทื่อๆ กระทั่งเรียกร้องให้ละตัวกูของกูในการต่อสู้ทางสังคมการเมือง ฉะนั้น ศีลธรรมเชิงอำนาจแบบโปรโมทความสูงส่งพร้อมสำทับด้วยการข่มขู่กลายๆ ไปด้วยเสมอ เช่นนี้จึงเป็นศีลธรรมที่แข็งทื่อ ไร้พลังดึงดูดความเชื่อถือของมนุษย์ในโลกเสรีที่คิดเป็น ต้องการเหตุผล และมีความนับถือตนเองสูง
โปรดสังเกตนะครับว่า เมื่อพระพุทธเจ้าพูดถึงเรื่อง “ศีลธรรมทางสังคมการเมือง” ท่านไม่ได้พูดเรื่องการละตัวกู ไม่ว่าจะเป็นทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร วัชชีธรรม หรืออปริหานิยธรรม ไม่มีข้อใดเรียกร้องให้ละตัวกูของกู มีแต่เรื่องของบทบาทหน้าที่และกติกาในการอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เพราะพระองค์เห็นว่า ธรรมชาติหรือความเป็นจริงของ “ชีวิตทางสังคมการเมือง” เป็นเรื่องของ “สมมติบัญญัติ” หรือเรื่องของข้อตกลงทางสังคมที่สมาชิกของสังคมจำเป็นต้องถูกนับว่ามี “ตัวตน” รองรับการมีสิทธิ อำนาจ บทบาท หน้าที่ ข้อผูกพันต่อกันและกัน และต่อรัฐ
ฉะนั้น ข้อเรียกร้องเรื่องการละตัวกู ของกูในทางสังคมการเมืองจึงเป็นเรื่องไร้เหตุผลรองรับ พระพุทธองค์จึงพูดถึงเรื่องการละตัวกูของกูเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องที่เกี่ยว โดยตรงกับการตรัสรู้ของปัจเจกบุคคล เช่นในอริยสัจสี่เป็นต้น การละตัวกูของกูจึงเป็นจริยธรรมเชิงปัจเจกที่ปัจเจกแต่ละคนเท่านั้นควรจะ เรียกร้อง (Requirement) กับตนเอง (หากเขาต้องการพ้นทุกข์ทางจิตใจ)
แต่ เมื่อเราอ่านงานทางวัชรยานและเซ็นที่แรงขับทางศีลธรรมไม่ได้เกิดจาก ความเก็บกดสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เราจะไม่พบ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” หรือการโอ้อวดตนเอง แต่จะเห็นลักษณะเชิงวิพากษ์อย่างเสรี ทว่าเป็นมิตร เรียนรู้จากภูมิปัญญาที่หลากหลายถึงขนาดกล้าพูดว่า “พุทธธรรมคือทุกสิ่งที่ไม่ใช่พุทธธรรม” ในขณะที่เน้นไปสู่การเกิดปัญญาและกรุณา การตรัสรู้หรือมีสติรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตตามที่มันเป็น ฉะนั้น ศีลธรรมบนฐานของความเข้าใจ เป็นมิตร และแปรเลี่ยนพลังสัญชาตญาณทางกามารมณ์อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ จึงมีชีวิตชีวามีพลังกระตุ้นความรู้สึก จินตนาการ และการเกิดปัญญาและกรุณาที่หมายถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และความอ่อนโยนต่อความเป็นไปโลกและชีวิต
ที่ว่ามา เสียยืดยาวนี้เพื่ออธิบายให้เห็นเหตุผลที่ซับซ้อน ที่ผมต้องการใช้อ้างอิงในการตั้งข้อสังเกตต่อ “แนวคิด” (concept) ของพระมหาวุฒิชัยที่เปิด “หลักสูตรอบรมความเป็นชายแก่สามเณร อายุระหว่าง 11-18 ปี” [2] เพื่อแก้ปัญหาที่ปัจจุบันมีสารเณรเบี่ยงเบนทางเพศเป็นกะเทยมากขึ้น และ “หลักสูตรอบรมสมบัติผู้ดีแก่สามเณร” [3] เพื่อให้สามเณรมีบุคลิกภาพดี มีกิริยามารยาทแบบ “สมบัติผู้ดี” สมกับเป็นผู้นำทางปัญญา ทางจิตใจ อันจะยังความศรัทธาเลื่อมใสแก่คนทั่วไป
ที่ ไม่เห็นด้วยกับหลักสูตรแรก เพราะเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวกำลังเข้าไปรุกล้ำแทรกแซงอำนาจของธรรมชาติทาง ชีวภาพ เพราะเมื่อสัญชาตญาณทางกามารมณ์มันเป็นข้อเท็จจริงทางชีววิทยาที่ฝังอยู่ใน ยีนหรือดีเอ็นเอของเรา “ความเป็นเพศ” ตามธรรมชาติทางกายภาพและความสำนึกรู้ของบุคคล ก็เป็นข้อเท็จจริงทางชีวภาพที่เราไม่ได้เลือกเช่นกัน เหมือนเราเกิดมาหน้าตาแบบนี้เราไม่ได้เลือก ธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติเลือกให้เรา เพศก็เป็นสิ่งที่ธรรมชาติเลือกให้เรา สิ่งที่เราเลือกไม่ได้มันไม่ได้มีความหมายว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกในตัวของมันเอง เราจึงควรยอมรับ มีเสรีที่จะอยู่กับสิ่งที่เราเป็น และใช้สิ่งที่เราเป็นที่ธรรมชาติเลือกให้เราอย่างเต็มตามศักยภาพของสิ่งนั้น อย่างมีศักดิ์ศรี และอย่างเท่าเทียมในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกันไม่ว่าเราจะเป็นเพศไหนๆ ก็ตาม
ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศหญิง ชาย เพศที่สามที่สี่ แต่ตามข้อเท็จจริงทางชีววิทยาเพศที่คุณเป็นก็คือสิ่งที่คุณไม่ได้เลือกเสมอ เหมือนกัน ความเป็นมนุษย์ของทุกเพศจึงมีอย่างเท่าเทียมกัน เราจึงควรจะมีสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ฉะนั้น การอบรมความเป็นชายแก่ผู้ที่มีธรรมชาติเป็นเพศที่สามจึงเป็นการใช้ศีลธรรม เชิงอำนาจ (ศีลธรรมที่อิงความเป็นใหญ่ของเพศชาย) เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์มาก ซึ่งในที่สุดแล้วอาจก่อผลเสียหายต่อสภาพจิตใจและบุคลิกภาพของผู้ที่ถูกอบรม โดยตรงด้วย และไปส่งเสริมค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่ ส่งเสริมความไม่เท่าเทียมทางเพศซึ่งลึกๆ หมายถึงความไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์
ส่วนที่ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดหลักสูตรที่สอง เพราะฐานคิดเรื่อง “สมบัติผู้ดี” ไม่ใช่ฐานคิดเดียวกับที่พระพุทธเจ้าบัญญัติหลัก “เสขิยวัตร” พระมหาวุฒิชัยอ้างถึงการใช้หลักเสขิยวัตรตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเป็นองค์ ความรู้สำหรับฝึกอบรมกิริยามารยาทของสามเณรนั้นถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดหลักเสขิยวัตรขึ้นบนฐานคิดเรื่อง “สมบัติผู้ดี” ที่มีความหมายตรงข้ามกับ “สมบัติไพร่” ในวัฒนธรรมอำนาจนิยมของไทยนั้น เรารู้กิริยามารยาทของ “ผู้ดี” ได้เมื่อเปรียบเทียบเทียบกับกิริยาเยี่ยง “ไพร่” และผู้ดีในสังคมไทยนั้นก็ขึ้นกับชาติตระกูล หรือระบบชนชั้นแบบศักดินา ฉะนั้น ฐานคิดเรื่องสมบัติผู้ดีจึงเป็นฐานคิดของ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” ที่ปลูกฝังให้สยบยอมต่อคนชั้นสูง หรือชนชั้นปกครอง
แต่ ฐานคิดของหลักเสขิยวัตร เป็นเรื่องกิริยามารยาทของสมณสารูปที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อย เคารพตนเองและผู้อื่นโดยไม่ถือชั้นวรรณะ เมื่อจะอบรมเสขิยวัตรจึงไม่ควรใช้คำว่า “อบรมสมบัติผู้ดี” หรือสร้างกระบวนการอบรมบนฐานคิดของศีลธรรมเชิงอำนาจแบบ “สมบัติผู้ดี”
ผม เองไม่ได้สงสัยใน “เจตนาดี” ของผู้จัดหลักสูตรดังกล่าว แต่พุทธศาสนานั้นสอนเรื่องสัจจะหรือความจริง การดับทุกข์หรือแก้ปัญญาใดๆ จำเป็นต้องรู้ความจริงของทุกข์หรือปัญหานั้นๆ อย่างชัดแจ้ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เช่นชีววิทยาเป็นต้น ถือว่าให้ความจริงที่ก้าวหน้าที่ชาวพุทธสามารถนำมาใช้ในการทำความเข้าใจ ธรรมชาติของชีวิตในมิติต่างๆ ได้ดี เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันความจริงหรือคุณค่าทางสังคมการเมือง เช่น เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความเป็นธรรม ก็เป็นสิ่งที่ชาวพุทธต้องทำความเข้าใจและคำนึงถึงอย่างยิ่งด้วยเช่นกันในการ แสดงท่าที ทัศนะ หรือบทบาททางสังคม และกิจกรรมทางศีลธรรมใดๆ ที่เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ในบริบทของโลกตามเป็นจริง
ฉะนั้น การอบรมสามเณรกะเทยให้เป็นชาย หรืออบรมสารเณรชายให้เป็นชายเพราะเกรงว่าจะเบี่ยงเบนไปเป็นกะเทย และการอบรม “สมบัติผู้ดี” แก่สามเณร (ซึ่งส่วนใหญ่มีรากเหง้ามาจาชนชั้นรากหญ้า รวมทั้งพระมหาวุฒิชัยด้วย) หากไม่คิดละเอียดรอบคอบเพียงพอ อาจเป็นการใช้ ศีลธรรมเชิงอำนาจเข้าไปแทรกแซง/กดทับข้อเท็จจริงทางชีวภาพ และแทรกแซง/กดทับ ความภาคภูมิใจในกำพืดตนเอง ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าเขาจะเกิดมาเป็นเพศไหน และ/หรือมีสถานะทางสังคมเช่นไร


[1] สมภาร พรมทา.รากเหง้าเราคือทุกข์.สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.หน้า 230.(ดาวน์โหลดฟรีในวารสารปัญญา วารสารออนไลน์)
[2] ข่าวสดรายวัน 24 กรกฎาคม 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7542 หน้า 29
[3] ข่าวสดรายวัน 9 สิงหาคม 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6828 หน้า 29