ที่มา มติชน
เว็บไซต์ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ในแต่ละปี ธนาคารโลกจะทำการทบทวนการจัดกลุ่มประเทศต่างๆ ในโลกจากการประเมินรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNI per capita) โดยใช้วิธีที่เรียกว่า Atlas method ณ วันที่ 1 กรกฏาคม 2554 ประเทศที่ถือว่ามีรายได้ปานกลางระดับสูง คือประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 3,976 – 12,275 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 118,662 - 366,337 บาท) ด้วยวิธี Atlas method ดังกล่าว ปัจจุบันรายได้ประชาชาติต่อหัวของประเทศไทยเท่ากับ 4,210 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 125,756 บาท)
กิ ริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก กล่าวว่า การปรับเลื่อนฐานะในครั้งนี้แสดงถึงความสำเร็จทางเศรษฐกิจของไทยในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งรายได้ประชาชาติต่อหัวเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ขณะที่ความยากจนก็ลดลงไปอย่างมาก ประเทศไทยมีความรอบคอบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาค โดยมีฐานะการคลังที่เข้มแข็ง หนี้ภาคสาธารณะและเงินเฟ้อต่ำ ประเทศไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่เป็นมิตร และประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการสร้างความ หลากหลายเพิ่มมากขึ้นในภาคการผลิตอุตสาหกรรม ทั้งในแง่การผลิตที่เพิ่มมูลค่าในระดับที่สูงขึ้นและการขยายไปยังตลาดส่งออก ใหม่ๆ
“ความสำเร็จเหล่านี้สะท้อนให้เห็นในความสามารถของเศรษฐกิจไทยในการ ปรับตัวเพื่อรองรับวิกฤตทางการเงินโลกเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งทำให้ไทยมีโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์กับอาเซียนและทั่วโลกให้เข้มแข็ง ยิ่งขึ้น” กิริฎากล่าว และว่า
“ในการที่จะรักษาการเติบโต ให้ยั่งยืนและหลีกเลี่ยงการติดกับดักรายได้ ปานกลางนั้น ประเทศไทยก็จะต้องให้ความสนใจกับการเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งไม่แต่เฉพาะของภาคการผลิตอุตสาหกรรมเท่านั้น ยังรวมถึงภาคการเกษตรและภาคบริการด้วย สิ่งที่จำเป็นคือระดับการศึกษาและทักษะที่สูงขึ้น ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรมและการแข่งขัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมไม่เพียงแต่ให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นเท่า นั้น แต่ยังเป็นการกระจายผลของการขยายตัวนี้สู่ทุกภาคส่วนในสังคมอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ที่มีอยู่สูงและมีมานานในประเทศ ไทย”
ธนาคารโลกใช้ตัวเลขประเมินรายได้ประชาชาติต่อหัวในการจัดกลุ่มประเทศ ต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติในการกู้ยืม การจัดกลุ่มประเทศต่างๆ ในฐานข้อมูลของธนาคารโลก ตามภูมิภาคและระดับรายได้