WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 16, 2011

Where is Thailand: คำถามเรื่องการบริหารเขื่อนที่สังคมต้องได้รับคำตอบ

ที่มา Thai E-News

ที่มา เว็บไซต์"ประเทศไทยอยู่ตรงไหน"
15 ตุลาคม 2554

คำถามเรื่องการบริหารเขื่อนที่สังคมต้องได้รับคำตอบ


เรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดโดยคุณ Tum Bussayasakul

ใน เมื่อนักข่าวไม่ทำงานที่ควรจะทำ เราทำกันเองก็ได้ ทำเพื่อตอบข้อสงสัยที่ผมมีมานานแล้ว คำถามคือเหตุการณ์น้ำท่วมคราวนี้เกิดมาจากอะไร สาเหตุมาจากตรงไหน เพื่อที่เราจะได้เห็นปัญหาและนำไปแก้ไขได้ในอนาคต

ปัญหาหลักๆ ที่เจอเมื่อต้องการนั่งศึกษาหาข้อมูลเองก็คือ ระบบการจัดการกับข้อมูลของหน่วยราชการในเมืองไทยย่ำแย่เอามากๆ (ไม่มีข้อมูล, มีแต่นำเสนอได้ห่วยแตก เอามาใช้อะไรไม่ได้, ไม่เห็นข้อมูลในภาพรวม)

รูปแรกด้านบนสุด คือภาพแสดงปริมาณน้ำฝนทั้งประเทศ (หาได้แค่นี้จริงๆ) ที่ได้มาจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร [1] (อยากหาปริมาณน้ำฝนเฉพาะเขตภาคเหนือ แต่หาไม่ได้เลยครับ)

รูปที่ 2 และ 3 คือปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ทั้งสองของประเทศไทย ได้มาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย [2]

เท่าที่ลองไปค้นหาตามข่าวย้อนหลัง ปีนี้เรามีปัญหาเรื่องน้ำหลาก น้ำท่วม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว ยกตัวอย่างเช่นตามข่าวเหล่านี้ [3] [4] [5] จนมาถึงปลายเดือนกรกฏาคม ต้นสิงหาคม เราเจอพายุนกเตนซ้ำเข้าไปอีก [6]

แต่คำถามที่น่าสนใจเมื่อดูกราฟปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ทั้งสองแล้ว จะเห็นจุดที่ผมใส่หมายเลข 1 และ 2 ไว้

หมาย เลข 1 (เขื่อนภูมิพล) ปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จริงอยู่ที่เราเริ่มมีฝนตกเยอะตั้งแต่เดือนนั้นแล้วแต่การบริหารจัดการ ปริมาณน้ำในเขื่อน ถ้าดูจากเส้นกราฟแล้วจะเห็นได้ว่ายังคงปล่อยให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงจุดวิกฤตในเดือนตุลาคมนี้

คำถามแรกคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีเหตุผลอะไร ที่ยังคงปล่อยให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงจุดวิกฤตในช่วงปลายฤดูฝน? (ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำปี 2553 ที่เป็นเส้นสีเขียว จะเห็นได้ชัด)

คำถามที่สองคือ ทำไมน้ำในเขื่อนภูมิพลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทั้งที่เมื่อดูปริมาณน้ำฝนแล้ว ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด? (ข้อนี้ข้อมูลผมไม่ละเอียดพอ ที่จะแยกว่าปริมาณน้ำฝนทั้งประเทศเป็นน้ำฝนในบริเวณภาคเหนือมากน้อยแค่ไหน เช่น อาจจะมีข้อโต้แย้งว่าน้ำฝนรวมทั้งประเทศเท่าเติม แต่มันไปตกเยอะตรงภาคเหนือ)

หมายเลขที่ 2 (เขื่อนสิริกิติ์) ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนกรกฏาคม สาเหตุมาจากอะไร? และมีการจัดการบริหารปริมาณน้ำอย่างไร ทำไมถึงยังปล่อยให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบนั้น?

ยิ่งถ้าไปดูกราฟปริมาณเก็บกักน้ำย้อนหลัง 7 ปี แล้ว [7] [8] ยิ่งเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในปีนี้

ลิ้งก์ข้อมูลอ้างอิงทั้งหมดในคอมเมนต์

==========
หมายเหตุจากแอดมิน(เว็บWhere is Thailand):

เรา เห็นการตั้งประเด็นเรื่องนี้มามาก แต่จำนวนไม่น้อยเป็นเหมือนเรื่องเล่าเสียมากกว่าจะมีข้อมูลยืนยัน แอดมินได้รับข้อมูลชุดนี้มาจากผู้อ่านคนหนึ่ง ซึ่งเรียบเรียงออกมาได้ดีมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ

มี 2 ประเด็นที่แอดมินคิดว่าน่าสนใจคือ

1. หลายคนที่พยายามค้นข้อมูลเรื่อง ฝน-น้ำ พูดเป็นเสียงเดียวว่าข้อมูลด้านนี้หายาก ไม่ค่อยมีแหล่งข้อมูลอ้างอิง ไม่ละเอียด ไม่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ และไม่ค่อยเปิดเผยสู่สาธารณะสักเท่าไหร่ – ซึ่งก็น่าสนใจว่าเป็นเพราะเราไม่มีการจัดเก็บข้อมูลจริงๆ หรือเป็นเพราะหน่วยงานราชการไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลกันแน่ ?

2. สังคมควรได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเราบริหารเขื่อนกันอย่างไร อยู่ในความรับผิดชอบของใครบ้าง มีกระบวนการตัดสินใจอย่างไร แล้วเกิดอะไรขึ้นในอดีต และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เพราะถ้าเราไม่รู้สาเหตุของ “ปัญหา” แล้วเราจะหาแนวทาง “แก้ไข” ได้อย่างไร

อ้างอิง :
[1] http://www2.oae.go.th/mis/Forecast/02_journal/dike.pdf
[2] http://ichpp.egat.co.th/graphIN/hydro/bigdam.php?year=2011
[3] http://goo.gl/vguar
[4] http://goo.gl/7v951
[5] http://goo.gl/7ibtd
[6] http://goo.gl/08iwv
[7] ปริมาณน้ำย้อนหลัง 7 ปีเขื่อนภูมิพล http://www.kromchol.com/DailyUDQ/GIS/DamGraph/DGraph.asp?p1=1
[8] ปริมาณน้ำย้อนหลัง 7 ปี เขื่อนสิริกิติ์ http://www.kromchol.com/DailyUDQ/GIS/DamGraph/DGraph.asp?p1=2