WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 3, 2011

ญี่ปุ่นหนุนสร้าง พนังยักษ์ 6.5ม.ล้อม7นิคม

ที่มา ข่าวสด

นานาชาติแห่ช่วยไทย! กู้ถนนไปเหนือ-อีสาน กทม.เร่งสกัดโรคระบาด


ก.คมนาคม เตรียมกู้ถนนเชื่อมเหนือ-อีสาน ทั้งช่วงบางปะอิน-วังน้อย บางปะอินบางบัวทอง และสมบัติบุรี-บางบัวทอง ทูตจอร์เจีย-นิการากัวให้กำลังใจ "นายกฯปู" ผ่านวิกฤตน้ำท่วมโดยเร็ว นานาชาติยังแห่ช่วยเหลือไทย ญี่ปุ่นส่งเครื่องบินสังเกตการณ์ ใช้ถ่ายภาพพื้นที่ประสบภัย กิตติรัตน์เล็งสร้างกำแพงยักษ์ล้อม 7 นิคมอุตสาหกรรม หวั่นถูกน้ำท่วมซ้ำ ทอท.เผยระบบไฟฟ้าสนามบินดอนเมืองเสียหาย 99 เปอร์เซ็นต์ เตรียมสำรวจโครงสร้างอาคารหลังน้ำลด โลจิสติกส์ไทยชี้หากหยุดขนส่งสินค้าอีก 5 วัน ต่างจังหวัดขาดแคลนอาหารแน่

2ทูตให้กำลังใจ"ปู"

เมื่อ เวลา 10.00 น. วันที่ 2 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชูรับ คัชคาชิวีลี เอกอัครราชทูตจอร์เจียประจำประเทศไทย เดินทางเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยแสดงความเสียใจต่อสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย พร้อมทั้งให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์และประชาชนชาวไทยให้ผ่านวิกฤตการณ์ไปโดยเร็ว จากนั้นนายซาอูล อารานา กัสเตยอน เอก อัครราชทูตนิการากัวประจำประเทศไทยเดินทางเข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ และแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน และหวังว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว ซึ่งประเทศนิการากัวเป็นประเทศที่เผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่าง 2 มหาสมุทร จึงมีความเข้าใจกับสถานการณ์ที่ประเทศไทยเผชิญเป็นอย่างดี อีกทั้งปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญและไม่อาจคาดเดาได้ จึงควรที่จะร่วมมือกันเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาดังกล่าวให้ได้

นานาชาติต่างช่วยเหลือ

ที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย(ศปภ.) อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากนายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนโทรศัพท์คุยกับน.ส.ยิ่งลักษณ์เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา ระบุจะช่วยเหลือประเทศไทยด้วยการสนับสนุนเงิน 100 ล้านหยวน หรือประมาณ 500 ล้านบาทนั้น ล่าสุดรับแจ้งว่าเงินดังกล่าวรัฐบาลจีนช่วยสนับสนุนเป็นสิ่งของ ประกอบด้วย เรือพร้อมเครื่องยนต์ 625 ลำ มอเตอร์ป้องกันน้ำท่วม 100 ล้านหยวน หรือประมาณ 500 ล้านบาท

ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นแจ้งว่าพร้อมให้เงินช่วย เหลือ 1,000 ล้านเยน หรือประมาณ 380 ล้านบาท ในรูปแบบสิ่งของตามที่ต้องการ ซึ่งรัฐบาลไทยแจ้งกลับไปว่า ต้องการเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว เรือท้องแบน เครื่องกรองน้ำ เรือยาง 2,000 ลำ เรือเร็ว 100 ลำ เรือตรวจการณ์ 100 ลำ รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถเครน รถขุด สะพานแบริ่ง และเต็นท์ที่พักอาศัย ส่วนสัปดาห์หน้าจะมีเครื่องสูบน้ำขนาด 14 และ 16 นิ้ว ที่รัฐบาลสั่งซื้อจากประเทศอินเดียเข้ามาอีก 6 เครื่อง ขณะที่องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) สอบถามถึงความต้องการความช่วยเหลือมายังไทยเช่นกัน

ญี่ปุ่นส่งเครื่องบินตรวจน้ำท่วม

นาย ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลายประเทศยังคงส่งความช่วยเหลือมาให้ประเทศไทย โดยรัฐบาลเวียดนาม บริจาคเงินช่วยเหลือ 100,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,000,000 บาท ขณะที่องค์กรสำรวจอวกาศการบินญี่ปุ่นหรือจาซ่า เสนอให้ประเทศไทยยืมเครื่องบินสังเกตการณ์พร้อมเรดาร์ เพื่อนำมาใช้ถ่ายภาพทางอากาศในพื้นที่ประสบอุทกภัย ส่วนสภาธุรกิจไทย นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บริจาคเงินช่วยเหลือ 155,500 บาท

สมาคม คู่สมรสของคณะรัฐมนตรีมาเลเซีย บริจาคเงิน 100,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3,000,000 บาท นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ สถานกงสุลใหญ่ประจำเมืองโกตาบารู สถานกงสุลใหญ่ประจำนครซิดนีย์ สถานเอกอัคร ราชทูตประจำกรุงโตเกียว สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงสตอกโฮล์ม และสถานเอกอัคร ราชทูตประจำกรุงจาการ์ตา ส่งเงินบริจาครวม 17,727,306 บาท

สร้างกำแพงยักษ์กันนิคมฯ

นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า สำหรับการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมคาดว่าเริ่มสูบน้ำออกได้ภายในวันที่ 15 พ.ย. ซึ่งคาดว่าระดับน้ำจะต่ำมาอยู่ที่ 70 ซ.ม.-1 เมตร โดยจะใช้เวลาสูบน้ำประมาณ 15-20 วัน และเร่งฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า และน้ำประปาไม่เกิน 30 วัน เพื่อให้ผู้ประกอบการเริ่มเดินเครื่องการผลิตได้ภายในเดือน ม.ค.55 รวมทั้งยังสั่งการให้แต่ละนิคมอุตสาห กรรมเร่งศึกษาแบบก่อสร้างแนวคันกั้นน้ำถาวร และมาเสนอให้รับทราบโดยเร็ว โดยแบบก่อ สร้างจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ในส่วนงบประมาณก่อ สร้างคาดว่ารัฐบาลจะต้องสนับสนุนส่วนหนึ่ง คงไม่ผลักให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนฝ่ายเดียว

"เมื่อนิคมอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาผลิต คันกั้นน้ำถาวรความสูงจากระดับน้ำทะเล 6.5 เมตรจะต้องเสร็จด้วย เพื่อให้ทันฤดูฝนปีหน้า ซึ่งเรื่อง นี้ขอการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นได้ตอบรับคำขอของไทยแล้ว" นายกิตติรัตน์ กล่าว

เยียวยาคนตกงาน

นาย กิตติรัตน์กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาเรื่องการจ้างงาน จากการสำรวจร้อยละ 90 ทุกโรงงานพร้อมดูแลคนงาน ขณะที่โรงงานที่ไม่สามารถจ้างงานต่อไปได้ รัฐบาลเห็นชอบให้กระทรวงแรงงานเข้าไปติดตามดูแล เพราะลูกจ้างบางส่วนอาจมีภาระ โดยจะให้เข้าโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ด้วยการย้ายแรงงานไปยังโรงงานที่ไม่ได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกัน สำนักงาน ประกันสังคมก็จะให้ค่าตอบแทนในช่วงที่หางานใหม่

นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บมจ.นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เปิดเผยว่า ในส่วนของนิคมฯ นวนครเสนอให้สร้างคันกั้นน้ำแบบชีตไพล์ ซึ่งรอบนิคมมีระยะ 20 ก.ม. ใช้เงินก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาทต่อก.ม. ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างครั้งนี้ของนิคมฯ ทั้ง 7 แห่ง จะใช้เงินลงทุนรวม 5-6 พันล้านบาท

กฟผ.ร่วมกู้นิคม

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า หลังจากระดับน้ำเริ่มลดลง กฟผ.และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เตรียมแผนฟื้นฟูการจ่ายไฟฟ้าให้กับนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา และจ.ปทุมธานี ได้แก่ นิคมฯบางปะอิน นิคมฯโรจนะ นิคมฯไฮเทค นิคมฯสหรัตนนคร นิคมฯบางกระดี นิคมฯ นวนคร และนิคมฯแฟคเตอรี่แลนด์ โดยเบื้องต้นจะเริ่มแผนฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ สหรัตนนคร และไฮเทค ก่อน โดยตั้งเป้าจะสูบน้ำในนิคมฯสหรัตนนครให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน ส่วนนิคมฯโรจนะอาจต้องใช้เวลามากกว่า 30 วัน เมื่อนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่งเริ่มฟื้นคืนสภาพแล้ว กฟผ.จะประสานกับกฟภ. เพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแหล่งอื่นมาทด แทนโรงไฟฟ้าโรจนะเพาเวอร์ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม


(1)ซ่อมได้ - เจ้าหน้าที่ซ่อมแซมประตูหูช้างข้างประตูระบายน้ำคลองสามวา กทม. จนหยุดการรั่วของน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ขณะที่บช.น.ส่งตำรวจนับร้อยนายเข้าป้อง กันชาวบ้านรื้อ เมื่อวันที่ 2 พ.ย.



(2)ปั่นป่วน - รถวิ่งลุยฝ่าน้ำท่วมบนถนนรามอินทรา ก.ม.2 กันอย่างโกลา หล ขณะที่น้ำซึ่งลามมาจากวงเวียนบาง เขนเพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในซอยด้านใน เมื่อวันที่ 2 พ.ย.



(3)จมหมู่บ้าน - ประชาชน อพยพออกจากหมู่บ้านสินสมบูรณ์ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ภายหลังน้ำจากประตูระบายน้ำศาลาธรรมสพน์ กทม. ทะลักท่วมสูงกว่า 1 เมตร เมื่อวันที่ 2 พ.ย.



(4)บิ๊กแบ๊ก - ทหารและเจ้า หน้าที่กทม.เร่งวางถุงทรายยักษ์ หรือบิ๊กแบ๊ก บริเวณหลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งถ้าแผนสำเร็จจะช่วยให้น้ำที่ท่วมถ.พหลโยธินและวิภาวดีฯ ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 2 พ.ย.



เร่งกระจายสินค้าจำเป็น

นาย ยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาการกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคไปยังพื้นที่ประสบปัญหาน้ำ ท่วม ขณะนี้ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่พยายามเชื่อมโยงสาขาเคียงข้างที่ไม่ถูกน้ำท่วม พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ไปซื้อสินค้าในสาขาที่ไม่ได้รับผล กระทบแทน ส่วนสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น น้ำดื่ม ไข่ไก่ และปลากระป๋อง นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านและกระจายไปยังสาขาต่างๆ เมื่อพื้นที่คลังสินค้าใน จ.พระนครศรีอยุธยา สามารถนำออกมาได้ น่าจะทำให้กระจายสินค้าได้มากขึ้นและเชื่อว่าปัญหาสินค้าขาดแคลนจะบรรเทาลง ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป

ดอนเมืองระบบไฟพังยับ

ด้าน นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ในฐานะรักษาการผอ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า หลังน้ำลดท่าอากาศยานดอนเมืองต้องสำรวจความเสียหายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรงของโครงสร้างทางวิ่งและทางขับ ระบบไฟฟ้าสนามบิน ระบบเครื่องช่วยเดินอากาศ ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ซึ่งในส่วนของระบบไฟฟ้าคาดว่าจะเสียหาย 99 เปอร์เซ็นต์ เรียกได้ว่าต้องจัดระบบใหม่เกือบทั้งหมด

รอประเมินมูลค่าเสียหาย

ว่า ที่ ร.ท.อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังประเมินมูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมท่าอากาศยานดอนเมืองไม่ได้ เพราะระดับน้ำยังท่วมสูงประมาณ 1 เมตร รวมทั้งยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไรในการฟื้นฟูให้กลับมาบริการตามปกติ ในส่วนทอท.จะตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูสำนักงานใหญ่ทอท.และท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อทำหน้าที่สำรวจความเสียหาย ประเมินมูลค่าความเสียหาย และกำหนดแนวทางฟื้นฟู ซึ่ง ทอท.จะนำข้อมูลดังกล่าวเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือต่อไป

"เรายังไม่ทราบ ว่า ท่าอากาศยานดอนเมืองจะกลับมาเปิดให้บริการเมื่อไร แต่หากเปิดให้บริการแล้วสายการบิน เช่น สายการบินนกแอร์ ต้องการให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อไป ก็สามารถดำเนินการได้ ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสายการบิน" ว่าที่ร.ท.อนิรุทธิ์กล่าว

กู้ถนนสายเหนือ-อีสาน

นาย สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมเข้าพื้นที่เพื่อเร่งกู้ถนนทางหลวงสายหลักที่เป็นเส้นทาง เชื่อมต่อไปยังภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธินช่วงบางปะอิน-วังน้อย ทางหลวงหมายเลข 9 ต่างระดับบางปะอิน ช่วงบางปะอิน-บางบัวทอง และช่วงสมบัติบุรี-บางบัวทอง โดยเป้าหมายคือการเร่งกู้ถนนที่ไม่ต้องรอให้ปริมาณน้ำลดลง แต่จะกู้คืนเพื่อให้รถเล็กสามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ซึ่งการกู้ถนนครั้งนี้จะดำเนินการทันทีและคาดว่าจะใช้งบประมาณ 430 ล้านบาท

ขสมก.จัดรถรับส่ง

นาย โอภาส เพชรมุณี ผอ.ขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เปิดเผยว่า หลังจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ขสมก.จึงนำรถโดยสารให้บริการขนส่งประชาชนกว่า 200 คันต่อวัน และกำลังปรับปรุงสภาพรถด้วยการเสริมแหนบ เพื่อให้รถสามารถลุยน้ำท่วมที่สูงตั้งแต่ 1-1.10 เมตร ซึ่งขณะนี้ ขสมก.ปรับปรุงรถไปแล้ว 4-5 คัน เพื่อนำมาลุยรับส่งขนส่งคนและสินค้าในพื้นที่น้ำท่วมสูง และจะปรับปรุงสภาพรถให้มีสมรรถภาพรองรับน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ

ทบ.ก็จัดรถ-เรือช่วยเหลือ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เปิดเผยว่า ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบกจัดยานพาหนะออกบริการรับส่งประชาชนเพิ่มเติมใน 5 เส้นทาง อาทิ พื้นที่กทม.ฝั่งตะวันออก 3 เส้นทาง คือ 1.ถ.วิภาวดีรังสิตตั้งแต่อนุสรณ์สถานถึงสี่แยกรัชโยธิน 2.ถ.พหลโยธินตั้งแต่สนามกีฬาธูปะเตมีย์ถึงเมเจอร์รัชโยธิน 3.ถ.แจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ทางขึ้นทางด่วนแจ้งวัฒนะผ่านถ.รามอินทราถึงแยกวัชรพล พื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันตกให้บริการเพิ่มเติมอีก 2 เส้นทาง คือ 1.ถ.เพชรเกษมตลอดสาย 2.ถ.กาญจนาภิเษกจากแยกสุพรรณบุรีถึงร.พ.บางใหญ่ ทั้งนี้ กองทัพบกจะส่งเรือหางยาวขนาดใหญ่ 15 ลำ ออกบริการประชาชนในพื้นที่คลองทวีวัฒนาด้วย

ขนส่งสินค้ายังอัมพาต

นาย วรวิทย์ เจริญวัฒนพันธ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประสบปัญหาด้านการขนส่งและกระจายสินค้าไปต่างจังหวัด เนื่องจากศูนย์กระจายสินค้าที่ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พุทธมณฑล สาย 1-5 ถูกน้ำท่วมสูง จนต้องหยุดขนส่งสินค้ามาแล้ว 5 วัน และหากยังเป็นเช่นนี้อีก 5 วัน ในพื้นที่ต่างจังหวัดจะเกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนทุกอย่าง โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เนื่องจากกทม. ถือเป็นศูนย์กลางรวบรวมและกระจายสินค้าในปัจจุบัน

ร้านอาหารแห่ปิดอื้อ

นาง ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า พื้นที่กทม. หลายจุดเริ่มได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องปิดกิจการลงแล้วร้อยละ 70 คิดมูลค่าความเสียหาย 7,000-8,000 ล้านบาทต่อเดือน จากจำนวนร้านอาหารที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 12,000 ร้าน ซึ่งหากน้ำท่วมเกินกว่า 2 เดือนร้านอาหารบางแห่งอาจต้องลดต้นทุนด้วยการเลิกจ้างและปิดกิจการลง โดยอาจกระทบกับภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกร

ที่ดินน้ำท่วมราคาตก

นาย นริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่ในระยะแรกราคาที่ดินอาจลดลงในพื้นที่น้ำท่วม เนื่องจากอาจมีการ เสนอขายอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก แต่หากมองในอีกมุมมองหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่า หลังน้ำท่วมคงมีการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะการลงทุนด้านพัฒนาสาธารณูปโภค ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนและทรัพย์สินต่างๆ ตลอดจนการป้องกันวิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น ที่ดินย่านบางบัวทองที่จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะไปถึง

ตั้งโรงครัวช่วยผู้ประสบภัย

เวลา 11.00 น. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย(มท.) เป็นประธานเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย บริเวณข้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ถ.อัษฎางค์ พร้อม จัดตั้งโรงครัวเพื่อประกอบอาหาร โดยมีนายอารี ไกรนรา เลขานุการรมว.มหาดไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม ผู้ช่วยเลขาฯ รมว.มหาดไทยมาร่วมงาน ซึ่งมีหลายจังหวัดที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมมาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทำ ข้าวกล่อง เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมนำเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ มาจัดทำเป็นถุงยังชีพด้วย

นายยงยุทธกล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยจะระดมจังหวัดที่ไม่เดือดร้อนมาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งโรงครัวดังกล่าวจะผลิตอาหารได้ประมาณ 2,000-3,000 ชุด รวม 3 มื้อ ก่อนนำไปแจกจ่ายประชาชน โดยจะดำเนินการจนกว่าสถานการณ์จะเบาบางลง ส่วนจังหวัดที่สถาน การณ์เริ่มคลี่คลาย เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าไปสำรวจความเสียหายและฟื้นฟูเยียวยาแล้ว พร้อมทั้งสั่งการให้ทุกจังหวัดทำแผนฟื้นฟูด่วน

มท.1 ตรวจโรงประปา

ต่อ มาเวลา 15.00 น. ที่การประปานครหลวง (กปน.) นายยงยุทธ เดินทางมาตรวจโรงผลิตน้ำประปา โดยมีนายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง และนายอาทร สินสวัสดิ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ให้การต้อนรับ จากนั้นนายยงยุทธเข้าตรวจดูการเติมออกซิเจนลงในน้ำดิบ รวมทั้งตรวจดูการบรรจุน้ำดื่มใส่ถุงพลาสติกที่นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย และตรวจคันกั้นน้ำสุดท้ายภายในกปน. ซึ่งอยู่ติดกับคลองบำบัดน้ำและมีน้ำที่ไหลมาจาก ถ.แจ้งวัฒนะจ่ออยู่

ด้าน นายเจริญกล่าวว่า น้ำที่ทะลักเข้ามาในคลองประปายังไม่ทำให้น้ำดิบกลายเป็นน้ำเสีย และสามารถผลิตน้ำประปาผ่านกระบวนการพิเศษอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งยังสามารถให้บริการได้อย่างเพียงพอกับความต้องการ ส่วนระบบกรองน้ำที่ตันบริเวณโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ขณะนี้ดำเนินการแก้ไขจนให้บริการได้ตามปกติ ส่วนรอยรั่วที่เกิดขึ้นบริเวณริมคลองประปา คาดว่าจะดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จภายในวันนี้ ในส่วนของสารพิษ โลหะหนักและเชื้อแบคทีเรียที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะไม่ปลอดภัยนั้น กปน.ได้เติมสารพิเศษที่ฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด โดยเน้นบริเวณย่านเพชรเกษม ท่าพระและราษฎร์บูรณะที่น้ำยังมีกลิ่น

กทม.เตรียมฟื้นฟูหลังน้ำลด

ที่ ศาลาว่าการกทม. นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกทม. เป็นประธานประชุมการฟื้นฟูบูรณะของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุทกภัยของ กทม. ร่วมกับสำนักการระบายน้ำ (สนน.) สำนักการโยธา (สนย.) สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) และสำนักการคลัง โดยนายจุมพลกล่าวภายหลังประชุมว่า หลังจากน้ำลดต้องเร่งกู้กระสอบทราย โดยมอบหมายให้สำนักการระบายน้ำเก็บนำไปใช้ในการบล็อกจุดน้ำท่วมที่มีปริมาณ ลดลง เพราะภายหลังน้ำลดจะมีประชาชนบางส่วนนำกระสอบทรายไปปิดทางน้ำไหล จากนั้นสำนัก พัฒนาสังคมจะเข้าไปสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบและ ซ่อมแซมสาธารณูปโภคที่ชำรุด

เล็งกำจัดขยะ 5 หมื่นตัน

นาย จุมพลกล่าวอีกว่า ส่วนถนนที่เสียหายจากน้ำท่วมน่าจะมีประมาณ 100 สาย ซึ่งอาจต้องใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาท เบื้องต้นกทม.จะเร่งซ่อมแซมถนนสายหลักและตรวจสอบระบบระบายน้ำที่อาจเสียหาย เพื่อไว้ร้องรับฤดูฝนปีหน้า อีกทั้งหลังน้ำลดอาจจะมีปัญหาเรื่องขยะที่ถูกน้ำท่วมขังมีประมาณ 5 หมื่นตัน จึงต้องหาแนวทางกำจัดขยะดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการจ่ายเงินชดเชยผู้ประสบภัยครอบครัวละ 5,000 บาท เพราะครม.ประกาศช่วยเหลือใน 30 จังหวัด ซึ่งไม่มีกทม.รวมอยู่ด้วย ดังนั้น จึงเตรียมทำหนังสือเสนอไปยังรัฐบาลถึงพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน พื้นที่กทม.ให้พิจารณาต่อไป

หวั่นโรคระบาดลามกรุง

พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นคือเรื่องสุขาภิบาล เพราะมีขยะตกค้างในพื้นที่น้ำท่วมจำนวนมาก โดยเฉพาะเขตบางพลัดที่เก็บขยะไปแล้ว 33 ตัน โดยกทม.แจกถุงดำให้กับประชาชนไว้เพื่อขับถ่ายและนำมาทิ้งที่ถังขยะปฏิกูลที่ จัดวางไว้ ประกอบกับมีประชาชนบางส่วนยังไม่อพยพหนีน้ำท่วมออกมา จึงเกรงว่าอาจมีความเสี่ยงติดโรคระบาดทางน้ำ อาทิ โรคตาแดง ท้องเดิน ไข้หวัด ไข้เลือดออกและโรคอหิวาตกโรค ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยโรคอหิวาตกโรคจะติดต่อจากทางอาหารและน้ำดื่ม จึงขอให้ประชา ชนคิดให้มากๆ ในเรื่องการอพยพ เพราะหากติดโรคแล้วอาจจะแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้

สธ.ชี้ร.พ.อย่ากักตุนยา

นาย วิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขเสนอของบประมาณส่วนกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม 109 ล้านบาท จึงอยากให้กรมต่างๆ ดำเนินงานอย่างเต็มที่และรวดเร็ว โดยเฉพาะกรมอนามัย อยากให้แก้ปัญหาเรื่องน้ำเน่าและจัดการขยะ รวมถึงอนามัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในศูนย์พักพิงและพื้นที่น้ำท่วมขังด้วย เพราะเกรงว่าจะเกิดโรคระบาด

น.พ.ไพ จิตร์ วราชิต ปลัดสธ. กล่าวว่า สำหรับการสำรองยาและเวชภัณฑ์ ในวันที่ 3 พ.ย. เตรียมหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าจำเป็นต้องนำเข้ายาและเวชภัณฑ์เพิ่มหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจำ เป็นต้องกระจายยาและเวชภัณฑ์ไปด้วย จึงอยากขอความร่วมมือให้ ร.พ.ทุกแห่งอย่ากักตุนยาให้มากนัก หากมีเพียงพอก็ขอความร่วมมือในการสนับสนุนก่อน เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่

ขยายจุดแพทย์ฉุกเฉิน

น.พ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ขยายศูนย์สั่งการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตฝั่งตะวันตก โดยได้รับความร่วมมือจาก ร.พ.ในเครือ ร.พ.บางปะกอก เพื่อตั้งศูนย์บัญชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีรถพยาบาลประจำอยู่อยู่กว่า 20 คัน สำหรับการขยายจุดสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินไปที่ ร.พ.บางปะกอก 9 เพื่อให้การบริหารจัดการในฝั่งธนบุรีมีความครอบคลุม เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมขยายวงกว้าง บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังสูง และการสัญจรจากส่วนกลางค่อนข้างลำบาก อาทิ พื้นที่เขตบางไผ่ บางแค หนองแขม เป็นต้น

น.พ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกระทรวงสาธารณสุขย่านดอนเมือง พบผู้ประสบภัยมีปัญหาบาดแผลขีดข่วนและอักเสบมากขึ้นร้อยละ 30 และพบผู้ป่วยจากการเหยียบของมีคมร้อยละ 20 ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนจะเดินเท้าเปล่าลุยน้ำ ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเหยียบของมีคมใต้น้ำมาก เพราะน้ำมีสีเข้มดำไม่สามารถมองเห็นสิ่งแปลกปลอม จึงอยากเตือนให้ประชาชนสวมรองเท้าทุกครั้งที่เดินลุยน้ำ

เร่งแก้น้ำเน่า

นาย เนติภูมิ นวรัตน์ โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรม ชาติฯ และกระทรวงกลาโหมร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่ 15 จังหวัด รวมทั้งกทม.ด้วย โดยใช้สารจุลินทรีย์ ทางกระทรวงจึงแบ่งชุดทำงานสำรวจคุณภาพน้ำในพื้นที่ต่างๆ 44 ชุด และตรวจสอบคุณภาพน้ำ 149 จุด พบว่าร้อยละ 46 ที่น้ำท่วมขัง 45 วัน มีค่าดีโอต่ำกว่า 2 ม.ก. ซึ่งถือว่าเสื่อมโทรมมาก และพบว่าร้อยละ 25 มีค่าดีโออยู่ที่ 2-4 ม.ก. ซึ่งขณะนี้มีน้ำท่วมขังกว่า 2 ล้านไร่ แบ่งเป็นชุมชน 86,600 ไร่ และมีปริมาณน้ำเสีย 138 ล้านลิตร จึงถือว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาด้วยการใช้สารจุลินทรีย์ นอกจากนี้ ยังส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสำรวจคุณภาพน้ำในนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง ประกอบด้วย นิคมฯ ไฮเทค พบว่ามีสารอินทรีย์ระเหยง่ายสูงกว่ามาตรฐานเล็กน้อย ส่วนนิคมฯ บางปะอิน นิคมฯ สหรัตนนคร นิคมฯ โรจนะ นิคมฯ แฟคเตอรี่แลนด์ และนิคมฯ นวนคร คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เด็กกทม.เรียนตจว.หยุดได้

นาย ชาญวิทย์ ทับสุพรรณ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมครม. มีมติเลื่อนภาคเรียนใน 13 จังหวัดถูกน้ำท่วมเป็นวันที่ 15 พ.ย. แต่เนื่องจากมีโรงเรียนบางแห่งขอเปิดเรียนก่อน เพราะไม่ถูกท่วมและนักเรียนก็อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำไม่ท่วมเช่นกัน กระทรวงสาธารณสุขจึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แจ้งไปยังโรงเรียนดังกล่าวให้ทำหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อขอเปิดเรียน ส่วนกรณีที่ผู้ปกครองและบ้านของนักเรียนอยู่ในเขตกทม. ที่ประสบภัยน้ำท่วม แต่เด็กเรียนอยู่ในพื้นที่จ.สมุทรปราการหรือจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน 13 จังหวัด ขณะนี้แจ้งไปยังโรงเรียนดังกล่าวให้อนุญาตให้เด็กหยุดเรียนไปก่อน โดยไม่ถือเป็นวันลาและให้จัดเรียนซ่อมเสริมเป็นกรณีไป

ถนนเลี่ยงเข้ากรุง

พล.ต.ต. อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผบก.จร. กล่าวถึงเส้นทางสัญจรอพยพจากต่างจังหวัดกลับมายังกทม.ว่า ขณะนี้เส้นทางจราจรทางฝั่งธนบุรี บริเวณถนนเพชรเกษม ด้านตะวันออก ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ส่วนบริเวณถนนรวมอินทราช่วงก.ม.4-8 ยังสามารถใช้เส้นทาง เพื่อขึ้นทางด่วนมอเตอร์เวย์ไปยังจ.ชลบุรี ยังใช้การได้เช่นกัน ถึงแม้ถนนรามอินทราส่วนใหญ่จะถูกน้ำท่วมไปแล้วก็ตาม ขณะที่เส้นทางขึ้นไปยังสายเหนือบริเวณถนนพหลโยธินยังใช้การไม่ได้ ขอให้หลีกเลี่ยงเส้นทางมาใช้บริเวณถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งพระราม 2 แทน และเส้นทางที่จะลงไปยังสายใต้ยังใช้การได้ปกติ

คนชราบ้านบางแคอพยพ

ที่ จ.ราชบุรี นายณรงค์ ครองชนม์ รองผวจ.ราชบุรี ตรวจดูความเรียบร้อยและเยี่ยมคนชราที่อพยพมาจากบ้านพักคนชราบางแค มาอยู่ที่ศูนย์โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ซึ่งเป็นศูนย์พักพิงพระราชทานและมีผู้ประสบภัยเข้าพักอาศัยแล้ว 195 คน

อ่างทองน้ำลดแล้ว

ที่ จ.อ่างทอง หลายพื้นที่ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ในต.หัวไผ่ อ.เมือง ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำใน อ.มหาราชและ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยาที่ไหลย้อนเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ล่าสุดน้ำลดลงไปกว่า 80 ซ.ม. ทำให้ประชาชนต่างทยอยกลับเข้าไปอยู่ในบ้านตามปกติ บางส่วนเร่งตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากถูกน้ำท่วมมากว่า 1 เดือน

หลายจว.ยังแห่ช่วยเหลือ

สำหรับ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดต่างๆ ที่จ.นนทบุรี ชาวบ้าน อ.บางบัวทอง ยังคงเดินทางออกมารับสิ่งของช่วยเหลือที่หน่วยงานของทางราชการและประชาชนนำ มาบริจาค รวมทั้งมีประชาชนบางรายกลับเข้ามา เพื่อดูบ้านและดูปริมาณน้ำที่ยังท่วมขังอยู่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินภายในบ้าน ขณะที่จ.ลพบุรี นายกวี ศิริโภคาภิรมย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์ร่วมกันปั้นจุลินทรีย์หรืออีเอ็ม บอลบำบัดน้ำเสีย เพื่อส่งไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำท่วมขัง ที่จ.นครราชสีมา พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 ส่งมอบเรือ 3 ลำ พร้อมเครื่องยนต์ 10 เครื่อง เพื่อส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาคกลาง

ส่วน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชมรมเรือใบทับสะแกช่วยกันผลิตเรือพายขนาดเล็กและเรือท้องแบนที่ใช้สำหรับติด เครื่องยนต์ โดยใช้ไฟเบอร์ที่ใช้ต่อเรือยอชต์มาผลิต เพื่อส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในกทม.

ที่จ.นราธิวาส พ.อ.ไพศาล หนูสังข์ ผบ.กรมทหารพรานที่ 46 ร่วมกับ พ.อ.เฉลิมชัย สุทธินวล ผบ.กรมทหารพรานที่ 45 จัดส่งน้ำดื่ม 400 โหล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย