WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 17, 2011

ธรรมนูญ "ทักษิณ" กาง 3 บัญชี จัดแถว ส.ส.-รมต.เพื่อไทยคงเสียงในสภา "กลุ่มคนดัง-กบฎ" ส้มหล่น !!

ที่มา มติชน





การใช้หนี้บุญคุณการเมืองของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" เริ่มขึ้นทันทีที่จัดสำรับคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้น

เป็นไปตามสูตรคณิตศาสตร์การเมือง สำนักคิดไทยรักไทย ที่ขึ้นบัญชีผู้มีตำแหน่งทางการเมืองไว้ 3 บัญชี

บัญชีแรก-เป็นรายชำระหนี้ทางการเมือง ปูนบำเหน็จให้ได้เป็นรัฐมนตรี

บัญชีที่สอง-ตัดรายชื่อผู้ได้เป็นรัฐมนตรีพ้นจาก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แล้วเลื่อนผู้ไม่ได้เป็น ส.ส.ขึ้นบัญชี ส.ส.

บัญชีที่สาม-ผู้มีตำแหน่งทางการเมือง ทั้งในระบบ ส.ส.เขต-ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ที่รอบรรจุเป็นรัฐมนตรี

เมื่อ การจัดคณะรัฐมนตรีวางตำแหน่งทางการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรลงตัว ส.ส.ลำดับที่เกินกว่าหมายเลข 61 ที่รอคิวรับบรรจุจึงมีความหวังได้รับการปูนบำเหน็จค่าเหนื่อย

เปิด โอกาสให้กลุ่ม ส.ส.ประเภทต้อง ขอใช้สิทธิ์ทวงสิ่งที่สมควรได้ขอเป็น "ผู้ทรงเกียรติ" ในสภาแทน ส.ส. ที่ได้รับโอกาสครอบครองเก้าอี้ "เสนาบดี"

เหตุผล ที่กลุ่ม ส.ส.อกหักกล้าเปิดหน้าเคลื่อนไหวส่งแรงกระเพื่อมทวงสิทธิ์ครั้งนี้ เป็นเพราะ "ธรรมนูญทักษิณ" ที่จารึกไว้ตั้งแต่ยุคไทยรักไทยว่า หาก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์คนใดได้รับปูนบำเหน็จให้เป็นรัฐมนตรีก็ต้องลาออกจากการเป็น ส.ส. เปิดทางให้ผู้สมัคร ส.ส.ลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเพื่อคงเสียงในสภาไว้ให้เท่ากับจำนวนเดิมที่มี อยู่

เป็นกฎให้ผู้สมัคร ส.ส.ระบบเขต และปาร์ตี้ลิสต์ทุกคนจะต้องเขียนใบ ลาออก พร้อมลงนาม-เซ็นชื่อไว้ แต่ไม่ลงวันที่ พร้อมเขียนข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ผม-ดิฉัน มีปัญหาการทำงานกับพรรค พร้อมที่จะลาออก โดยไม่ได้ถูกกดดันหรือถูกขับออกจากพรรค"

ธรรมเนียมปฏิบัติ "แบบทักษิณ" ยังถูกบังคับใช้ในพรรคเพื่อไทย ด้วยเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลได้เสียงในสภาเกินครึ่งไม่มากนัก

ยืน ยันผ่านปากของ "พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับ 11 ที่เปิดเผยถึงข้อตกลงในที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค "ในที่ประชุมนั้น ได้มี การหารือกันก่อนแล้วว่า หาก ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อคนใดได้รับตำแหน่งทางการเมือง เช่น ได้เป็นรัฐมนตรีก็อาจต้อง ลาออกจากสถานภาพ ส.ส. ที่ดำรงอยู่ เพื่อเปิดโอกาสให้อัตรา ส.ส. มีจำนวนคงที่ และหากไปทำหน้าที่ทาง การเมืองแล้ว การทำหน้าที่ ส.ส.ก็คงทำได้ไม่เต็มที่"

"ส่วนของผมนั้น ไม่ได้ติดปัญหาใด ๆ กับการลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. เพราะเป็นเรื่องที่ตกลงกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนจะลาออกวันไหนน่าจะต้องเข้าที่ประชุมเพื่อหารือกันก่อน โดยเฉพาะในส่วนของกรรมการบริหารอาจต้องให้ความชัดเจนเรื่องการกำหนดวัน เพื่อจะได้ดำเนินการพร้อม ๆ กัน"

จึงปรากฏหน้าของ "ชินวัฒน์ หาบุญพาด" ผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 72 ผู้ที่เข้าข่ายได้รับประโยชน์จาก "ธรรมนูญทักษิณ" ได้ออกมาบี้ ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีให้ทิ้งตำแหน่ง ส.ส. ผู้ทรงเกียรติด้วยการส่งสัญญาณว่า "เมื่อดูจากจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่ไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีรวมตำแหน่งทางการเมืองอย่างอื่น ผู้ที่เข้าข่ายต้อง ลาออกน่าจะอยู่ที่ 15 คน"

ยังมีผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์อีกหลายคนที่รอรับบรรจุในตำแหน่งผู้ทรงเกียรติ เคลื่อนไหวในพรรคอย่างเงียบ ๆ แต่ไม่กล้าเปิดหน้ามากนัก เพราะหวั่นเกรงว่าจะเป็นเป้าจนถูกสั่ง "ขึ้นบัญชีดำ"

ส.ส.ที่คาดว่า ส้มหล่นใส่มีทั้งชื่อที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มบัญชีคนดัง เช่น "ดนุพร ปุณณกันต์-ยุรนันท์ ภมรมนตรี" บัญชีกบฏอย่าง "ชวลิต วิชยสุทธิ์" กลุ่ม บิ๊กจิ๋วที่เคลื่อนไหวจะแยกตัวออก จากเพื่อไทยก่อนถึงวันลงสมัครรับ เลือกตั้ง แม้กระทั่งบัญชีแดงที่มีชื่อของ "ชินวัตร หาบุญพาด"

หมาก เกมที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" วางไว้เพื่อคงเสียงในสภา ถูกขยายเหตุผลตามรัฐธรรมนูญ หมวด "คณะรัฐมนตรี" มาตรา 177 วรรค 2 "ในการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้ารัฐมนตรี ผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะเดียวกันด้วย ห้ามมิให้รัฐมนตรี ผู้นั้นออกเสียงลงคะแนน"

เช่นเดียวกับการอภิปราย ไม่ไว้วางใจในรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "การอภิปรายทั่วไปรัฐมนตรีจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้"

ส.ส.ที่ถูกแต่งตั้งเป็น "รัฐมนตรี" อยู่ในข่ายต้องปฏิบัติตาม "ธรรมนูญทักษิณ" มี 11 ชีวิต อาทิ

ยง ยุทธ วิชัยดิษฐ, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง, ปลอดประสพ สุรัสวดี, วิรุฬ เตชะไพบูลย์, สันติ พร้อมพัฒน์, พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก, พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก, กฤษณา สีหลักษณ์, สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล, พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ฯลฯ

ทั้งหมดอาจถูก "จับมือ" เซ็นชื่อในท้ายใบลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อให้ผู้สมัคร ส.ส.คนอื่นได้เลื่อนลำดับเข้ามาสวมหน้าที่โหวตกฎหมาย และโหวตในการอภิปรายทั่วไปแทนได้

แต่ยังคงเว้นไว้เฉพาะบางรายที่ได้ รับการการันตีทั้งด้าน "มันสมอง" และ "ฝีปาก" เพื่อปกป้อง "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ให้พ้นจากคมหอกคมดาบของ "ประชาธิปัตย์" ในเกมสภาผู้แทนราษฎร

โดยมี ชื่อของ เฉลิม อยู่บำรุง และปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นหัวหอก ส่วน "ประชา พรหมนอก" ถูกกันไว้เป็นนายกฯสำรอง หาก "เพื่อไทย" ประสบอุบัติเหตุทางการเมืองเหมือนที่เคยประสบกับ "ไทยรักไทย-พลังประชาชน"

ธรรมนูญ ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ตรงกับกฎเกณฑ์ของ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" เธอยืนยันว่า "ทางพรรคจะหารือกันภายใน สำหรับผู้ที่จะลาออกมีหลายท่าน และเรามีกำหนดกฎเกณฑ์อยู่แล้ว"

บัญชีเสียงที่พร้อมโหวตในสภาผู้แทนราษฎรของเพื่อไทยจำนวน 265 เสียง หักบัญชีรัฐมนตรี 11 เสียง จะเหลือเพียง 254 เสียง

เกินครึ่งมาแค่ 4 เสียงเท่านั้น

ยังไม่นับรวมกับ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์อีกหลายคน ที่อาจได้รับการปลอบขวัญในตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง

ทั้ง "บัณฑูร สุภัควณิช" ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 13 อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณที่ถูกวางเป็น "เลขาธิการนายกรัฐมนตรี"

เหมือน กับ "พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์" ส.ส.ลำดับที่ 41 โฆษกพรรคซึ่งติดตาม "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" รมว.มหาดไทย ไปดูห้องทำงานของตัวเองที่กระทรวงมหาดไทย อาจได้รับบรรจุในตำแหน่งมือ ขวา "ยงยุทธ" ในกระทรวงคลองหลอด

การต่อรอง-การใช้หนี้-บัญชีบุญคุณ ทุกตำแหน่งล้วนเป็นไปตามกฎแห่ง "ธรรมนูญทักษิณ"

(ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 18-21สิงหาคม 2554)